อัตตีฟาชี่ย์ (التيفاشي)

{jcomments on}ซิฮาบุดดีน อบุลอับบาส อะฮฺมัด อิบนุ ยูซุฟ อัตตีฟาชีย์ เขามีชีวิตอยู่ในระหว่างปี ฮ.ศ.580-651 และถือกำเนิดที่เมือง ตีฟ๊าช ซึ่งเป็นเขตหนึ่งของกอฟเซาะฮฺ ในตูนิเซีย และเสียชีวิต ณ กรุงไคโร ขณะที่มีอายุมากกกว่า 70 ปี บิดาของอัตตีฟาชี่ย์เคยเป็นตุลาการมาก่อน

อัตตีฟาชี่ย์ เป็นนักวิชาการที่ชอบเดินทางท่องโลก เขาเคยเยือนกรุงไคโรขณะที่มีอายุน้อย และศึกษากับนักปราชญ์ มุวัฟฟัก อัดดีน อับดุลละตีฟ อัลบัฆดาดีย์ ในปี ฮ.ศ.557-629 ต่อมาเขาเดินทางกลับสู่เมือง ตีฟ๊าช และดำรงตำแหน่งตุลาการ (กอฎี) ที่นั่น

ต่อมา อัตตีฟาชี่ย์ ได้เดินทางสู่กรุงไคโรอีกครั้งหนึ่งเพื่อรับตำแหน่งตุลาการ (กอฎี) ในอิยิปต์ ที่นั่นเขาได้ศึกษาเรื่องราวของชั้นหินและแร่ธาตุในประเด็นต่อไปนี้ คือ

1) อายุของชั้นหิน สถานที่และการตกตะกอนของชั้นหิน

2) ชนิดของหิน

3) คุณสมบัติของหิน

4) ความสัมพันธ์ขั้นพื้นฐานและสื่อการใช้หิน

5) คุณค่าของหิน

นักประวัติศาสตร์ต่างเห็นพ้องกันว่า อัตตีฟาชี่ย์ คือ บุคคลแรกที่พยายามแต่งตำราทางวิชาการที่เกี่ยวกับแร่ธาตุโดยศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติพิเศษของหินชนิดต่างๆ และเขาคือบุคคลแรกที่กำหนดทฤษฎีพื้นฐานว่าด้วยการกำเนิดทรัพยากรแร่ธาตุ

ในตำรา “ฟัสลุ้ลคิต๊อบฯ” ของอัตตีฟาชี่ย์ ได้ระบุถึงข้อมูลเกี่ยวกับปรากฎการณ์รุ้งกินน้ำ , เมฆ , กลุ่มดาวตก , ลม , ลมพายุ , มรสุม , แผ่นดินไหว , การเกิดสุริคราส และจันทรคราส , เรื่องของธาตุไฟและน้ำมันดิบ ฯลฯ ผลงานทางวิชาการของอัตตีฟาชี่ย์มีผลอย่างใหญ่หลวงบต่อภูมิปัญญาของยุโรปซึ่งไม่เพียงแต่เฉพาะในด้านธรณีวิทยาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงศาสตร์แขนงอื่นอีกด้วย