ถาม – ตอบ เกี่ยวกับเรื่องสัตยาบัน (บัยอะฮฺ)

1. ถาม ทำไมต้องทำสัตยาบันแก่จุฬาราชมนตรี?

ตอบ เพราะการสัตยาบันแก่ผู้นำสูงสุดฝ่ายกิจการศาสนาอิสลามเป็นสิ่งที่ดี ไม่ใช่สิ่งที่เสียหาย เมื่อประชาคมมุสลิมทำสัตยาบันแก่จุฬาราชมนตรีโดยตรงแล้ว สถานภาพความเป็นผู้นำสูงสุดของจุฬาราชมนตรีในมิติทางศาสนาก็จะมีความสมบูรณ์ และความชอบธรรมยิ่งขึ้น

ความจำเป็นอันเป็นผลมาจากการทำสัตยาบันที่ผู้ทำสัตยาบันจะต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามจุฬาราชมนตรีในกรณีการมีคำสั่ง หรือประกาศข้อวินิจฉัยทางศาสนาที่ไม่ขัดด้วยตัวบททางศาสนาก็เป็นสิ่งที่ชัดเจนและเด็ดขาดโดยไม่มีข้อกังขาใดๆ อีก สำหรับผู้ทำสัตยาบัน

 

2. ถาม ไม่ต้องทำสัตยาบันแก่จุฬาราชมนตรีจะได้หรือไม่?

ตอบ ตอบตรงๆ ว่า “ได้” แต่ไม่ดีที่สุด เพราะเมื่อบอกว่าไม่ต้องทำสัตยาบันก็แสดงว่าไม่มีสัตยาบันที่ชัดเจนสำหรับคนที่บอกว่าไม่ต้องทำหรือไม่ทำ เมื่อไม่มีสัตยาบันก็ย่อมหลีกหนีจากนัยของหะดีษที่ระบุว่า  “ผู้ใดตายลงโดยไม่มีการสัตยาบันในต้นคอของตน (กล่าวคือ ตายโดยไม่เคยให้สัตยาบันแก่ผู้นำสูงสุด) ผู้นั้นย่อมตายลงเยี่ยงการตายของผู้คนในยุคญาฮิลียะฮฺ” (รายงานโดย มุสลิม)

ไม่พ้นอยู่ดี   ถึงแม้ว่าจะพอใจต่อผู้นำและยอมรับต่อผู้นำก็ตาม เพราะการพอใจโดยไม่มีการสัตยาบันก็คือการไม่มีสัตยาบันนั่นเอง

 

 

3. ถาม ทำไมจึงต้องทำสัตยาบันกับจุฬาราชมนตรี จะทำสัตยาบันกับคนอื่นที่มิใช่จุฬาราชมนตรีไม่ได้หรือ?

ตอบ ก็เพราะจุฬาราชมนตรีเป็นผู้นำสูงสุดฝ่ายกิจการศาสนาอิสลามในประเทศไทยที่มีกฎหมายรองรับอยู่แล้ว เหตุที่ไม่ทำสัตยาบันกับคนอื่นที่มิใช่จุฬาราชมนตรีก็เพราะผู้อื่นที่ว่านั้นมิใช่จุฬาราชมนตรี และไม่มีกฎหมายรองรับผู้อื่นที่ว่านั้นว่าเป็นผู้นำสูงสุดฝ่ายกิจการศาสนาอิสลามในประเทศไทย

 

 

4. ถาม ทำไมต้องทำสัตยาบันกับจุฬาราชมนตรีด้วย ในเมื่อจุฬาราชมนตรีท่านก่อนหน้านี้ไม่เคยมีการทำสัตยาบันกับท่านเหล่านั้นมาก่อนเลย?

ตอบ เหตุก็เป็นเพราะจุฬาราชมนตรีท่านก่อนหน้านี้ไม่เคยมีการทำสัตยาบันมาก่อนนั่นเอง เมื่อมาถึงสมัยของจุฬาราชมนตรีท่านปัจจุบันจึงต้องทำหรือสมควรทำสัตยาบัน

 

การที่ไม่เคยมีการทำสัตยาบันแก่ท่านก่อนๆ ก็ไม่ได้หมายความว่าห้ามทำหรือไม่สมควรทำสัตยาบันแก่จุฬาราชมนตรีท่านปัจจุบัน และสถานภาพของจุฬาราชมนตรีในในอดีตที่ผ่านมาก็มีความแตกต่างกัน

 

จุฬาราชมนตรีท่านที่ 1-13 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงกรุงรัตนโกสินทร์เป็นขุนนางสังกัดกรมท่าขวา และเป็นมุสลิมชีอะฮฺในสายตระกูลเฉกอะหฺหมัด อัล-กุมมียฺ จุฬาราชมนตรีท่านที่ 14-18 ซึ่งเป็นท่านปัจจุบันเป็นมุสลิมสุนนียฺ

 

เอาเฉพาะ 5 ท่านที่เป็นมุสลิมสุนนียฺนี้ก็มีสถานภาพแตกต่างกันและอยู่ในช่วงระยะเวลาที่สังคมไทยมีสภาพแตกต่างกัน การไม่มีสัตยาบันทั่วไปจากประชาคมมุสลิมแก่จุฬาราชมนตรี 4 ท่านที่ผ่านมา ก็อาจจะเป็นความเหมาะสมและเป็นไปตามสภาพของสังคมและการเมืองในสมัยนั้น

 

แต่เมื่อถึงสมัยของท่านจุฬาราชมนตรีคนที่ 18 ในปัจจุบันสภาพทางสังคมมุสลิมมีความแตกแยกสูง มีสื่อที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการโจมตีและชี้นำที่แพร่หลาย บริบททางสังคมจึงมีความแตกต่างจากอดีต

 

ดังนั้น การสัตยาบันจึงกลายเป็นวิถีทางหนึ่งที่สอดคล้องกับสภาพของสังคมในปัจจุบันในการสร้างความชอบธรรมและความชัดเจนให้แก่ภาวะการเป็นผู้นำสูงสุดฝ่ายกิจการศาสนาอิสลามของจุฬาราชมนตรี

 

อย่างน้อยยุคนี้เป็นเรื่องของประชาสังคมและการมีส่วนร่วม การสัตยาบันทั่วไปจากประชาคมมุสลิมแก่จุฬาราชมนตรีจึงเป็นเรื่องของความเหมาะสมกับยุคสมัยนั่นเอง

 

 

5. ถาม มั่นใจได้อย่างไรว่า เมื่อมีการสัตยาบันทั่วไปจากประชาคมมุสลิมในประเทศไทยแก่จุฬาราชมนตรีแล้ว ความวุ่นวายและการแตกแยกในองค์การและสังคมของมุสลิมจะบรรเทาลง

ตอบ ถ้าถามว่ามั่นใจหรือไม่? ก็ตอบตรงๆ ว่า “ไม่มั่นใจ” เพราะปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นและเป็นอยู่ในองค์กรและสังคมมุสลิมขณะนี้ บางส่วนมีปัจจัยและตัวแปรอยู่นอกเหนือการควบคุม

 

แต่สำหรับประชาคมมุสลิมที่ยินดีและพร้อมใจทำสัตยาบันแก่จุฬาราชมนตรีนั้นเชื่อได้ว่า ประชาคมมุสลิมดังกล่าวมีความมั่นใจในสถานภาพความเป็นผู้นำสูงสุดฝ่ายกิจการศาสนาอิสลามของจุฬาราชมนตรี และพร้อมที่จะปฏิบัติตามและเชื่อฟังจุฬาราชมนตรีอย่างมีเอกภาพ

 

และถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถยืนยันอย่างมั่นใจในการบรรเทาลงของปัญหา เพราะเราไม่สามารถบังคับทุกคนให้เห็นชอบกับเรื่องนี้ได้โดยเบ็ดเสร็จ แต่เรามีความตั้งใจและมุ่งมั่นตลอดจนความพยายามอย่างสุดกำลัง เกินจากนั้นแล้วเราก็มอบหมายต่อพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.)

 

กล่าวคือ ความตั้งใจและความพยายามคือ ภารกิจของเรา ส่วนความสัมฤทธิ์ผลนั้นเป็นภารกิจของพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) และเราเชื่อว่าความตั้งใจ และการลงมือเริ่มต้นกระทำตามสิ่งที่ตั้งใจไว้บนพื้นฐานของความบริสุทธิ์ใจ และมุ่งหวังในการเอื้ออำนวย (เตาฟีก) และการชี้นำ (ฮิดายะฮฺ) ของพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) คือความถูกต้องและชอบธรรมตามหลักการของศาสนา

 

เพราะเมื่อตั้งใจแล้วไม่ลงมือทำ นั่นคือ ความล้มเหลวตั้งแต่ต้น แต่ถ้าตั้งใจแล้ว และเริ่มลงมือ ความสำเร็จก็ผ่านไปแล้วครึ่งหนึ่ง และอุปสรรคมีไว้เพื่อเอาชนะ มิใช่มีไว้เพื่อความพ่ายแพ้และท้อถอย

 

6. ถาม ถ้าการสัตยาบันทั่วไปแก่จุฬาราชมนตรีเป็นสิ่งที่ดีที่สุด และสมควรทำ เหตุใดจึงไม่ทำสัตยาบันแก่จุฬาราชมนตรีนับตั้งแต่เมื่อเข้าดำรงตำแหน่ง ทำไมจึงปล่อยเวลามาถึงเกือบ 2 ปี แล้วเพิ่งจะมาทำสัตยาบันเล่า?

