การปฏบิติก่อนละหมาดญานาซะ  (อ่าน 5730 ครั้ง)

อิดริส

  • บุคคลทั่วไป
การปฏบิติก่อนละหมาดญานาซะ
« เมื่อ: สิงหาคม 13, 2011, 11:58:54 am »
salam ท่านอาจารย์อาลี มีปัญหาอยากทราบว่า การปฏิบัติ ณ ปัจจุบันแถวบ้านผม เมื่อมีคนตายเกิดขึ้น ทางมัสยิดมีหนังสอแจ้งเวลาละหมาดญานาซะ จากนั้นเมื่อญานาซะมาถึงมัสยิด ส่วนใหญ่จะมาถึงก่อนเวลาละหมาดประมาณครึ่งชั่วโมง ทางมัสยิดจะรวมตัวกันซิกิร ตะฮ์เลล และดุอา อยากทราบว่าการปฏิบัติอย่างนี้ มีหลักฐานอย่างไรบ้าง ใช้ได้หรือไม่ เนื่องจากมีความเห็นขัดแย้งกันอยู่ ขอความกระจ่างจากท่านอาจารย์ด้วย ญาซากัลลอฮูคอยรูรรอซีกีน

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
ตอบ : การปฏบิติก่อนละหมาดญานาซะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 16, 2011, 07:55:04 pm »
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته
      الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد

นักวิชาการฟิกฮฺใน 4 มัซฮับส่วนมากมีความเห็นว่ากำหนดเวลาที่เรียกร้องให้อ่านสูเราะฮฺยาสีนที่คนใกล้จะตาย (อัล-มุหฺตะฎ็อร) คือช่วงเวลาที่ม่าลักลงมายังผู้ที่ใกล้จะตายขณะที่เขาอยู่ในสภาพใกล้จะตาย (อัล-อิหฺติฎ๊อร) ส่วนการอ่านให้แก่ผู้ที่เสียชีวิตแล้วภายหลังการเสียชีวิตของเขานั่นเป็นอุตริกรรม (บิดอะฮฺ)

(มัจญมะอฺ อัล-อันฮุร 1/179 , อัล-มุนตะกอ 2/26 , อัล-ฟะวากิฮฺ อัด-ดะวานียฺ 1/331, อัล-มุฮัซซับ 1/126 , อัล-มัจญ์มูอฺ 5/102 , เราเฎาะฮฺ –อัฏฏอลิบีน 2/97, มุฆนียฺ อัล-มุหฺตาจญ์ 1/330, หาซียะฮฺ อัรเราฎิล มู่ร็อบบะอฺ 1/324 , อัล-กาฟียฺ 1/245 , สุบุลสลาม 2/91)


ดร.สะอฺดุดดีน มุสอัด ฮิลาลียฺ ระบุว่า ที่ถูกเลือก (อัล-มุคต๊าร) ในกำหนดเวลาของการอ่านสูเราะฮฺยาสีน ณ ผู้ที่ใกล้จะตายนั้น คือความเข้าใจของอัล-หะดีษที่ใช้ให้อ่านสูเราะฮฺยาสีนให้แก่ผู้ที่เสียชีวิตโดยนัยกว้างๆ เพื่อให้รวมและครอบคลุมถึงเวลาขณะจะเสียชีวิตและเวลาหลังจากนั้น


กล่าวคือ ไม่ได้ถูกเข้าใจจากอัล-หะดีษว่าร้องขอให้อ่านสูเราะฮฺยาสีนเพียงครั้งเดียว แต่ความหมายนั้นก็ถูกต้องในการอ่านซ้ำสูเราะฮฺยาสีนเพื่อให้ครอบคลุมช่วงเวลาหลังการตายด้วย และไม่มีสิ่งเสียหายแต่อย่างใดในเรื่องดังกล่าว...”


และอิบนุ อัรริฟอะฮฺ-ซึ่งเป็นอิหม่ามคนหนึ่งในมัซฮับอัช-ชาฟิอียฺและนักวิชาการบางคนกล่าวว่า ไม่ควรละเลยเรื่องของผู้เสียชีวิตจากการอ่านและการกล่าวตะฮฺลีล ซึ่งถูกกระทำขณะการฝัง (มัดค็อล ฟี ซิกริลเมาว์ตฺฯ ดร.สะอฺดุดดีน มุสอัด ฮิลาลียฺ หน้า 208-209)


ดังนั้นถ้าถือตามความเห็นของอิบนุ อัร-ริฟอะฮฺ และนักวิชาการบางส่วน กรณีการอ่านอัล-กุรอานและซิกรุลลอฮฺตลอดจนการขอดุอาอฺให้แก่มัยยิตในช่วงเวลาที่รอละหมาดญะนาซะฮฺนั้นก็ถือว่าเป็นสิ่งที่กระทำได้ ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของนักวิชาการอาวุโสบางท่านในมัซฮับอัล-หะนะฟียะฮฺที่กล่าวว่า การอ่านอัล-กุรอานเป็นที่อนุญาต ณ บุคคลที่เสียชีวิตจริงแล้ว แต่ทว่าต้องหลังการอาบน้ำมัยยิตแล้ว ดังนั้นหากอ่านอัล-กุรอาน ณ มัยยิตก่อนหน้าการอาบน้ำมัยยิตก็เป็นสิ่งที่มักรูฮฺ (มัจญมะอฺ อัล-อันฮุร 1/179)


ซึ่งในกรณีที่ถามมานี้เป็นการอ่าน ณ มัยยิตภายหลังการอาบน้ำมัยยิตแล้วเพราะกำลังรอจะละหมาดญะนาซะฮฺให้แก่มัยยิตอยู่จึงไม่เป็นการมักรูฮฺตามทัศนะดังกล่าว ทั้งนี้หากมีความเห็นขัดแย้งกันในเรื่องนี้ว่าสมควรกระทำหรือไม่ ก็ควรหลีกเลี่ยงจากการกระทำดังกล่าว เนื่องจากทัศนะของนักวิชาการส่วนใหญ่ใน 4 มัซฮับถือเป็นสิ่งที่เข้าข่ายบิดอะฮฺดังที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง

والله اعلم بالصواب