กฎข้อที่ ๒ ว่าด้วยคำที่ตกอยู่หลัง “อิตู” (إيت)

1412

قاعدة يڠ كدوا

فد مپتاكن كلمة يڠ جاتوه اى كمدين درفد “إيت”1

คำว่า إيت  แปลว่า  นั่น, นั้น  ทำหน้าที่บ่งชี้ถึงคำขยายหรือคำบอกเล่าถึงใจความของประโยคที่สมบูรณ์  เรียกในภาษาอาหรับว่า (خبر)  “ค่อบัร”

ดังนั้นคำที่ตกอยู่หลัง อิตู (إيت) นั้นจะถือเป็นคำขยาย (خبر) ซึ่งจะทำให้ใจความของประโยคนั้นสมบูรณ์และสื่อความหมายรู้เรื่อง

 

 

 

ตัวอย่าง

برمول حيض ايت يا أيت داره يڠ كلوار دڠن سبب طبيعة ….  “เฮดนั้นคือ เลือดที่ออกมาด้วยเหตุปกติ (ตามธรรมชาติ)…

คำอธิบาย   คำว่า  حيض  นั้นตกอยู่หลังคำ برمول  จึงถือเป็นคำนามขึ้นต้นประโยค (مبتدأ) ส่วนคำว่า أيت  นั้น จะบ่งว่าคำนามที่ตกอยู่หลังจากมันเป็นคำขยาย (خبر) ดังนั้นคำว่า داره  ซึ่งตกอยู่หลัง أيت  จึงถือเป็นคำขยาย  (خبر) สำหรับประโยคตัวอย่าง

 

ทั้งนี้หากไม่มีคำขยาย (خبر) ถูกกล่าวตามมาในประโยค ประโยคก็จะไม่สมบูรณ์ไม่ได้ใจความเพราะสื่อไม่รู้เรื่องว่า  “เฮด”นั้นคืออะไร ?  แต่เมื่อกล่าว  يا ايت داره ประโยคก็จะได้ใจความตามที่มุ่งหมาย นั้นคือ “เฮดนั้นคือเลือด” ไม่ใช่น้ำอสุจิ  เป็นต้น

 


 

บางทีคำขยาย (خبر) ของประโยคที่สมบูรณ์นั้นก็ถูกกล่าวโดยไม่มีคำว่า อิตู (أيت) นำหน้ามาก่อน ซึ่งสามารถเข้าใจได้ตามสำนวนของประโยค

 

ตัวอย่าง

سگل ركن وضوء أنم فركارا  “บรรดารู่ก่นของการอาบน้ำละหมาดนั้นมี 6 ประการ

คำอธิบาย  คำว่า سگل ركن وضوء  นั้นถือเป็นคำขึ้นต้นประโยค ถึงแม้ว่าคำ برمول จะไม่ถูกกล่าวไว้ก่อนหน้าก็ตาม  หากกล่าวเพียงแค่นี้แล้วหยุดนิ่งไปก็ไม่อาจทราบว่าสาระสำคัญของคำที่กล่าวมาคืออะไร ?

 

ดังนั้นคำว่า (หกประการ) จึงเป็นคำขยาย  (خبر)  และเติมเต็มใจความอันเป็นสาระสำคัญของประโยคว่า  บรรดารู่ก่นของการอาบน้ำละหมาดนั้นมี (หรือคือ) 6 ประการ ประโยคก็จะเป็นประโยคที่สมบูรณ์ รู้ใจความ

 

สังเกตได้ว่า  คำ  أنم فركارا  นั้นไม่มีคำว่า  أيت  กล่าวนำหน้ามาก่อน  แต่ก็ถือว่าคำ أنم فركارا   นั้นเป็นคำขยาย (خبر) ให้กับคำขึ้นต้นของประโยคโดยพิจารณาจากสำนวนที่น่าจะเป็น  หรือไม่ก็ให้สังเกตว่า คำๆ นั้นตกอยู่หลัง ياأيت  ก็ได้ จึงพอสรุปได้ว่า  คำใดก็ตามอยู่หลัง  ياأيت หรือ أيت ให้ถือว่าคำๆนั้นเป็นคำขยาย (خبر) ให้กับคำขึ้นต้นประโยค  (مبتدأ)

 

 

ตัวอย่างเพิ่มเติม

1. يڠ ممبطلكن اير سمبهيڠ ايت امفت  “สิ่งซึ่งทำให้การอาบน้ำละหมาดเสีย (โมฆะ) นั้นคือ 4 ประการ

คำว่า امفت ตกอยู่หลังคำว่า أيت   ให้ถือว่าเป็นคำขยาย (خبر)….”