ตอบ ทุกสิ่งมีกำหนดเวลาและวาระโอกาสของมัน เพราะโดยหลักการและเหตุผล สิ่งที่ดีที่สุด ณ เวลาหนึ่ง อาจจะไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุด ณ อีกเวลาหนึ่ง สิ่งที่ดีและสมควรที่สุดก็ใช่ว่าสิ่งนั้นจะต้องมีโอกาสให้กระทำได้เสมอไป เมื่อไม่มีโอกาสหรือยังไม่ถึงเวลาที่เหมาะสม ต่อให้สิ่งนั้นดีที่สุดเพียงใดก็ใช่ว่าจะกระทำได้เสมอไป

 

และที่สำคัญการรอคอยและการล่าช้าในการทำสัตยาบันทั่วไปเป็นสิ่งที่อนุญาตให้กระทำได้ตามหลักวิชาการอยู่แล้ว ในช่วงเกือบ 2 ปี ก็ถือว่าเป็นช่วงของการรอคอย ซึ่งไม่ผิดเงื่อนไข เราอาจจะมองในมุกกลับก็ได้ว่า การทำสัตยาบันไม่ได้ล่าช้าแต่อย่างใด หากแต่ว่าการทำสัตยาบันทั่วไปต้องใช้โอกาสในการหาบทสรุปว่า มีความเหมาะสมและสมควรเกือบ 2 ปี มันใช้เวลาการตกผลึกนานถึงเกือบ 2 ปี แต่ไม่ได้ล่าช้า เพราะนั่นคือจังหวะและเวลาที่เหมาะสมของมันต่างหาก

 

 

7. ถาม ถ้าการทำสัตยาบันทั่วไปเป็นเรื่องสำคัญจริง ทำไมจึงไม่มีนักวิชาการหรือโต๊ะครูพูดถึงเลย?

ตอบ จริงๆ แล้ว เรื่องการทำสัตยาบันที่เรียกว่า บัยอะฮฺ หรือ มุบายะอะฮฺ นี้ มีนักวิชาการหรือโต๊ะครูเคยพูดถึงอย่างแน่นอน เพียงแต่นักวิชาการหรือโต๊ะครูจะพูดถึงเรื่องนี้ในแง่ใดเท่านั้นเอง

 

ยกตัวอย่างเช่น ถ้านักวิชาการหรือโต๊ะครูมีหัวข้อบรรยายว่าด้วยเรื่อง แบบฉบับการเป็นผู้นำของบรรดาเคาะลีฟะฮฺ โต๊ะครูหรือนักวิชาการอาจจะเน้นประเด็นเรื่องประวัติศาสตร์

 

หรือเน้นประเด็นวิธีการได้ผู้นำตามรัฐศาสตร์อิสลามซึ่งต้องมีการกล่าวถึงเรื่องการทำสัตยาบันประกอบแต่ไม่ได้ลงในรายละเอียดของเนื้อหา ทั้งหมดขึ้นอยู่กับหัวข้อที่บรรยาย และเนื้อหาข้อมูลที่นักวิชาการหรือโต๊ะครูเตรียมเอาไว้ตามความสันทัดและความชำนาญของแต่ละคน

 

อีกอย่างหัวข้อการบรรยายหรืออภิปรายหรือเสวนาที่นิยมตั้งกันก็มักจะเน้นในเรื่องปัญหาเยาวชน การศึกษา และปัญหาคิลาฟียะฮฺเดิมๆ เสียมากกว่า อาจจะกล่าวได้ว่า ไม่เคยมีการตั้งหัวข้อเรื่องการสัตยาบันแก่ผู้นำในงานการกุศลของมัสยิดหรือสถาบันใดๆ เลยก็ว่าได้

 

ดังนั้น เมื่อไม่มีการพูดถึงหรือพูดถึงบ้างแต่ไม่มีรายละเอียดเจาะลึก นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเรื่องสัตยาบันทั่วไปแก่ผู้นำไม่สำคัญแต่อย่างใด เพราะโดยข้อเท็จจริงมีเรื่องที่สำคัญอีกมากมายที่ไม่ได้รับการกล่าวถึงและการที่ไม่พูดถึงเรื่องสำคัญๆ เหล่านั้น ก็ไม่ได้หมายความว่า เรื่องเหล่านั้นไม่สำคัญ

 

 

8. ถาม ในเมื่อบรรดาคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศจำนวนหลายร้อยคนได้ให้สัตยาบันแก่จุฬาราชมนตรีในวันประชุมคัดสรรนั้นแล้ว ก็น่าจะเพียงพอแล้ว ทำไมจึงต้องมีการสัตยาบันทั่วไปแก่จุฬาราชมนตรีเกิดขึ้นอีก?

ตอบ เพราะการสัตยาบันมี 2 ประเภทนั่นเอง

การสัตยาบันของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศเป็นการสัตยาบันเฉพาะกิจ (บัยอะฮฺคอศเศาะฮฺ) ที่เป็นการยืนยันรับรองในเบื้องต้นว่าบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากการประชุมคัดสรรมีความเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี จึงทำสัตยาบันรับรองและเสนอแก่ประชาคมมุสสลิมทั่วไปว่า บุคคลที่ได้รับการสัตยาบันจากคณะกรรมการสรรหาคือบุคคลคนนี้แหละที่เหมาะสมที่สุดในการเป็นจุฬาราชมนตรี

 

ต่อมาเมื่อเมื่อประชาคมมุสลิมเห็นด้วยกับบุคคลที่คณะกรรมการคัดสรรลงมติเห็นชอบและให้สัตยาบันเฉพาะกิจรับรองเอาไว้เสนอมา ประชาคมมุสลิมก็แสดงฉันทามติยืนยันและรับรองอีกครั้ง ซึ่งเรียกว่าการสัตยาบันทั่วไป (บัยอะฮฺ อามมะฮฺ)

 

จะเห็นได้ว่าการสัตยาบันทั้ง 2 ประเภทที่นักวิชาการได้กำหนดเอาไว้จะเกิดขึ้นและเป็นไปอย่างสมบูรณ์เมื่อมีการสัตยาบันทั่วไปจากประชาคมมุสลิม โดยการทำสัตยาบันทั่วไปนี้เกิดขึ้นภายหลังการทำสัตยาบันเฉพาะกิจที่คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศได้กระทำแก่จุฬาราชมนตรีไว้แล้วในครั้งแรก

 

การทำสัตยาบันทั่วไปจึงเป็นการแสดงสิทธิของประชาคมมุสลิมในการมีส่วนร่วมอย่างชัดเจนต่อการยอมรับผู้นำสูงสุดทางศาสนาของตน

 

 

9. ถาม การทำสัตยาบันให้แก่จุฬาราชมนตรีในวันประชุมสรรหาของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศก็น่าจะเป็นการสัตยาบันทั่วไป (บัยอะฮฺ อามมะฮฺ) อยู่แล้ว

เพราะคณะกรรมการฯ เหล่านั้นได้รับการคัดเลือกจากอิหม่ามประจำมัสยิดในจังหวัด ซึ่งอิหม่ามประจำมัสยิดก็ได้รับการคัดเลือกจากสัปปุรุษประจำมัสยิด ดังนั้นการสัตยาบันของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศก็น่าจะถือได้ว่าเป็นการสัตยาบันของตัวแทนจากประชาคมมุสลิมโดยรวมแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องทำสัตยาบันอีก

 

ตอบ มองดูผาดๆ ก็น่าจะเป็นเช่นที่ว่ามา แต่ถ้าหากลงลึกในข้อเท็จจริงแล้ว ก็จะเห็นว่าไม่แน่ชัดว่าจะเป็นเช่นนั้น เพราะในการคัดเลือกอิหม่ามประจำมัสยิดไม่มีการสัตยาบันอย่างเป็นกิจจะลักษณะระหว่างอิหม่ามกับสัปปุรุษประจำมัสยิด กอปรกับการดำรงตำแหน่งอิหม่ามประจำมัสยิดเป็นผลมาจากการประชุมคัดเลือกของสัปปุรุษบางส่วนที่เข้าร่วมประชุมในวันคัดเลือกเท่านั้น

 

ซึ่งเรามิอาจยืนยันได้อย่างชัดเจนว่าการมีมติของที่ประชุมสัปปุรุษในการคัดเลือกอิหม่ามเป็นมติของสัปปุรุษทั้งหมด หรือส่วนใหญ่ เพราะโดยระเบียบปฏิบัติไม่ได้ระบุไว้ว่าองค์ประชุมในวันนั้นต้องมีจำนวนสัปปุรุษอย่างน้อยกี่คน และการที่อิหม่ามได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนั้นก็เป็นผลมาจากการคัดเลือกที่ไม่มีสัปปุรุษคนใดคัดค้าน

 

และการไม่คัดค้านก็ไม่ได้แสดงอย่างชัดเจนว่าพอใจโดยดุษฎี และถึงแม้ว่าสัปปุรษที่เข้าร่วมประชุมในวันคัดเลือกอิหม่ามและสัปปุรุษที่ไม่ได้เข้าร่วมจะยอมรับผลการคัดเลือกด้วยความยินดีโดยไม่มีท่าทีปฏิเสธหรือการคัดค้าน หรือร้องคัดค้านไปยังคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดก็ตาม

 

การสัตยาบันอย่างเป็นกิจจะลักษณะระหว่างอิหม่ามกับสัปปุรุษก็ไม่มีเกิดขึ้นในข้อเท็จจริงอยู่ดี และในการคัดเลือกคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดของบรรดาอิหม่ามประจำมัสยิดในจังหวัดนั้นๆ ก็ไม่มีการทำสัตยาบันอย่างเป็นกิจจะลักษณะเกิดขึ้น ในข้อเท็จจริงอีกเช่นกัน

 

เหตุนั้นการอ้างว่าการทำสัตยาบันของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศแก่ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีในวันคัดสรร คือ การสัตยาบันทั่วไปของสัปปุรุษประจำมัสยิด หรือประชาคมมุสลิมโดยรวม จึงเป็นคำกล่าวอ้างที่ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง หากแต่เป็นการมองบนพื้นฐานของสายการบังคับบัญชาตามพระราชบัญญัติการหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ.2540 เท่านั้น

 

และถึงแม้ว่าจะยืนตามคำกล่าวอ้างดังกล่าวก็ไม่มีข้อห้ามตามหลักวิชาการแต่อย่างใดในการทำสัตยาบันมากกว่าหนึ่งครั้งแก่ผู้นำสูงสุดคนเดียวกันเป็นสิ่งที่อนุญาตให้กระทำได้ โดยเฉพาะเมื่อผู้นำสูงสุดต้องการความมั่นใจ และการยอมรับในฉันทามติที่ชัดเจนจากประชาคมมุสลิม

 

10. ถ้าทำสัตยาบันทั่วไปแก่จุฬาราชมนตรีแล้วจะมีผลดีอย่างไร?

