การอ่านอัลกุรอานอุทิศผลบุญถึงผู้ตายหรือไม่ครับ  (อ่าน 7869 ครั้ง)

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
ท่านอีมามนะวะวีย์กล่าวว่า  ส่วนการอ่านอัลกุรอานอุทิศผลบุญ และการละหมาด(สุนัต)ให้นั้น ท่านอีมามชาฟีอีย์ และบรรดาญุมฮูร(นักปราชญ์ส่วนใหญ่)มีความเห็นว่า ไม่ถึงผู้ตาย(จากหนังสือ หุกมุลกิรออะติลิลอัมวาต หน้า 24)
อจ ครับ ผมอยากรู้ว่า  
1 เป็นการอธิบายของอีมามนะวะวีย์จริงหรือป่าวครับ อธิบายจากหะดีษที่ว่า  เมื่อลูกหลานอาดัมสิ้นชีวิตลง การงานของเขาขาด ฯ ยกเว้นสามประการ  ฯ  ทำนองนี้อ่ะ
2 ผมอยากทราบว่าแล้วจริงๆการอ่านอัลกุรอานที่กุโบรสามารถกระทำได้มั้ยครับจากหลักการศาสนาที่ถูกต้องแล้วสามารถถึงคนตายป่าวครับ
3 ผมอยากทราบ สำนวนภาษาอาหรับจากต้นฉบับของท่านอีมามนะวะวีย์ที่บอกว่า  ส่วนการอ่านอัลกุรอานอุทิศผลบุญ และการละหมาด(สุนัต)ให้นั้น ท่านอีมามชาฟีอีย์ และบรรดาญุมฮูร(นักปราชญ์ส่วนใหญ่)มีความเห็นว่า ไม่ถึงผู้ตาย(จากหนังสือ หุกมุลกิรออะติลิลอัมวาต หน้า 24) ข้อที่สามเนีย  เป็นกรณีศึกษาครับ  
อจ ครับ โดยส่วนตัวผมชื่นชม ชื่นชอบ และผมก็อยากเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ครับ  (ญะซะกัลลอฮุคอยรอน)อัลลอฮตอบแทนความดีคับ

ถามโดย คนอยากเรียนรู้
« เมื่อ: สิงหาคม 17, 2009, 12:11:40 AM »

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
ตอบ : การอ่านอัลกุรอานอุทิศผลบุญถึงผู้ตายหรือไม่ครับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2010, 01:06:05 pm »
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد...؛


1) ในหนังสือ \"อัลอัซการฯไ ของท่านอิหม่าม อันนะวาวีย์ (ร.ฎ.) ระบุว่า :

(واختلف العلماءفي وصول ثواب قراءةالقرآن ، فالمشهورمن مذهب الشافعي وجماعةأنه لايصل...)  

\"และบรรดานักปราชญ์มีความเห็นต่างกันในการที่ผลบุญของการอ่านอัลกุรอ่านถึง (ผู้ตายหรือไม่?) ที่รู้กันดี (มัชฮู๊ร) จากมัซฮับของอัชชาฟิอีย์และกลุ่มหนึ่งคือ (ผลบุญของการอ่านอัลกุรอ่าน) นั้นไม่ถึง.....\" (หน้า 154)


และปรากฏในหนังสือ \"ฟะตาวา อัลอิหม่าม อันนะวาวีย์\" คำถามข้อที่ 95 หน้า51 ถามว่า : จะถึงผู้ตายไหม? ผลบุญของสิ่งที่ถูกทำซอดาเกาะฮฺให้แก่ผู้ตาย การขอดุอาอฺและการอ่านอัลกุรอ่าน

คำตอบ :

 يصله ثواب الدعاء ، وثواب الصدقةبالإجماع واختلفوافي ثواب قراءةالقرآن ، فقال أحمد وبعض أصحاب الشافعي والأكثرون : لايصل

\"ผลบุญของการดุอาอฺ  และผลบุญของการซอดาเกาะฮฺจะถึงผู้ตายโดยอิจญมาอฺ และพวกเขามีความเห็นต่างกันในผลบุญของการอ่านอัลกุรอ่าน ท่านอะฮฺหมัดและสานุศิษย์ของอัชชาฟิอีย์บางส่วนและส่วนมากกล่าวว่า : ไม่ถึง\"


