เกี่ยวกับชีริค ?  (อ่าน 9641 ครั้ง)

kawin

  • บุคคลทั่วไป
เกี่ยวกับชีริค ?
« เมื่อ: สิงหาคม 18, 2013, 06:43:22 pm »
อัสลามมุอะลัยกุมว่ารอฮม่าตุ้ลลอฮิว่าบ้าร่ิกาตุ

1.ผมกำลังดูหนังเกี่ยวกับเทพอยู่ครับ แล้วผมก็ไม่ได้ตั้งใจนึกขึ้นมาว่า "เทพเจ้ามีจริงคอยบริหารจัดการต่างๆ"  แล้วผมก็นึกต่อว่า "ถ้าเทพเจ้ามีจริง ป่านนี้โลกก็คงจะวิบัติไปแล้ว เพราะเทพเจ้ามีหลายคนก็ต้องขัดแย้งกัน อัลลอฮองค์เดียวเท่านั้นที่บริหารจัดการทุกอย่าง" ผมเชื่อ และศรัทธาครับว่าอัลลอฮคือพระเจ้าองค์เดียว อัลลอฮทรงบริหารจัดการทุกอย่าง ผมไม่ได้เชื่อในพวกเทพเจ้าเหล่านั้นเลยแม้แต่นิดเดียวครับ อยู่ๆมันก็นึกขึ้นมาเอง อย่างนีเรียกว่าชีริคไหมครับ ?

2.ชีริคมี 2 ประเภท แต่ละประเภทมีอะไรบ้าง ? (ผมลองศึกษาแต่ละเว็บไซต์แล้วเกี่ยวกับชีริค บางเว็บก็บอกไม่ครบถ้วนครับ บางเว็บบอกน้อย บางเว็บบอกมากหน่อย ในหนังสือเรียนที่ผลเรียนอยู่กูมีบอก แต่มีบอกน้อยครับ และในหนังสือบางเล่มก็มีบอกแตกต่างกับที่ผมหาดูในเว็บไซต์ครับ แม้แต่ในเว็บไซต์นี้เอง mureed.com ก็ไม่ได้มีบอกว่าชีริคมีอะไรบ้าง ผมเลยอยากทราบว่าจริงๆเเล้วชีริคมีอะไรบ้างครับ)

ญะซากัลลอฮครับ

kawin

  • บุคคลทั่วไป
Re: เกี่ยวกับชีริค ?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2013, 07:49:49 pm »
อัสลามมุอะลัยกุมว่ารอฮม่าตุ้ลลอฮิว่าบ้าร่ิกาตุ

1.ผมกำลังดูหนังเกี่ยวกับเทพอยู่ครับ แล้วผมก็ไม่ได้ตั้งใจนึกขึ้นมาว่า "เทพเจ้ามีจริงคอยบริหารจัดการต่างๆ"  แล้วผมก็นึกต่อว่า "ถ้าเทพเจ้ามีจริง ป่านนี้โลกก็คงจะวิบัติไปแล้ว เพราะเทพเจ้ามีหลายคนก็ต้องขัดแย้งกัน อัลลอฮองค์เดียวเท่านั้นที่บริหารจัดการทุกอย่าง" ผมเชื่อ และศรัทธาครับว่าอัลลอฮคือพระเจ้าองค์เดียว อัลลอฮทรงบริหารจัดการทุกอย่าง ผมไม่ได้เชื่อในพวกเทพเจ้าเหล่านั้นเลยแม้แต่นิดเดียวครับ อยู่ๆมันก็นึกขึ้นมาเอง อย่างนีเรียกว่าชีริคไหมครับ ?

2.ชีริคมี 2 ประเภท แต่ละประเภทมีอะไรบ้าง ? (ผมลองศึกษาแต่ละเว็บไซต์แล้วเกี่ยวกับชีริค บางเว็บก็บอกไม่ครบถ้วนครับ บางเว็บบอกน้อย บางเว็บบอกมากหน่อย ในหนังสือเรียนที่ผลเรียนอยู่กูมีบอก แต่มีบอกน้อยครับ และในหนังสือบางเล่มก็มีบอกแตกต่างกับที่ผมหาดูในเว็บไซต์ครับ  ผมเลยอยากทราบว่าจริงๆเเล้วชีริคมีอะไรบ้างครับ)

ญะซากัลลอฮครับ

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
Re: เกี่ยวกับชีริค ?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ธันวาคม 07, 2013, 05:04:43 pm »
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد


1. การที่มีสิ่งหนึ่งผุดขึ้นหรือผ่านมาในจิตใจแล้วเกิดการหักล้างกันเองภายในจิตใจโดยศรัทธาและปัญญาได้รับชัยชนะในการหักล้างนั้น และผู้นั้นก็เชื่อในศรัทธาและปัญญาที่ได้รับชัยชนะในการหักล้างภายในจิตใจ นั่นเป็นสภาวะของจิตใจที่มีศรัทธาหรืออีมานที่เป็นภูมิคุ้มกันการโจมตีของชัยฏอนที่เข้ามารบกวน


สภาวะที่เกิดขึ้นมิใช่เป็นการตั้งภาคีหรือชิริกแต่เป็นการทำหน้าที่ในการต่อสู้ปกป้องจิตใจของศรัทธาที่มีอยู่ในจิตใจมิให้เกิดการเขวหรือสับสน เมื่อใจสงบและเกิดปัญญาแล้วแสงสว่างจากศรัทธาและปัญญาที่ได้รับชัยชนะในการต่อสู้กับการรบกวนของชัยฏอนก็แผดเผาและทำลายการรบกวนที่ผุดขึ้นให้วิปลาสนาการไป เหลือเอาไว้แต่ศรัทธาและปัญญา


หากมีความวิตกว่าจะเสื่อมเสียศรัทธาหรือไม่เพราะเหตุแห่งการผุดขึ้นของความคิดที่มีรบกวนจิตใจในเวลาต่อมา ก็ไม่ส่งผลเสียต่อศรัทธา เพราะความวิตกนั้นเป็นผลมาจากการระวังรักษาศรัทธามิให้เสื่อมเสีย ผู้ที่วิตกในทำนองนี้เรียกว่าเป็นผู้มีศรัทธามิใช่ผู้ตั้งภาคีหรือมิใช่ผู้ไร้ศรัทธาเพราะผู้ไร้ศรัทธาย่อมไม่คำนึง ย่อมไม่เป็นวิตกใดๆ ต่อความคิดฟุ้งซ่านที่เข้ามาโจมตีศรัทธาในจิตใจ เพราะผู้นั้นไม่มีศรัทธาให้ระวังรักษาหรือเป็นข้อวิตกจริต ส่วนผู้ที่วิตกก็เป็นเพราะมีศรัทธาที่เขาจำต้องวิตกนั่นเอง



2. ข้อพิจารณาของนักวิชาการ (อิอฺติบารฺ) ในการแบ่งประเภทชิริกมีหลากหลาย หากพิจารณาประเด็นว่าชัดเจนด้วยพฤติกรรมหรือซ่อนเร้นไม่ปรากฏชัดก็แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 

1) ชิริกญะลียฺ (شِرْكٌ جَلِيٌّ) คือชิริกที่ปรากฏชัดทั้งกายกรรม (ฟิอฺลุน) วจีกรรม (เกาวฺลุน) และมโนกรรม (ก็อลบุน) เช่น การก้มลงสุหญูดต่อสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ (ซ.บ.) การกล่าววาจาที่ปฏิเสธความเชื่อพื้นฐานทางศาสนาอันเป็นที่รู้กันโดยภาวะจำเป็น อาทิ กล่าวว่า อัลลอฮฺ (ซ.บ.) รู้ไม่หมดทุกสิ่ง เป็นต้น การปักใจเชื่อ (อิอฺติก็อด) ว่ามีสิ่งอื่นที่ให้คุณให้โทษนอกจากอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ด้วยตัวของสิ่งนั้นเอง เป็นต้น 



2) ชิริกเคาะฟียฺ  (شِرْكٌ خَفِيٌّ)คือชิริกที่เกิดขึ้นในจิตใจอันเป็นผลมาจากการโอ้อวด (ริยาอฺ) การอวดตัวหยิ่งยะโสโอหัง (ตะกับบุร) การหวังในลาภยศสรรเสริญและชื่อเสียง (สุมอะฮฺ) และการลำพองตนหรือสำคัญตนผิด (อุญุบ) ชิริกประเภทที่สองนี้เกิดขึ้นในใจและเป็นสิ่งที่เป็นเหตุปัจจัยในการกระทำภายนอกที่สำแดงว่าดี บริสุทธิ์ใจแต่มี 4 ประการนั้นอยู่ในจิตใจ มองภายนอกดูเหมือนดี แต่ภายในเคลือบแฝงและมีเจตนาเป็นอื่น