ตอบ ผลดีที่เราวิเคราะห์และคาดการณ์บนความหวังในการเอื้ออำนวยของพระองค์อัลลอฮฺ(ซ.บ.) นั้นคือ

1. สถานภาพความเป็นผู้นำสูงสุดฝ่ายกิจการศาสนาอิสลามของจุฬาราชมนตรีมีความชัดเจนในเชิงศาสนาและรัฐศาสตร์อิสลาม กล่าวคือ เมื่อมีการสัตยาบันทั่วไปแก่จุฬาราชมนตรีจากประชาคมมุสลิมโดยรวมแล้ว จุฬาราชมนตรีจะมีสถานภาพเป็นอิหม่าม อะอฺซอม اَلْاِمَامُ الاعظم คือผู้นำสูงสุดทางศาสนาของประชาคมมุสลิม ทั้งนี้ ดร.วะฮฺบะฮฺ อัซซุหัยลียฺ ระบุว่า “บรรดานักนิติศาสตร์อิสลามได้กล่าวถึงแนวทาง 4 ประการในเรื่องวิธีการแต่งตั้งผู้ปกครองสูงสุดของรัฐว่าคือ การกำหนดเป็นตัวบท (อัน-นัศฺ) การสัตยาบัน (อัล-บัยอะฮฺ) การมอบสิทธิในการสืบทอดตำแหน่ง (วิลายะฮฺ อัล-อะฮฺดฺ) และการใช้กำลังกระทำรัฐประหาร (อัล-เกาะฮรุ้ วัล-เฆาะละบะฮฺ) …..

 

และแท้จริงแนวทางของอิสลามที่ถูกต้องโดยปฏิบัติตามอุดมคติว่าด้วยการประชุมหารือ (อัช-ชูรอ) และความคิดที่ว่าเป็นฟัรฎูกิฟายะฮฺคือแนวทางเดียวเท่านั้น กล่าวคือ การสัตยาบันของอะฮิลุลหะลล์ วัลอักดฺ (คณะกรรการสรรหาผู้นำ) และการผนวกรวมความเห็นชอบของประชาคมที่มีต่อการสรรหานั้น ส่วนกรณีอื่นจากสิ่งดังกล่าวนั้น การอ้างอิงหลักฐานที่มาเป็นสิ่งที่อ่อน (เฎาะอีฟฺ) ด้วยสาเหตุของการตีความตัวบทหรืออาศัยตัวบทที่คลุมเครือ….” (อัล-ฟิกฮุล อิสลามียฺ ว่า อะดิลละตุฮฺ เล่มที่ 6 หน้า 673)

 

และอัด-ดุสูกียฺ (ร.ฮ.) กล่าวว่า : จงรู้เถิดว่าแท้จริงการเป็นผู้นำใหญ่สุด (อิมามะฮฺ อุซฺมา) จะได้รับการยืนยันด้วย 1 ใน 3 ประการ ลางทีก็ด้วยการสั่งเสีย (อีศออฺ) ของเคาะลีฟะฮฺคนแรกแก่ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งผู้นำ ลางทีก็ด้วยการเอาชนะผู้คนทั้งหลาย…และลางทีก็ด้วยการสัตยาบันของอะฮฺลุลหัลล์    วัล-อักด์ คือกลุ่มชนที่มีคุณสมบัติรวมอยู่ในพวกเขา 3 ประการ ได้แก่ การรู้ถึงบรรดาเงื่อนไขของผู้นำ ความมีคุณธรรม และการมีทัศนะ…(อัล-ฟิกฮุล อิสลามียฺ เล่ม 6 หน้า 683)

 

2. เมื่อจุฬาราชมนตรีได้รับการสรรหาจากคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศและได้รับการสัตยาบันจากคณะกรรมการดังกล่าวแล้วในเบื้องต้น ก็เรียกได้ว่าจุฬาราชมนตรีมีที่มาจากการประชุมหารือ (อัช-ชูรอ) และการสรรหาของกลุ่มคณะบุคคลที่อนุโลมได้ว่าเป็น “อะฮฺลุลหัลล์ วัล-อักด์” ซึ่งได้สัตยาบันรับรองแล้วในเบื้องต้น สิ่งที่เหลืออยู่ก็คือ การผนวกรวมฉันทามติของประชาคมเข้ามาด้วยการแสดงสัตยาบันทั่วไป เพื่อรับรองและยืนยันสัตยาบันครั้งแรกของกลุ่มคณะบุคคลที่เป็นคณะกรรมการสรรหา เมื่อประชาคมได้ทำสัตยาบันทั่วไปแก่จุฬาราชมนตรี ความเป็นผู้นำใหญ่สุด (อิหม่าม อะอฺซอม) ของจุฬาราชมนตรีก็สมบูรณ์และครบถ้วนตามขั้นตอนที่นักวิชาการกำหนดไว้

 

3. ประชาคมมุสลิมที่เข้าร่วมสัตยาบันทั่วไปแก่จุฬาราชมนตรีได้ใช้สิทธิตามหลักการของศาสนาในการแสดงฉันทามติเห็นชอบต่อผู้นำสูงสุดของตนซึ่งถือเป็นการมีส่วนร่วมในขั้นตอนสำคัญของการดำรงตำแหน่งสูงสุดของผู้นำทางศาสนาอิสลามในประเทศไทย

 

4. ประชาคมมุสลิมที่ทำสัตยาบันแก่จุฬาราชมนตรีมี “หุจญะฮฺ” คือหลักฐานในวันกิยามะฮฺสำหรับตน และสามารถปลดเปลื้องสภาวะการเสียชีวิตเยี่ยงการเสียชีวิตของผู้คนในยุคอนารยชน

 

5. จุฬาราชมนตรีมีความชอบธรรมตามหลักการของศาสนาโดยสมบูรณ์ในเรื่องของการเชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งหรือการวินิจฉัยประเด็นทางศาสนาที่มีความเห็นต่างกัน ซึ่งถือว่าสิ้นสุดและเด็ดขาดด้วยการออกคำวินิจฉัยของจุฬาราชมนตรี

 

6. ประชาคมมุสลิมที่ทำสัตยาบันแก่จุฬาราชมนตรีมีเอกภาพและความสามัคคีบนวิถีทางแห่งหมู่คณะ (อัล-ญะมาอะฮฺ) ซึ่งผู้ใดจะกระทำให้หมู่คณะนั้นเกิดความแตกแยกหรือวุ่นวายมิได้ตามหลักศาสนาที่ระบุห้ามเอาไว้

 

 

11. ขอหลักฐานที่ยืนยันว่าการบัยอะฮฺ (สัตยาบัน) แก่จุฬาราชมนตรีเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องกระทำ

ตอบ ก่อนอื่นต้องเข้าใจเสียก่อนว่า การสัตยาบัน (บัยอะฮฺ) ในตัวของมันเองมีทั้งที่จำเป็นและไม่จำเป็น ในกรณีที่จำเป็นนั้นคือ เมื่อมีบุคคลที่มีศักยภาพและความสามารถ 2 คนเสมอกันโดยไม่มีผู้ใดดีกว่ากันและการรวมเอาระหว่างสองคนในฐานะผู้นำกระทำไม่ได้ (ฆิยาษุล อุมัม ; อิมาม อัล-ญุวัยนียฺ หน้า 237) และอื่นจากกรณีนี้การสัตยาบันในตัวของมันเองไม่ใช่สิ่งที่จำเป็น  ทั้งนี้อิหม่าม อะหฺมัด (ร.ฎ.) ได้ระบุว่า “แท้จริงการสัตยาบันสำหรับตัวมันเองนั้นมิใช่เป็นเงื่อนไข ทว่าเพียงพอด้วยความยินยอมพร้อมใจและการดำรงความชอบธรรม” (อัล-มะนากิบ ; อิบนุ อัล-เญาวฺซียฺ หน้า 176)

 

กระนั้น ถึงแม้ว่าการสัตยาบันจะไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นในตัวของมันเอง แต่การสัตยาบันอาจจะกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นด้วยตัวแปรและปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ซึ่งเรียกว่า วาญิบะฮฺลิ อาริฎ ( واجبة لِعَارِضٍ ) กล่าวคือ  ตัวของการสัตยาบันมิใช่สิ่งจำเป็นแต่เดิม ต่อมาเกิดปัจจัยและตัวแปรที่ทำให้การสัตยาบันกลายเป็นสิ่งจำเป็นในภายหลังก็ได้ และนี่คือสิ่งที่เรากำลังพูดถึง หมายความว่า เพราะสถานการณ์และสภาวะการณ์ทางสังคมมุสลิมในขณะนี้เป็นปัจจัยที่เกิดขึ้นและทำให้การสัตยาบันนั้นกลายเป็นสิ่งที่จำเป็น

 

ส่วนหลักฐานที่ยืนยันว่าการสัตยาบันแก่ผู้นำสูงสุดคือสิ่งที่จำเป็นหรือมีความสำคัญนั้นคือ อัล-หะดีษที่รายงานจากอับดุลลอฮฺ อิบนุ อุมัร (ร.ฎ.) ว่า : ฉันเคยได้ยินท่านรสูล (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า

مَنْ مَاتَ ولَيْسَ فِىْ عُنُقِه بَيْعَةٌ مَاتَ مِيْتَةً جَاهِلِيَّةً

رواه مسلم

ความว่า “ผู้ใดเสียชีวิตโดยไม่มีการสัตยาบันในต้นคอของเขา ผู้นั้นเสียชีวิตลงเยี่ยงการเสียชีวิตของผู้คนในยุคญาฮิลียะฮฺ” (รายงานโดย มุสลิม)

 

คำว่า “ไม่มีการสัตยาบัน (บัยอะฮฺ) ในต้นคอของเขา” หมายถึง เขาผู้นั้นไม่เคยทำสัตยาบันแก่ผู้นำของตน

 

คำว่า “การเสียชีวิตของผู้คนในยุคญาฮิลียะฮฺ” มิได้หมายความว่า ผู้นั้นตกศาสนา (มุรตัด) แต่หมายความว่า ผู้นั้นมีสภาพที่หลงผิดและมีความผิดไม่ต่างจากผู้คนในยุคก่อนอิสลามเฉพาะเรื่องนี้ กล่าวคือ ผู้คนในยุคก่อนอิสลามจะไม่ยอมเข้าสู่การเชื่อฟังและปฏิบัติตามผู้นำ มิหนำซ้ำพวกเขายังมองว่าการมีผู้นำเป็นเรื่องน่าตำหนิ

 

