บทที่ 1 : ชาวมุสลิมกับการค้นพบทวีปอเมริกา

            ด้านแนวรบของเอ็นดาลูเซียนั้นพวกโปรตุเกสได้เห็นถึงความจำเป็นในการปิดล้อม ชาวมุสลิมเนื่องจากสามารถกำชัยชนะเหนือชาวมุสลิมได้ กษัตริย์ฮันนา (ฮวน) ที่ 1 ของโปรตุเกสได้เข้าทำสงครามกับเมืองซิบตะฮฺ (คิวต้า) ทว่าพวกโปรตุเกสก็พบว่าการปิดล้อมนั้นจำเป็นต้องอาศัยเส้นทางของดินแดนที่ ไม่มีชาวมุสลิมอาศัยอยู่เพื่อที่ว่าหากพวกเขามีกำลังน้อยกว่า พวกเขาจะได้กำหนดให้ดินแดนนั้นเป็นฐานทัพของพวกตนในการทำสงครามกับเอ็นดาลูเซียและพลเมืองในมอร็อคโค

          ดังนั้นจึงมีการเคลื่อนย้ายไปยังแถบชายฝั่งแอฟริกาตะวันตกที่ติดมหาสมุทร แอตแลนติกเพื่อแสวงหาชัยภูมิดังกล่าว ทุกครั้งที่พวกเขาไปถึงดินแดนหนึ่งที่มีชาวมุสลิมอาศัยอยู่ พวกเขาก็จะผ่านเลยไปและมุ่งหน้าสู่ดินแดนอื่นทางตอนใต้ลงมา ในที่สุดพวกโปรตุเกสก็ไปถึงแหลมสีเขียว และเมื่อพวกเขาพบว่าในแหลมดังกล่าวมีชาวมุสลิมอาศัยอยู่ พวกเขาก็ก้าวออกไปกว้างกว่านั้นอีก จนมาถึงคองโกและเลยเส้นศูนย์สูตร ต่อมาลมพายุได้พัดกองเรือของปโทลมี ดิอาซฺ ลงสู่ทางใต้จนกระทั่งไปถึงปลายสุดทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกาและผ่านที่นั่นไป จนไปถึงฝั่งแอฟริกาตะวันออกที่ติดมหาสมุทรอินเดีย

          เมื่อกองเรือของ ปโทลมี ดิอาซฺ เดินทางสู่โปรตุเกสเขาก็ขนานนามส่วนปลายสุดทางใต้ของทวีปแอฟริกาว่า แหลมลมพายุ แต่กษัตริย์โปรตุเกสกลับเรียกขานแหลมนั้นว่า แหลมแห่งความหวังดี (กู๊ดโฮป) เพราะมีความหวังในการที่จะปิดล้อมชาวมุสลิม

          โปรตุเกสคือผู้ที่สร้างฐานความคิดและตระเตรียมความพร้อมในการดำเนินการหากมี ความจำเป็น พวกเขาได้ส่งชาวยิวบางส่วนไปยังอิยิปต์ ซึ่งชาวยิวเหล่านั้นพูดภาษาอาหรับได้ดี และเสแสร้งว่าเป็นชาวมุสลิมโดยสร้างความใกล้ชิดกับบรรดาชนชั้นผู้ปกครอง เพื่อสืบหาความลับและสถานภาพของกองทัพมามาลีก (มัมลูก) ซึ่งเป็นกองกำลังที่เข้มแข็งที่สุดของรัฐอิสลามในเวลานั้น ตลอดจนขโมยแผนที่ทางทะเลและการเดินเรือ รวมถึงจุดที่เลยจากเขตเส้นศูนย์สูตรซึ่งยังคงเป็นปริศนาที่พวกยุโรปยังแก้ ไม่ตกจนถึงเวลานั้น

