ของวะกัฟ  (อ่าน 5939 ครั้ง)

นักศึกษา

  • บุคคลทั่วไป
ของวะกัฟ
« เมื่อ: ธันวาคม 17, 2010, 11:05:38 pm »
กรณีทีดินวากัฟของมัสยิด ให้ผู้เช่าที่ไม่ใช่มุสลิมปลูกบ้านอยู่อาศัย(เป็นทำเลใกล็วัดไม่มีชุมชนมุสลิมใกล้ๆเลย)โดยนำค่าเช่าที่เคยได้มาบำรุงมัสยิดโดยตลอด ตามข้อสั่งเสียของผู้วากัฟที่บันทึกบนหินอ่อนที่ผนังมัสยิด ผู้บริหารมัสยิดละเลยปล่อยให้มีค่าเช่าค้างนานถึง 17 เดือน เป็นมูลค่าถึง 2 แสนกว่าบาท ทีมเหรัญญิกเสนอที่ประชุมคณะกรรมการมัสยิดและได้รับอนุมัติ ให้ยกหนี้ค่าเช่าที่ค้างทั้งหมด และตั้งต้นทำสัญญาใหม่กับผู้เช่าที่ดินเดิมทั้งหมด ซึ่งที่จริงแล้วสามารถบังคับติดตามทวงถามค่าเช่าค้างได้อย่างแน่นอนเพราะทุกผู้เช่ามีบ้านของตัวเองปลูกบนที่ดินอยู่นานมาแล้ว
ถามว่า
1. การทำเช่นนี้จะผิดข้อสั่งเสียของผู้วากัฟหรือไม่?
2. คณะกรรมการมัสยิดมีอำนาจจัดการยกหนี้ค่าเช่าได้ถึงเพียงนี้ หรือ ไม่?
3. คณะกรรมการมัสยิดมีอำนาจจัดการจะมีอำนาจเพียงเท่าใด ที่จะจัดการยกหนี้ค่าเช่าได้?
4. หากมีความเห็นว่าคณะกรรมการมัสยิดไม่มีอำนาจยกหนี้ค่าเช่าได้ง่ายๆเช่นนี้ จะแก้ไขข้อผิดพลาดด้วยการใช้หนี้ให้มัสยิด 2 แสนกว่าบาท ด้วยทรัพย์ของตัวเองแทน ความผิดพลาดที่ทำผิดไว้ ได้หรือไม่?

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
ตอบ : ของวะก็อฟ (ว่ากัฟ)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 10, 2011, 07:07:11 pm »
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد...؛

ถ้าเป็นไปตามข้อมูลที่ให้มาก็ตอบได้ดังนี้
1. การกระทำของคณะกรรมการบริหารมัสญิดดังกล่าวถือเป็นความบกพร่องในหน้าที่รับผิดชอบ เพราะไม่รักษาสิทธิประโยชน์อันพึงมีพึงได้แก่การบริหารทรัพย์สินของมัสญิด และเข้าข่ายว่าละเลยไม่คำนึงถึงเงื่อนไขและเป้าหมายของผู้ทำการอุทิศ (วากิฟ) ที่กำหนดเอาไว้ในคำอุทิศ


2 , 3 คณะกรรมการบริหารมัสญิดไม่มีอำนาจในการยกหนี้ค่าเช่าค้างชำระดังที่กล่าวมา เพราะผู้มีสิทธิยกหนี้ต้องมีกรรมสิทธิ์ครอบครองในหนี้สินผูกพันนั้นและทรัพย์สินของมัสญิดที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ (ที่ดิน) ซึ่งได้มาด้วยการอุทิศ ( วักฟ์) นั้นเป็นทรัพย์สินส่วนรวมอันถือเป็นศาสนสมบัติคือเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ผู้อุทิศ (วากิฟ) ก็ไม่มีสิทธิครอบครองเป็นของตน ผู้ที่ถูกอุทิศให้ (เมาวฺกูฟ อะลัยฮฺ) ก็ไม่มีกรรมสิทธิ์ครอบครองเป็นของตน คณะกรรมการฯ ในฐานะผู้ดูแลสิทธิประโยชน์ก็ไม่มีกรรมสิทธิ์ครอบครองในทรัพย์สินที่ถูกอุทิศและประโยชน์ที่ได้จากทรัพย์สินที่ถูกอุทิศนั้นเป็นการส่วนตัวเช่นกัน เหตุนี้คณะกรรมการฯ จึงไม่มีสิทธิในการยกหนี้สินผูกพันอันเกิดจากการใช้ประโยชน์ของทรัพย์สินที่ถูกอุทิศนั้น และถือว่าเป็นการทำให้เสียสิทธิประโยชน์อันพึงมีพึงได้แก่มัสญิดอีกด้วย


4. ได้ครับ! และต้องเป็นเช่นนั้นกล่าวคือ หากมีผู้รับประกันการชำระหนี้สินที่ค้างชำระแทนจะเป็นคณะกรรมการฯ ทั้งหมดร่วมกันลงขันหรือผู้หนึ่งผู้ใดรับชำระหนี้แทนจะเป็นกรรมการหรือไม่ใช่กรรมการฯ ก็ได้ถือว่าเป็นสิ่งที่ทำได้ตามหลักการของศาสนา และนี่เป็นทางออกสำหรับการแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในกรณีที่ถามมา!


والله أعلم بالصواب