คัมภีร์อัล-กุรอานกับคริสตชน : ภาคที่ 7

พระคริสตธรรมคัมภีร์ได้ระบุเรื่องราวภายหลังการจับกุมตัวพระเยซูคริสต์ (ซึ่งอัล-กุรอานได้หักล้างความเชื่อนี้ว่าไม่เป็นความจริง) ว่าผู้ที่จับกุมพระองค์ไปถึงบ้านคายาฟาส    มหาปุโรหิตประจำการที่พวกธรรมาจารย์และพวกผู้ใหญ่ได้ประชุมกันอยู่ที่นั่น (มัทธิว 26 : 57 , มาระโก 14 : 53 , ลูกา 22 : 54) แต่ยอห์นระบุว่าพวกนั้นพาพระองค์ไปหาอันนาสก่อนเพราะอันนาสเป็นพ่อตาของคายาฟาสผู้ซึ่งเป็นมหาปุโรหิตประจำการในปีนั้น (ยอห์น 18 : 13)  พวกมหาปุโรหิตได้สอบสวนเอาผิดกับพระองค์โดยใช้พยานเท็จ มีการถ่มน้ำลายรดพระพักต์และตีพระองค์

บางคนเอามือตบพระองค์แล้วว่า “เจ้าพระคริสต์” จงเผยให้เรารู้ว่าใครตบเจ้า (มัทธิว 26 : 67-38) แต่มาระโกบันทึกว่า บางคนก็ถ่มน้ำลายรดพระองค์ ปิดพระพักต์พระองค์ ตีพระองค์แล้วว่าพระองค์ว่า “ทำนายซี” และพวกคนใช้ก็เอามือตบพระองค์ (มาระโก 14 : 65)   ลูกาบันทึกว่า : ฝ่ายคนที่คุมพระเยซูก็เยาะเย้ยโบยตีพระองค์ และเมื่อเขาเอาผ้าผูกปิดพระเนตรของพระองค์แล้ว เขาจึงถามว่า จงเผยให้เรารู้ว่า ใครตบเจ้า เขาพูดคำหยาบช้าแก่พระองค์อีกหลายประการ (ลูกา 22 : 63-65) ฝ่ายยอห์นบันทึกว่า : เจ้าหน้าที่คนหนึ่งซึ่งยืนอยู่ที่นั่นได้ตบพระพักต์พระเยซูแล้วพูดว่า “เจ้าตอบมหาปุโรหิตอย่างนั้นหรือ” พระเยซูตรัสตอบว่า “ถ้าเราพูดผิดจงเป็นพยานในสิ่งที่ผิดนั้น แต่ถ้าเราพูดถูกท่านตบเราทำไม” (ยอห์น 18 :22-24)

พระเยซูคริสต์ ผู้ซึ่งชาวคริสต์เชื่อว่าพระองค์เป็นพระบุตรของพระเจ้าหรือเป็นองค์พระเป็นเจ้าต้องถูกหมิ่นเกียรติถูกเหยียดหยามด้วยการถ่มน้ำลาย เฆี่ยนตี ตบและถูกพันธนาการจากพวกอธรรมซึ่งเป็นมนุษย์ธรรมดา ด้วยเหตุไฉนพระผู้เป็นเจ้าจึงมิส่งฑูตสวรรค์มาช่วยพระองค์ให้พ้นจากลบลู่หยามเกียรติและการอายัดจับกุม หรือด้วยเหตุใดพระองค์จึงไม่ทรงสำแดงฤทธานุภาพในเวลานั้นให้เป็นที่ประจักษ์แก่พวกอธรรมนั้น ในเมื่อพระองค์ทรงห้ามพายุได้ ทำให้คนตายฟื้นคืนชีพได้ และอีกสารพัด

ดูเอาเถิดแม้เปโตรศิษย์คนสำคัญของพระองค์ซึ่งจะกล่าวปฏิเสธพระองค์ถึง 3 ครั้ง (มัทธิว 26 : 34 , มาระโก 14 : 30 , ลูกา 22 : 34 ยอห์น 13 : 38) พระเจ้าทรงส่งฑูตสวรรค์มาปรากฏแก่เปโตรและปลุกเขาพร้อมกับโซ่พันธนาการมือของเขาก็หลุดออก หลังจากนั้นก็สามารถออกมาจากที่คุมขังโดยที่ทหารยามไม่รู้ตัว ประตูเหล็กที่จะเข้าไปในเมืองก็เปิดออกเอง แล้วเปโตรก็พ้นจากการถูกคุมขัง และกล่าวว่า : เดี๋ยวนี้ข้าพเจ้ารู้แน่ว่า องค์พระเป็นเจ้าได้ทรงใช้ฑูตสวรรค์ของพระอง์มาช่วยข้าพเจ้าให้พ้นจากอำนาจของเฮโรด และพ้นจากการมุ่งร้ายของพวกยิว (กิจการของอัครฑูต 12 : 6-11)

