เหนียตบวช (การเนียตว่า \"พรุ่งนี้\" \"รุ่งขึ้น\")  (อ่าน 43469 ครั้ง)

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
salam
ผู้รู้ครับขอถามปัญหาหน่อยครับ  เกี่ยวกับการเหนียตบวช คือว่าอย่างนี้ครับ  เราจะเนียตอย่างไร   หากเราจะเนียตตอน ตี 4  เนียตว่าข้าพเจ้าถือศีลอดในวันพรุงนี้   ใช้ได้หรือเปล่าครับ  เพราะว่าตี4 เป็นเวลาของวันนั้นแล้ว    เหมือนกันไหมกับการเนียตในเวลา ละหมาดอีซาเสร็จ        อาจารย์ช่วยบอกคำเหนียตด้วยนะครับ  พร้อมกับบอกด้วยว่าเวลานี้ควรเนียตอย่างไร  เช่น ตืนขึ้นมาตอนตี4 แล้วเนียตแบบไหน     หากจะเนียตก่อนนอนต้องเนียตอย่างไร

ถามโดย - ผู้สงสัย ที่ตองการรู้ « เมื่อ: สิงหาคม 06, 2009, 03:12:09 pm »

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
เหนียตบวช (การเนียตว่า \"พรุ่งนี้\" \"รุ่งขึ้น\")
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 27, 2010, 06:44:00 am »
وعليكم السلام ورحمة الله و بركاته
والحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد...؛

การบวชมี  2  ชนิดคือ  บวชสุนัตกับบวชฟัรฎู  ถ้าเป็นบวชสุนัตก็อนุโลมให้เหนียตได้จนถึงเวลาก่อนตะวันคล้อย  ไม่จำเป็นต้องบวชในช่วงเวลากลางคืน  แต่มีเงื่อนไขว่า  นับแต่แสงอรุณจริงขึ้นนั้นจะต้องไม่กระทำสิ่งที่ทำให้เสียบวชเช่น  กินหรือดื่ม  เป็นต้น  เช่นตื่นมาละหมาดซุบฮิ  แต่ยังไม่ได้เหนียตก็ให้เหนียตได้ถึงแม้ว่าจะเข้าเวลากลางวัน  (แสงอรุณจริงขึ้นไปแล้ว)  ก็ตาม  แต่จะต้องไม่เลยไปถึงช่วงตะวันคล้อยตามทัศนะที่ถูกต้อง  นี่เป็นการเหนียตบวชสุนัตส่วนการบวชฟัรฎูเช่น  

บวชนะซัร  บวชกอฎอร่อม่าฎอนหรือบวชในเดือนร่อมาฎอน  กรณีนี้จำเป็นต้องเหนียตในเวลากลางคืนเท่านั้น ซึ่งเวลากลางคืนที่ว่านี้ก็คือ  นับตั้งแต่หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าเรื่อยไปจนถึงก่อนแสงอรุณจริงขึ้น  ดังนั้นถ้าผู้ที่จะบวชเหนียตถือบวชนับตั้งแต่เวลาหลังมัฆริบก็ถือว่า  มีเหนียตในเวลากลางคืนแล้ว  ถ้าเหนียตตอนตี  4  ซึ่งเป็นเวลาก่อนแสงอรุณขึ้นยังเป็นเวลากลางคืนอยู่  ก็ถือว่ามีเหนียตในเวลากลางคืนเช่นกัน  

ประเด็นที่ถามถึงจึงน่าจะเป็นศัพท์แสงที่ใช้คือคำว่า  “พรุ่งนี้” ถ้าเหนียตตอนหลังอิชาอฺก็น่าจะใช่  เพราะว่ายังไม่เข้าวันใหม่คือยังคงเป็นวันนี้อยู่  แต่ถ้าเหนียตตอนตี  4  ซึ่งเป็นเวลาหลังเที่ยงคืนไปแล้วจะเหนียตว่า  พรุ่งนี้ได้อย่างไร  เพราะจริงๆมันเป็นวันนี้แล้ว  นี่เป็นสิ่งที่ชวนให้น่าคิด  แต่ถ้าคิดดีๆ  การเหนียตในเวลาหลังอิชาอฺก็ต้องถือว่าเป็นการเหนียตถือบวชในวันนี้เช่นกันเพราะตามคติการนับวันตามแบบอิสลาม  ถือว่าเมื่อดวงตะวันลับขอบฟ้าแล้วก็เข้าวันใหม่แล้ว  เพราะกลางคืนมาก่อนกลางวัน  เรื่องนี้เป็นเรื่องของคนช่างคิด  ชอบตั้งแง่เพราะถ้าเถรตรงช่วงที่ว่าก็คงต้องเหนียตตั้งแต่ดวงอาทิตย์ยังไม่ตกดิน  เพราะเมื่อดวงอาทิตย์ตกดินวันพรุ่งนี้หรือวันใหม่ก็มาถึงแล้ว  ตกลงจะเอาอย่างไรดี  ทั้ง ๆ ที่หลักการบอกว่าต้องเหนียตในเวลากลางคืน  มิใช่เหนียตในเวลากลางวัน  

จึงได้ข้อสรุปว่า  คำว่าพรุ่งนี้ก็หมายถึง  วันรุ่งขึ้น  คือวันที่มีรุ่งอรุณปรากฏขึ้นนั่นแหล่ะคือวันพรุ่งนี้ตามจารีตทางภาษาที่ใช้กัน  ฉะนั้นจะเหนียตในเวลาหลังอิชาอฺหรือตอนตี  4  ก็มีค่าเท่ากัน  เพราะรุ่งอรุณยังไม่ปรากฏ  วันพรุ่งนี้ก็ยังไม่มาถึง  จึงให้เหนียตว่า  ข้าพเจ้าถือศีลอดฟัรฎูร่อมาฎอนของปีนี้ในวันรุ่งขึ้นเป็นฟัรฎูเหนือข้าพเจ้าลิลลาฮิตะอาลา  นี่เป็นคำเหนียตแต่มิใช่การเหนียต  การเหนียตอยู่ที่ใจ  คือ  รู้ตัว  มีสติว่าจะทำอะไร  คือจะบวช  บวชอะไร  บวชฟัรฎู  ฟัรฎูอะไร  ฟัรฎูในเดือนร่อมาฎอน คือ มีองค์ประกอบในการเหนียต  (ตั้งใจ)  ครบก็ถือว่าเหนียตใช้ได้แล้ว  เรื่องก็มีอยู่แค่นี้แหล่ะ  อย่าได้ไปเก็บประเด็นของคนคิดมากแต่คิดไม่ถี่ถ้วนมาเป็นสาระเลย  เคยได้ยินผู้รู้ประเภทนี้วิพากษ์วิจารณ์คำว่า  พรุ่งนี้  มาเหมือนกัน  วิจารณ์ไปวิจารณ์มาก็ตกม้าตายอยู่ดี!

والله أعلم بالصواب