ศึกษามัศฮับที่ใกล้เคียงสุนะห์  (อ่าน 11689 ครั้ง)

นักศึกษา

  • บุคคลทั่วไป
ศึกษามัศฮับที่ใกล้เคียงสุนะห์
« เมื่อ: ธันวาคม 06, 2014, 07:07:58 pm »
 salam
อาจารย์ครับ ประเด็กแรก คือผมกำลังศึกษามัศฮับท้้งสี่อยู่ครับ เลยอยากถามอาจารย์ว่าทำไมอาจารย์ถึงเลือกยึกมัศฮับชาฟีอี

ประเด็นที่สอง ได้ไหม?หากเราจะบอกว่ากลุ่มอะห์ลุ้ลหะดีษ(มัศฮับมาลีกี) ใกล้เคียงสุนะห์มากกว่าอะห์ลุ้ลรอยี(มัศฮับฮานาฟี)

ประเด็นที่สาม จริงไหม?ที่อิหม่ามอะหมัดได้กล่าวในหนังสืออิอฺลามุล มุวักกิอีน ว่า"พวกท่านจงอย่าตักลีดฉัน และจงอย่าตักลีดตามมาลิก อัษเษารีย์ และอัลเอาษาอีย์ จงเลือกเอาจากที่พวกเขานำมา" "ถือเป็นหลักฐานแสดงถึงความอ่อนด้อยแห่งความเข้าาใจ ของคนๆหนึ่ง(ต่อศาสนาของเขา)หากการนับถือศาสนาของเขาขึ้นอยู่กับมนุษย์คนหนึ่งคนใด" ดังคำกล่าวนี้หากจริงอาจารย์ช่วยขยายความด้วยครับ

ประเด็นที่สี่ หากผมยึดมัศฮับชาฟีอี ผมต้องวางตัวอย่างไร? คือต้องตามตัวอิหม่ามชาฟิอีหรือคำพูดของท่านอย่างเดียวซึ่งไม่เกี่ยวอะไรกับลูกศิษย์ใช่รึไม่ เพราะบางมัสอะละห์ลูกศิษย์ฟัตวาไม่เหมื่อนเจ้าของมัศฮับ

ประเด็นที่ห้า อาจารย์มีความคิดเห็นอย่างไรกับแนวการยึดของกลุ่มหนึ่งที่เขาบอกว่า "ยึดทั้งสี่มัศฮับ โดยเลือกทัศนะที่ใกล้เคียงสุนะห์มากที่สุดจากสี่มัศฮับ โดยมีหลักฐานรองรับและมติเอกฉันท์ของอุละมาอฺมุจตะฮิด ซึ่งอ้างอิงจากอุละมาอฺร่วมสมัยของกลุ่มเขาอีกที เช่นชัยค์บินบาซ อุษัยมีน อันบานี รอบีอฺ ก็อรฎอวี่"

ญาซากั้ลลอฮ์ครับ

นักศึกษา

  • บุคคลทั่วไป
ศึกษามัศฮับที่ใกล้เคียงสุนะห์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 06, 2014, 07:12:12 pm »
 salam

อาจารย์ครับ ประเด็กแรก คือผมกำลังศึกษามัศฮับท้้งสี่อยู่ครับ เลยอยากถามอาจารย์ว่าทำไมอาจารย์ถึงเลือกยึกมัศฮับชาฟีอี

ประเด็นที่สอง ได้ไหม?หากเราจะบอกว่ากลุ่มอะห์ลุ้ลหะดีษ(มัศฮับมาลีกี) ใกล้เคียงสุนะห์มากกว่าอะห์ลุ้ลรอยี(มัศฮับฮานาฟี)

ประเด็นที่สาม จริงไหม?ที่อิหม่ามอะหมัดได้กล่าวในหนังสืออิอฺลามุล มุวักกิอีน ว่า"พวกท่านจงอย่าตักลีดฉัน และจงอย่าตักลีดตามมาลิก อัษเษารีย์ และอัลเอาษาอีย์ จงเลือกเอาจากที่พวกเขานำมา" "ถือเป็นหลักฐานแสดงถึงความอ่อนด้อยแห่งความเข้าาใจ ของคนๆหนึ่ง(ต่อศาสนาของเขา)หากการนับถือศาสนาของเขาขึ้นอยู่กับมนุษย์คนหนึ่งคนใด" ดังคำกล่าวนี้หากจริงอาจารย์ช่วยขยายความด้วยครับ