และอัลลามะฮฺ อิบนุ อาบิดีน ได้ถ่ายทอดเอาไว้ใน ชิฟาอุลอะลีล และใน ฮาชิยะฮฺ อะลัดดุรริ ว่า : อิหม่ามมาลิก (ร.ฎ.) และ อัชชาฟิอีย์ (ร.ฎ.) ทั้งสองมีความเห็นว่าการทำอิบาดาตที่เกี่ยวกับร่างกายล้วนๆ เช่น ละหมาด และการอ่านอัลกุรอ่านไม่ถึงผู้ตายโดยแตกต่างจากอิบาดาตอื่นๆ เช่น การทำซอดาเกาะฮฺและฮัจย์ (ฟะตาวา ชัรอียะฮฺ ว่า บุฮูซ อิสลามียะฮฺ, ฮะซะนัยน์ มูฮัมหมัด มัคลู๊ฟ เล่มที่ 2 หน้า 294)


ดังนั้น ที่ถามว่า เป็นการอธิบายของอิหม่าม อันนะวาวีย์ (ร.ฎ.) จริงหรือ ก็ตอบว่าใช่ กล่าวคือ ท่านอิหม่าม อันนะวาวีย์ ได้อธิบายถึงทัศนะของนักวิชาการในเรื่องนี้ แต่มิได้หมายความว่า อิหม่าม อันนะวาวีย์ (ร.ฎ.) มีความเห็นว่า การอ่านกุรอ่านไม่ถึงผู้ตาย ส่วนหลักฐานของฝ่ายที่ว่าไม่ถึงนั้นก็อาศัยหะดีษบทดังกล่าวและอายะฮฺอัลกุรอ่านที่ว่า (وَأَنْ لَيْسَ لِلْإِنْسَانِ إِلَّامَاسَعٰى) อะไรทำนองนี้แหล่ะ



2) การอ่านอัลกุรอ่านที่กุโบร์นั้น นักวิชาการมีความเห็นขัดแย้งกัน แบ่งออกเป็น 3 ทัศนะ คือ

มักรูฮฺหรือไม่เป็นอะไรในการอ่านขณะฝังศพ และมักรูฮฺหลังจากฝังศพ ผู้ที่กล่าวว่าเป็นมักรูฮฺก็เช่น ท่านอิหม่ามอะบูฮะนีฟะฮฺ มาลิก, และอะฮฺหมัดในริวายะฮฺหนึ่ง โดยกล่าวว่า : เป็นของใหม่ ไม่มีซุนนะฮฺรายงานระบุมา และการอ่านก็เหมือนกับการละหมาด และการละหมาดที่กุโบร์เป็นสิ่งที่ถูกห้ามมิให้กระทำ การอ่านก็เช่นกัน และผู้ที่กล่าวว่า ไม่เป็นอะไรก็เช่น ท่านมุฮัมหมัด อิบนุ อัลฮะซัน และอะฮฺหมัด ในอีกริวายะฮฺหนึ่งโดยอ้างหลักฐานที่มีรายงานจากท่านอิบนุ อุมัร (ร.ฎ.) และการกระทำของมุฮาญิรีนบางท่าน ส่วนหลังจากการฝัง  อย่างที่มีผู้เทียวไปยังกุโบรเพืออ่านอัลกุรอ่านที่นั้น อันนี้เป็นมักรูฮฺ เพราะไม่มีซุนนะฮฺรายงานมา และไม่มีการรายงานถ่ายทอดจากสะลัฟท่านใดในกรณีเฉกเช่นดังกล่าวนั้นเลย (จากชัรฮุ อัลอะกีดะฮฺ อัฏฏ่อฮาวียะฮฺ ; อิบนุ อบี อัลอิซซฺ อัลฮะนะฟีย์ หน้า 458 โดยสรุป)


ส่วนหนึ่งจากตำราของนักวิชาการที่ระบุว่าการอ่านอัลกุรอ่านที่กุโบรสามารถทำได้ อาทิเช่น อิบนุ อาบิดีน , นูรุ้ลอีฎอฮฺ ของ ชะรอมบะลาลีย์ อัลฮะนะฟีย์ , ฟัตฮุ้ลกอดิร ซึ่งระบุว่าทัศนะที่ถูกเลือกคือไม่มักรูฮฺ และในอัลมุฆนีย์ ของ อิบนุ กุดามะฮฺ ระบุว่า การอ่านอัลกุรอ่านที่กุโบร์ไม่เป็นอะไร (อ้างจาก ฟะตาวา ชัรอียะฮฺ ; ฮะซะนัยน์ มุฮัมหมัด มัคลูฟ เล่มที่ 2 หน้า 308) และส่วนหนึ่งจากนักวิชาการที่ชี้ขาดว่าการอ่านอัลกุรอ่านที่กุโบร์เป็นอุตริกรรม (บิดอะฮฺ) อาทิเช่น ชัยคฺ มุฮัมหมัด นาคิรุดดีน อัลบานีย์ (ร.ฎ.) ในหนังสือ อะฮฺกามุ้ลญะนาอิซ ว่า บิดะอุฮา เป็นต้น


والله أعلم بالصواب