วาสโก เดอ กาม่า          ต่อมาพวกชาวยิวกลุ่มนั้นก็กลับสู่โปรตุเกสและมอบทุกสิ่งที่พวกเขาได้มาแก่ รัฐบาล ซึ่งได้เตรียมกองทัพภายใต้การนำของ วาสโก เดอ กาม่า เอาไว้แล้ว กองเรือรบของ วาสโก เดอ กาม่า ได้มุ่งหน้าสู่ทิศใต้จากเส้นทางแหลมกู๊ดโฮปในปี ฮ.ศ. 903 และอ้อมทวีปแอฟริกา กองเรือของวาสโกได้แล่นไปตามกระแสน้ำโมซัมบิกทางตอนเหนือ และเข้าสู่ซินซิบาร์ ในปี ฮ.ศ.905 พวกโปรตุเกสได้ทำลายมัสญิดจำนวน 300 แห่งในดินแดนแถบตะวันออกของแอฟริกา หลังจากนั้นก็เดินทางต่อจนถึง กัลกัตตา ของอินเดียเพื่อปิดล้อมชาวมุสลิม ณ ที่นั่น

          ในเวลานั้น มหาสมุทรอินเดียเคยเป็นมหาสมุทรของอิสลามมาก่อน ชาวมุสลิมจึงต้อนรับกองเรือรบของโปรตุเกสในฐานะผู้รุกราน วาสโก เดอ กาม่า จึงเดินทางกลับสู่โปรตุเกสเพื่อตระเตรียมการทำสงครามครั้งใหม่กับ กัลกัตตา ซึ่งพวกโปรตุเกสได้ยิงถล่มกัลกัตตาจนราบคาบ มิหน่ำซ้ำพวกโปรตุเกสยังได้จมเรือของชาวฮุจญ๊าจ (ผู้จารึกแสวงบุญ) ในอ่าวโอมาน ซึ่งในเรือลำนั้นมีฮุจญ๊าจกว่าร้อยชีวิต!

          หลังชัยชนะของพวกโปรตุเกสที่มีต่อพวกม่ามาลีกในยุทธนาวีดิยูแล้ว พวกเขาได้ประกาศว่า พวกเขาจะทำลายสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในนครมักกะฮฺและม่าดีนะฮฺ และพวกเขาจะทำลายอิสลามให้สิ้นซากไปพร้อมๆ กัน สิ่งนี้ได้ทำให้พวกออตโตมานจำต้องมุ่งหน้ามาสู่ดินแดนของชาวอาหรับและผนวก รวมดินแดนของชาวอาหรับเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรออตโตมาน (อุษมานียะห์) เพื่อเผชิญหน้ากับพวกโปรตุเกส (ณ จุดนี้บทบาทของออตโตมารปรากฏอย่างชัดเจนในการปกป้องชาวมุสลิมจากการตกเป็น ทาสของพวกโปรตุเกสซึ่งมักจะคุกคามชาวมุสลิมอยู่เนืองๆ)

วาสโก เดอ กาม่า          เช่นนี้เอง หลังจากที่เราได้นำเสนออย่างสรุปๆ เราก็สามารถชี้ขาดได้ว่า จิตวิญญาณแห่งครูเสดคือสิ่งที่ครอบงำการค้นพบดังกล่าว และเป็นสิ่งเร้าโดยพื้นฐานในการค้นพบนั้น สิ่งดังกล่าวปรากฏอย่างชัดเจนในโครงการของ อัลบูเคอร์ก ซึ่งเป็นผู้สืบทอดภาระกิจของวาสโก เดอ กาม่า ตลอดจนคำพูดของเขาที่ว่า : เขาต้องการทำให้โครงการ 2 โครงการที่ตนวางเอาไว้สัมฤทธิ์ผลก่อนตาย กล่าวคือ

          1. เปลี่ยนลำน้ำไนล์ให้ไหลลงสู่ทะเลแดงเพื่อปิดกั้นอิยิปต์จากการใช้ประโยชน์ของแม่น้ำไนล์ในการชลประทาน ทั้งนี้เพราะอิยิปต์ในเวลานั้นเป็นรัฐอิสลามที่สำคัญที่สุดทั้งทางด้าน ชัยภูมิทางยุทธศาสตร์ จำนวนประชากร และทรัพยากรอันมั่งคั่งตลอดจนผืนแผ่นดินอันกว้างใหญ่ที่ครอบคลุมนับแต่ ซีเรียถึงแคว้นอัลฮิญาซฺในคาบสมุทรอาหรับ