ประเด็นที่สี่ หากผมยึดมัศฮับชาฟีอี ผมต้องวางตัวอย่างไร? คือต้องตามตัวอิหม่ามชาฟิอีหรือคำพูดของท่านอย่างเดียวซึ่งไม่เกี่ยวอะไรกับลูกศิษย์ใช่รึไม่ เพราะบางมัสอะละห์ลูกศิษย์ฟัตวาไม่เหมื่อนเจ้าของมัศฮับ

ประเด็นที่ห้า อาจารย์มีความคิดเห็นอย่างไรกับแนวการยึดของกลุ่มหนึ่งที่เขาบอกว่า "ยึดทั้งสี่มัศฮับ โดยเลือกทัศนะที่ใกล้เคียงสุนะห์มากที่สุดจากสี่มัศฮับ โดยมีหลักฐานรองรับและมติเอกฉันท์ของอุละมาอฺมุจตะฮิด ซึ่งอ้างอิงจากอุละมาอฺร่วมสมัยของกลุ่มเขาอีกที เช่นชัยค์บินบาซ อุษัยมีน อันบานี รอบีอฺ ก็อรฎอวี่"

ญาซากั้ลลอฮ์ครับ

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
Re: ศึกษามัศฮับที่ใกล้เคียงสุนะห์
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2015, 01:11:00 am »
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد


ประเด็นที่หนึ่ง
เหตุที่ผมเลือกมัซฮับอัช-ชาฟิอีย์เป็นเพราะ

1) มัซฮับอัช-ชาฟิอีย์เป็นหนึ่งในมัซฮับทั้ง 4 ของอะฮ์ลิสสุนนะฮ์ วัล-ญะมาอะฮ์


2) เริ่มศึกษาและร่ำเรียนแนวทางของมัซฮับอัช-ชาฟิอีย์มานับแต่ต้น และยังคงศึกษาแนวทางของมัซฮับนี้ตราบจนทุกวันนี้ แม้กระทั่งการสอนตำราฟิกฮ์ก็เป็นตำราในมัซฮับอัช-ชาฟิอีย์ ตำราที่ค้นคว้าที่ใช้อ้างอิงส่วนใหญ่ก็เป็นตำราในมัซฮับอัช-ชาฟิอีย์ และบุคคลที่ผมถ่ายทอดและสอนก็เป็นผู้ที่ถือในมัซฮับอัช-ชาฟิอีย์ กระนั้นตัวผมก็ศึกษาฟิกฮ์ มุกอรอน (นิติศาสตร์เปรียบเทียบ) ระหว่างมัซฮับทั้ง 4 และวิเคราะห์หลักฐานของแต่ละมัซฮับเช่นกัน


จะเห็นได้ว่าผมตอบปัญหาศาสนาในบางประเด็นก็ให้น้ำหนักทัศนะของมัซฮับอื่นหรือปวงปราชญ์ซึ่งอาจจะค้านกับทัศนะในมัซฮับอัช-ชาฟิอีย์ก็มี เพราะเรื่องฟิกฮ์เป็นเรื่องของการวิเคราะห์และความเข้าใจ ซึ่งมีความหลากหลาย เราจึงไม่ควรปิดกั้นตัวเองหรือตะอัศศุบ (ยึดมั่นถือมั่น) กับสิ่งที่เป็นทัศนะในเรื่องฟิกฮ์โดยเฉพาะประเด็นทัศนะในเรื่องข้อปลีกย่อย


3) เป็นเหตุผลส่วนตัว คือ ชอบแนวทางของมัซฮับอัช-ชาฟิอีย์ที่รวมเอาการอ้างอิงตัวบท (อัน-นักล์) และการวิเคราะห์ตามหลักของเหตุผลทางปัญญา (อัล-อักล์) เข้าไว้ด้วยกัน ทั้งนี้เพราะอิมามอัช-ชาฟิอีย์ (ร.ฮ.) เป็นทั้งนักวิชาการอัล-ฮะดีษที่ยึดถือตัวบทแต่ในขณะเดียวกันท่านก็ใช้หลักแห่งปัญญาและการวิเคราะห์ด้วย แนวทางของท่านจึงเป็นการผสมผสานระหว่างอะฮ์ลุลฮะดีษ (อย่างอิมามอัล-มาลิกีย์) และอะฮ์ลุรเราะอฺย์ (อย่างฮะนะฟีย์) เข้าไว้ด้วยกัน


