กฎข้อที่ ๖ ว่าด้วยเรื่องคำเชื่อม (สันธาน) และอักษรของมัน

قاعدة يڠ كأنم
فدمپتاكن عطف دان حروفڽ

عطف  หมายถึง คำที่มีตำแหน่งในประโยคตามตัวหน้า تَابِعٌ  โดยมีบรรดาอักษรเชื่อม (اَلْحُرُوْفُ الْعَاطِفَةُ) อยู่ระหว่างคำๆนั้นกับคำข้างหน้ามัน  مُتْبُوعٌ เรียกคำที่ถูกกล่าวตามหลัง  ซึ่งตกอยู่หลังอักษรเชื่อม  (حَرْفُ عَطْفٍ) ว่า (مَعْطُوْفٌ)  และเรียกคำที่ถูกกล่าวมาข้างหน้าซึ่งตกอยู่ก่อนอักษรเชื่อมว่า  (مَعْطُوْفٌ عَلَيْهِ)ทั้งนี้คำที่อยู่หลังอักษรเชื่อม ( مَعْطُوْفٌ ) จะแทนที่คำที่อยู่ก่อนอักษรเชื่อม (معطوف عليه ) ในการเรียบเรียงสำนวนของประโยคใหม่ได้ อนึ่งในภาษามลายูเรียก حُرُوْفُ عَطْفٍ หรือ أَدَاةُ عَطْفٍ  ว่า فهو بڠ جاكف  เรียก معطوف   ว่าيغكنا عطف   และเรียกว่า معطوف عليه ว่า  يغد عطفكن كأتسڽ

 

บรรดาอักษรเชื่อม  (حروف عطف) ในภาษามลายูได้แก่

๑. دان   ( และ, กับ)

๒. مك   (แล้วก็)

๓. كمدين  (ต่อมา,ภายหลัง)

๔. أتو   (หรือ)

๕. تياد   (ไม่)

๖. تتافى   ( แต่ว่า)

๗. بهكن  (ทว่า)

๘. هڠيگ – هڠگ   (กระทั่งว่า)

 

 

ตัวอย่างที่ 1

دان    ( และ,กับ)

دان الله تعالى منجاديكن اي اكن كامو دان اكن فربواتن كامو

และพระองค์อัลลอฮฺ(..)นั้น พระองค์ทรงบังเกิดพวกท่านและการประพฤติ  (การกระทำ)  ของพวกท่าน

คำอธิบาย دان   ตัวแรกเรียกว่า  دان استئنافية   และคำว่า الله تعالى   ถือเป็นคำขึ้นต้นประโยค (مبتدأ  ) และ منجاديكن اى   เป็นประโยคกริยา (جُمْلَةٌ فِعْلِيَّةٌ ) ตกเป็นคำขยาย ( خبر  ) ให้แก่ الله تعالى    ส่วนคำว่า كامو  ตกอยู่หลัง اكن   ถือเป็นกรรม   ( مفعول به ) ให้แก่คำกริยา منجاديكن

دان  ตัวที่สองเป็นอักษรเชื่อม ( حرف عطف  )ระหว่างคำว่า  اكن فربواتن كامو ซึ่งเรียกว่า   ( معطوف ) กับคำว่า اكن كامو  ซึ่งเรียกว่า (معطوف عليه ) เมื่อเรียบเรียงเป็นประโยคใหม่จะได้สำนวนว่า

دان الله تعالى منجاديكن اي اكن فربواتن كامو

“และพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงบังเกิดการประพฤติของพวกท่าน”

 

ตัวอย่างที่ 2

مك (แล้วก็)

مك مپوره اوله امام مالك دڠن مها لو لاكى ٢ يڠ برتاڽ ايت مك دهالو اكندى

“แล้วท่านอิหม่ามมาลิก (ร.ฮ.) ก็สั่งให้ทำการไล่ผู้ชายที่มาถามท่าน (ถึงเรื่องซีฟัต استواء )  นั้น  แล้วเขาก็ถูกไล่ออกไป”

คำอธิบาย คำว่าمك  ในประโยคตัวอย่างบ่งถึงการเรียบเรียงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  (التَّرْتِيْبُ) พร้อมกับการเกิดขึ้นตามมาภายหลังของเหตุการณ์ที่ถูกกล่าวอยู่หลังคำว่า مك ในภาษาอาหรับเรียกว่า  (التَّرْتِيْبُ مَعَ التَّعْقِيْبِ)

 

ตัวอย่างที่ 3

كمدين  (ต่อมา,ภายหลัง)

كمدين سجود اولهم هيڠگ طمأنينة اڠكو فدكتيك سجود

“ต่อมา (ภายหลัง) ท่านจงก้มลงสุญูดจนกระทั่งท่านมีความสงบนิ่ง  (เฏาะมะอฺนีนะฮฺ) ในขณะที่สุญูด”