อัล-หะดีษบทนี้คือหลักฐานที่ชัดเจนที่สุดซึ่งระบุถึงความสำคัญของการสัตยาบันต่อผู้นำและการมีความเคร่งครัดต่อการยึดมั่นในความเป็นหมู่คณะที่มีเอกภาพของประชาคมมุสลิม

 

 

12. กลุ่มประเทศมุสลิมแถวตะวันออกกลางมีใครเขาทำสัตยาบันกับผู้นำประเทศบ้างหรือเปล่า

ตอบ กลุ่มประเทศมุสลิมโดยส่วนใหญ่ทั้งในตะวันออกกลางและที่อื่นๆ ส่วนมากปกครองด้วยระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ที่เหลือก็ปกครองด้วยกษัตริย์แบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขหรือไม่ก็เป็นชัยคฺ หรือ อะมีร หรือ สุลต่าน การสัตยาบันแก่ผู้นำสูงสุดนั้นก็มีอยู่ในประเทศมุสลิมที่ว่านั้น ทั้งที่เป็นการสัตยาบันในรัฐสภาและการแสดงประชามติของประชาชน แต่สำหรับกรณีของประเทศไทยนั้นมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

 

ในกรณีของจุฬาราชมนตรีนั้นมิใช่เป็นประมุขของประเทศไทย แต่เป็นผู้นำฝ่ายกิจการศาสนาอิสลามที่พระมหากษัตริย์ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง จุฬาราชมนตรีจึงเป็นประมุขในด้านกิจการศาสนาอิสลามสำหรับพลเมืองไทยที่นับถือศาสนาอิสลามเท่านั้น และการมีอำนาจหน้าที่ของจุฬาราชมนตรีก็เป็นไปตามข้อกำหนดในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 เรียกได้ว่า ในแง่ของกฏหมายบ้านเมืองจุฬาราชมนตรีคือผู้นำกิจการศาสนาอิสลามในประเทศไทย

 

ส่วนในแง่ของบัญญัติทางศาสนาอิสลามนั้น จุฬาราชมนตรีเมื่อได้รับการสัตยาบันทั้ง 2 ประเภทดังที่กล่าวมาแล้วก็คือผู้นำสูงสุด ซึ่งตรงกับภาษาอาหรับว่า “อิหม่าม อะอฺซอม” โดยเป็นอิหม่ามใหญ่สุดในด้านกิจการศาสนาอิสลาม ไม่มีใครกล่าวอ้างว่า จุฬาราชมนตรีคือพระมหากษัตริย์ หรือประมุขสูงสุดของประเทศ ในทำนองเดียวกันก็ไม่มีผู้ใดกล่าวอ้างว่าสมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ หรือประมุขสูงสุดของประเทศ เพราะตำแหน่งของสมเด็จพระสังฆราชเป็นเรื่องทางศาสนาของฝ่ายพุทธศาสนา ในทำนองเดียวกัน จุฬาราชมนตรีก็คือตำแหน่งของผู้นำฝ่ายกิจการศาสนาอิสลาม สำหรับประชาคมมุสลิมในประเทศไทยนั่นเอง นี่คือบริบทของประเทศไทย จะนำไปเทียบกับบริบทของกลุ่มประเทศมุสลิมอื่นๆ คงไม่ได้ เพราะไม่ได้เหมือนกันทั้งในด้านระบอบการปกครองและบริบททางสังคม

 

 

13.  เท่าที่รู้ตำแหน่งจุฬาราชมนตรีใช้คำว่า “ชัยคุลอิสลาม” ไม่เคยได้ยินว่ามีผู้ใดเรียกจุฬาราชมนตรีว่า “อิหม่าม อะอฺซอม”!

ตอบ คำว่า “ชัยคุลอิสลาม” เป็นเพียงฉายานาม (ละก็อบฺ)ที่ใช้เรียกนักปราชญ์ผู้มีความเชี่ยวชาญทางศาสนา ในยุคที่มีการสรรหาจุฬาราชมนตรีจากประชาคมมุสลิมสุนนียฺนั้นเป็นการสรรหาจากบรรดาคณะผู้รู้หรือโต๊ะครูทางศาสนาผู้มีความเชี่ยวชาญความรู้ทางศาสนาเป็นอย่างดีและเป็นที่ยอมรับของสังคม จึงไม่แปลกที่ให้ฉายานาม “ชัยคุลอิสลาม” อันหมายถึงผู้อาวุโสทั้งวัยวุฒิและคุณวุฒิของศาสนาอิสลามในประเทศไทย

 

และการใช้ฉายานาม”ชัยคุลอิสลาม” ก็มีปรากฏในสมัยการปกครองของอุษมานียะฮฺแห่งตุรกีที่ถือเป็นตำแหน่งของมุฟตียฺใหญ่ในด้านศาสนาของจักรวรรดิอุษมานียะฮฺ จุฬาราชมนตรีในสมัยนั้นก็เลียนแบบฉายานามของตุรกีโดยมีตำแหน่งหน้าที่ในการออกคำประกาศและคำวินิจฉัยเกี่ยวกับบทบัญญัติทางศาสนาอิสลามซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของมุฟตีใหญ่นั่นเอง ดังนั้นหากจุฬาราชมนตรีได้รับสัตยาบันทั่วไปจากประชาคมมุสลิมในประเทศไทย

 

สถานภาพของจุฬาราชมนตรีก็คือ อิหม่าม อะอฺซอม ที่แปลว่า ผู้นำใหญ่สุดฝ่ายกิจการศาสนาอิสลามซึ่งเป็นผู้อาวุโสทั้งวัยวุฒิและคุณวุฒิในหมู่บรรดานักวิชาการของศาสนาอิสลามและเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการประกาศและออกคำวินิจฉัย (ฟัตวา) ทางศาสนาอิสลาม จุฬาราชมนตรีจึงเป็นทั้งอิหม่าม อะอฺซอม , ชัยคุล-อิสลาม และมุฟตียฺสูงสุดในคราเดียวกัน โดยฉายาทั้ง 3 นี้จะเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์และชัดเจนเมื่อมีการทำสัตยาบันแก่จุฬาราชมนตรีทั้ง 2 ประเภทที่กล่าวมานั้นเอง ซึ่งหากจะเขียนฉายาทั้งหมดรวมเข้าด้วยกันก็จะมีสำนวนดังนี้

 

…..ชื่อ…/الامامُ الأَعْظَمُ ثيخ الاسلام المفتى العام للِدِّ يَارالتايلا ند يةجولاراجامونتوى

ทั้งนี้อาจจะมีคำคัดค้านว่านี่เป็นการตั้งฉายาหรือกำหนดนิยามเอาเองก็ซักค้านกลับได้ว่า ชัยคฺ อับดุลกอดิร อัล-มันดีลียฺ (ร.ฮ.) กล่าวว่า

دان تيف ٢ سؤرڠ مردهيك اى فد ممبوات اصصلاح باڬيڽ ، (لامشاحّة فى الا صطلاح)

ارتيث تياد كيكر ستڠه اكن يڠ لا ين فدا صطلاح……

“และทุกๆ คนนั้น เขาย่อมมีอิสระเสรีในการทำคำจำกัดความสำหรับตน หมายความว่า : บางส่วนย่อมไม่สงวนสิทธิต่อบุคคลอื่นในการให้คำจำกัดความ…” (อัล-มัซฮับ อะเตาวฺ ติยะด้า หะรอม บัรมัซฮับ หน้า 32)

 

ดังนั้น หากประชาคมมุสลิมในประเทศไทยจะเรียกขานฉายาให้แก่จุฬาราชมนตรีด้วยฉายาดังกล่าวในเชิงของคำจำกัดความเฉพาะกลุ่มก็ย่อมสามารถกระทำได้ โดยไม่ต้องถกเถียงหรือขัดแย้งในระหว่างกันว่าสามารถเรียกขานเช่นนั้นได้หรือไม่ เพราะสาระสำคัญอยู่ที่ความเป็นผู้นำสูงสุดฝ่ายกิจการศาสนาอิสลามในประเทศไทยของจุฬาราชมนตรี ส่วนจะเรียกขานตำแหน่งนั้นด้วยฉายาอะไรมิใช่สาระสำคัญ เพราะท้ายที่สุดผู้นำสูงสุดฝ่ายกิจการศาสนาอิสลามก็คือบุคคลผู้นั้นแหล่ะ

 

 

14. การทำสัตยาบันทั่วไปแก่จุฬาราชมนตรีจะขัดต่อตัวบทของกฏหมายในพระราชบัญญัติหรือกฏกระทรวงหรือไม่?

ตอบ ไม่ขัด เพราะไม่มีมาตราใดระบุห้ามการทำสัตยาบันทั่วไปแก่จุฬาราชมนตรี แต่ถ้าหากยืนยันว่าขัดก็จงนำมาตราที่อ้างว่าการสัตยาบันขัดต่อความของมาตรานั้น และถ้าหากจะอ้างว่าขัดก็ต้องถามกลับไปว่า แล้วการที่คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศได้กระทำเตาลียะฮฺหรือบัยอะฮฺ คอศเศาะฮฺ (สัตยาบันเฉพาะกิจ) แก่จุฬาราชมนตรีในวันที่ประชุมคัดสรรกันนั้นเล่า จะขัดต่อตัวบทกฏหมายหรือไม่ เพราะไม่มีระบุไว้เลย

 

ไม่ว่าจะในพระราชบัญญัติฯ หรือกฏกระทรวงว่าให้กระทำเตาลียะฮฺหรือสัตยาบันเฉพาะกิจแก่ผู้ที่มีความเห็นชอบจากที่ประชุมในวันสรรหาจุฬาราชมนตรี ถ้าการสัตยาบันในวันนั้นไม่ขัด การสัตยาบันทั่วไปจากประชมคมมุสลิมโดยรวมแก่จุฬาราชมนตรีก็ย่อมไม่ขัดเช่นกัน แต่ถ้าค้านว่า ในเมื่อการสัตยาบันทั่วไปไม่มีระบุในตัวกฏหมายหากไปทำสัตยาบันทั่วไปแล้วจะไม่เป็นการกระทำเกินตัวบทกฏหมายกระนั้นหรือ? ก็ตอบได้ว่า การทำสัตยาบันทั่วไปเป็นเรื่องของหลักการทางศาสนาที่มีข้อมูลทางวิชาการรับรอง

 