4) เพราะมัซฮับอัช-ชาฟิอีย์เป็นมัซฮับของคนส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ การยึดในมัซฮับอัช-ชาฟิอีย์จึงเป็นสิ่งที่เหมาะสม เช่นเดียวกับชาวตุรกีและเอเซียกลางตลอดจนผู้คนในอินเดียตอนเหนือรวมถึงจีนที่มัซฮับส่วนใหญ่ในดินแดนนั้นคือมัซฮับอัล-ฮะนะฟีย์ หรือผู้คนในแถบแอฟริกาเหนือก็ถือมัซฮับอัล-มาลิกีย์ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหรือเป็นสิ่งที่ถูกตำหนิหากผู้คนในดินแดนดังกล่าวจะยึดถือในมัซฮับของคนส่วนใหญ่


ประเด็นที่สอง
การที่เราจะบอกว่ากลุ่มอะฮฺลุลฮะดีษ คือกลุ่มมัซฮับอัล-มาลิกีย์โดยเฉพาะ และบอกว่ากลุ่มนี้ใกล้เคียงสุนนะฮ์มากกว่า อะฮฺลุรเราะอฺย์ แล้วระบุว่ามัซฮับอัล- ฮะนะฟีย์คือ อะฮฺลุรเราะอฺย์ ก็คงพูดเช่นนั้นมิได้ เพราะในทุกมัซฮับล้วนแต่มีนักวิชาการฮะดีษหรืออะฮฺลุลฮะดีษอยู่ด้วยทั้งสิ้น แม้กระทั่งอิมามอบูฮะนีฟะฮ์ (ร.ฮ.) ก็เป็นนักวิชาการฮะดีษ สหายทั้งสองของท่านคือ อัล-กอฎีย์ อบูยูสุฟ (ร.ฮ.) และอิมามมุฮัมมัด อิบนุ อัล-หะสัน อัช-ชัยบานีย์ และนักวิชาการที่สังกัดมัซอับอัล-หะนะฟีย์อย่างอิมามอัซ-ซัยละอีย์ , อิมามอัฏ-เฏาะฮาวีย์ ก็เป็นนักวิชาการอัล-ฮะดีษเช่นกัน



ประเด็นที่สาม
อิบนุ อัล-กอยยิบ (ร.ฮ.) ระบุคำกล่าวของอิมามอะฮ์มัด (ร.ฮ.) ไว้ในตำราอิอ์ลาม อัล-มูกิอีน เล่มที่ 2 หน้า 302 ใช้สำนวนว่า

(لاتُقَلِّدْ نِىْ وَلَا تُقَلِّدْ ما لكًاولا الشافعيَ ولا الأوزاعيَ ولاالثوريَّ , وخُذُمِنْ حَيْثُ أ ـَخَذُوا)

“ท่านอย่าได้ตักลีด (ถือตาม) ฉัน และท่านอย่าได้ตักลีด (ถือตาม) มาลิก , อัช-ชาฟิอีย์ , อัล-เอาว์ซาอีย์ และอัษ-เษารีย์ และท่านจงยึดเอาจากที่ที่พวกเขายึด”


การตักลีด (ถือตาม) ก็คือ การยึดถือคำพูดของผู้อื่นโดยไม่รู้ถึงหลักฐานของผู้นั้น คำพูดของอิมามอะฮ์มัด (ร.ฮ.) ตีความได้ว่า ท่านหมายถึงการตักลีด (ถือตาม) ในเรื่องอูศูลุดดีน กระนั้นสานุศิษย์ของอิมามอะฮ์มัด (ร.ฮ.) ก็กล่าวว่า อนุญาตให้ถือตามในเรื่องอุศูลุดดีนได้ หรือหากจะตีความว่า การตักลีดที่อิมามอะฮ์มัด (ร.ฮ.) ห้ามเอาไว้หมายถึงการตักลีดของคนที่มีภูมิความรู้ถึงขั้นระดับมุจญ์ตะฮิด สังเกตได้จากสำนวนการโต้ตอบ (คิฏอบ) เป็นการโต้ตอบกับบุคคลคนเดียวซึ่งอาจจะเป็นบุคคลในระดับมุจญ์ตะฮิดซึ่งการถือตามของมุจญ์ตะฮิดต่อการอิจญ์ติฮาดของผู้อื่นเป็นต้องห้าม (ฮะรอม) ส่วนคนทั่วไป (อะวาม) นั้นไม่ได้รวมอยู่ในความมุ่งหมายของคำพูดนี้