เปโตรเป็นเพียงศิษย์ซึ่งไม่ใหญ่กว่าอาจารย์ เป็นเพียงบ่าวซึ่งไม่ใหญ่กว่านาย เป็นเพียงมนุษย์ที่ไม่ใหญ่กว่าพระบุตรหรือพระเจ้า ฑูตสวรรค์ยังมาช่วยให้เขารอดพ้นจากพวกยิว แต่ไฉนพระเยซูคริสต์ผู้เป็นพระบุตรของพระเจ้าหรือเป็นพระเจ้าจึงไม่สามารถรอดพ้นจากพวกอธรรมเหล่านั้นได้ คริสตชนอาจจะอ้างว่าที่เป็นเช่นนั้นก็เพื่อให้ถ้อยคำในพระคัมภีร์สำเร็จตามนั้น ซึ่งผู้บันทึกพระคริสตธรรมคัมภีร์เขียนเอาไว้

ฝ่ายเรา (มุสลิม) บอกว่าพระคัมภีร์เขียนเอาไว้เหมือนกันมิใช่หรือว่า “อย่าทดลององค์พระเป็นเจ้าของท่าน” ฝ่ายท่านมิได้อ่านคัมภีร์ดอกหรือ โมเสสสรรเสริญพระเจ้าว่า “ข้าแต่พระองค์ พระหัตถ์ขวาของพระองค์ทรงอานุภาพยิ่ง ข้าแต่พระเจ้า พระหัตถ์ขวาของพระองค์ทรงทำลายศัตรูให้พินาศไป ด้วยเดชานุภาพอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ พระองค์ทรงคว่ำปฏิปักษ์ของพระองค์เสีย (อพยพ 15-6-7)” ผู้ทรงช่วยข้าพระองค์ให้พ้นจากศัตรู พระเจ้าข้า พระองค์ทรงยกข้าพระองค์ขึ้นเหนือปฏิปักษ์ของข้าพระองค์ พระองค์ทรงช่วยกู้ข้าพระองค์จากคนทารุณโหดร้าย

ข้าแต่พระเจ้า เพราะเหตุนี้ข้าพระองค์จึงขอเทิดทูนพระองค์ไว้ท่ามกลางประชาชาติทั้งหลาย และร้องเพลงสรรเสริญพระนามของพระองค์ พระองค์ประทานชัยชนะอันยิ่งใหญ่แก่กษัตริย์ของพระองค์ และทรงสำแดงความรักมั่นคงแก่ผู้ที่พระองค์ทรงเจิมไว้นั้น คือดาวิดและพงศ์พันธุ์ของท่านเป็นนิตย์ (สดุดี 18 : 48-50) ก็ในเมื่อชาวคริสต์เชื่อว่าพระเยซูคริสต์คือราชโอรสแห่งกษัตริย์ดาวิด (มัทธิว 21 : 9) แล้วด้วยเหตุไฉนพระเป็นเจ้าจึงมิทรงยกพระเยซูคริสต์เหนือปฏิปักษ์ของพระองค์ ไม่ช่วยให้พระองค์รอดพ้นจากศัตรูและกู้พระองค์ให้พ้นจากคนทารุณโหดร้ายเหล่านั้นเล่า!

ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ได้บันทึกท่าทีของพระเยซูคริสต์ขณะถูกสอบสวนต่อหน้าพวกมหาปุโรหิตตลอดจนการไต่ถามของปีลาตเอาไว้ว่า :

“มหาปุโรหิตประจำการจึงลุกขึ้นถามพระองค์ว่า “ท่านจะไม่แก้ตัวในข้อหาที่พยานเขาตั้งมานี้หรือ” แต่พระเยซูทรงนิ่งอยู่” (มัทธิว 26 : 62-63)

“ปิลาตจึงกล่าวแก่พระองค์ว่า “ซึ่งเขาได้กล่าวคำปรักปรำท่านเป็นหลายประการนี้ท่านไม่ได้ยินหรือ” แต่พระองค์มิได้ตรัสตอบสักคำเดียว เจ้าเมืองจึงอัศจรรย์ใจนัก”  (มัทธิว 27 : 13-14)

“มหาปุโรหิตประจำการจึงลุกขึ้นยืนท่ามกลางที่ชุมนุมถามพระเยซูว่า”ท่านไม่แก้ตัวในข้อหาที่พยานเขาตั้งมานี้หรือ” แต่พระองค์ทรงนิ่งอยู่มิได้ตอบประการใด…” (มาระโก 14 : 60-61)