ดังนั้นบนพื้นฐานที่ยอมรับว่าการทำสัตยาบันทั้ง 2 ประการเป็นกิจการทางศาสนาที่เรียกว่า “ศาสนกิจ” การรับสัตยาบันทั่วไปของจุฬาราชมนตรีจากประชาคมมุสลิมก็ย่อมสอดคล้องกับความในมาตรา 7 (4) แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540  ที่ระบุว่า (จุฬาราชมนตรีต้องมีคุณสมบัติ) “เป็นผู้ประพฤติปฏิบัติตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามโดยเคร่งครัด” เมื่อการสัตยาบันเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม จุฬาราชมนตรีก็ต้องเป็นผู้ปฏิบัติตามโดยเคร่งครัดอยู่แล้ว

 

ประเด็นต่อมาหากสมมุติว่า จุฬาราชมนตรีจะมีดำริให้จัดตั้งกองทุนซะกาต หรือ จัดตั้งกลุ่มคณะธรรมจาริก (คณะดะอฺวะฮฺ) เป็นต้น จุฬาราชมนตรีสามารถจะดำเนินการตามดำรินั้นได้หรือไม่ ในเมื่อไม่มีระบุถึงเรื่องดังกล่าวในตัวบทของกฏหมาย ถ้าบอกว่าได้ กรณีการสัตยาบันก็ย่อมมีลักษณะเดียวกัน แต่ถ้าบอกไม่ได้ เพราะจุฬาราชมนตรีไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะดำเนินการเช่นนั้นตามที่ตัวบทกฏหมายกำหนด แน่นอนหากเป็นอย่างที่ว่านี้ บทบาทของจุฬาราชมนตรีก็แทบจะไม่มีอะไรเลยนอกจาก 4 ประการที่มาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 ระบุเอาไว้เท่านั้น ทั้งๆ ที่โดยหลักการของศาสนาที่บัญญัติเอาไว้ ผู้นำสูงสุดของประชาคมมุสลิมมีภาระกิจมากกว่า 4 ประการพะเรอเกวียนคือมีมากกว่านั้น

 

การอธิบายว่าจุฬาราชมนตรีมีอำนาจหน้าที่เพียง 4 ประการนั้นเป็นเรื่องของกฏหมาย แต่การมีภาระกิจและหน้าที่ในฐานะที่เป็นมุสลิมและเป็นผู้นำสูงสุดของมุสลิมในแง่ของหลักการศาสนานั้นมีมากกว่านั้นอย่างแน่นอน อีกทั้งการไปกำหนดว่า จุฬาราชมนตรีกระทำเกิน 4 ประการ ตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติฯ ไม่ได้นั่นจะไม่เป็นการขัดกับความในมาตรา 7 (4) ที่ระบุว่า จุฬาราชมนตรีเป็นผู้ประพฤติปฏิบัติตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามโดยเคร่งครัดกระนั้นหรือ? เพราะบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามที่จุฬาราชมนตรีในฐานะมุสลิมคนหนึ่งและในฐานะผู้นำสูงสุดของประชามคมมุสลิมจะต้องปฏิบัติมีมากกว่า 4 ประการที่ระบุไว้ในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติฯ นั้นอย่างแน่นอน

 

 

15. การดำเนินการของกลุ่มเครือข่ายสัตยาบันจุฬาราชมนตรีมีวาระซ่อนเร้นหรือมีการหวังผลประโยชน์ที่แอบแฝงหรือไม่?

ตอบ กลุ่มเครือข่ายสัตยาบันจุฬาราชมนตรีเป็นกลุ่มเฉพาะกิจที่มีเป้าหมายหลักคือการให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการสัตยาบันแก่ประชาคมมุสลิมและรณรงค์เชิญชวนเรียกร้องประชาคมมุสลิมทั่วไปให้เห็นถึงความสำคัญของการสัตยาบันแก่จุฬาราชมนตรีตลอดจนการประสานเรื่องกำหนดการในการทำพิธีสัตยาบันทั่วไประหว่างประชาคมมุสลิมที่มีความเห็นสอดคล้องกับเป้าหมายหลักของกลุ่มกับจุฬาราชมนตรี เมื่อบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้กลุ่มเฉพาะกิจนี้ก็ย่อมสลายบทบาทของกลุ่มลงโดยปริยาย หากจะถามว่าการดำเนินการของกลุ่มเครือข่ายสัตยาบันจุฬาราชมนตรีมีผลประโยชน์แอบแฝงหรือไม่?

 

ก็ต้องถามว่าผลประโยชน์แอบแฝงที่กล่าวถึงนั้นมุ่งหมายถึงอะไร? ถ้าตอบว่า หมายถึง ผลประโยชน์ทางการเมือง ก็ตอบได้เลยว่า หลักคิดและเป้าหมายของกลุ่มเป็นเรื่องของศาสนา คือ ชักชวนในสิ่งที่ถูกต้อง และห้ามปรามในสิ่งที่ผิด การดำเนินการของกลุ่มเน้นที่การประสานงานและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเรื่องสัตยาบันเท่านั้น การแสวงหาผลประโยชน์ทางการเมืองที่เป็นเรื่องของการอวดอ้าง ชื่อเสียง ตำแหน่งและลาภยศ สรรเสริญ นั่นเป็นเรื่องที่ขัดแย้งโดยสิ้นเชิงกับแนวทางของกลุ่ม

 

แต่ถ้าผลประโยชน์แอบแฝงหมายถึงประโยชน์อันไม่ปรากฏชัดเพราะเป็นเรื่องนามธรรมที่เกิดจากการมุ่งหวังผลานิสงค์ของพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) และความอิ่มเอมใจที่ได้ทำตามบัญญัติของพระองค์ในเรื่องนี้ตอบได้เลยว่า “ใช่” เพราะผลบุญที่เป็นเรื่องของนามธรรม เป็นความดีที่หัวใจมั่นคงและสงบด้วยการกระทำสิ่งนั้น ผลบุญจึงเป็นสิ่งที่แฝงมาในพฤติกรรมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของศรัทธาและความบริสุทธิ์ใจ นั่นแหล่ะคือผลประโยชน์ที่แอบแฝงในเชิงนามธรรมที่ผู้คนมองไม่เห็น ส่วนที่ตั้งคำถามกับกลุ่มเครือข่ายว่ามีวาระซ่อนเร้นในการเคลื่อนไหวหรือไม่ ก็ตอบได้ว่าในเมื่อกลุ่มเครือข่ายเคลื่อนไหวอย่างเปิดเผยทั้งในเวทีต่อหน้าสาธารณชน ทั้งในสื่อทั้งหลาย แล้วจะกล่าวว่ามีวาระซ่อนเร้นได้อย่างไร

 

และที่สำคัญการเรียกร้องให้ทำสัตยาบันแก่จุฬาราชมนตรีของกลุ่มเครือข่ายซึ่งไม่มีผู้ใดเป็นหัวหน้า มีแต่ผู้ขับเคลื่อนและผู้ที่เห็นด้วยในการสัตยาบันเป็นสมาชิกของกลุ่ม ซึ่งคนเหล่านี้ย่อมไม่ได้รับประโยชน์ใดๆ ทางวัตถุเลยแม้แต่น้อย สิ่งที่พวกเขาจะได้รับก็คือ การได้มีส่วนร่วมในการแสดงฉันทามติและสัตยาบันให้แก่ผู้นำสูงสุดของตน จึงต้องถามกลับไปว่า ผู้ใดกันแน่ที่มีวาระซ่อนเร้น มีผลประโยชน์แอบแฝงในกรณีถ้าท่านจุฬาราชมนตรีไม่ได้รับสัตยาบันจากประชาคมมุสลิม

 

คนที่เรียกร้องให้ทำสัตยาบันตลอดจนคนที่พร้อมใจสำหรับการทำสัตยาบัน กับคนที่คัดค้าน ทัดทาน หรือเห็นว่าสมควรระงับเรื่องนี้เสีย คน 2 กลุ่มนี้ใครมีวาระซ่อนเร้น และใครมีผลประโยชน์แอบแฝง ลองตรองดูเถิด  แล้วจะเห็นว่ามีอะไรไม่ชอบมาพากลปรากฏอยู่ ลองคิดดูสิว่า ถ้าสถานการณ์ยังคงเป็นเช่นนี้ กล่าวคือ จุฬาราชมนตรีถูกสื่อบางสื่อ ถูกคนบางคนในองค์กรมุสลิมโจมตี จาบจ้วง และทำลายภาพลักษณ์และสภาวะผู้นำของจุฬาราชมนตรีทั้งเช้าเย็น มีการฟ้องร้องขึ้นโรงขึ้นศาล และจะมีการใช้สื่อประกาศกำหนดวันสำคัญทางศาสนา จะมีการตั้งคณะมัจญลิส ฟัตวาขึ้นในบางพื้นที่ซึ่งเป็นการทับซ้อนกับอำนาจหน้าที่ของจุฬาราชมนตรีโดยตรง และสุขภาพของท่านจุฬาราชมนตรีเป็นอยู่อย่างที่รู้กัน

 

สถานการณ์เช่นนี้ระหว่างการเรียกร้องเพื่อให้สัตยาบันแก่จุฬาราชมนตรีกับการใช้ความพยายามในการที่จะไม่ให้เรื่องนี้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะไม่เห็นด้วย ไม่ควรทำ หรือจบแล้ว หรือต้องชะลอออกไปก่อน หรือต้องระงับเรื่องนี้เอาไว้ก่อน ถามตรงๆ เถิดว่า ฝ่ายใดมีวาระซ่อนเร้นและมีผลประโยชน์แอบแฝง โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายที่เรียกร้องและประสงค์จะทำสัตยาบันนั้นเป็นบุคคลสามัญทั่วไปกับนักวิชาการบางส่วนที่เห็นด้วย ในขณะที่อีกฝ่ายมีตำแหน่งและเก้าอี้และพร้อมที่จะเลื่อนสถานะของตัวเองได้ทุกเมื่อ รอก็อยู่แต่โอกาสประจวบเหมาะเท่านั้น! สิ่งที่เราแจกแจงนี้มิใช่การใส่ร้ายหรือกล่าวหาแต่เป็นการเปรียบเทียบความน่าจะเป็นระหว่างสองฝ่ายในเรื่องนี้ ผู้ใดไม่มีความคิดเช่นนั้นก็ไม่ต้องกินปูนร้อนท้องแต่อย่างใด!