ชิริกประเภทแรกที่เรียกว่า ชิริกญะลียฺเป็นชิริกขั้นรุนแรงที่สุด ทำให้ตกศาสนา (กุฟร์-ริดดะฮฺ) ส่วนชีริกประเภทที่สอง ชิริกเคาะฟียฺ เป็นบาปใหญ่ (กะบาอิรฺ) แต่ยังไม่ทำให้ผู้นั้นตกศาสนา ยกเว้นเมื่อผู้นั้นปักใจเชื่อว่าการกระทำอันมี 4 ประการช่วงต้นเป็นเหตุปัจจัยคือสิ่งที่อนุญาต (อิส-ติหฺลาล) และไม่ใช่สิ่งต้องห้าม (หะรอม) ก็ถือว่าผู้นั้นตกศาสนา (มุรตัด) แล้ว  วัลอิยาซุบิลลาฮฺ



หากพิจารณาความรุนแรงของชิริกว่าส่งผลให้ตกศาสนาหรือไม่ นักวิชาการก็แบ่งการชิริกออกเป็น 2 ประเภท คือ

1) ชิริกอักบัรฺ (شِرْكٌ أكْبَرُ) คือการตั้งภาคีใหญ่ที่สุดซึ่งทำให้ตกศาสนา มี 4 ชนิด คือ

         ก.ชิรฺก์อัด-ดะอฺวะฮฺ (شِرْكُ الدَّعْوَةِ) คือการวิงวอนขอต่อสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ (ซ.บ.)

         ข.ชิรฺก์อัน-นียะฮฺ วัลอิรอดะฮฺ วัล-ก็อศฺด์ (شِرْكُ النِّيَةِ والإِرَادَةِ وَالقَصْدِ) คือการมีเจตนา เจตจำนงค์และการมุ่งหมายในการปฏิบัติสิ่งที่เป็นอิบาดะฮฺเพื่อสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ (ซ.บ.) หรือเคียงคู่กับพระองค์

         ค.ชิรฺก์อัฏ-ฏออะฮฺ (شِرْكُ الطَّاعَةِ)  คือการภักดีและปฏิบัติตามสิ่งอื่นในสิ่งทีเป็นสิทธิสงวนเฉพาะพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) เช่น การกำหนดสิ่งที่อนุมัติหรือที่ต้องห้าม เป็นต้น

         ง. ชิรฺก์อัล-มะหับบะฮฺ (شِرْكُ المَحَبَّةِ) คือการมีความรักในเชิงอิบาดะฮฺต่อสิ่งอื่นนอกจากอัลลอฮฺ (ซ.บ.) หรือเคียงคู่กับพระองค์



2) ชิริกอัศฆ็อร (شِرْكً أصْغَرُ) คือการตั้งภาคีที่เล็กกว่าการตั้งภาคีชนิดแรก กล่าวคือ เป็นบาปใหญ่ (กะบีเราะฮฺ) แต่ไม่ทำให้ตกศาสนา เช่น การโอ้อวด (อัร-ริยาอฺ) เป็นต้น นักวิชาการบางส่วนถือว่าชิริกเคาะฟียฺเข้าอยู่ในประเภทที่สองนี้ด้วย ในขณะที่บางส่วนแยกชิริกเคาะฟียฺ (شرك خَفِيٌّ) ออกมาเป็นอีกประเภทหนึ่งคือ ไม่ชัดเจนเพราะเป็นสิ่งที่บางทีไม่ได้นึกถึง แต่มีนัยของชีริกแฝงอยู่


เช่น คำพูดที่ว่า หากไม่มีอัลลออฺและนาย ก. ในเรื่องนั้นเรื่องนี้ หรือพูดว่าสิ่งที่อัลลอฮฺประสงค์และท่านประสงค์ เป็นต้น ตามคำอธิบายของท่านอิบนุ อับบาส (ร.ฎ.) ชิริกเคาะฟียฺตามการแบ่งของนักวิชาการฝ่ายนี้ถือเป็นบาปเล็กที่สามารถลบล้าง (กัฟฟาเราะฮฺ) ด้วยการขอลุแก่โทษ (อิสติฆฟารฺ) ต่ออัลลอฮฺเพราะเป็นการพูดที่นึกไม่ถึงว่าเข้าข่ายมีนัยชิริกเจือปนอยู่


การแบ่งประเภทชิริกในการพิจารณาประเด็นอื่นๆ ยังมีอีก แต่ที่ตอบไว้นี้เป็นแบ่งประเภทโดยส่วนใหญ่ที่รู้กัน

والله اعلم بالصواب