คำอธิบาย  คำว่า كمدين   ในประโยคตัวอย่างบ่งถึงการเรียบเรียงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  (الترتيب ) พร้อมกับการเกิดขึ้นตามมาอย่างล่าช้าของเหตุการณ์ที่ถูกกล่าวอยู่หลังคำว่า  كمدين  ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างฉับพลันต่อเนื่องแต่มีช่วงเวลาที่ห่างกันกับเหตุการณ์ ที่ถูกกล่าวก่อนคำว่า  كمدين  ในภาษาอาหรับเรียกกรณีนี้ว่า  (التَّرْتِيْبُ مَعَ التَّرَاخِيْ)

 

ตัวอย่างที่ 4

تياد  (ไม่)

ممليا اولهمو اكن يڠبر بوات بايك تياد يڠبر بوات جاهت

ท่านจงให้เกียรติผู้ประพฤติดีไม่ (ใช่)ผู้ประพฤติชั่ว

คำอธิบาย คำว่า تياد  ในประโยคตัวอย่างเป็นคำเชื่อมสันธาน  عَاطِفَةٌ  เทียบสำนวนในภาษาอาหรับว่า أكْرِمْ الصَّالِحَ لاَ الطَّالِحَ

 

อนึ่งคำว่า  لا  ในภาษาอาหรับมีหลายความหมาย อาทิเช่น

– لا    ที่มีความหมายว่า  “อย่า”  ในภาษามลายูใช้คำว่า جاڠن เรียกว่า جاڠن النَّاهِيَةُ   อาทิเช่น  جاڠن اڠكو تكوت دان جاڠن اڠكو دوكا جيتا  “ท่านอย่าได้กลัวและท่านอย่าได้เศร้าใจ

 

– تياد   (لا)  ที่ถูกเติมเข้ามาในสำนวน เรียกว่า لا الزَّائِدَةٌ  อาทิเช่น  اف سبب يڠ مناگه اكنديكو يا ابليس بهوا تياد اڠكو سجود  “อะไรคือสาเหตุที่ห้ามเจ้าโอ้อิบลิสการที่เจ้าไม่สุญูดต่ออาดัม

 

–  تياد (لا) ที่มีความหมายในเชิงปฏิเสธ เรียกว่า لا النافية หรือ تياد النَّافِيَةُ  อาทิเช่น  تياد ممبنر كن اى اكن يڠ سبنر  “เขาไม่เชื่อต่อสัจธรรม

ตัวอย่างที่ 5

تتافى (แต่ว่า)

تياد برديري زيد تتافى عمرو

ซัยดฺไม่ได้ยืนแต่อัมรฺ(ยืน)

คำอธิบาย คำว่า تتافى  ในประโยคใช้เป็นคำเชื่อมสันธาน  (عَطْفٌ)  หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า تتافي للاِسْتِدْرَاكِ  เทียบได้กับคำว่า لَكِنَّ   ในภาษาอาหรับ

ตัวอย่างที่ 6

بهكن  (ทว่า)

تياد برجالن خالد بهكن يوسف

คอลิดไม่ได้ไป ทว่ายูซุฟ(ต่างหากที่ไป)

คำอธิบาย คำว่า بهكن   ในประโยคใช้สำหรับการเบี่ยงเบนจากสิ่งที่ถูกกล่าวมาก่อนหน้าคำว่า بهكن   และทำให้สิ่งที่ถูกกล่าวมาก่อนนั้นอยู่ในฐานะของสิ่งที่ไม่ได้พูดถึง เรียกว่า بهكن للاِضْرَابِ  เทียบได้กับคำว่า بَلْ   ในภาษาอาหรับ

 

ตัวอย่างที่ 7

هغك ٬  هيڠگ  (กระทั่งว่า)

هڠگا ( هيڠگ) نايك فجر صبح

จวบจนกระทั่งรุ่งอรุณซุบฮฺได้ปรากฏขึ้น

คำอธิบาย คำว่า هڠگ   ในประโยคเป็นคำบุพบท   ) حَرْفُ جَرٍ) บ่งถึงการสิ้นสุด เรียกว่า هڠگ للاِنْتِهَاءِ  เทียบกับคำว่า حَتّٰى   ในภาษาอาหรับ  และคำว่า هڠگ  ที่เป็นอักษรเชื่อมในการสันธาน ( عطف ) ก็มี  เรียกว่า  هڠگ لِلْغَايَةِ  ซึ่งมีความหมายว่า “ แม้กระทั่ง”  อาทิเช่น

داتڠ سگل حجاج هڠگ سگل يڠبر جالن كاكى

บรรดาหุจญาจ(ผู้ประกอบพิธีหัจญ์)ได้มาแม้กระทั่งผู้เดินเท้า

คำอธิบาย داتڠ  เป็นคำกริยา

سگل حجاج  เป็นประธาน(فاعل) และตกเป็น معطوف عليه

هڠگ   เป็นอักษรเชื่อมในการสันธาน حرف عطف

سگل يڠبر جالن كاكى      เป็น  معطوف

เมื่อนำเอาคำที่เป็น معطوف   มาแทนที่คำที่เป็น معطوف عليه   ก็จะได้ประโยคว่า  داتڠ سگل يڠبر جالن كاكى  “บรรดาผู้เดินเท้าได้มา