“ปีลาตจึงถามพระองค์อีกว่า “ท่านไม่ตอบอะไรหรือ ดูแนะ เขากล่าวคำปรักปรำท่านหลายประการที่เดียว” แต่พระเยซูมิได้ตรัสตอบประการใดอีก ปีลาตจึงอัศจรรย์ใจ” (มาระโก 15 : 4-5)

“ถ้าท่านเป็นพระคริสต์จงบอกเราเถิด” แต่พระองค์ทรงตอบเขาว่า “ถึงเราจะบอกท่าน ท่านก็จะไม่เชื่อ และถึงเราถามท่าน ท่านก็จะไม่ตอบเรา” (ลูกา 22 : 67-68)

“เมื่อเฮโรดได้เห็นพระเยซูก็มีความยินดีมาก ท่านจึงซักถามพระองค์เป็นหลายข้อ แต่พระองค์หาทรงตอบประการใดไม่ (ลูกา 23 : 8-9)

ข้อความในพระคริสตธรรมคัมภีร์ทั้ง 3 ฉบับนี้บันทึกว่าพระเยซูคริสต์ทรงนิ่งและไม่ตอบคำถามเสียส่วนมาก จะมีตอบอยู่บ้างก็น้อยครั้ง แต่ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับของยอห์นนั้น พระเยซูคริสต์ทรงตอบเสียส่วนมากและดูเหมือนจะตรัสสู้อยู่โดยตลอด ไม่ว่าจะต่อหน้าพวกมหาปุโรหิตหรือต่อหน้าปีลาตเจ้าเมือง

เป็นเรื่องน่าคิดว่า ด้วยเพราะเหตุอันใด พระเยซูคริสต์จึงนิ่งเงียบเสียมากและไม่ค่อยตอบคำถามของคนเหล่านั้นในเมื่อพระองค์ได้ตรัสถึงหมายสำคัญ และการข่มเหงโดยตรัสกับสาวกของพระองค์ว่า

“เหตุฉะนั้นท่านทั้งหลายต้องปลงใจไว้ว่า จะไม่คิดนึกก่อนว่าจะแก้ตัวอย่างไร ด้วยว่าเราจะให้ปากและปัญญาแก่ท่าน ซึ่งศัตรูทั้งหลายของท่านจะต่อต้านและคัดค้านไม่ได้” (ลูกา 21 : 14-15)

“แต่เมื่อเขาอายัดท่านไว้นั้น อย่าเป็นกังวลว่าจะพูดอย่างไร เพราะเมื่อถึงเวลาคำที่ท่านจะพูดนั้นพระเจ้าจะทรงประทานแก่ท่านในเวลานั้น เพราะว่าผู้ที่พูดมิใช่ตัวท่านเอง แต่เป็นพระวิญญาณแห่งพระบิดาของท่าน ผู้ตรัสทางท่าน” (มัทธิว 10 : 19-20)

ปากและปัญญาที่พระเยซูจะทรงประทานให้แก่สาวกของพระองค์ซึ่งศัตรูทั้งหลายของพวกเขาจะต่อต้านและคัดค้านไม่ได้ แต่เหตุไฉนพระเยซูผู้ทรงประทานปากและปัญญานั้นจึงนิ่งเงียบ และเมื่อพระองค์เอ่ยปากตอบพวกนั้น ทำไมพวกนั้นจึงต่อต้านและคัดค้านพระองค์ได้ มิหนำซ้ำ พวกนั้นบางคนตบปากของพระองค์เสียอีก และด้วยเหตุใดในเวลาคับขันเช่นนั้นพระวิญญาณแห่งพระบิดาของพระองค์จึงไม่ตรัสทางพระองค์เล่า การนิ่งเงียบและไม่ตอบคำถามให้พวกนั้นจนมุมและหมดหนทางทำไมจึงเกิดขึ้นกับพระองค์ หรือว่านั่นไม่ใช่พระเยซูคริสต์จริงๆ แต่เป็นผู้อื่นที่ถูกจับกุมและอายัดแทนพระองค์

อาจมีคำถามว่า ที่พระองค์ทรงตอบคำถามนั้นก็มีโดยเฉพาะพระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับยอห์นก็บันทึกเอาไว้ว่าพระองค์มิได้ทรงนิ่งเงียบแต่ตอบคำถามแก่พวกอธรรมนั้น ข้อนี้ก็อธิบายได้เช่นกันว่า ผู้ที่ถูกอายัดจับกุมมิใช่องค์พระเยซู แต่เป็นคนหนึ่งจากสาวกของพระองค์ซึ่งอาจจะเป็นยูดาส อิสคาริโอทที่บารนาบัสบันทึกว่าใบหน้าของเขาและสุ่มเสียงคำพูดคำจาของเขาถูกทำให้คล้ายกับพระเยซู สิ่งที่ยูดาส ตอบก็เป็นสิ่งที่ยูดาสเคยได้ยินและรับฟังจากคำสอนของพระเยซูเพราะเขาเป็นหนึ่งในสาวกสิบสองคนของพระองค์นั่นเอง  จึงมิใช่เรื่องแปลกที่ยูดาสจะนำเอาถ้อยคำที่ตนได้จดจำจากคำสอนของพระเยซูมาตอบกับคนพวกนั้น ซึ่งบางคำตอบก็ไม่บ่งชัดว่ามีการยอมรับว่าผู้ที่กำลังตอบหรือพูดนั้นคือ พระเยซูคริสต์

