สร้างอาคารบนมัสยิด  (อ่าน 12114 ครั้ง)

หะซัน

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 9
สร้างอาคารบนมัสยิด
« เมื่อ: พฤศจิกายน 05, 2014, 02:10:59 pm »
 salam
1.ต้องการสร้างอาคารเรียนด้านบนของมัสยิดได้หรือไม่(ชั้นล่างเป็นมัสยิด)
2.หากข้อที่1 สามารถกระทำได้ คำถามต่อมา ผู้ที่มีประจำเดือนสามารถขึ้นไปนั่งเรียนบนชั้นสองได้หรือไม่
วัสสลามุอะลัยกุม

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
Re: สร้างอาคารบนมัสยิด
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2015, 03:28:31 am »
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد

1) ชัยคฺ ญาดัลหัก อะลี ญาดัลหัก (ร.ฮ.) กล่าวถึงข้อชี้ขาด (หุกม์) ของบรรดามัสยิดที่อยู่ด้านล่างของอาคารหรือที่พักว่า : หลักเดิมนั้นมัสยิดจำเป็นต้องเป็นกรรมสิทธิเฉพาะของพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ดังปรากฏในอายะฮฺที่ว่า : “และแท้จริงบรรดามัสยิดนั้นเป็นสิทธิเฉพาะของพระองค์อัลลอฮฺ (ญิน : 18)


ดังนั้นในมัซฮับอัล-หะนะฟียฺจึงระบุว่า : หากมีการสร้างอาคารด้านบนของมัสยิดหรือด้านล่างของมัสยิดเพื่อใช้ประโยชน์กับอาคารที่ถูกสร้างนั้น อาคารส่วนนี้ก็ไม่กลายเป็นมัสยิด หมายความว่า ผู้ที่สร้างอาคารส่วนนี้มีสิทธิที่จะขายหรือให้เป็นมรดกสืบทอดได้ เพราะอาคารที่ถูกสร้างนี้ยังคงเป็นกรรมสิทธิของผู้สร้าง ทั้งนี้ด้วยข้อพิจารณาที่ว่าคุณลักษณะความเป็นมัสยิด (ศิฟะฮฺ มัสญิดียะฮฺ) ที่จำต้องเป็นสิทธิเฉพาะอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ไม่เกิดขึ้นจริงในส่วนของอาคารที่ถูกต่อเติมนี้


ส่วนหากว่าอาคารที่อยู่ด้านบนของมัสยิดหรือด้านล่างเป็นการสร้างเพื่อประโยชน์ (มะศอลิหฺ) ของตัวมัสยิดเอง ก็อนุญาตให้สร้างได้และอาคารดังกล่าวก็กลายเป็นมัสยิดโดยกรรมสิทธิของผู้สร้างย่อมหมดไป


นักวิชาการในมัซฮับอัล-หะนะฟีย์ยังระบุอีกด้วยว่า เมื่อสถานที่ (ซึ่งถูกต่อเติม) นี้กลายเป็นมัสยิดแล้ว ก็ไม่อาจให้ผู้ใดเอาประโยชน์จากสถานที่นั้นโดยสิ้นเชิง เพราะความเป็นมัสยิด (อัล-มัสญิดียะฮฺ) จะครอบคลุมทั้งพื้นดิน อาคาร และอากาศจนถึงสูงสุดของท้องฟ้า


ในตำราอัล-บะหฺรุรรออิก ของอิบนุนุญัยมฺ อัล-หะนะฟียฺ ระบุว่า : เงื่อนไขในการเป็นมัสยิดนั้นคือด้านล่างและด้านบนของมัสยิดถือเป็นมัสยิด และมีการถ่ายทอดจากอบูยูสุฟและมุฮัมมัด (เราะฮิมะฮุมัลลอฮฺ) ว่า : อนุญาตให้ด้านล่างหรือด้านบนของมัสยิดเป็นกรรมสิทธิที่จะเอาประโยชน์ได้ในทุกกรณีหรือจะถูกกำหนดเอาไว้เฉพาะสิทธิประโยชน์ของมัสยิดก็ได เมื่อมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดในการนำพาให้เป็นเช่นนั้น ดังในกรณีของดินแดนที่มีบ้านเรือนแออัดด้วยผู้อาศัย (อัด-ดุรรุลมุคตาร ; อิบนุ อาบิดีน 3/402)


ส่วนอิมามมาลิก (ร.ฮ.) นั้นท่านถือว่าเป็นการมักรูฮฺที่จะถือเอาด้านบนของมัสยิดเป็นที่พักอาศัยของบุคคลและครอบครัวของเขา และในฟะตาวาของอิมามอัล-บะเฆาะวียฺ ระบุว่า : ห้ามมิให้ผู้มีญุนุบพำนักอยู่ในสถานที่นั้นเพราะถือว่านั่นเป็นอากาศของมัสยิด และอากาศ (บนฟ้า) ของมัสยิดมีข้อชี้ขาดเช่นเดียวกับมัสยิด (อิอฺลามุสสาญิด บิอะหฺกามมิลมะสาญิด ; อัซ-ซัรกะชียฺ : 407 ปัญหาข้อที่ 137)



ชัยคฺ ญาดัลหัก (ร.ฮ.) สรุปว่า หากมัสญิดนั้นถูกสร้างอยู่ใต้อาคารหอพักเนื่องจากมีความจำเป็น (เฎาะรูเราะฮฺ) ก็ไม่เป็นอะไรที่จะละหมาดในมัสยิดนั้น (บุหูษ ว่าฟะตาวาอิสลามียะฮฺ ; ชัยคฺ ญาดัลหัก 1/355-356)



ส่วนกรณีที่ถามมานั้น เป็นการสร้างอาคารเรียนด้านบนมัสยิด ตามฟัตวาของชัยคฺ ญาดัลหัก (ร.ฮ.) ซึ่งอ้างทัศนะของนักวิชาการในมัซฮับอัล-หะนะฟียฺก็ถือว่าสามารถกระทำได้ในกรณีที่มีความจำเป็นหรือไม่มีก็ตาม ส่วนทัศนะของอิมามมาลิก (ร.ฮ.) นั้นถือว่ามักรูฮฺในกรณีสร้างที่พักอาศัยและมีการอยู่อาศัยเหนืออาคารมัสยิด ซึ่งเป็นคนละกรณีกับการสร้างอาคารเรียน


2) ถ้าอาคารเรียนด้านบนมัสยิดมีสภาพความเป็นมัสยิด (มัสยิดียะฮฺ) ตามที่นักวิชาการระบุมาในข้อที่ 1 ก็ถือว่าการขึ้นไปนั่งเรียนของสตรีที่มีรอบเดือน (หัยฎ์) เป็นสิ่งต้องห้าม เพราะเป็นการพำนักหรือหยุดอยู่ในสถานที่ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมัสยิดครับ

والله أعلم بالصواب