          2. ทำลายนครม่าดีนะฮฺ และขุดสุสานของท่านร่อซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ตลอดจนการขุดขุมทรัพย์ที่นั่นซึ่งมีจินตนาการกันว่า สุสานของท่านศาสนทูตเต็มไปด้วยไข่มุก อัญมณีเหมือนกับในนครวาติกัน และยึดเอาศพของท่านศาสนทูตมาเป็นตัวประกันเพื่อให้ชาวมุสลิมถอนตัวออกจาก สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในปาเลสไตน์ ในคำกล่าวสุนทรพจน์ของอัลบูเคอร์กที่เขากล่าวไว้ในปี ค.ศ. 1917 ก่อนหน้าการโจมตีครั้งที่สองของเขาต่อเมือง มะละกา ในคาบสมุทรมลายู ระบุว่า : เรื่องแรกคือการรับใช้อันยิ่งใหญ่ซึ่งเราจะถวายต่อพระเป็นเจ้าขณะเมื่อเราทำ การขับไล่ชาวมุสลิมออกจากดินแดนนี้ และเราจะดับไฟของกลุ่มมะหะหมัดให้มอดลงเพื่อที่มันจะไม่ปรากฏขึ้นมาอีกตลอด กาล และข้าพเจ้ามีความตั้งใจอันแรงกล้าสำหรับผลลัพธ์เช่นนี้ เมื่อเราสามารถปลดปล่อยมะละกาจากน้ำมือของพวกมุสลิม และนครไคโรต้องล่มสลาย และมักกะฮฺก็ต้องล่มสลายลงหลังจากนั้น”

ทำนอง เดียวกันเราก็สามารถดมกลิ่นแห่งความชิงชังนั้นได้จากสาสน์ที่แลกเปลี่ยนกัน ระหว่างกษัตริย์เอ็มมานูเอ็ล ของโปรตุเกสกับพระราชินีอะลีนี่ แห่งเอธิโอเปีย ซึ่งพระนางได้กล่าวไว้ในสาสน์ฉบับหนึ่งว่า : ด้วยพระนามของพระเป็นเจ้า และศานติจงมีแด่เอ็มมานูเอ็ล ผู้เป็นนายแห่งท้องสมุทร ผู้กำหราบชาวมุสลิมที่หยาบช้าและเป็นพวกนอกรีต ขอแสดงความคารวะมายังพวกท่านและคำวิงวอนของฉันที่มีต่อพวกท่าน

          เรารู้มาว่า สุลต่านของอิยิปต์ได้เตรียมกองทัพขนาดใหญ่เอาไว้เพื่อเข้าตีกองทัพของพวก ท่าน และแก้แค้นต่อความปราชัยที่สุลต่านได้รับจากเหล่าแม่ทัพนายกองของพวกท่านใน อินเดีย เราพร้อมเสมอสำหรับการต่อต้านการรุกรานของพวกนอกรีตด้วยการส่งกองทหารที่มี ไพร่พลมากที่สุดของเราในทะเลแดงสู่เมกกะฮฺหรือเกาะอัลมันดา หากพวกท่านประสงค์เราจะส่งกองทัพไปยังญิดดะฮฺหรือเมืองฏู๊ร การดังกล่าวก็เพื่อทำลายเชื้อโรคแห่งการปฏิเสธให้สิ้นซาก ดูเหมือนว่า บัดนี้ถึงเวลาแล้วในการทำให้การพยากรณ์ถึงการปรากฏตัวขึ้นของกษัตริย์เม สสิอาฮฺให้เป็นจริงซึ่งพระองค์สามารถทำลายล้างพวกประชาคมมุสลิมในเวลาอัน สั้น” (ดูเพิ่มเติม ; มุฮำหมัด นัซร์ อัลอะฮฺดับ ; อ้างแล้ว นับจากหน้า 49 : 51 / ดร.อัลดุลลฮฺ อับดุรร็อซซ๊าก อิบรอฮีม ; อัลมุสลิมูน วัลอิสติอฺมาร ลิ อัฟริกียา : อาลัม อัลมะอฺริฟะฮฺ หน้า 139, คูเวต ฮ.ศ. 1409/ค.ศ.1989)

          จากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น ย่อมเป็นที่ชัดเจนว่า ประดาสิ่งผลักดันในการค้นพบทางภูมิศาสตร์ของโปรตุเกสนั้นมิได้ป็นไปเพื่อการ เรียนรู้ทางวิทยาการ ทั้งนี้เป็นเพราะผู้ดำเนินอยู่เบื้องหลังการเรียนรู้ทางวิทยาการย่อมมีความ เด่นชัดด้วยคุณลักษณะทางมนุษยธรรมและจริยธรรมอันสูงส่ง แต่สิ่งนี้นั้นเราไม่อาจสัมผัสได้เลยในระหว่างการรับรู้ของเราถึงการดำเนิน การต่างๆ ซึ่งพวกโปรตุเกสได้ดำเนินการ หลังจากสิ่งดังกล่าว เราก็ต้องถามต่อไปว่า เพราะเหตุใดกลุ่มประเทศยุโรปอื่นๆ จึงไม่มีการดำเนินการเฉกเช่นการค้นพบที่ถูกเจือสมนี้ ทั้งๆ ที่กลุ่มประเทศยุโรปมีความเข้มแข็งยิ่งกว่าสเปนและโปรตุเกสเสียอีก? และเพราะเหตุใดที่การสนับสนุนทั้งหลายแหล่มาถึงประเทศทั้งสองซึ่งประเทศ ยุโรปอื่นๆ มิเคยได้รับเช่นนั้นมาก่อน แท้ที่จริงมันคือความชิงชังที่ฝังลึก ซึ่งมีต่อศาสนาอิสลามและชาวมุสลิมนั่นเอง

การเดินทางของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส
          ปี ฮ.ศ. 898/ ค.ศ. 1492 นครฆอรนาเฎาะฮฺ (แกรนาดา) ซึ่งเป็นที่มั่นสุดท้ายของชาวมุสลิมในเอ็นดาลูเซีย (อัลอันดะลุส) ได้เสียแก่ฝ่ายอาณาจักรคริสเตียน และพวกออตโตมาน (อุษมานียะฮฺ) สามารถพิชิตกรุงคอนสแตนติโนเปิลมาก่อนหน้านั้นแล้ว 39 ปี และจากกรุงคอนสแตนติโนเปิลนั่นเองพวกออตโตมานได้รุกคืบสู่การพิชิตยุโรป ตะวันออก อันเป็นสิ่งที่ทำให้พวกออตโตมานกลายเป็นภัยคุกคามอย่างใหญ่หลวงต่อบรรดา อาณาจักรคริสเตียนในยุโรปทั้งหมด

คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส          ในปีเดียวกับที่นครฆอรนาเฏาะฮฺ (แกรนาดา) เสียแก่ฝ่ายคริสเตียนนั้น คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ก็สามารถโน้มน้าวพระนางอิซาเบลล่า พระราชินีคริสเตียนสเปน (เอ็นดาลูเซียเดิม) ให้ทรงยอมสนับสนุนงบประมาณในการเดินทางของตนข้ามทะเลแห่งความมืดมน (มหาสมุทรแอตแลนติก) คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ได้ปลุกเร้าให้พระนางอิซาเบลลาทรงมีความทะเยอมะยานต่อการทำให้สงครามครูเสด ซึ่งล้มเหลวเป็นจริง นั่นคือ ความปราชัยของอิสลามที่ยุโรปเพียรพยายามให้เกิดขึ้น โคลัมบัสได้ให้คำสัญญาต่อชาวยุโรปในการนำเอานครเยรูซาเล็มกลับคืนมา โดยอาศัยการเดินทางสู่ทิศตะวันตก (ลัยลา มุฮำหมัด ; อัตตารีค อัลละซีย์ ฆ่อยรุ่มัจญรอ อัซซอคฟะฮฺ ; หน้า 110 / นิตยสาร อัชชาฮิดฺ อันดับที่ 77 มกราคม 1992)

พระนางอิซาเบลล่า          คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ซึ่งเป็นชาวเจนัว ได้เดินทางออกจากสเปนในวันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 1492/ ฮ.ศ. 898 และไปถึงหมู่เกาะแคนารี่ และจากที่นั่นก็เดินทางอย่างต่อเนื่องสู่ทิศตะวันตก มีการแข็งข้อของลูกเรือต่อผู้นำกองเรือและเรียกร้องให้บ่ายหน้ากลับ แต่โคลัมบัสก็สามารถทำให้เขาสงบลงได้ด้วยการปลุกเร้าความเด็ดเดี่ยวและกล้า หาญให้เกิดขึ้นในจิตใจของพวกเขา ในที่สุดโคลัมบัสก็มาถึงอเมริกากลางในวันที่ 10 ตุลาคมจากปีเดียวกัน การเดินทางของโคลัมบัสเกิดขึ้นตามมาถึง 4 ครั้ง แต่เขาก็ไม่สามารถบรรลุถึงเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ในการเดินทางแต่ละครั้ง นั่นคือ การโอบล้อมชาวมุสลิม เหตุนี้เขาจึงถูกจับกุมและถูกควบคุมตัวส่งไปยังสเปนตลอดจนถูกกล่าวหาว่าร่วม สมคบคิดเป็นขบถแต่ในท้ายที่สุดเขาก็ได้รับการให้อภัย