ดังเช่นคำตอบที่มีแก่ปีลาตซึ่งถามพระองค์ว่า “ท่านเป็นกษัตริย์ของพวกยิวหรือ?” พระเยซูตอบว่า “ท่านถามอย่างนั้นตามความเข้าใจของท่านเองหรือ หรือว่าคนอื่นบอกท่านถึงเรื่องของเรา” (ยอห์น 18 : 33-34) “ท่านพูดว่าเราเป็นกษัตริย์” (ยอห์น 18 : 37) “ก็ท่านว่าแล้วนี่” (ลูกา 23 : 3) “ก็ท่านว่าแล้วว่าเราเป็น” (ลูกา 22 : 70) “เราเป็นและท่านทั้งหลายจะได้เห็นบุตรมนุษย์นั่งข้างขวาของผู้ทรงฤทธานุภาพ และเสด็จมาในเมฆแห่งฟ้าสวรรค์” (มาระโก 14 : 62) เป็นต้น สังเกตได้ว่าพระองค์ไม่ตอบคำถามตรงๆ เกี่ยวกับสถานภาพของพระองค์ แต่จะกล่าวตอบแบบทวนคำถามบ้าง ตอบไม่ชัดเจนและเบี่ยงเบนบ้าง เพราะคำว่า “เราเป็น” โดไม่ยบ่งชัดว่าเป็นใคร? นั้นสามารถตีความได้ แล้วก็ตอบเรื่องอื่นคือเรื่องบุตรมนุษย์จะนั่งข้างขวาพระผู้เป็นเจ้า!

การสอบสวนพิพากษาพระเยซูคริสต์ในสภา

ปีลาต ผู้เป็นเจ้าเมืองได้สอบถามพระเยซูคริสต์เมื่อพวกมหาปุโรหิตและพวกธรรมาจารย์พาพระองค์ไปพบปีลาตแล้วพวกเขาก็ฟ้องร้องพระองค์ว่ายุยงชาวยิวมิให้ส่งส่วยแก่ซีซาร์และอ้างว่าตัวเองเป็นพระคริสต์กษัตริย์องค์หนึ่ง (ลูกา 23 : 1-2) ปีลาตจึงถามว่า “ท่านเป็นกษัตริย์ของพวกยิวหรือ? พระองค์ตรัสตอบว่า “ก็ท่านว่าแล้วนี่” เพียงเท่านี้ ปีลาตก็กล่าวแก่มหาปุโรหิตและประชาชนว่า “เราไม่เห็นว่าคนนี้มีความผิด” แต่พวกนั้นยังคงกล่าวหาและเอ่ยว่าพระองค์ยุยงผู้คนทั่วตลอดยูเดียตั้งแต่กาลิลีจนถึงเยรูซาเล็ม (ลูกา  23 : 3-5)

ปีลาตจึงสอบถามว่า พระองค์เป็นชาวกาลิลีหรือ เมื่อทราบแล้วจึงส่งพระองค์ไปหาเฮโรด เพราะพระเยซูเป็นคนในท้องที่ของเฮโรด และขณะนั้นเฮโรดกำลังพักอยู่ในกรุงเยรูซาเล็ม เมื่อเฮโรดได้เห็นพระเยซูก็มีความยินดีมาก ด้วยนานมาแล้วท่านอยากจะพบพระองค์ เพราะได้ยินถึงพระองค์และหวังว่าคงจะได้เห็นพระองค์ทำหมายสำคัญบ้าง (ลูกา23 : 8) เรื่องราวตรงช่วงนี้มีลูกาเท่านั้นที่บันทึกไว้เกี่ยวกับการพบเฮโรดของพระเยซู

