คุณสมบัติผู้ที่ควรได้รับเลือกเป็นโต๊ะอีหม่าม  (อ่าน 14890 ครั้ง)

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
salam อาจารย์อาลี
ผมอยากทราบว่า
1.ผู้ที่จะสามารถเป็นโต๊ะอีหม่าม บิลาล คอเต็ม ประจำมัสยิดควรมีคุณลักษณะอย่างไรบ้างครับ
2.ผู้ ที่จะสามารถเป็นอีหม่ามนำละหมาด(ฟัรดู ซูนัติ )ควรมีคุณลักษณะอย่างไรบ้างครับ ควรเลือกคนที่เก่งด้านไหนเป็นลำดับแรก และรองลงมาครับ
3.สามารถนำเด็กฮาฟิซ อายุไม่กี่ปี นำละหมาดได้มั้ย เพราะที่เคยสอบถามเค้าบอกว่าเรียนแต่อัลกุรอานอย่างเดียว ต้องจบฮาฟีซก่อนถึงไปเรียนวิชาอื่นได้
Jazakalloh hokhairon  salam


ถามโดย - halim « เมื่อ: กันยายน 06, 2010, 04:16:13 PM »

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
وعليكم السلام ورحمة الله و بركاته
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد...؛
   
1) เนื่องจากตำแหน่งอิหม่าม คอเต็บ และบิล้าล ประจำมัสยิดมีความเกี่ยวพันกับ พ.ร.บ. การบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ.2540  จึงจำเป็นที่จะต้องพิจารณาคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้เป็นหลัก ซึ่งเนื้อหาโดยส่วนใหญ่แล้วถูกนำเอามาจากกิตาบุลลอฮฺและสุนนะฮฺ นั่นเอง  

ดังนั้นตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้ หมวด 5 มาตรา 31 ระบุว่า อิหม่าม คอเต็บ และบิหลั่น ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้  

   (1) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 17 กล่าวคือ (ตามมาตรา 7 ยกเว้น (2) และ (10) ในหมวด 1) เป็นมุสลิมผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในศาสนาอิสลามเป็นอย่างดี  เป็นผู้ประพฤติปฏิบัติตามบัญญัติแห่งศาสนาโดยเคร่งครัด  เป็นผู้มีสัมพันธ์อันดีกับทุกศาสนา เลื่อมในในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตรย์ทรงเป็นประมุข  ไม่เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย  ไม่เป็นผู้เคยถูกจำคุกโดยคำพิพาษาถึงที่สุดให้จำคุก  เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ  ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้  ไร้ความสามารถหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบหรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎกระทรวง  

และตามมาตรา 17  ข้อ (2) มีอายุไม่ต่ำกว่า 30 ปีบริบูรณ์  และตามมาตรา 31 ข้อ (2) อ่านพระคัมภีร์อัล-กุรอานได้ถูกต้อง (3) สามารถนำไปปฏิบัติศาสนกิจได้ถูกต้องตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม (4) มีความสามารถแสดงธรรมได้  (5) เป็นสัปปุรุษประจำมัสญิดนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันก่อนวันคัดเลือก



2) ผู้ที่เป็นอิหม่ามนำละหมาดฟัรฎูและสุนนะฮฺซึ่งเป็นบุคคลทั่วไปที่มิได้ดำรงตำแหน่งอิหม่าม คอเต็บ และบิหลั่นประจำมัสญิดนั้น ให้พิจารณาคุณสมบัติตามลำดับดังนี้คือ
            1- เป็นผู้ที่อ่านอัล-กุรอาน ได้อย่างถูกต้องตามวิชากฎการอ่าน (ตัจญ์วีด) และท่องจำอัล-กุรอานได้มากที่สุด
            2- เป็นผู้ที่มีความเข้าใจในหลักการและระเบียบข้อปฏิบัติในการละหมาดเป็นอย่างดี ซึ่งข้อนี้ในทัศนะของอหม่ามอัซ-ซาฟิอียฺถือว่ามีความสำคัญเป็นอันดับแรก
            3- มีความเข้าใจสุนนะฮฺของท่านนบี (صلى الله عليه وسلم) เป็นอย่างดี
            4- มีการฮิจเราะฮฺมาก่อน ซึ่งในที่นี้หมายถึงเป็นผู้ที่อยู่ในพื้นที่มาก่อน
            5- หากทุกข้อที่กล่าวมาข้างต้นเสมอกันให้ผู้ที่มีวัยวุฒิสูงกว่าเป็นอิหม่ามนำละหมาด



3) หากเด็กที่หาฟิซฺ อัล-กุรอาน บรรลุศาสนภาวะ มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์หรือรู้เดียงสา (มุมัยยิซฺ) แล้วก็สามารถนำละหมาดได้ครับ ทั้งนี้มีเงื่อนไขว่าเด็กผู้นั้นต้องรู้กฎระเบียบเบื้องต้นในการปฏิบัติละหมาด หากว่าเด็กผู้นั้นท่องจำอัล-กุรอานเพียงอย่างเดียวแต่ไม่มีความรู้ในหลักการและกฎระเบียบของการละหมาดก็ไม่ควรเป็นอิหม่าม  ควรให้ผู้ที่มีความรู้ในเรื่องการละหมาดเป็นอิหม่ามถึงแม้ว่าผู้นั้นจะท่องจำอัล-กุรอานน้อยกว่าเด็กผู้นั้นก็ตาม

والله أعلم بالصواب