อเมริโก เวสปุชชี           ต่อมา อเมริโก เวสปุชชี (ชาวฝรั่งเศส) ได้ทำการเดินทางหลังจากโคลัมบัส อเมริโกรู้ดีว่า สิ่งที่โคลัมบัสไปถึงก่อนหน้าเขานั้นเป็นเพียงดินแดนใหม่สำหรับชาวยุโรป และเขาก็เริ่มสงครามทำลายล้างกับพลเมืองดั้งเดิมของอเมริกา นั่นคือข้อมูลโดยสรุปสำหรับสิ่งที่เรารับรู้ถึงการเดินทางของโคลัมบัสและการ เดินทางของอเมริโก เวสปุชชี ในเวลาต่อมา นอกจากว่าการเดินทางครั้งนี้มีประวัติศาสตร์ที่ไม่เคยรู้กัน ซึ่งไม่เคยถูกเปิดเผยมาก่อนนอกจากในตอนหลังๆ มานี้ อันเป็นสิ่งที่เราจะได้ระบุถึงในบทต่อไป

ลาซริก อัลอะฮฺมัร คือผู้ค้นพบอเมริกาหาใช่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส
          ชาวมุสลิมเช่นกันที่มีบทบาทสำคัญในการค้นพบอเมริกาอย่างเป็นทางการ ดร.ซีมอน อัลฮายิก นักเขียนหนังสือและนักค้นคว้าผู้ชำนาญการในประวัติศาสตร์อารยธรรมอิสลามใน เอ็นดาลูเซีย ได้ทำการศึกษาถึงบทบาทอันสำคัญยิ่งยวดของชาวมุสลิมในการค้นพบอเมริกาผ่าน เอกสารต่างๆ ของการเดินทางที่ดำเนินการโดยคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส และการย้อนกลับไปยังรายชื่อและประวัติของบุคคลต่างๆ ที่ร่วมกับโคลัมบัสในการเดินทางและแบกรับชะตากรรมอันมืดมนนับจากที่เรือถอน สมอออกจากเมืองท่า เซวิลล์ ก่อนที่โคลัมบัสจะไปถึงทวีปใหม่และเข้าสู่หน้าประวัติศาสตร์ สิ่งสำคัญในการศึกษานี้คือเรื่องโอละพ่อและโศกนาฏกรรม

          ผู้วิจัยได้อาศัยการค้นคว้าโดยละเอียดและน่าสนใจจนบรรลุถึงการย้อนกลับไปยัง บรรดาเหตุการณ์ของการเดินทาง และยังรายชื่อของผู้เข้าร่วมในการเดินทางครั้งนี้ ซึ่งบรรดาตำราประวัติศาสตร์มิเคยให้ความกระจ่างถึงรายชื่อของพวกเขามาก่อน เลย บุคคลแรกที่เป็นผู้ค้นพบทวีปอเมริกาที่แท้จริงคือ ชาวมอริสโก (ชาวมุสลิมในเอ็นดาลูเซียหลังยุคแกรนาดาแตก) ที่จำต้องเข้ารีตในคริสต์ศาสนาโดยการบังคับ ชื่อของเขาคือ ลาซริก อัลอะฮฺมัร อัตตุรยานีย์ บุคคลผู้นี้คือคนแรกที่เห็นฝั่ง (แผ่นดิน) ของอเมริกาและยิงปืนสลุตพร้อมกับตะโกนว่า แผ่นดิน! แผ่นดิน! (ยาบิซะฮฺ) และร้องขอรางวัลความดีความชอบ ทว่าคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสซึ่งเป็นทั้งนักกวี, พ่อค้า, ผู้เคร่งครัดที่ไม่แยแสต่อวัตถุและเป็นยิวผู้ตระหนี่ถี่เหนียวซึ่งแสวงหา ทรัพย์สินจากทุกวิถีทาง