สิ่งที่น่าแปลกใจก็คือ เฮโรดไม่เคยพบพระเยซูมาก่อนหน้านี้ ทั้งๆที่เฮโรดปกครองเขตแคว้นกาลิลีที่พระเยซูเที่ยวสั่งสอนผู้คนที่นั่นตลอดจนกระทำหมายสำคัญมากมาย ลูกาบันทึกว่าเฮโรดได้ยินกิตติศัพท์ของพระเยซูจึงมีความยินดีและอยากจะพบพระองค์มานานแล้ว ดูเหมือนว่าเฮโรดคงหลงลืมหรือไม่ก็นึกไม่ถึงว่าพระเยซูก็คือพระกุมารที่พวกโหราจารย์ทำนายว่าพระองค์จะเป็นกษัตริย์ของชาวยิว (มัทธิว 2 : 2-3) แล้วเฮโรดก็ใช้ให้คนไปฆ่าเด็กผู้ชายทั้งหลายตั้งแต่อายุ 2 ขวบลงมาที่เมืองเบธเลเฮม (มัทธิว 2 : 16-18)

ความยินดีของเฮโรดในขณะนั้นกับการกระทำที่เกิดขึ้น ณ เบธเลเฮมจึงดูขัดกัน และสิ่งที่ขัดกันยิ่งไปกว่านั้นก็คือ เฮโรดยังมีชีวิตอยู่ในเวลานั้นได้อย่างไร ทั้งๆที่เฮโรดสิ้นพระชนม์ไปก่อนหน้านั้นแล้วตามที่มัทธิวบันทึกเอาไว้ว่า : ครั้นเฮโรดสิ้นพระชนม์แล้ว ฑูตองค์หนึ่งของพระเป็นเจ้ามาปรากฏในความฝันแก่โยเซฟที่ประเทศอียิปต์สั่งว่า “จงลุกขึ้นพากุมารกับมารดามายังแผ่นดินอิสราเอล เพราะผู้ที่เป็นภัยต่อชีวิตของพระกุมารนั้นตายแล้ว” (มัทธิว 2 : 20)

บันทึกของมัทธิวระบุชัดว่าเฮโรดสิ้นพระชนม์ไปนั้บตั้งแต่พระเยซูยังทรงพระเยาว์อยู่ แล้วเฮโรดจะมาปรากฏตัวอยู่ที่เยรูซาเล็มในช่วงการพิพากษาพระเยซูคริสต์ได้อย่างไร? ความจริงแล้ว กษัตริย์ของชาวยิวที่มีพระนามว่า เฮโรดนั้นมีถึง 4 พระองค์ คือ เฮโรดที่ 1 มหาราช (72-4 ก่อนคริสตกาล) เฮโรดพระองค์นี้แหละที่มีบัญชาให้สังหารทารกในเมืองเบธเลเฮม เฮโรดที่ 2 นี้มี  พระนามว่า อันตีปาส (20 ก่อนคริสตกาล – 39) เป็นผู้สั่งตัดศีรษะของยอห์นผู้ให้รับบัพติศมาและเป็นผู้ที่ปกครองพื้นที่เขตกาลิลี

ดังนั้นการที่พระคริสตธรรมคัมภีร์ระบุเพียงคำว่า กษัตริย์  เฮโรดจึงทำให้เข้าใจว่าเป็นคนๆ เดียวกันแต่ความจริงเป็นคนละคน ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่ว่า  เฮโรดอันตีปาสไม่เคยพบพระเยซูมาก่อน ได้แต่ยินกิตติศัพท์ของพระองค์เท่านั้น ทั้งๆ ที่ตนเป็นผู้ปกครองแคว้นกาลิลีซึ่งพระเยซูคริสต์เที่ยวสั่งสอนและแสดงหมายสำคัญอยู่ที่นั่นมากที่สุด และความยินดีของเฮโรดที่อยากจะพบพระเยซูนั้นก็ดูเหมือนว่า เฮโรดอันตีปาสไม่ได้รับรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยพระราชบิดาของพระองค์คือ เฮโรดที่ 1 ซึ่งหวั่นเกรงคำทำนายถึงเรื่องพระกุมารผู้ที่จะเป็นกษัตริย์แห่งอิสราเอลจึงนำไปสู่การสังหารทารกที่เบธเลเฮม

อย่างไรก็ตามเฮโรดอันตีปาสได้ซักถามพระเยซูหลายข้อ แต่พระเยซูหาทรงตอบประการใดไม่ (ลูกา 23 : 9) เป็นเรื่องน่าคิดว่าเพราะเหตุใดพระเยซูไม่ตอบในเมื่อพระองค์มีพระวิญญาณบริสุทธิ์สถิตย์อยู่กับพระองค์ หรือว่าผู้นั้นมิใช่พระเยซูกันแน่! ต่อมาพระเยซูถูกส่งตัวไปหาปีลาต ซึ่งเรียกประชุมใหญ่ ปีลาตยืนยันว่าพระเยซูไม่มีความผิดและประสงค์จะปล่อยพระองค์แต่ผู้คนยืนยันให้ปล่อยบารับบัสที่เป็นนักโทษคดีหนัก ปีลาสยืนยันถึง 3 ครั้งแต่ไร้ผล เพราะประชาชนต้องการให้จับพระเยซูตรึงกางเขน บารับบัสถูกปล่อย