 

 

16. ถ้าหากจุฬาราชมนตรีไม่เห็นด้วยกับการสัตยาบันทั่วไปจากประชาคมมุสลิมแล้วกลุ่มเครือข่ายจะดำเนินการต่ออย่างไร?

ตอบ การดำเนินการของกลุ่มมเครือข่ายสัตยาบันจุฬาราชมนตรีเริ่มต้นด้วยการประสานไปยังท่านจุฬาราชมนตรีในเรื่องการขอเปิดโอกาสให้ประชาคมมุสลิมทำสัตยาบันทั่วไป การประสานงานในเบื้องต้นได้รับความกรุณาจากท่านจุฬาราชมนตรีในการรับข้อเสนอ และมีการกำหนดวันทำพิธีสัตยาบันทั่วไปในวันอาทิตย์ ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555 ตามรายละเอียดที่เราขึ้นประกาศไว้ แต่ถ้าหากท่านจุฬาราชมนตรีได้มีดุลยพินิจว่าเรื่องนี้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงหรืออาจะต้องมีกำหนดการใหม่อย่างใดอย่างหนึ่ง

 

การดำเนินการของกลุ่มก็อาจจะต้องเป็นไปตามดุลยพินิจของท่านจุฬาราชมนตรี เพราะเรื่องสัตยาบันเป็นการทำข้อตกลงระหว่างสองฝ่าย คือ ผู้นำสูงสุดและประชาคมมุสลิม หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่พร้อมก็คงต้องเลื่อนกำหนดการออกไป และกลุ่มเครือข่ายก็คงต้องประสานในเรื่องนี้ต่อไป หรือไม่ก็ต้องยุติการดำเนินการลงเสีย หากเห็นว่าเรื่องนี้เป็นการดำเนินการที่ผิดพลาดและไม่ชอบด้วยตัวบทของศาสนาและกฏหมายบ้านเมือง

 

อย่างไรก็ตามจุฬาราชมนตรีก็ยังคงเป็นผู้นำสูงสุดฝ่ายกิจการศาสนาอิสลามอยู่เช่นเดิม แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในส่วนของกลุ่มเครือข่ายสัตยาบันจุฬาราชมนตรีในกรณีที่การดำเนินการของกลุ่มเครือข่ายเป็นสิ่งที่ถูกต้องและชอบด้วยตัวบททางศาสนาและกฏหมายก็คือการไม่บรรลุเป้าหมายและล้มเหลวในการขับเคลื่อน ท้ายที่สุดแล้ว เราทุกคนก็ต้องไปตอบคำถามกับพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ในวันแห่งการฟื้นคืนชีพเอาเองว่า ทำไม?

 

 

17. ในเมื่อกลุ่มเครือข่ายสัตยาบันจุฬาราชมนตรีเรียกร้องเรื่องผู้นำและยืนยันว่ากลุ่มคณะบุคคลตั้งแต่ 3 คนต้องมีผู้นำ แล้วทำไมกลุ่มเครือข่ายฯ จึงไม่มีผู้นำ?

ตอบ เพราะกลุ่มเครือข่ายสัตยาบันจุฬาราชมนตรีถือเอาจุฬาราชมนตรีเป็นผู้นำสูงสุดด้วยการสัตยาบันอยู่แล้ว ส่วนผู้นำทางความคิดและริเริ่มในการจัดตั้งกลุ่มนั้นมีอยู่อย่างแน่นอน แต่มีสถานะเป็น    มุรชิดฺ คือ หมายถึงผู้ชี้นำซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเครือข่าย ไม่ใช่หัวหน้ากลุ่ม เพราะผู้ที่ลงชื่อว่าจะไปร่วมสัตยาบันแก่จุฬาราชมนตรีไม่ได้มีฉันทามติให้บุคคลที่ตอบคำถามอยู่นี้ว่าเป็นผู้นำหรือหัวหน้ากลุ่ม แต่ผู้นำของกลุ่มเครือข่ายสัตยาบันจุฬาราชมนตรีก็คือผู้ที่สมาชิกของกลุ่มจะมอบสัตยาบันให้ซึ่งเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก ท่านจุฬาราชมนตรี นั่นเอง!

 

 

18. การรณรงค์เรียกร้องเชิญชวนพี่น้องมุสลิมเพื่อไปให้สัตยาบันแก่จุฬาราชมนตรีเป็นการเกณฑ์มวลชนไปสร้างภาพให้แก่จุฬาราชมนตรีใช่หรือไม่?

ตอบ ถ้าหากว่าการเกณฑ์มวลชนไปให้สัตยาบันแก่จุฬาราชมนตรีเพื่อสร้างภาพเป็นเรื่องของการเมืองน้ำเน่าอย่างที่รู้กัน ก็ตอบได้ว่า แค่คิดก็พลาดแล้ว!  แต่ถ้าการเกณฑ์และหาแนวร่วมทางความคิดที่ชอบด้วยหลักการของศาสนา เป็นเรื่องการรวมตัวและพร้อมใจกันเพื่อปฏิบัติตามหลักการของศาสนา ก็ต้องถามว่า ผิดด้วยหรือ? ถ้าผิดก็ขอจงนำหลักฐานจากอัล-กุรอาน และสุนนะฮฺที่ชัดเจนมาบอกที จะเป็นเรื่องประเสริฐยิ่ง แต่ถ้าไม่ผิดเพราะเป็นเรื่องดีแล้วจะกังขาและว่ากล่าวให้เสียหายทำไม?

 

ที่สำคัญลักษณะของการเกณฑ์คนและจัดตั้งมวลชนต้องใช้งบประมาณเป็นตัวขับเคลื่อน ต้องมีการแจกหรือมีผลประโยชน์ทางวัตถุเป็นสิ่งล่อใจให้เฮโลสาระพากันไป บอกได้อย่างไม่อายเลยว่า กลุ่มเครือข่ายสัตยาบันจุฬาราชมนตรีไม่มีงบประมาณ แม้เพียงจำนวนแค่ 1,000 บาท ก็ไม่มี การดำเนินการของกลุ่มเครือข่ายเป็นเรื่องของจิตอาสา ส่วนผู้ที่เห็นด้วยกับแนวทางของกลุ่มเครือข่ายจะไปเรี่ยรายลงขันกัน บอกต่อและชักชวนกัน หรือจะออกค่าน้ำมันในการเดินทาง นั่นก็เป็นเรื่องของพวกเขา

 

อีกทั้งถ้ามีการจัดตั้งมวลชนจริงนั่นก็เป็นผลมาจากการประสานของกลุ่มเครือข่าย ท่านจุฬาราชมนตรีไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ นอกจากการเปิดโอกาสให้เท่านั้น และถ้าหากว่าการมีมวลชนมาร่วมสัตยาบันกันเนืองแน่นโดยความสมัครใจจะถือเป็นการสร้างภาพ นั่นก็เป็นการสร้างภาพของมวลชนที่มีต่อท่านจุฬาราชมนตรีหาใช่เป็นการสร้างภาพของจุฬาราชมนตรีโดยใช้มวลชนเป็นเครื่องมืออย่างที่นักการเมืองน้ำเน่าทำกัน และถึงแม้ว่านั่นจะเป็นการสร้างภาพก็เป็นเรื่องที่จะต้องทำ เพราะเมื่อมีกลุ่มคณะบุคคลหรือสื่อบางสื่อทำลายภาพของผู้นำสูงสุดของประชาคมก็ย่อมเป็นหน้าที่ของประชาคมที่จะต้องกู้ภาพที่สวยงามของผู้นำสูงสุดกลับคืนมามิใช่หรือ?

 

 

19. ทำไมจึงไม่ทำการรณรงค์และเผยแผ่ความรู้เรื่องการสัตยาบันแก่จุฬาราชมนตรีตลอดจนทำความเข้าใจแก่ประชาคมมุสลิมให้เป็นที่แพร่หลายและรับรู้โดยทั่วกันเสียก่อน แล้วจึงค่อยกำหนดพิธีสัตยาบัน

ตอบ จริงๆ แล้วการรณรงค์และเผยแผ่ความรู้เรื่องการสัตยาบัน การเชื่อฟังและปฏิบัติตามผู้นำทางศาสนาเป็นสิ่งที่นักวิชาการได้กระทำกันอยู่บ้างแล้ว ถึงแม้จะไม่มีการเน้นและให้ความรู้อย่างเข้มข้นและต่อเนื่องก็ตาม และการเผยแผ่ความรู้ในเรื่องนี้เป็นภาระกิจของผู้รู้และนักวิชาการที่จะต้องกระทำมาก่อนหน้านี้แล้ว มิใช่เพิ่งจะมาเริ่มในตอนนี้ ซึ่งผ่านเวลาของการดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีท่านปัจจุบันมานานเกือบ 2 ปีเต็มแล้ว

 

อย่างไรก็ตาม การลงมือเพื่อขับเคลื่อนการสัตยาบันทั่วไปแก่จุฬาราชมนตรีก็สามารถกระทำควบคู่ไปกับการรณรงค์และสร้างความเข้าใจแก่หมู่ประชาคมมุสลิมไปพร้อมๆ กันได้ เพราะถ้าเห็นชอบในหลักการว่าสมควรกระทำสัตยาบันแก่จุฬาราชมนตรีแล้ว ท้ายที่สุดไม่ช้าหรือเร็วก็ต้องมีการทำสัตยาบันอยู่ดี หากเรารีรอและยื้อเวลาออกไปซึ่งไม่แน่ว่าการรณรงค์และการสร้างความเข้าใจแก่ประชาคมมุสลิมทั่วประเทศจะต้องใช้เวลาอีกนานเพียงใด ที่สำคัญการทำสัตยาบันในครั้งเดียวพร้อมกันทั่วประเทศก็เป็นเรื่องยากที่จะเกิดขึ้น เพราะอย่างไรเสียก็ต้องทำสัตยาบันไล่ไปทีละจังหวัดหรือทีละเขตพื้นที่อยู่ดี

 

ทั้งนี้การทำสัตยาบันอาจกระทำได้หลายวิธีตามที่นักวิชาการได้กำหนดแนวทางเอาไว้ เช่น การทำหนังสือสัตยาบันหรือจดหมายแจ้งการสัตยาบัน หรือการส่งคณะผู้แทนของกลุ่มองค์กรและสถาบันต่างๆ เพื่อแสดงสัตยาบันแก่จุฬาราชมนตรีหรือแม้กระทั่งการแต่งตั้งผู้รับสัตยาบันแทนของจุฬาราชมนตรีแก่อิหม่ามประจำมัสยิดหรือประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเพื่อให้รับสัตยาบันแทนเป็นทอดๆ เป็นต้น

 

ถาม – ตอบเรื่องสัตยาบัน (บัยอะฮฺ) ข้อ 1 – 9

1. ถาม ทำไมต้องทำสัตยาบันแก่จุฬาร าชมนตรี?

