บทกวีสอนใจ – ๒

นั ก ฟิ ก ฮฺ แ ล ะ ซู ฟี ย์

فَقِيْهًاوَصُوْفِيًافَكُنْ لَيْسَ وَاحِدًا                فَإِنِّىْ وَحَقِّ اللهِ إِيَّاكَ أَنْصَحُ

فَذٰلِكَ قَاسٍ ، لَمْ يَذُقْ قَلبُه تُقًى     وَهٰذَاجَهُولٌ ، كَيْفَ ذُوالْجَهْلِ يَصْلُحُ

นักฟิกฮฺและซูฟีย์ท่านจงเป็นมิใช่เพียงหนึ่ง   ด้วยสิทธิของเอกองค์ฉันขอตักเตือนท่าน

คนนั้นหยาบกระด้าง      หัวใจเขาหาได้ลิ้มรสความเกรงกลัว

คนนี้ก็โง่เขลายิ่ง      คนโง่จะดีได้อย่างไรกัน?

ค ว า ม ถ่ อ ม ต น ข อ ง ผู้ รู้

كُلَّمَاأَدَّبَنِى الدّﻫ   رُأََرَانِى نَقْصَ عَقْلِى

وإذاماازْدَدْتُ عِلْمًا      زَادَنِى عِلْمًابِجَهْلِى

ทุกครั้งคราที่กาลเวลาได้สอนสั่งฉัน      ฉันก็เห็นว่าตัวฉันปัญญาพร่อง

และเมื่อใดที่ฉันได้เพิ่มพูนความรู้          มันก็เพิ่มความรู้ว่าฉันโง่เขลา

ค ว า ม รั ก ที่ สั จ จ ริ ง

تَعْصِى الإِلهَ وَأَنْتَ تُظْهرحُبَّه      هَذٰامُحَالٌ فِى الْقِيَاسِ بَدِيْعُ

لَوْكَانَ حُبُّكَ صَادِقًالأَطَعْتَه     إِنَّ الْمُحِبَّ لِمَنْ يُحِبُّ مُطِيْعُ

فِى كُلِّ يَوْمٍ يَبْتَدِيْك بنِعْمَةٍ     مِنْه وأنتَ لِشُكرِذاكَ مُضِيْعُ

ท่านฝ่าฝืนพระเป็นเจ้าทั้ง ๆ ท่านแสดงออกถึงความรักในพระองค์

สิ่งนี้ในการเทียบเคียงย่อมเป็นไปไม่ได้อย่างไร้สิ่งเปรียบปราน

มาตรว่าความรักของท่านสัจจริงแล้วไซร้ท่านย่อมภักดีต่อพระองค์

แท้จริงผู้มีความรักนั้นย่อมเชื่อฟังผู้ที่เขามอบความรักให้

ในทุกวันเวลาพระองค์ทรงสำแดงแก่ท่านด้วยความโปรดปราน

จากพระองค์  โดยที่ท่านทำให้สูญเปล่าต่อการรู้คุณในสิ่งนั้น

ค ว า ม ส ง บ นิ่ ง คื อ ค ำ ต อ บ ส ำ ห รั บ ค น เ ข ล า

إِذَانَطَقَ السَّفِيْهُ فَلاَتُجِبْهُ   فَخَيْرٌ مِنْ إِجَابَتِهِ السُّكُوْتُ

فإنْ كَلَّمْتَه فَرَّجْتَ عَنْهُ        وإنْ خَلَّيْتَه كَمَدًايَمُوْتُ

เมื่อคนเขลาเบาปัญญาได้เอื้อนเอ่ย  ก็จงอย่าได้วิสัชนา

สงบนิ่งนั้นหนาย่อมดีกว่าการวิสัชนาคนโง่เง่า

หากท่านเจรจาพาทีแล้วไซร้  ท่านนั้นเปิดช่องแก่เขาแล้ว

และหากปล่อยเขาให้เดียวดายเขาจะม้วยมรณาโดยระทมใจ

يُخَاطِبُنِى السَّفِيْهُ بِكُلِّ قُبْحٍ    فَأَكْرَهُ أَنْ أَكُوْنَ لَه مُجِيْبًا

يَزِيْدُ سَفَاهَةً فَأَزِيْدُ حِلْمًا    كَعُوْدٍزَادَه الإِحرَاقُ طِيْبًا

คนขลาดเขลามีวาทะโต้ตอบฉันด้วยประดาสิ่งน่าชัง

ฉันจึงรังเกียจที่จะเป็น  ผู้ตอบปุจฉาแก่เขาเสีย

เขาก็เพิ่มความเขลาเบาปัญญา  ส่วนตัวฉันพูนเพิ่มความสุขุม

ดังไม้กฤษณาที่สุมขอนย่อมกรุ่นกลิ่นฟุ้งหอมเป็นทวี

ก า ร ผิ น อ อ ก จ า ก ค น เ ข ล า

أَعْرِضْ عَنِ الْجَاهِلِ السَّفِيْهِ               فَكُلُّ ماَقَالَ فَهْوَ فِيْهِ

مَاضَرَّبَحْرَالْفُرَاتِ يَوْمًا    إن خَاضَ بَعْضُ الْكِلاَبِ فِيْه

จงผินออกจากคนโง่ที่ขลาดเขลา              ทุกสิ่งที่เขากล่าวขาน  เขานั้นแลอยู่ในมัน

แม้นวันใดท้องน้ำแห่งฟุร๊อตก็ไร้ภัยผจญ     หากตนหนึ่งของฝูงสุนัขดำดิ่งว่ายวนในนที

ค ว า ม รู้ ต้ อ ง เ พิ่ ม พู น สิ่ ง ดี ๆ

إذَالَمْ يَزِدْعِلْمُ الْفَتٰى قَلْبَه هُدًى     وَسِيْرَتَه عَدْلاًوَأَخْلاَقَه حُسْنَا

فَبَشِّرْهَ أنَّ الله أوْلاَهُ نَقْمَةً     يُسَاءُ بهامِثل الذى عَبَدَالوَثنا

เมื่อความรู้ของคนหนุ่มหาได้  เพิ่มพูนหัวใจเขาซึ่งทางนำ

แลวิถีแห่งชีวาซึ่งความสัตย์ซื่อ  แลมารยาทซึ่งความงาม

จงแจ้งข่าวดีแก่เขาเถิด  ว่าเอกองค์ทรงให้เขาสาสมซึ่งโทษทัณฑ์

เขาจะถูกหยามหยันด้วยทัณฑ์นั้นเฉกเช่นผู้บูชาเจว็ดก็มิปาน


ค ว า ม รู้ สุ ด จ ะ ห ยั่ ง ถึ ง

لَنْ يَبْلُغَ الْعِلْمَ جَمِيْعًاأَحَدٌ        لاَوَلَوْحَاوَلَه أَلْفَ سَنَهْ

إنَّمَا الْعِلْمُ عَمِيْقٌ بَحْرُهُ    فَخُذُوْامِنْ كُلِّ شَئٍ أَحْسَنَهْ

บุคคลย่อมมิอาจหยั่งถึงความรู้ทั้งมวลหมด

ไม่เลย!  แม้นเขาพากเพียรมันตราบถึงพันปี

อันความรู้นั้นลึกล้ำนักซึ่งห้วงมหาท้องนที

จงเอาแต่สิ่งดีเป็นที่สุดจากสิ่งสารพันประดามี