ส่วนพระเยซูนั้นปีลาตมอบให้ตามใจของประชาชนในการสำเร็จโทษพระองค์ (ลูกา 23 : 13-25) มัทธิวบันทึกว่า เมื่อปีลาตเห็นว่าไม่ได้การมีแต่จะเกิดวุ่นวายหนักขึ้น จึงเอาน้ำล้างมือต่อหน้าหมู่ชน และประกาศว่าตนไม่มีส่วนร่วมในเรื่องนี้ (มัทธิว 27 : 24) ดูเอาเถิด! ปีลาตผู้มีอำนาจทำได้เพียงแค่เอาน้ำล้างมือของตนและประกาศว่าตนไม่มีส่วนรับผิดชอบ!

การสิ้นพระชนม์ของพระเยซูคริสต์บนไม้กางเขน

เราขอตัดเหตุการณืต่อจากการพิพากษาพระเยซูมาสู่เหตุการณ์ขณะจะสิ้นพระชนม์ตามที่พระคริสตธรรมคัมภีร์บันทึกเอาไว้

*มัทธิว

“แล้วก็บังเกิดมืดมัวทั่วแผ่นดิน ตั้งแต่เวลาเที่ยงวันจนถึงบ่ายสามโมง ครั้นประมาณบ่ายสามโมง พระเยซูทรงร้องเสียงดังว่า “เอลี เอลี ลามา สะบักธานี” แปลว่า “พระเจ้าของข้าพระองค์ พระเจ้าของข้าพระองค์ ไฉนทรงทอดทิ้งข้าพระองค์เสีย” (มัทธิว 27 : 45-46) ฝ่ายพระเยซูร้องเสียงดังอีกครั้งหนึ่งแล้วสิ้นพระชนม์ (มัทธิว 27 : 50)

“และดูเถิด ม่านในพระวิหารก็ขาดออกเป็นสองท่อน ตั้งแต่บนตลอดล่าง แผ่นดินก็ไหว ศิลาก็แตกออกจากัน”

“อุโมงค์ฝังศพก็เปิดออก ศพของธรรมิกชนหลายคนที่ล่วงลับไปแล้วได้เป็นขึ้นมา” (มัทธิว : 51-52)

*มาระโก

“ครั้นเวลาเที่ยงก็บังเกิดมืดมัวทั่วแผ่นดินจนถึงบ่ายสามโมง พอบ่ายสามโมงแล้ว พระเยซูทรงร้องเสียงดังว่า “เอโลอี เอโลอี สะบักธานี” แปลว่า “พระเจ้าของข้าพระองค์ พระเจ้าของข้าพระองค์ไฉนทรงทอดทิ้งข้าพระองค์เสีย”

“ฝ่ายพระเยซูทรงร้องเสียงดัง แล้วก็สิ้นพระชนม์” ขณะนั้นม่านในพระวิหารก็ขาดออกเป็นสองท่อนตั้งแต่บนตลอลล่าง” (มาระโก 15 : 33-34 , 37-38)


ข้อสังเกต มาระโกมิได้บันทึกสิ่งอัศจรรย์ที่เกิดขึ้น ซึ่งมัทธิวบันทึกไว้ เช่น แผ่นดินไหว ศิลาแตกออก อุโมงค์ฝังศพเปิดออก และศพคนที่ตายไปแล้วฟื้นขึ้น!

*ลูกา
“เวลานั้นประมาณเวลาเที่ยง ก็บังเกิดมืดมัวทั่วแผ่นดิน จนถึงบ่ายสามโมง ดวงอาทิตย์ก็มืดไป ม่านในพระวิหารก็ขาดตรงกลาง พระเยซูทรงร้องเสียงดังตรัสว่า “พระบิดาเจ้าข้า ข้าพระองค์ฝากวิญญาณจิตของข้าพระองค์ไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์” ตรัสอย่างนั้นแล้วก็สิ้นพระชนม์   (ลูกา 23 : 44-46)

ข้อสังเกต ลูกาไม่ได้บันทึกถึงเรื่องราวอัศจรรย์อยางที่มัทธิวบันทึก และประโยคสุดท้ายที่พระเยซูตรัสก่อนสิ้นพระชนม์ก็แตกต่างจากบันทึกของมัทธิวกับมาระโก!