และโปรดสังเกตประโยคสุดท้ายที่ระบุว่า ท่านจงยึดถือจากที่ที่พวกเขายึดถือ ซึ่งก็หมายความว่า ถ้ารู้ถึงหลักฐานที่มาของทัศนะเหล่านั้นก็ยึดทัศนะนั้นและถือตามได้ เพราะการตาม (อิตบาอ์) เข้าอยู่ในนัยของการตักลีดเช่นกันตามอิศฏิลาฮ์ (นิยาม) ของนักวิชาการรุ่นหลัง เหนือสิ่งอื่นใด คำพูดของนักวิชาการในรุ่นหลังจากเศาะหาบะฮ์นั้นไม่ถือเป็นหลักฐานทางศาสนบัญญัติ เพราะอิมามอะฮ์มัด (ร.ฮ.) กล่าวไว้ในอีกริวายะฮ์หนึ่งว่า

(لا تُقُلِّدْدِيْنَكَ أحَدًامِنْ هؤلاءِ , ما جاءعن النبى صلى الله عليه وسلم وأصحابه فخُذْبِه , ثم التابعيب بعدُ , الرجلُ فيه مُخَيّرٌ)

“ท่านอย่าตักลีด (ถือตาม) ศาสนาของท่านกับคนหนึ่งคนใดจากพวกเขาเหล่านั้น สิ่งใดที่มีมาจากท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) และเหล่าเศาะหาบะฮ์ของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ท่านก็จงยึดสิ่งนั้น ต่อมาคือชนรุ่นอัต-ตาบิอีนในภายหลังบุคคลย่อมมีสิทธิเลือกในสิ่งนั้น” (อบูดาวูด : มะสาอิล อัล-อิมาม อะฮ์มัด หน้า : 276)


คำพูดของอิมามอะฮ์มัด (ร.ฮ.) ซึ่งเป็นนักปราชญ์ในรุ่นหลังชนรุ่นอัต-ตาบิอีนไม่เป็นหลักฐานในการชี้ขาดว่าห้ามตักลีด (ถือตาม) เพราะหลักฐานทางศาสนาคือ อัล-กุรอาน , อัล-หะดีษ และอิจญ์มาอ์ ซึ่งอิมามอะห์มัด (ร.ฮ.) ก็ระบุไว้อย่างชัดเจนในคำพูดของท่านนี้ว่า “สิ่งที่มีมาจากท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) และเหล่าเศาะหาบะฮ์ของท่านจงยึดสิ่งนั้น” คำพูดของอิมามอะฟ์มัด (ร.ฮ.) จึงไม่ใช่หลักฐานที่จะนำมาชี้ขาดว่าห้ามตักลีด (ถือตาม)


แต่ก็เป็นเรื่องที่น่าแปลกสำหรับนักวิชาการร่วมสมัยที่มักจะพูดว่า อย่ายึดมัซฮับหรือห้ามตักลีดในมัซฮับหรือนักปราชญ์คนหนี่งคนใดจากบรรดาอิมามมุจญ์ตะฮิด แต่พอเอาเข้าจริงคำตอบในปัญหาศาสนาของนักวิชาการร่วมสมัยเหล่านี้ก็ถือตามคำวินิจฉัยของนักปราชญ์คนหนึ่งคนใดอยู่ดี หรือบางครั้งพูดไปพูดมาก็กลายเป็นว่า อย่าถือตามนักปราชญ์หรือมัซฮับนั้นมัซฮับนี้ แต่ให้ถือตามสิ่งที่ตนตอบหรือวินิจฉัยไปเสียอย่างนั้น และคนที่ถือตามนักวิชาการเหล่านี้ก็หาได้รู้ไม่ว่า หลักฐานที่พวกเขายึดถือคือหลักฐานจากตัวบทใด ได้แต่ถือตามคำตอบของนักวิชการเหล่านี้เท่านั้น ซึ่งก็คือการตัดลีดที่นักวิชาการของพวกเขาบอกว่าเป็นสิ่งต้องห้ามนั่นเอง



ประเด็นที่สี่
หากคุณยึดมัซฮับอัช-ชาฟิอีย์ คุณก็วางตัวในฐานะผู้ตามและศึกษาเรียนรู้แนวทางของมัซฮับอัช-ชาฟิอีย์ ซึ่งอิมามอัช-ชาฟิอีย์ (ร.ฮ.) และบรรดานักปราชญ์ในมัซฮับได้ถ่ายทอดและวิเคราะห์ตัวบททางศาสนาเอาไว้ การถือมัซฮับก็คือการตามแนวทาง (มันฮัจ) มิใช่ตัวบุคคลหรือยึดในตัวบุคคล



