เครียกัลไม่ลง สองมัสยิด  (อ่าน 5514 ครั้ง)

นักศึกษา

  • บุคคลทั่วไป
เครียกัลไม่ลง สองมัสยิด
« เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2012, 07:47:12 am »
1.: “อัช-ชาฟีอียฺ (ร.ฮ.) กล่าวว่า : และจะไม่มีการทำละหมาดวันศุกร์ในเมืองหนึ่ง – ถึงแม้ว่าเมืองนั้นใหญ่และมีมัสญิดเป็นจำนวนมากก็ตาม- นอกจากในมัสญิดแห่งเดียวเท่านั้น
ที่บ้านมีสองมัสยิดอยุ่ไก้ลกัลและคนไม่เยอะทั้งสองมัสยิด
  และไม่ยอมรวมละหมาดวันศุกร์รวมกัน
คือต่างคนต่างทำของมัสยิดของตนไป อีกมัสยิดรุ้ว่าไครตักบิรละหมาดก่อนก็ได้วันศุกร์ อีกมัสยิดหนึ่งก็รุ้แต่ก็เชยๆทำเหมือนไม่รุ้ก็ละหมาดวันศุกร์ปกติช้ากว่าอีกมัสยิดหนึ่งอยากถามว่า นอกจากแนวทางของ มัรฮับซาฟีอี แล้วมีมัศฮับฮับอื่นไหมที่อนุญาติไนการละหมาดวันศุกร์สองที่ไนหมู่บ้านเดียวกัลเพราะว่ามองดูแล้วไม่รวมกัลแน่ๆสองมัสยิดนี่ ละหมาดมาเป็น10กว่าปีแล้วไม่ยอมกัลซะที
2.ถ้าหาก อีหม่ามนำละหมาดจนมาถึงช่วงท้ายของรอกาอัติทีสองแล้วเขาละทิ้ง ตาซะฮุดครังเเรกแล้วยื่นขึ้นทำต่อรอกาอัตทีสามเลยอาจจะด้วยลืม หรือว่าตั่งจัยเพราะเห็นว่าไม่ทำไห้เสียละหมาดเพราะเป้นซุนนะอับอาตถ้าตังจัยละทิ้งตะซะฮุตครังเเรกเสียละหมาดไหม แล้วเราเป็นผู้ตามรุ้ว่าอีหม่ามละทิ้งตาซะฮุดครังเเรกเราจะขึ้นทำรอกาอัตที่สามตามอีหม่ามได้ไหมซึ่งเราก็รุ้ว่าต้องละทิ้งตาซะฮุดเพือละหมาดตามอีหม่ามจะลุกทำรอกาอัตที่สามตามอีหม่ามได้หรือป้าวหรือว่าเนียติมาฟารอเกอะต์ออกเลย

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
ตอบ : เครียกัลไม่ลง สองมัสยิด
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 21, 2012, 11:40:40 pm »
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد

การอ่านตะชะฮฺฮุดครั้งแรกและการนั่งเพื่ออ่านตะชะฮฺฮุดนั้น (กรณีการละหมาดที่มีจำนวนรอกอะฮฺมากกว่า 2 รอกอะฮฺขึ้นไป) ตามมัซฮับอัช-ชาฟิอียฺ ถือว่าเป็นสุนนะฮฺมิใช่วาญิบ ซึ่งตามนี้นักปราชญ์ส่วนมากกล่าวเอาไว้ เช่น อิมามมาลิก , อัษ-เษารียฺ , อัล-เอาวฺซาอียฺ และอบูหะนีฟะฮฺ เป็นต้น


ส่วนอิมาม อัล-ลัยฺษ์ , อะหฺมัด , อบูเษารินฺ อิสหาก และดาวูด กล่าวว่า เป็นวาญิบ โดยอิมามอะหฺมัด (ร.ฮ.) กล่าวว่า หากผู้ละหมาดละทิ้งการอ่านตะชะฮฺฮุด (ครั้งแรก) โดยเจตนา ก็ถือว่าการละหมาดของเขานั้นเป็นโมฆะ แต่ถ้าหากละทิ้งเนื่องจากการลืม ก็ให้เขาสุหญูดสะฮฺวี และถือว่าการละหมาดของเขาใช้ได้ (กิตาบ อัล-มัจญมูอฺ ชัรหุลมุฮัซซับ เล่มที่ 3 หน้า 429-430)


ดังนั้นในกรณีของอิมามที่ละทิ้งการตะชะฮฺฮุดครั้งแรก และขึ้นทำรอกอะฮฺที่สามเลยนั้น ถ้าเป็นการละทิ้งอันเนื่องมาจากการลืม ก็ถือว่าไม่เสียละหมาด และให้อิมามสุหญูดสะฮฺวีเพื่อทดแทนการตะชะฮฺอุดครั้งแรกที่ลืมไปนั้น


