อัลฮะกีม ฮะบัชอัลมะรูซีย์ (الحكيم حبش المروزي)

อะฮฺมัด อิบนุ อับดิลลาฮฺ ฮะบัช อัลฮาซิบ อัลมะรูซีย์ เป็นพลเมืองแห่งมหานครแบกแดด ไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดเมื่อใด แต่เขาเสียชีวิตในปี ฮ.ศ.350 (ค.ศ.844) โดยประมาณ

 อัลมะรูซีย์เป็นที่โจษขานกันถึงความรวดเร็วและแม่นยำในการคำนวณค่า จึงได้รับฉายาว่า อัลฮะซิบ (นักคำนวณ) การมีส่วนร่วมในวิชาดาราศาสตร์และเครื่องมือส่องดูดาวของเขาปรากฏชัดเจน

เขามีความคิดเห็นที่แตกต่างจากครูของเขาคือ อัลฟิซารีย์ และคุวาริซมี่ย์ ทำให้เขามีความคิดเห็นเป็นของตัวเองและกลายเป็นบุคคลแรกที่คิดค้นตารางแอสโตรแลป (Astrolabe) ตำราของเขาเกี่ยวกับเรื่องนี้ยังคงอยู่ในหอสมุดของนครเบอร์ลิน (เยอรมัน) เคอร์โลนบิลโล่

 

ได้ระบุในตำราดาราศาสตร์ของเขาว่า : ในตอนปลายศตวรรษที่ 3 หรือต้นศตวรรษที่ 4 ของยุคกลาง ชาวอาหรับได้รู้ถึงกฎเกณฑ์ต่าง ๆที่เป็นเรื่องเฉพาะของรูปทรงสามเหลี่ยมด้านเท่า (right-triangle) ทั้งนี้ ข้าพเจ้าได้พบว่า กฎเกณฑ์ดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาในวิชาดาราศาสตร์ ซึ่งปรากฏอยู่ในต้นฉบับเพียงชิ้นเดียวจากตารางปฏิทินดวงดาวของ อะฮฺหมัด อิบนุ อับดิลลาฮฺ ที่รู้จักกันในชื่อ “ฮะบัช” และเอกสารข้อเขียนในหอสมุดของเบอร์ลิน ตารางปฏิทินนี้ได้ถูกแต่งขึ้นหลังปีที่ 300 เศษ ตามที่ข้าพเจ้าพบหลักฐานบ่งชี้”

 

อัลมะรูซีย์ ได้รับชื่อเสียงโด่งดังในหมู่นักวิชาการร่วมสมัยและผู้คนในยุคต่อมา ซึ่งเป็นผลจากตารางปฏิทินดวงดาวที่เขาได้แต่งขึ้นโดย อัลบีรูนีย์ ได้อาศัยเป็นข้อมูลในการเขียนตำราของตนที่อัลอาซารฯ อัลมะรูซีย์จึงได้รับฉายาว่า “อัลฮะกีม ฮะบัช” (ฮะบัชจอมปราชญ์)

 

ส่วนหนึ่งจากตำราที่เขาได้แต่งขึ้น เป็นอาทิ

1. ปฏิทินดวงดาว อัซซินดฺ ฮินดฺ
2. ตารางปฏิทินดวงดาว อัลมุมตะฮิน
3. ตารางปฏิทินดวงดาวที่ชื่อ อัชชาฮฺ
4. ตารางปฏิทินดวงดาว อัดดิมัชกีย์
5. ตำราการใช้งานเครื่องมือ แอสโตรแลบ
6. ตำรามิติและเทหวัตถุ

دإد