ประเด็นที่ห้า
เห็นด้วยกับแนวทางความคิดที่ว่า ยึดทั้ง 4 มัซฮับ โดยเลือกทัศนะที่ใกล้เคียงกับสุนนะฮ์มากที่สุดจาก 4 มัซฮับ โดยมีหลักฐานรองรับและมติเอกฉันท์ของอุลามาอ์มุจญ์ตะฮิด ถ้าบุคคลที่มีแนวความคิดนั้นรู้ลึกและชำนาญในแนวทางของ 4 มัซฮับ และมีความสามารถถึงขั้นวิเคราะห์ตัวบทและหลักฐานของทัศนะที่มั่นใจว่าใกล้เคียงสุนนะฮ์มากที่สุด โดยรู้ถึงสถานภาพของบรรดาหะดีษที่เป็นหลักฐานนั้นว่าอยู่ในระดับใด ตลอดจนรอบรู้ถึงมติเอกฉันท์ของบรรดานักปราชญ์ระดับมุจญ์ตะฮิด


สำคัญอยู่ที่ว่าบุคคลที่มีคุณสมบัติที่ว่านี้จะมีหรือไม่ในปัจจุบัน เพราะเอาเข้าจริงคนระดับมุจญ์ตะฮิดจำนวนมากก็สังกัดมัซฮับเดียว แล้วคนธรรมดาอย่างเราๆ ท่านๆ จะยึดทั้ง 4 มัซฮับเลยจะกระทำได้จริงหรือ? เพราะท้ายที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ถือตามอุละมาอ์ร่วมสมัยอย่างที่ออกชื่อมาซึ่งเป็นการตักลีดนักวิชาการเหล่านั้นไปเสีย มิใช่เป็นการยึดทั้ง4 มัซฮับอย่างที่กล่างอ้างแต่อย่างใด


ผมมีข้อเสนอแนะที่ง่ายกว่า คือตามมัซฮับเดียวแล้วศึกษาเรียนรู้แนวทางของมัซฮับนั้นให้แตกฉานจนถึงขั้นเรียนรู้ที่มาของทัศนะในมัซฮับนั้นว่าอ้างอิงหลักฐานอะไรมาสนับสนุนหรือรองรับ เมื่อแม่นและชำนาญแนวทางในมัซฮับนั้นแล้วก็ค่อยศึกษาในมัซฮับอื่นๆ เชิงเปรียบเทียบ (มุกอเราะนะฮ์) เพื่อเปิดโลกทัศน์และมุมมองในโอกาสต่อไป


ข้อเสนอแนะที่ว่านี้สามารถทำได้ เพราะในมหาวิทยาลัยสำคัญๆ ในโลกอิสลาม เช่นมหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร อัช-ชะรีฟ ก็บรรจุวิชานิติศาสตร์เปรียบเทียบระหว่างมัซฮับทั้ง 4 ในการเรียนการสอนอยู่แล้ว แต่กระนั้นนักศึกษาก็ต้องสังกัดมัซฮับหนึ่งและเรียนรู้ตำราและแนวทางในมัซฮับนั้นด้วย นักวิชาการบ้านเราที่จบจากอัล-อัซฮัรทุกคนต้องกรอกในเอกสารของมหาวิทยาลัยว่าสังกัดมัซฮับ โดยเฉพาะมัซฮับอัช-ชาฟิอีย์ เพราะมุสลิมในประเทศไทยถือมัซฮับอัช-ชาฟิอีย์


แต่พอจบมาแล้วก็กลายเป็นว่านักวิชาการบางคนที่จบจากอัล-อัซฮัรกลับประกาศกับผู้คนทั่วไปว่าไม่ต้องมีมัซฮับ หรือโจมตีมัซฮับ ทั้งๆ ที่ขณะเรียนอยู่อัล-อัซฮัรก็แจ้งในเอกสารว่าเป็นผู้ถือมัซฮับอัช-ชาฟิอีย์ อย่างน้อยก็ควรยอมรับมิใช่หรือว่าตนเคยถือมัซฮับอัช-ชาฟิอีย์ เรียนตำราในมัซฮับนี้สมัยศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย


วิญญูชนที่ซื่อตรงย่อมรักษาความสัตย์และยอมรับความจริง มิใช่สมัยหนึ่งแจ้งกับมหาวิทยาลัยอย่างหนึ่ง แต่พอเรียนจบและกลับมาก็บอกกับผู้คนอีกอย่างหนึ่ง พฤติกรรมแบบนี้ไม่โปร่งใสและถือเป็นการไม่รักษาอะมานะฮ์ทางวิชาการ

والله ولي التوفيق والهحداية