ทรัพย์สินของมัสยิดที่เสื่อมสภาพ นำไปขายเอาเงินเข้ามัสยิดได้หรือไม่  (อ่าน 5153 ครั้ง)

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
ทรัพย์สินของมัสยิดที่เสื่อมสภาพแล้ว หรือไม่ได้ใช้งานแล้ว เอาไปขายนำเงินมาใช้ในกิจการของมัสยิดได้หรือไม่

ถามโดย - yamin « เมื่อ: ตุลาคม 05, 2008, 07:30:06 am »

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد   ؛


หลักการเดิมนั้น สิ่งที่ถูกว่ากัฟ (เมากู๊ฟ) จะไม่ถูกขายถึงแม้ว่าสิ่งนั้นจะพังก็ตาม ตลอดจนจะไม่ถูกยกให้ (ฮิบะฮฺ) และห้ามในการเปลี่ยนสภาพ (หรือรูปทรง) ของมัน


แต่อิหม่ามอัซซุบกีย์ กล่าวว่า : การเปลี่ยนสภาพหรือรูปทรงสิ่งที่ถูกวากัฟนั้นอนุญาตให้กระทำได้โดยมีเงื่อนไข 3 ประการ คือ ต้องเป็นไปเพียงเล็กน้อยโดยไม่เปลี่ยนสิ่งที่ถูกเรียกชื่อนั้น, จะต้องไม่ทำให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดจากตัวของมันสูญเสียไป แต่ให้เคลื่อนย้ายมันจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง และจะต้องมีสิทธิประโยชน์เกิดแก่การวากัฟ และอนุญาตให้ขายเสื่อหรือพรมของมัสญิดที่ถูกว่ากัฟให้แก่มัสญิด เมื่อเสื่อหรือพรมนั้นเสื่อมสภาพ (เปื่อย) ด้วยการที่ความงดงามของมันและประโยชน์ใช้สอยของมันหมดไปและมีสิทธิประโยชน์  (มัซละฮะฮฺ) เกิดขึ้นในการขายมัน ส่วนเครื่องไม้ที่หักพังหรือใกล้จะพังหรือเสียหายนั้น ถ้าหากสามารถนำไปใช้เป็นแผ่นกระดาษหรือนำไปใช้เป็นเครื่องประกอบอาคาร ก็ไม่อนุญาตให้ขายเช่นกัน


ส่วนกรณีที่นำสิ่งของดังกล่าวซึ่งเสียหายหรือเสื่อมสภาพแล้วจนมิอาจใช้งานได้ไปขาย ก็ให้นำราคา (เงิน) ที่ขายได้ไปใช้ในสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของมัสญิด ถึงแม้ว่าจะไม่นำไปซื้อเสื่อหรือพรมใหม่ก็ตาม เช่นกันกรณีของโคมไฟที่แตกหรือหมดสภาพการใช้งานก็สามารถนำไปขายได้ (เก็บความจาก ฮาชิยะฮฺ อิอานะตุตตอลิบีน, อัดดุมยาฏีย์ เล่มที่ 3 หน้า 212-213)


อย่างไรก็ตามให้คณะกรรมการมัสญิดซึ่งเป็นผู้ดูแลทรัพย์สินของมัสญิดใช้ดุลยพินิจในเรื่องการจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เสื่อมสภาพนั้นโดยพิจารณาถึงสภาพของทรัพย์สินแต่ละประเภทเพราะทรัพย์สินบางอย่างอาจซ่อมบำรุงได้หรือเปลี่ยนสภาพเพียงเล็กน้อยได้ บางอย่างหมดสภาพความสวยงามแต่ยังใช้งานได้อยู่ เช่น พรมหรือเสื่อ เป็นต้น ก็สามารถย้ายไปวากัฟให้กับมัสญิดอื่น ๆ ที่มีความต้องการใช้สอยได้ ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงเจตนาและการสืบอายุกุศลแห่งการวากัฟทรัพย์สินเหล่านั้นสำหรับผู้วากัฟให้ได้รับประโยชน์สูงสุด


والله أعلم بالصواب