          กล่าวคือ เขาเป็นคนที่มีบุคลิกที่ขัดแย้งกันในตัวเอง เขากลับเชื่อว่า รางวัลที่จะได้รับเป็นสิทธิที่ตนพึงได้ไม่ใช่ผู้อื่น และพระราชินีก็จะต้องทรงประทานรางวัลความดีความชอบนี้แก่ตน ซึ่งมีจำนวน 10,000 โมราวิด (สกุลเงินของพวกอัลมุรอบิฏูน) อันเป็นสกุลเงินของเอ็นดาลูเซียที่ยังคงเป็นที่นิยมแพร่หลายในช่วงเวลาของ การค้นพบทวีปอเมริกา และเราได้กล่าวมาก่อนแล้วว่า การค้นพบอเมริกาอยู่ร่วมสมัยกับการที่นครแกรนาดาตกเป็นของฝ่ายคริสเตียน

          คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส และลาซริก อัตตุรยานีย์ หรือ ลาซริก อัลอะฮฺมัร (ซึ่งสืบเชื้อสายถึงกษัตริย์องค์หนึ่งในวงศ์อัลอะฮฺมัร ในนครแกรนาดา (ฆอรนาเฏาะฮฺ) ชาวมอริสโกได้กลับสู่สเปน ลาซริกได้โอดครวญถึงความอธรรมและการฉ้อฉลนี้ โดยที่เขามิอาจจะกระทำการใดๆ ได้เลย ท่านต้องการให้พวกคริสเตียนเชื่อลาซริกกระนั้นหรือ ทั้งที่เขาเป็นมอริสโกที่เปลี่ยนศาสนา และกล่าวหาว่าคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสโกหกกระนั้นหรือ? สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นก็คือ ลาซริกผู้นี้ได้ออกเดินทางจากแคสทีล (กิชตาละฮฺ) มุ่งหน้าสู่มอรอคโคโดยติดตามไปร่วมสมทบกับพวกวงศ์อัลอะฮฺมัรที่เหลืออยู่ และที่นั่นเขาได้หวนกลับสู่ศาสนาอิสลามอีกครั้ง (ดู ซีมอน อัลฮายิก “วัลอะรอบ ชารอกู ฟิลอิกติช๊าฟ” หน้า 307 พิมพ์ครั้งที่ 1 ; 1991)

          ลาซริก มิใช่นักเดินเรือชาวมุสลิมเพียงผู้เดียวที่สเปนได้อาศัยเขาหลังจากการเข้า รีตในคริสต์ศาสนา ดุ๊กแห่งเมืองชะซูนะฮฺ ก็เป็นชาวมุสลิมที่เข้ารีตในคริสต์ศาสนาเช่นกัน เขาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทั่วไปของกองเรือรบสเปนในมหาสมุทรแอตแลนติกและแถว ชายฝั่งเอ็นดาลูเซีย น้องสาวของเขาคือพระราชินีของโปรตุเกส ดุ๊กผู้นี้เคยมีความคิดในการปลดแอกเอ็นดาลูเซียและตั้งตนเป็นกษัตริย์เหนือ เอ็นดาลูเซีย บรรดาผู้ร่วมวางแผนการจากชาวมุสลิมที่ยังคงตกค้างอยู่ในเอ็นดาลูเซียได้ลอบ ติดต่อกับเจ้าชายมอริสโกคนหนึ่งซึ่งเป็นลูกหลานของสุลต่าน อบี อับดิลลาฮฺ (โบดิลล่า) สุลต่านแห่งแกรนาดา เจ้าชายผู้นี้อาศัยอยู่ในเทือกเขากอดู๊ร ทางตอนเหนือของเมือง อัลม่ารียะฮฺ ต่อมาเขาก็เข้าร่วมกับพวกกบฏที่ลุกฮือภายใต้นามชื่อว่า ตอฮิร อัลฮุรรุ้ โดยมีเงื่อนไขว่า เขาจะได้เป็นกษัตริย์ปกครองดินแดนตะวันออกของเอ็นดาลูเซีย ฝ่ายดุ๊กแห่งเมืองชะซูนะฮฺ ก็ให้การสนับสนุนเจ้าชายผู้นี้ และชาวเอ็นดาลูเซียในมอรอคโคก็สัญญาว่าจะส่งกองทัพของพวกเขาเพื่อเข้าร่วม สนับสนุนในการกบฏลุกฮือต่อสเปน

