หญิงกาเฟร รับอิสลาม มีอิดดะไหม  (อ่าน 6861 ครั้ง)

หะซัน

  • บุคคลทั่วไป
หญิงกาเฟร รับอิสลาม มีอิดดะไหม
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2013, 11:35:19 am »
อัสสลามุอาลัยกุม
เรียนถามอาจารย์ครับว่า ผู้หญิงที่เป็นกาเฟร เลิกกับสามี หลังจากนั้นมารับอิสลาม ผู้หญิงคนนี้ จะสามารถแต่งงานกับชายมุสลิมได้เลยหรือไม่ หรือต้องรออิดดะห์ก่อน ถ้ามีอิดดะห์จะเริ่มนับอิดดะห์ตั้งแต่เมื่อไร  
ญะซากัลลอฮุคอยรอน

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
ตอบ : หญิงกาเฟร รับอิสลาม มีอิดดะไหม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 05, 2013, 08:37:08 pm »
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد

กรณีที่ถามมามี 2 ประเด็น คือ

1. สามีภรรยาซึ่งเป็นกาฟิรทั้งคู่นั้นตามทัศนะของปวงปราชญ์ (อัล-ญุมฮูร) ถือว่าการนิกาหฺของบุคคลทั้งสองในขณะเป็นกาฟิรทั้งคู่เป็นสิ่งที่ถูกต้องและได้รับการรับรองเช่นเดียวกับการนิกาหฺของชาวมุสลิม ทั้งนี้ปวงปราชญ์มีความเห็นตรงกันว่า ไม่พิจารณาในการนิกาหฺของสามีภรรยาที่เป็นกาฟิรทั้งคู่นั้นว่ามีลักษณะและวิธีการอย่างไร และบรรดาเงื่อนไขในการนิกาหฺของชาวมุสลิม เช่น ต้องมีวะลียฺ พยาน 2 คน มีการกล่าวคำเสนอและคำสนองรับทั้งหมดไม่ถูกพิจารณาเช่นกัน โดยให้ถือว่าเป็นการนิกาหฺที่ใช้ได้ตามความเชื่อของพวกเขา (อัล-ฟิกฮุลอิสลามียฺ ว่า อะดิลละตุฮฺ ; ดร.วะฮฺบะฮฺ อัซซุหัยลียฺ เล่มที่ 7 หน้า 159)


เมื่อการนิกาหฺของสามีภรรยาที่เป็นกาฟิรเป็นสิ่งที่ใช้ได้และได้รับการรับรองก็ย่อมมีหลักการอันเป็นผลมาจากการนิกาหฺนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจ่ายค่าเลี้ยงดู การหย่าที่เป็นผล การถือเวลาการครองตน (อิดดะฮฺ) การรับรองบุตร และการรับมรดกระหว่างกัน เป็นต้น (อ้างแล้ว 7/159)


ดังนั้น ในกรณีที่สามีซึ่งเป็นกาฟิรได้หย่า (เฏาะลาก) ภรรยาซึ่งเป็นกาฟิร (เลิกกันตามความเชื่อของเขาว่าเป็นการหย่า) ก็ให้ถือว่าการหย่านั้นเป็นผลและให้พิจารณาว่าหญิงกาฟิรที่ถูกหย่า (เลิกกับสามี) พ้นช่วงระยะเวลาการครองตน (อิดดะฮฺ) จากสามีของนางแล้วหรือยัง (เช่น มีรอบเดือนหรือหมดรอบเดือน 3 ครั้ง , หรือพ้นเวลา 3 เดือนกรณีที่นางไม่มีรอบเดือน หรือคลอดบุตรแล้วกรณีที่นางตั้งครรภ์กับสามีที่หย่า)


หากว่าพ้นช่วงระยะเวลาการครองตน (อิดดะฮฺ) อันเนื่องมาจากการเลิกกับสามีที่เป็นกาฟิรแล้ว ต่อมานางก็เข้ารับอิสลามก็ย่อมสามารถนิกาหฺกับชายมุสลิมได้เลย เพราะนางพ้นจากช่วงระยะเวลาการครองตน (อิดดะฮฺ) ซึ่งเริ่มเป็นตั้งแต่การหย่าของสามีเป็นผลตามจารีตของพวกเขา แต่ถ้าสอบแล้วได้ความว่า นางยังคงอยู่ในช่วงระยะเวลาการครองตน (อิดดะฮฺ) เนื่องจากการหย่าของสามีก็จำเป็นต้องรอให้นางพ้นอิดดะฮฺเสียก่อน จึงจะทำการนิกาหฺนางกับชายมุสลิมภายหลังการเข้ารับอิสลามของนาง



2. กรณีที่สามีซึ่งเป็นกาฟิรมิได้หย่าขาดภรรยาซึ่งเป็นกาฟิรของตน แต่ต่อมาปรากฏว่านางได้เข้ารับอิสลามโดยที่สามีของนางยังคงเป็นกาฟิรอยู่ กรณีเช่นนี้ภรรยาที่เข้ารับอิสลามจะต้องอยู่ในอิดดะฮฺตามรายละเอียดที่กล่าวมาแล้วในวงเล็บของประเด็นที่ 1 โดยเริ่มนับเวลาการครองตน (อิดดะฮฺ) ของนางนับตั้งแต่การเข้ารับอิสลามของนาง


เหตุที่นางต้องมีอิดดะฮฺในกรณีนี้เป็นเพราะการเข้ารับอิสลามของสามีตามนางเป็นสิ่งที่ถูกคาดหวัง แต่การเสนออิสลามให้สามียอมรับก็เป็นอุปสรรคการเข้ารับอิสลามของภรรยาและถือศาสนาต่างกับสามีจึงลงมาอยู่ในตำแหน่งของการเฏาะล๊ากร็อจญ์อียฺ (การหย่าที่สามารถกลับมาคืนดีได้) ดังนั้น เมื่องนางหมดช่วงระยะเวลาการครองตน (พ้นอิดดะฮฺ) นางจึงขาดจากสามีของนางแบบบาอินศุฆรอ (อัล-ฟิกฮุล อิสลามียฺ อ้างแล้ว 7/622,623)

والله اعلم بالصواب
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 05, 2013, 08:39:12 pm โดย อ.อาลี เสือสมิง »