ตอบ เพราะการสัตยาบันแก่ผู้นำสู งสุดฝ่ายกิจการศาสนาอิสลามเ ป็นสิ่งที่ดี ไม่ใช่สิ่งที่เสียหาย เมื่อประชาคมมุสลิมทำสัตยาบ ันแก่จุฬาราชมนตรีโดยตรงแล้ ว สถานภาพความเป็นผู้นำสูงสุด ของจุฬาราชมนตรีในมิติทางศา สนาก็จะมีความสมบูรณ์ และความชอบธรรมยิ่งขึ้น

ความจำเป็นอันเป็นผลมาจากกา รทำสัตยาบันที่ผู้ทำสัตยาบั นจะต้องเชื่อฟังและปฏิบัติต ามจุฬาราชมนตรีในกรณีการมีค ำสั่ง หรือประกาศข้อวินิจฉัยทางศา สนาที่ไม่ขัดด้วยตัวบททางศา สนาก็เป็นสิ่งที่ชัดเจนและเ ด็ดขาดโดยไม่มีข้อกังขาใดๆ อีก สำหรับผู้ทำสัตยาบัน

2. ถาม ไม่ต้องทำสัตยาบันแก่จุฬารา ชมนตรีจะได้หรือไม่?

ตอบ ตอบตรงๆ ว่า “ได้” แต่ไม่ดีที่สุด เพราะเมื่อบอกว่าไม่ต้องทำส ัตยาบันก็แสดงว่าไม่มีสัตยา บันที่ชัดเจนสำหรับคนที่บอก ว่าไม่ต้องทำหรือไม่ทำ เมื่อไม่มีสัตยาบันก็ย่อมหล ีกหนีจากนัยของหะดีษที่ระบุ ว่า

“ผู้ใดตายลงโดยไม่มีการสัตย าบันในต้นคอของตน (กล่าวคือ ตายโดยไม่เคยให้สัตยาบันแก่ ผู้นำสูงสุด) ผู้นั้นย่อมตายลงเยี่ยงการต ายของผู้คนในยุคญาฮิลียะฮฺ” (รายงานโดย มุสลิม)
ไม่พ้นอยู่ดี

ถึงแม้ว่าจะพอใจต่อผู้นำและ ยอมรับต่อผู้นำก็ตาม เพราะการพอใจโดยไม่มีการสัต ยาบันก็คือการไม่มีสัตยาบัน นั่นเอง

3. ถาม ทำไมจึงต้องทำสัตยาบันกับจุ ฬาราชมนตรี จะทำสัตยาบันกับคนอื่นที่มิ ใช่จุฬาราชมนตรีไม่ได้หรือ?

ตอบ ก็เพราะจุฬาราชมนตรีเป็นผู้ นำสูงสุดฝ่ายกิจการศาสนาอิส ลามในประเทศไทยที่มีกฎหมายร องรับอยู่แล้ว เหตุที่ไม่ทำสัตยาบันกับคนอ ื่นที่มิใช่จุฬาราชมนตรีก็เ พราะผู้อื่นที่ว่านั้นมิใช่ จุฬาราชมนตรี และไม่มีกฎหมายรองรับผู้อื่ นที่ว่านั้นว่าเป็นผู้นำสูง สุดฝ่ายกิจการศาสนาอิสลามใน ประเทศไทย

4. ถาม ทำไมต้องทำสัตยาบันกับจุฬาร าชมนตรีด้วย ในเมื่อจุฬาราชมนตรีท่านก่อ นหน้านี้ไม่เคยมีการทำสัตยา บันกับท่านเหล่านั้นมาก่อนเ ลย?

ตอบ เหตุก็เป็นเพราะจุฬาราชมนตร ีท่านก่อนหน้านี้ไม่เคยมีกา รทำสัตยาบันมาก่อนนั่นเอง เมื่อมาถึงสมัยของจุฬาราชมน ตรีท่านปัจจุบันจึงต้องทำหร ือสมควรทำสัตยาบัน

การที่ไม่เคยมีการทำสัตยาบั นแก่ท่านก่อนๆ ก็ไม่ได้หมายความว่าห้ามทำห รือไม่สมควรทำสัตยาบันแก่จุ ฬาราชมนตรีท่านปัจจุบัน และสถานภาพของจุฬาราชมนตรีใ นในอดีตที่ผ่านมาก็มีความแต กต่างกัน

จุฬาราชมนตรีท่านที่ 1-13 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงกรุง รัตนโกสินทร์เป็นขุนนางสังก ัดกรมท่าขวา และเป็นมุสลิมชีอะฮฺในสายตร ะกูลเฉกอะหฺหมัด อัล-กุมมียฺ จุฬาราชมนตรีท่านที่ 14-18 ซึ่งเป็นท่านปัจจุบันเป็นมุ สลิมสุนนียฺ

เอาเฉพาะ 5 ท่านที่เป็นมุสลิมสุนนียฺนี ้ก็มีสถานภาพแตกต่างกันและอ ยู่ในช่วงระยะเวลาที่สังคมไ ทยมีสภาพแตกต่างกัน การไม่มีสัตยาบันทั่วไปจากประชาคมมุสลิมแก่จุฬาราชมนตรี 4 ท่านที่ผ่านมา ก็อาจจะเป็นความเหมาะสมและเป็นไปตามสภาพของสังคมและการเมืองในสมัยนั้น

แต่เมื่อถึงสมัยของท่านจุฬาราชมนตรีคนที่ 18 ในปัจจุบันสภาพทางสังคมมุสลิมมีความแตกแยกสูง มีสื่อที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการโจมตีและชี้นำที่แพร่หลาย บริบททางสังคมจึงมีความแตกต่างจากอดีต

ดังนั้น การสัตยาบันจึงกลายเป็นวิถีทางหนึ่งที่สอดคล้องกับสภาพของสังคมในปัจจุบันในการสร้างความชอบธรรมและความชัดเจนให้แก่ภาวะการเป็นผู้นำสูงสุดฝ่ายกิจการศาสนาอิสลามของจุฬาราชมนตรี

อย่างน้อยยุคนี้เป็นเรื่องของประชาสังคมและการมีส่วนร่วม การสัตยาบันทั่วไปจากประชาคมมุสลิมแก่จุฬาราชมนตรีจึงเป็นเรื่องของความเหมาะสมกับยุคสมัยนั่นเอง

5. ถาม มั่นใจได้อย่างไรว่า เมื่อมีการสัตยาบันทั่วไปจากประชาคมมุสลิมในประเทศไทยแก่จุฬาราชมนตรีแล้ว ความวุ่นวายและการแตกแยกในองค์การและสังคมของมุสลิมจะบรรเทาลง

ตอบ ถ้าถามว่ามั่นใจหรือไม่? ก็ตอบตรงๆ ว่า “ไม่มั่นใจ” เพราะปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นและเป็นอยู่ในองค์กรและสังคมมุสลิมขณะนี้ บางส่วนมีปัจจัยและตัวแปรอยู่นอกเหนือการควบคุม

แต่สำหรับประชาคมมุสลิมที่ยินดีและพร้อมใจทำสัตยาบันแก่จุฬาราชมนตรีนั้นเชื่อได้ว่า ประชาคมมุสลิมดังกล่าวมีความมั่นใจในสถานภาพความเป็นผู้นำสูงสุดฝ่ายกิจการศาสนาอิสลามของจุฬาราชมนตรี และพร้อมที่จะปฏิบัติตามและเชื่อฟังจุฬาราชมนตรีอย่างมีเอกภาพ

และถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถยืนยันอย่างมั่นใจในการบรรเทาลงของปัญหา เพราะเราไม่สามารถบังคับทุกคนให้เห็นชอบกับเรื่องนี้ได้โดยเบ็ดเสร็จ แต่เรามีความตั้งใจและมุ่งมั่นตลอดจนความพยายามอย่างสุดกำลัง เกินจากนั้นแล้วเราก็มอบหมายต่อพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.)

กล่าวคือ ความตั้งใจและความพยายามคือ ภารกิจของเรา ส่วนความสัมฤทธิ์ผลนั้นเป็นภารกิจของพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) และเราเชื่อว่าความตั้งใจ และการลงมือเริ่มต้นกระทำตามสิ่งที่ตั้งใจไว้บนพื้นฐานของความบริสุทธิ์ใจ และมุ่งหวังในการเอื้ออำนวย(เตาฟีก) และการชี้นำ (ฮิดายะฮฺ) ของพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) คือความถูกต้องและชอบธรรมตามหลักการของศาสนา

เพราะเมื่อตั้งใจแล้วไม่ลงมือทำ นั่นคือ ความล้มเหลวตั้งแต่ต้น แต่ถ้าตั้งใจแล้ว และเริ่มลงมือ ความสำเร็จก็ผ่านไปแล้วครึ่งหนึ่ง และอุปสรรคมีไว้เพื่อเอาชนะ มิใช่มีไว้เพื่อความพ่ายแพ้และท้อถอย

6. ถาม ถ้าการสัตยาบันทั่วไปแก่จุฬาราชมนตรีเป็นสิ่งที่ดีที่สุด และสมควรทำ เหตุใดจึงไม่ทำสัตยาบันแก่จุฬาราชมนตรีนับตั้งแต่เมื่อเข้าดำรงตำแหน่ง ทำไมจึงปล่อยเวลามาถึงเกือบ 2 ปี แล้วเพิ่งจะมาทำสัตยาบันเล่า?