2. برمول سمبهيڠ جمعة ايت فرض عين أتس ….  “การละหมาดวันศุกร์นั้นคือฟัรฎูอีนเหนือ…….”

คำว่า فرض عين  ตกอยู่หลังคำว่า أيت ถือว่าเป็นคำขยาย (خبر)”

 

3. سگل روكن وضوء يا ايت انم فركارا  “บรรดารุก่นของการอาบน้ำละหมาดนั้น คือ 6 ประการ

คำว่า انم فركارا ตกอยู่หลังคำว่า ياايت   ให้ถือเป็นคำขยาย (خبر)

 


 

บางทีคำขยาย (خبر)  ให้กับคำขึ้นต้นประโยค (مبتدأ)  ก็ถูกกล่าวไว้โดยไม่มีคำว่า  أيت หรือ ياأيت ถูกกล่าวนำมาก่อนก็มี

سبب واجب مندى ليم فركارا “เหตุที่จำเป็นต้องอาบน้ำ (ยกหะดัส) มี 5 ประการ

คำอธิบาย   คำว่า  ليم فركارا  ในประโยคตัวอย่างถือเป็นคำขยาย (خبر) ทั้งๆที่ไม่มีคำว่า ياأيت หรือ أيت   ถูกกล่าวมาก่อน

ทั้งนี้ให้พิจารณาจากสำนวนของประโยคซึ่งสามารถสมมุติ (تَقْدِيْرٌ) รูปประโยคในสำนวนเต็มได้ว่า

دان برمول سبب واجب مندى ايت (ياايت) ليم فركارا

ซึ่งแปลได้ใจความเหมือนรูปประโยคตัวอย่างเดิม แต่มีคำมากกว่าเท่านั้นเอง หากตัดคำที่เพิ่มเข้ามาออกจนเหลือเท่ากับรูปประโยคตัวอย่างก็ไม่ได้เสียใจความแต่อย่างใด

*  (หมายเหตุ)  :  การจะทำความเข้าใจกับกฎข้อที่หนึ่งและกฎข้อที่สองนั้น  ผู้อ่านควรจะศึกษาไวยากรณ์อาหรับ  บท  คำขึ้นต้นประโยคคำนาม  (مُبْتَدَأٌ)  และคำขยาย (خَبَرٌ)  ในส่วนของประโยคคำนาม  (جُمْلَةٌ اسْمِيَّةٌ)  ด้วย

 

* อนึ่งกรณีที่ประโยคในภาษามลายูมีคำว่า  ياايت  ถูกกล่าวอยู่หลังคำว่า  ايت  ให้ถือว่าคำ ياايت  เป็นคำขึ้นต้นประโยคตัวที่สอง  (مبتدأثانٍ) และคำที่ถูกกล่าวหลัง  ياايت  ให้ถือเป็นคำขยาย  (خبر)  ให้แก่คำว่า  ياايت  ตลอดจนคำว่า  ياايت  และคำที่ตกอยู่หลังมันให้ถือเป็นคำขยาย  (خبر)  ให้แก่คำขึ้นต้นประโยค  (مبتدأ)  ที่อยู่ก่อนหน้าคำว่า  ايت  ดังตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้น  ซึ่งสามารถอธิบายคำในประโยคได้ดังนี้

 

ตัวอย่าง

برمول حيض ايت ياايت داره……..

คำอธิบาย

برمول : คำซึ่งมีหน้าที่บ่งชี้ว่าคำที่ตกอยู่หลังจากมันเป็น  مُبْتَدَأٌ  (คำขึ้นต้นประโยค)
حيض إيت : คำขึ้นต้นประโยค  (مبتدأ)  ตัวที่  1
ياايت : คำขึ้นต้นประโยคตัวที่  2  (مبتدأثانٍ)
داره : คำขยายใจความ (خَبَرٌ) ให้แก่คำขึ้นต้นประโยคตัวที่  2  (خَبَرٌلِمُبْتَدَإٍثَانٍ)  และคำว่า  ياايت  ตลอดจนคำว่า داره  ตกเป็นคำขยายใจความ (خَبَرٌ) ให้แก่คำขึ้นต้นประโยค (مبتدأ) ตัวที่ 1  อีกทีหนึ่ง

alt

ايت