อิหม่ามไม่เซ็นอนุมัติให้  (อ่าน 5780 ครั้ง)

manyoho

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 6
อิหม่ามไม่เซ็นอนุมัติให้
« เมื่อ: มกราคม 18, 2013, 01:35:26 am »
อัสสลามมุอะลัยกุม

มัสยิดกำลังดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซมตัวอาคารแต่ว่าค่าใช้จ่ายไม่เพียงพอ
จึงเรียกประชุมคณะกรรมการ คอเต็บได้เสนอให้เรี่ยรายเงินและคณะกรรมการเห็นพ้องต้องกัน
พอเสนอเรื่องนี้กับอิหม่ามท่านไม่เซ็นอนุมัติให้
ในกรณีนี้ คอเต็บสามารถเซ็นหรือดำเนินการแทนได้หรือไม่?
ปัญหานี้ควรแก้อย่างไร?ครับ

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
ตอบ : อิหม่ามไม่เซ็นอนุมัติให้
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2013, 02:05:33 am »
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد

ตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 ระบุว่า : การประชุมคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด ให้นำมาตรา 21 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งมาตรา 21 ระบุว่า :


   “ในการประชุมคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จึงจะเป็นองค์ประชุม... (วรรค 3) มติของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก...”


ดังนั้นในการดำเนินงานของคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดให้เป็นไปตามเสียงข้างมากของคณะกรรมการที่มีมติในการประชุมเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง แสดงให้เห็นว่า อำนาจการจัดการและอำนาจการดำเนินการเป็นของคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดโดยส่วนรวม มิใช่เป็นของอิหม่ามหรือผู้หนึ่งผู้ใดเป็นกรณีเฉพาะบุคคล โดยเจตจำนงค์ของกฏหมายในพระราชบัญญัติฉบับนี้ไม่ประสงค์ให้มีการใช้อำนาจแบบเผด็จการ


ถึงแม้ว่าจะมีการระบุชัดเจนว่า อิหม่ามเป็นประธาน คอเต็บเป็นรองประธาน ซึ่งตำแหน่งดังกล่าวถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจนในส่วนของอำนาจหน้าที่ของผู้เป็นอิหม่ามและคอเต็บ แต่มิใช่อำนาจของประธานเป็นกรณีเฉพาะ หากแต่การดำเนินการในเรื่องใดๆ ก็ตามให้ถือมติของคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดส่วนมากในการประชุม


ดังนั้นในกรณีที่ถามมาเมื่อคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดมีมติเห็นพ้องตรงกันว่าให้เรี่ยไรเงินเพื่อเป็นทุนในการซ่อมแซมอาคารมัสยิดซึ่งไม่ใช่เป็นมติที่ขัดต่อหลัก ศาสนบัญญัติเพราะเป็นสิ่งที่ศาสนาอนุญาตให้กระทำได้ และสอดคล้องกับมาตรา 31 (1) ที่ระบุว่า คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดมีอำนาจหน้าที่ บำรุงรักษามัสยิดและทรัพย์สินของมัสยิดให้เรียบร้อย


และ (2) วางระเบียบปฏิบัติภายในของมัสยิดเพื่อให้การดำเนินงานของมัสยิดเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เมื่อมติของคณะกรรมการส่วนใหญ่ไม่ขัดด้วยหลักศาสนบัญญัติและตัวบทกฏหมาย ก็ย่อมสามารถดำเนินการในเรื่องการเรี่ยไรดังกล่าวได้ ถึงแม้ว่าอิหม่ามจะไม่เห็นด้วยก็ตาม เพราะไม่มีเหตุอันควรที่จะคัดค้านมติของที่ประชุมคณะกรรมการเสียงข้างมากอยู่แล้ว  อีกทั้งอิหม่ามอาจจะเข้าข่ายว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 37 (1) (2) (3) และ (4) อีกด้วย


ดังนั้น เมื่อติดขัดอยู่ในกรณีของอิหม่ามที่ไม่ยอมเซ็นอนุมัติก็ให้ที่ประชุมของคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดดังกล่าวมีมติแต่งตั้งหรือมอบหมายให้คอเต็บ (ซึ่งเห็นด้วย) เป็นประธานโครงการเฉพาะกิจนี้ โดยให้เลขานุการฯ ทำหนังสือรายงานการประชุมเป็นลายลักษณ์อักษรแจ้งให้สัปปุรุษของมัสยิดทราบและลงลายมือชื่อของคณะกรรมการทั้งหมดกำกับท้ายหนังสือเพื่อรับรองมติการประชุมและยืนยันในการแต่งตั้งหรือมอบหมายให้คอเต็บเป็นประธานโครงการเรี่ยไรดังกล่าว


ทั้งนี้โดยไม่ต้องระบุถึงการคัดค้านของอิหม่ามในรายละเอียดก็ได้ เพื่อเป็นการรักษาเกียรติของอิหม่ามเอาไว้

والله ولى التوفيق