แต่ถ้าอิมามเจตนาละทิ้งการตะชะฮฺฮุดครั้งแรกก็ถือว่าการละหมาดของอิมามนั้นไม่เสียแต่อย่างใด ตามทัศนะของปราชญ์ส่วนใหญ่ แต่ถ้าถือตามทัศนะของปราชญ์ที่มีทัศนะว่า การตะชะฮฺฮุดครั้งแรกเป็นวาญิบ ก็ถือว่าการเจตนาละทิ้งการตะชะฮฺฮุดครั้งแรกของอิมามทำให้เสียละหมาด


ในกรณีของมะอฺมูมนั้นให้ลุกขึ้นตามอิมามในการทำรอกอะฮฺที่ 3 ไม่ว่าอิมามจะลืมหรือเจตนาทิ้งการอ่านตะชะฮฺฮุดก็ตาม โดยไม่อนุญาตให้มะอฺมูมทำล่าช้าจากอิมามด้วยการอ่านตะชะฮฺฮุด แต่ถ้ามะอฺมูมทำเช่นนั้นก็ถือว่าเสียการละหมาด แต่ถ้าหากมะอฺมูมตั้งเจตนาแยกออกจากการตามอิมาม (มุฟาเราะเกาะฮฺ) เพื่อที่มะอฺมูมจะได้อ่านตะชะฮฺฮุด กรณีนี้เป็นที่อนุญาตให้กระทำได้


เพราะมะอฺมูมแยกจากการตามอิมาม (มุฟาริก) ด้วยเหตุมีอุปสรรค (อุซฺร์) (กิตาบ อัล-มัจญฺมูอฺ ชัรฺหุลมุฮัซซับ เล่มที่ 4 หน้า 57-58)


ส่วนกรณีการจัดทำละหมาดวันศุกร์ของมัสยิด 2 แห่งที่อยู่ใกล้กันนั้น ตามมัซฮับอัช-ชาฟิอียฺ ถือว่า ไม่อนุญาตให้ทำสองละหมาดวันศุกร์ในเมืองๆ เดียวที่การทำรวมกันในสถานที่แห่งเดียวไม่เป็นการลำบาก ซึ่งตามนี้ อิบนุ อัล-มุนซิรฺ เล่าจากท่าน อิบนุ อุมัร , มาลิก และอบูหะนีฟะฮฺ


ส่วนท่านกอฎียฺ อบูยูสุฟ กล่าวว่า อนุญาตให้ทำละหมาดวันศุกร์มากกว่าหนึ่งแห่งในนครแบกแดดเท่านั้น และที่มัชฮู๊รจากท่านกอฎียฺอบูยูสุฟ คือ หากว่าเมืองนั้นมีสองด้านก็อนุญาตให้ทำวันศุกร์ได้ในแต่ละด้านของเมืองนั้น แต่ถ้าไม่เป็นอย่างนั้นก็ไม่อนุญาต ซึ่งตามคำกล่าวที่มัชฮู๊รนี้ ท่านอบูยูสุฟมิได้จำกัดเฉพาะนครแบกแดด


ท่าน อิมาม มุฮัมมัด อิบนุ อัล-หะสัน กล่าวว่า อนุญาตให้ทำ 2 วันศุกร์ (ญุมอะฮฺ) ได้ไม่ว่าเมืองๆ นั้นจะมี 2 ด้านหรือไม่ก็ตาม ส่วนท่านอะฏออฺและดาวูดกล่าวว่า อนุญาตให้ทำหลายญุมอะฮฺได้ในเมืองๆ หนึ่ง ส่วนท่าน อิมาม อะหฺมัด (ร.ฮ.) กล่าวว่า เมื่อเมืองนั้นมีขนาดใหญ่ เช่น นครแบกแดดและอัล-บัศเราะฮฺ ก็อนุญาตให้ทำละหมาดวันศุกร์ได้ 2 แห่ง หรือมากกว่านั้นหากมีความจำเป็น แต่ถ้าไม่ใช่เมืองใหญ่ก็ไม่อนุญาตให้ทำมากกว่าญุมอะฮฺเดียว (กิตาบ อัล-มัจญมูอฺ ชัรหุลมุฮัซซับ เล่มที่ 4 หน้า 456)


จึงสรุปได้ว่าเรื่องการทำละหมาดวันศุกร์ของมัสยิด 2 แห่งที่อยู่ใกล้กันนั้น ถ้าตามมัซฮับอัช-ชาฟิอียฺและนักปราชญ์ส่วนใหญ่ ย่อมถือว่าไม่อนุญาต โดยเฉพาะเมื่อปรากฏว่าเมืองที่ตั้งมัสญิดทั้ง 2 แห่งนั้นเป็นเมืองที่มีขนาดเล็ก มีผู้คนไม่มาก และไม่มีเหตุในการที่จะต้องแยกกันทำ แต่ถ้าถือในทัศนะของนักวิชาการบางส่วนก็ถือว่ากระทำได้


ทั้งหมดเป็นเรื่องของทัศนะในด้านนิติศาสตร์ที่เป็นประเด็นปัญหาในการใช้กำลังสติปัญญาวินิจฉัย ไม่มีตัวบทที่เด็ดขาดในเรื่องนี้ ใครถืออย่างไรก็ว่าไปตามนั้นและรับผิดชอบกันเอาเองในสิ่งที่ตนกระทำ

والله أعلم بالصواب