          แผนการทั้งหมดนี้ไม่ประสบความสำเร็จ ดุ๊กแห่งชะซูนะฮฺถูกสอบปากคำและถูกอายัดทรัพย์สินในชะลูเกาะฮฺ แคว้นกอดิซ และจำต้องสารภาพบาป (ดร.อะลี มุนจะซิร อัลกัตตานีย์ “อัซเซาะฮฺวะฮฺ อัลอันดะลุซียะฮฺ ฟิล อันดะลุส อัลเยาวฺม์” หน้า 67, กิตาบอัลอุมมะฮฺ (31) กาตาร์  ฮ.ศ. 1412/ ค.ศ. 1992) ชาวมุสลิมไม่เพียงแต่มีส่วนร่วมในการเดินทางค้นพบของโคลัมบัสเท่านั้น ทว่าการมีส่วนร่วมของพวกเขานั้นมีอิทธิพลอย่างยิ่งยวดในการตระเตรียมข้อมูล ทางวิทยาการ และการหยิบยื่นให้แก่การเดินทางจากเข็มทิศซึ่งชาวมุสลิมนำเข็มทิศเข้ามาใช้ ในการเดินทางทะเล และแพร่หลายในเอ็นดาลูเซียนับแต่รัชสมัยของอัลหะกัม อิบนุ อัลอะมัร ฮิชามฺ ตลอดจนสมุดคู่มือแนะนำการเดินเรือ ซึ่งชาวมุสลิมเรียกว่า “รุฮฺมานีย์” รวมถึง แผนที่ทางทะเลและวิธีการเดินเรือ อีกทั้งลู่ทางในการรู้จักกลุ่มดาวต่างๆ หากไม่มีศักยภาพทางวิทยาการและศาสตร์ต่างๆ รวมกันแล้ว การเดินทางย่อมมิอาจประสบผลสำเร็จได้เลย

          เราจะต้องไม่ลืมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะที่นครแกรนาดา (ฆอรนาเฎาะฮฺ) ตกเป็นของฝ่ายคริสเตียนจากการเผาทำลายหอสมุดในมัสญิดแห่งนครแกรนาดา หรือการที่พวกครูเสดสุดโต่งชาวสเปนจากคณะผู้ตรวจสอบได้โยนข้อเขียนทาง วิชาการของชาวอาหรับลงสู่แม่น้ำเป็นจำนวนหลายตัน จนกระทั่งแม่น้ำกลายเป็นสีน้ำเงินเนื่องจากหมึกที่ละลายไปกับสายน้ำ ซึ่งบรรดาข้อเขียนดังกล่าวอาจจะรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับทวีปอเมริกาทั้งสองเอาไว้ก็เป็นได้ บรรดานักบูรพาคดีชาวสเปนได้ตั้งคำถามถึงการศึกษาของสเปนในทุกวันนี้ว่าจะ เป็นเช่นใด? ถ้าหากบรรดาเจ้าหน้าที่ของศาลตรวจสอบมิได้อาจหาญก่ออาชญากรรมที่น่ารังเกียจ นี้ แน่นอนความเสียดายย่อมมิอาจส่งผลอันใดที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เสียดายนั้น (ดร.ซัยยิด อันนาซิรี่ย์ “อัลวัรรอเกาะฮฺ วัน นัซซาคูน ว่าเดารุ้ฮุม ฟิล ฮะฏอเราะฮฺ อัลอะรอบียะฮฺ อัลอิสลามียะฮฺ”)

          นี่คือความพยายามสำหรับความเป็นกลางและสิทธิทางประวัติศาสตร์ ฉะนั้นชาวมุสลิมต่างหากหาใช่ชาวสเปน พวกเขาคือผู้ที่ค้นพบทวีปอเมริกา และชาวสเปนไปถึงอเมริกาโดยอาศัยชาวมุสลิม เราจึงมีสิทธิตั้งคำถามว่า ถึงเวลาแล้วหรือยังสำหรับการย้อนกลับไปเขียนประวัติศาสตร์ของเราใหม่ และอ่านประวัติศาสตร์นั้นด้วยตัวของเราเองแทนที่จะถ่ายทอดและพี่งพาผู้อื่น ?