เนียตเอาน้ำละหมาดหรือาบน้ำละหมาด  (อ่าน 11185 ครั้ง)

นาอีม

  • บุคคลทั่วไป
เนียตเอาน้ำละหมาดหรือาบน้ำละหมาด
« เมื่อ: มิถุนายน 06, 2013, 08:56:15 pm »
 salam
อาจารย์ครับคือมีข้อสงสัยอยากอาจารย์ชี้แนะหน่อยครับ เวลาอาบน้ำละหมาดต้องเริ่มเนียตช่วงไหนครับ บางท่านว่าก่อนล้างมือ บางท่านว่าก่อนล้างหน้า และมีผู้รู้ท่านหนึ่งกล่าวว่าเวลาอาบน้ำละหมาด ให้เนียตในใจว่าเอาน้ำละหมาดเพื่ออัลลอฮฺ หากเนียตว่าอาบน้ำละหมาดใช่ไม่ได้ไม่ถูกต้อง  ต้องใช้คำว่าเอาน้ำละหมาดเท่านั้นถึงจะถูกต้อง เพราะน้ำละหมาดเปียกแคบางส่วน จะเนียตว่าอาบน้ำไม่ได้เพราะ คำว่าอาบน้ำคือต้องเปียกหมดทั่วร่างกาย  จะคำว่าอาบน้ำให้กรณียกฮาดัษเท่านั้นเพราะการอาบน้ำคือเปียกน้ำหมดทุกส่วน ขอให้อาจารย์บอกคำเนียต การอาบน้ำยกฮาดัษ อาบน้ำเฮด วิลาดะฮฺ นิฟาส ด้วยครับว่ามีคำเหนียตอย่างไร

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
Re: เนียตเอาน้ำละหมาดหรือาบน้ำละหมาด
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 26, 2013, 08:52:58 am »
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد

ที่ดีที่สุด (อัฟฎ็อล) คือให้ผู้นั้นมีเจตนา (นียะฮฺ) นับตั้งแต่ตอนต้นของการทำวุฎูอฺ และยังคงมีเจตนาอยู่อย่างต่อเนื่องจนกระทั่งเสร็จสิ้นจากการทำวุฎูอฺ การส่งเสริม (อิสติหฺบ็าบ) นี้เป็นสิ่งที่เห็นพ้องในมัซฮับอัช-ชาฟิอียฺ และตอนต้น (แรกสุด) ของการทำวุฎูอฺก็คือการกล่าวบิสมิลลาฮฺ และชัยคฺ อบูมุอัมมัด อัล-ญุวัยนียฺกล่าวไว้ในตำรา “อัล-วะญีซฺ” ของท่านว่า “แท้จริงที่สมบูรณ์ที่สุดคือให้ผู้นั้นมีเจตนา (นียะฮฺ) 2 ครั้ง ครั้งที่หนึ่งขณะที่เริ่มทำวุฎูอฺ และอีกครั้งขณะล้างใบหน้า” อิมามอัรฺรูยานียฺ ถ่ายทอดคำกล่าวนี้จากอัล-ก็อฟฟาลและระบุว่า เป็นสิ่งที่ดี (กิตาบ อัล-มัจญ์มูอฺ ชัรหุลมุฮัซซับ ; อัน-นะวาวียฺ เล่มที่ 1 หน้า 360-361)



ส่วนกรณีที่ว่าต้องตั้งเจตนา (นียะฮฺ) ในใจว่า “เอาน้ำละหมาด” หากตั้งเจตนา (นียะฮฺ) ว่า “อาบน้ำละหมาด” ถือว่าไม่ถูกต้องและการทำวุฎูอฺใช้ไม่ได้ ต้องใช้คำว่า “เอาน้ำละหมาด” เท่านั้นถึงจะถูกต้อง โดยให้เหตุผลว่าเพราะน้ำละหมาดเปียกแค่บางส่วน จะมีเจตนา (นียะฮฺ) ว่า อาบน้ำไม่ได้ เพราะคำว่า “อาบน้ำ” คือ ต้องเปียกหมดทั่วร่างกาย นี่เป็นเรื่องของภาษาและเป็นการเข้าใจเอาเอง



เพราะคำว่า “อาบ” เป็นคำกริยา แปลว่า เอาน้ำรดตัวหรือลงในน้ำทั้งตัว เพื่อแก้ร้อนหรือชำระล้างเหงื่อไคล เป็นต้น เรียกว่า อาบน้ำ คำว่า “อาบ” ยังหมายถึง ชโลม, ทา, ทำให้ซึมซาบ เช่น อาบน้ำรัก, ลูกศรอาบยาพิษ หรือแปลว่า ไหล โซม เช่น เหงื่ออาบหน้า เป็นต้น


เมื่อพิจารณาความหมายทางภาษาของคำว่า “อาบน้ำ” แล้วก็จะเห็นว่าความเข้าใจที่ว่ามาข้างต้นเป็นสิ่งที่คลาดเคลื่อน และน่าจะเป็นการยึดติดกับสำนวนภาษามลายูที่ว่า (مڠمبيل اير سمبهيڠ) ซึ่งแปลว่า “เอาน้ำละหมาด” ทั้งๆ ที่ในภาษาอาหรับเองก็ใช้รวมๆ ว่า อัล-วุฎูอฺ หรือ อัต-ตะวัฎฎุอฺ มิได้เจาะจงจำกัดสำนวนว่า (أخذالوَضُوء) “เอาน้ำละหมาด” เพราะอัล-วะฎูอฺคือนำละหมาด


ส่วนอัล-วุฎูอฺคือการอาบน้ำละหมาด การอธิบายว่าต้องตั้งเจตนาว่า “เอาน้ำละหมาด” เท่านั้น จะตั้งเจตนาว่า “อาบน้ำละหมาด” ไม่ได้ จึงเป็นการเข้าใจเอาเอง แล้วก็สร้างความสับสนให้แก่ผู้เรียน – ผู้ฟัง ทั้งๆ ที่ “เอา” และ “อาบ” ในการทำวุฎูอฺใช้ได้ทั้งคู่



ส่วนการตั้งเจตนาในเรื่องการอาบน้ำทั่วร่างกายให้ตั้งเจตนาว่า

“ข้าพเจ้าอาบน้ำยกหะดัษใหญ่ อันเนื่องจากมี....(ระบุ) ซึ่งเป็นฟัรฎูเหนือข้าพเจ้า ลิลลาฮิตะอาลา”


والله اعلم بالصواب