ตอบ ทุกสิ่งมีกำหนดเวลาและวาระโอกาสของมัน เพราะโดยหลักการและเหตุผล สิ่งที่ดีที่สุด ณ เวลาหนึ่ง อาจจะไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุด ณ อีกเวลาหนึ่ง สิ่งที่ดีและสมควรที่สุดก็ใช่ว่าสิ่งนั้นจะต้องมีโอกาสให้กระทำได้เสมอไป เมื่อไม่มีโอกาสหรือยังไม่ถึงเวลาที่เหมาะสม ต่อให้สิ่งนั้นดีที่สุดเพียงใดก็ใช่ว่าจะกระทำได้เสมอไ

และที่สำคัญการรอคอยและการล่าช้าในการทำสัตยาบันทั่วไปเป็นสิ่งที่อนุญาตให้กระทำได้ตามหลักวิชาการอยู่แล้ว ในช่วงเกือบ 2 ปี ก็ถือว่าเป็นช่วงของการรอคอย ซึ่งไม่ผิดเงื่อนไข เราอาจจะมองในมุกกลับก็ได้ว่า การทำสัตยาบันไม่ได้ล่าช้าแต่อย่างใด หากแต่ว่าการทำสัตยาบันทั่วไปต้องใช้โอกาสในการหาบทสรุปว่า มีความเหมาะสมและสมควรเกือบ 2 ปี มันใช้เวลาการตกผลึกนานถึงเกือบ 2 ปี แต่ไม่ได้ล่าช้า เพราะนั่นคือจังหวะและเวลาที่เหมาะสมของมันต่างหาก

7. ถาม ถ้าการทำสัตยาบันทั่วไปเป็นเรื่องสำคัญจริง ทำไมจึงไม่มีนักวิชาการหรือโต๊ะครูพูดถึงเลย?

ตอบ จริงๆ แล้ว เรื่องการทำสัตยาบันที่เรียกว่า บัยอะฮฺ หรือ มุบายะอะฮฺ นี้ มีนักวิชาการหรือโต๊ะครูเคยพูดถึงอย่างแน่นอน เพียงแต่นักวิชาการหรือโต๊ะครูจะพูดถึงเรื่องนี้ในแง่ใดเท่านั้นเอง

ยกตัวอย่างเช่น ถ้านักวิชาการหรือโต๊ะครูมีหัวข้อบรรยายว่าด้วยเรื่อง แบบฉบับการเป็นผู้นำของบรรดาเคาะลีฟะฮฺ โต๊ะครูหรือนักวิชาการอาจจะเน้นประเด็นเรื่องประวัติศาสตร์

หรือเน้นประเด็นวิธีการได้ผู้นำตามรัฐศาสตร์อิสลามซึ่งต้องมีการกล่าวถึงเรื่องการทำสัตยาบันประกอบแต่ไม่ได้ลงในรายละเอียดของเนื้อหา ทั้งหมดขึ้นอยู่กับหัวข้อที่บรรยาย และเนื้อหาข้อมูลที่นักวิชาการหรือโต๊ะครูเตรียมเอาไว้ตามความสันทัดและความชำนาญของแต่ละคน

อีกอย่างหัวข้อการบรรยายหรืออภิปรายหรือเสวนาที่นิยมตั้งกันก็มักจะเน้นในเรื่องปัญหาเยาวชน การศึกษา และปัญหาคิลาฟียะฮฺเดิมๆ เสียมากกว่า อาจจะกล่าวได้ว่า ไม่เคยมีการตั้งหัวข้อเรื่องการสัตยาบันแก่ผู้นำในงานการกุศลของมัสยิดหรือสถาบันใดๆ เลยก็ว่าได้

ดังนั้น เมื่อไม่มีการพูดถึงหรือพูดถึงบ้างแต่ไม่มีรายละเอียดเจาะลึก นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเรื่องสัตยาบันทั่วไปแก่ผู้นำไม่สำคัญแต่อย่างใด เพราะโดยข้อเท็จจริงมีเรื่องที่สำคัญอีกมากมายที่ไม่ได้รับการกล่าวถึงและการที่ไม่พูดถึงเรื่องสำคัญๆ เหล่านั้น ก็ไม่ได้หมายความว่า เรื่องเหล่านั้นไม่สำคัญ

8. ถาม ในเมื่อบรรดาคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศจำนวนหลายร้อยคนได้ให้สัตยาบันแก่จุฬาราชมนตรีในวันประชุมคัดสรรนั้นแล้ว ก็น่าจะเพียงพอแล้ว ทำไมจึงต้องมีการสัตยาบันทั่วไปแก่จุฬาราชมนตรีเกิดขึ้นอีก?

ตอบ เพราะการสัตยาบันมี 2 ประเภทนั่นเอง

การสัตยาบันของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศเป็นการสัตยาบันเฉพาะกิจ (บัยอะฮฺคอศเศาะฮฺ) ที่เป็นการยืนยันรับรองในเบื้องต้นว่าบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากการประชุมคัดสรรมีความเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี จึงทำสัตยาบันรับรองและเสนอแก่ประชาคมมุสสลิมทั่วไปว่า บุคคลที่ได้รับการสัตยาบันจากคณะกรรมการสรรหาคือบุคคลคนนี้แหละที่เหมาะสมที่สุดในการเป็นจุฬาราชมนตรี

ต่อมาเมื่อเมื่อประชาคมมุสลิมเห็นด้วยกับบุคคลที่คณะกรรมการคัดสรรลงมติเห็นชอบและให้สัตยาบันเฉพาะกิจรับรองเอาไว้เสนอมา ประชาคมมุสลิมก็แสดงฉันทามติยืนยันและรับรองอีกครั้ง ซึ่งเรียกว่าการสัตยาบันทั่วไป (บัยอะฮฺ อามมะฮฺ)

จะเห็นได้ว่าการสัตยาบันทั้ง 2 ประเภทที่นักวิชาการได้กำหนดเอาไว้จะเกิดขึ้นและเป็นไปอย่างสมบูรณ์เมื่อมีการสัตยาบันทั่วไปจากประชาคมมุสลิม โดยการทำสัตยาบันทั่วไปนี้เกิดขึ้นภายหลังการทำสัตยาบันเฉพาะกิจที่คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศได้กระทำแก่จุฬาราชมนตรีไว้แล้วในครั้งแรก

การทำสัตยาบันทั่วไปจึงเป็นการแสดงสิทธิของประชาคมมุสลิมในการมีส่วนร่วมอย่างชัดเจนต่อการยอมรับผู้นำสูงสุดทางศาสนาของตน

9. ถาม การทำสัตยาบันให้แก่จุฬาราชมนตรีในวันประชุมสรรหาของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศก็น่าจะเป็นการสัตยาบันทั่วไป (บัยอะฮฺ อามมะฮฺ) อยู่แล้ว

เพราะคณะกรรมการฯ เหล่านั้นได้รับการคัดเลือกจากอิหม่ามประจำมัสยิดในจังหวัด ซึ่งอิหม่ามประจำมัสยิดก็ได้รับการคัดเลือกจากสัปปุรุษประจำมัสยิด ดังนั้นการสัตยาบันของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศก็น่าจะถือได้ว่าเป็นการสัตยาบันของตัวแทนจากประชาคมมุสลิมโดยรวมแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องทำสัตยาบันอีก

ตอบ มองดูผาดๆ ก็น่าจะเป็นเช่นที่ว่ามา แต่ถ้าหากลงลึกในข้อเท็จจริงแล้ว ก็จะเห็นว่าไม่แน่ชัดว่าจะเป็นเช่นนั้น เพราะในการคัดเลือกอิหม่ามประจำมัสยิดไม่มีการสัตยาบันอย่างเป็นกิจจะลักษณะระหว่างอิหม่ามกับสัปปุรุษประจำมัสยิด กอปรกับการดำรงตำแหน่งอิหม่ามประจำมัสยิดเป็นผลมาจากการประชุมคัดเลือกของสัปปุรุษบางส่วนที่เข้าร่วมประชุมในวันคัดเลือกเท่านั้น

ซึ่งเรามิอาจยืนยันได้อย่างชัดเจนว่าการมีมติของที่ประชุมสัปปุรุษในการคัดเลือกอิหม่ามเป็นมติของสัปปุรุษทั้งหมด หรือส่วนใหญ่ เพราะโดยระเบียบปฏิบัติไม่ได้ระบุไว้ว่าองค์ประชุมในวันนั้นต้องมีจำนวนสัปปุรุษอย่างน้อยกี่คน และการที่อิหม่ามได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนั้นก็เป็นผลมาจากการคัดเลือกที่ไม่มีสัปปุรุษคนใดคัดค้าน

และการไม่คัดค้านก็ไม่ได้แสดงอย่างชัดเจนว่าพอใจโดยดุษฎี และถึงแม้ว่าสัปปุรษที่เข้าร่วมประชุมในวันคัดเลือกอิหม่ามและสัปปุรุษที่ไม่ได้เข้าร่วมจะยอมรับผลการคัดเลือกด้วยความยินดีโดยไม่มีท่าทีปฏิเสธหรือการคัดค้าน หรือร้องคัดค้านไปยังคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดก็ตา

การสัตยาบันอย่างเป็นกิจจะลักษณะระหว่างอิหม่ามกับสัปปุรุษก็ไม่มีเกิดขึ้นในข้อเท็จจริงอยู่ดี และในการคัดเลือกคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดของบรรดาอิหม่ามประจำมัสยิดในจังหวัดนั้นๆ ก็ไม่มีการทำสัตยาบันอย่างเป็นกิจจะลักษณะเกิดขึ้น ในข้อเท็จจริงอีกเช่นกัน

เหตุนั้นการอ้างว่าการทำสัตยาบันของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศแก่ผู้ที่จะดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีในวันคัดสรร คือ การสัตยาบันทั่วไปของสัปปุรุษประจำมัสยิด หรือประชาคมมุสลิมโดยรวม จึงเป็นคำกล่าวอ้างที่ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง หากแต่เป็นการมองบนพื้นฐานของสายการบังคับบัญชาตามพระราชบัญญัติการหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ.2540 เท่านั้น

และถึงแม้ว่าจะยืนตามคำกล่าวอ้างดังกล่าวก็ไม่มีข้อห้ามตามหลักวิชาการแต่อย่างใดในการทำสัตยาบันมากกว่าหนึ่งครั้งแก่ผู้นำสูงสุดคนเดียวกันเป็นสิ่งที่อนุญาตให้กระทำได้ โดยเฉพาะเมื่อผู้นำสูงสุดต้องการความมั่นใจ และการยอมรับในฉันทามติที่ชัดเจนจากประชาคมมุสลิม