*ยอห์น
“หลังจากนั้นพระเยซูทรงทราบว่าทุกสิ่งสำเร็จแล้วเพื่อให้เป็นจริงตามพระธรรม พระองค์จึงตรัสว่า “เรากระหายน้ำ” (ยอห์น 19 : 28) เมื่อพระเยซูทรงรับน้ำส้มองุ่นแล้วพระองค์ทรงตรัสว่า “สำเร็จแล้ว” และทรงก้มพระเศียรลงสิ้นพระชนม์” (ยอห์น 19 : 30)

ข้อสังเกต ยอห์นไม่ได้บันทึกสิ่งอัศจรรย์ใดๆ เลย แม้แต่น้อย แตกต่างจากผู้บันทึกทั้ง 3 ท่าน และประโยคสุดท้ายของพระเยซูคริสต์ที่ทรงตรัสก็คือ “สำเร็จแล้ว” จึงเห็นได้ว่า เหตุการณ์ตรึงกางเขนพระเยซูซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดสำหรับหลักความเชื่อของคริสตชน พระคริสตธรรมคัมภีร์กลับบันทึกขัดแย้งกันเอง หากเราอ่านเฉพาะฉบับของยอห์นเพียงฉบับเดียว เราจะไม่ทราบรายละเอียดใดๆ เลย

แต่เมื่ออ่านฉบับของมัทธิวซึ่งให้รายละเอียดมากที่สุดเพราะบันทึกสิ่งอัศจรรย์ที่เกิดขึ้นในเวลานั้นมากกว่าผู้บันทึกฉบับอื่นๆ ก็ทำให้เกิดความน่ากังขาอีกว่า สิ่งที่มัทธิวบันทึกนั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่? ถ้าจริงผู้บันทึกฉบับอื่นๆ ก็ไม่น่าจะพลาดในการบันทึกสิ่งเหล่านั้น ถ้าไม่จริง ก็แสดงว่าข้อความในช่วงนี้มัทธิวเพิ่มเติมเอาเอง! ประเด็นอัศจรรย์ที่ มัทธิว มาระโก และลูกา บันทึกไว้ตรงกันคือ

– เวลาเที่ยงถึงบ่ายสามโมงเกิดมืดมัวทั่วแผ่นดิน
– ม่านในพระวิหารขาดลง
– ประโยคสุดท้ายที่พระเยซูตรัสก่อนสิ้นพระชนม์นั้น มัทธิวกับมาระโกบันทึกตรงกัน ในขณะที่ลูกาบันทึกข้อความที่มิใช่คำฮิบรูและมีถ้อยคำมากกว่า
– พระเยซูทรงร้องเสียงดังด้วยการตรัสประโยคสุดท้ายก่อนสิ้นพระชนม์

ในส่วนของพระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับยอห์นนั้นไม่มีการบันทึกในเรื่องที่กล่าวมาเลย และประโยคสุดท้ายที่ตรัสก่อนสิ้นพระชนม์คือ “สำเร็จแล้ว” โดยไม่ได้ส่งเสียงดังแต่ประการใด! ทำไมเหตุการณ์ที่สำคัญเช่นนี้ซึ่งเป็นเหตุการณ์เดียวกันจึงมีความแตกต่างกัน สิ่งที่อธิบายได้อย่างหนึ่งก็คือ ผู้บันทึกคัมภีร์ทั้ง 4 ท่านไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์นี้ แต่รับฟังมาจากคำบอกเล่าของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ซึ่งอาจจะเห็นไม่เหมือนกัน และพระคริสตธรรมก็บันทึกอีกด้วยว่า

“ที่นั่นมีหญิงหลายคนที่ได้ติดตามพระองค์จากกาลิลี เพื่อจะปรนนิบัติพระองค์มองดูอยู่แต่ไกล” (มัทธิว 27 : 55)

“คนทั้งปวงที่รู้จักพระองค์ แล้วพวกผู้หญิงซึ่งได้ตามพระองค์มาจากกาลิลีก็ยืนอยู่แต่ไกลมองเห็นเหตุการณ์เหล่านั้น (ลูกา 23 : 49)

“มีพวกผู้หญิงมองดูอยู่แต่ไกล….” (มาระโก 15 :40)

ในกรณีของคำอธิบายที่ว่า ผู้บันทึกพระคริสตธรรมคัมภีร์ไม่ได้อยู่ร่วมในเหตุการณ์ เราจะได้กล่าวถึงต่อไป อินชาอัลลอฮฺ แต่ในกรณีของผู้ร่วมเหตุการณ์นั้น พระคัมภีร์ระบุเองว่าพวกเขาไม่ได้อยู่ใกล้กับที่ตรึงกางเขนของพระเยซูจนกระทั่งสามารถที่จะได้ยินทุกถ้อยคำของพระองค์ แต่พวกเขามองดูอยู่แต่ไกล การอยู่ร่วมเหตุการณ์ในสภาพที่ยืนอยู่ไกลนั้นทำให้ความน่าเชื่อถือของการบอกเล่าเหตุการณ์ที่เป็นไปอย่างละเอียดกลายเป็นสิ่งที่น่ากังขายิ่งนัก!

การคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์
เราขอก้าวผ่านช่วงการฝังศพมาถึงเหตุการณ์สำคัญที่สุดอีกเหตุการณ์หนึ่งนั่นคือ การฟื้นคืนชีพของพระเยซู ซึ่งพระคริสตธรรมคัมภีร์ ระบุเอาไว้ดังนี้

*มัทธิว
“ภายหลังวันสะบาโต เวลาใกล้รุ่งเช้าวันต้นสัปดาห์ มารีย์ชาวมักดาลากับมารีย์อีกคนหนึ่งนั้นมาดูอุโมงค์

ในทันใดนั้นได้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ยิ่งนัก มีฑูตของพระเจ้าองค์หนึ่งได้ลงมาจากสวรรค์กลิ้งก้อนหินนั้นออกจากปากอุโมงค์แล้วก็นั่งอยู่บนหินนั้น

สัณฐานของฑูตนั้นเหมือนแสงฟ้าแลบ เสื้อก็ขาวเหมือนหิมะ ยามที่เฝ้าอยู่นั้นกลัวฑูตองค์นั้นจนตัวสั่นและเป็นเหมือนคนตาย ฑูตสวรรค์จึงกล่าวแก่หญิงนั้นว่า “อย่ากลัวเลย เรารู้แล้วว่าพวกเจ้าทั้งหลายมาหาพระเยซู ซึ่งถูกตรึงไว้ที่กางเขน” พระองค์หาได้ประทับอยู่ที่นี่ไม่ ทรงเป็นขึ้นมาแล้วตามซึ่งพระองค์ได้ตรัสไว้นั้น….” (มัทธิว 28 : 1-6)

*มาระโก
“ครั้นวันสะบาโตล่วงไปแล้ว มารีย์ชาวมักดาลา มารีย์มารดาของยากอบ และนางสะโลเม ซึ้อเครื่องหอมมาเพื่อจะไปชโลมพระศพของพระองค์ เวลารุ่งเช้า วันต้นสัปดาห์ พอดวงอาทิตย์ขึ้น เขาก็มาถึงอุโมงค์ และเขาพูดกันอยู่ว่า ใครจะช่วยกลิ้งก้อนหินออกจากปากอุโมงค์”

เมื่อเขามองดูก็เห็นก้อนหินนั้นกลิ้งออกแล้ว เพราะเป็นก้อนหินโตมาก ครั้นเขาเข้าไปในอุโมงค์แล้ว ได้เห็นหนุ่มคนหนึ่งนุ่งห่มผ้ายาวสีขาวนั่งอยู่ข้างขวา ผู้หญิงนั้นก็ตกตะลึง ฝ่ายคนหนุ่มนั้นบอกเขาว่า “อย่าตกตะลึงเลย พวกเจ้าทั้งหลายมาหาพระเยซูชาวนาซาเร็ธซึ่งต้องตรึงไว้ที่กางเขน พระองค์ทรงเป็นขึ้นมาแล้ว หาได้ประทับที่นี่ไม่…” (มาระโก 16 : 1-6)

*ลูกา
“แต่เช้ามืด ในวันต้นสัปดาห์ ผู้หญิงเหล่านั้นจึงนำเครื่องหอมที่เขาได้จัดเตรียมไว้มาถึงอุโมงค์ เขาหล่านั้นเห็นก้อนหินกลิ้งออกพ้นปากอุโมงค์แล้ว และเมื่อเข้าไปมิได้เห็นพระศพของพระเยซูเจ้า เมื่อเขากำลังคิดฉงนด้วยเหตุการณ์นั้น ดูเถิดมีชายสองคนยืนอยู่ใกล้เขา เครื่องนุ่งห่มแพรวพราวจนพร่าตา ชายสองคนจึงพูดกับเขาว่า “พวกท่านแสวงหาคนเป็นในพวกคนตายทำไมเล่า” ….” (ลูกา 24 : 1—5)

ผู้ที่ได้บอกเหตุการณ์นั้นแก่อัครฑูตคือ มารีย์ ชาวมักดาลา โยอันนา มารีย์มารดาของยากอบ และหญิงอื่นๆ ที่อยู่กับเขา (ลูกา 24 : 10)

*ยอห์น
“วันอาทิตย์เวลาเช้ามืด มารีย์ชาวมักดาลามาถึงอุโมงค์ฝังศพ นางเห็นหินออกจากปากอุโมงค์อยู่แล้ว

นางจึงวิ่งไปหาซีโมนเปโตรและสาวกอีกคนหนึ่งที่พระเยซูทรงรักนั้น และพูดกับเขาว่า “เขาเอาองค์พระผู้เป็นเจ้าออกไปจากอุโมงค์แล้ว และพวกเราไม่รู้ว่าเขาเอาพระองค์ไปไว้ที่ไหน” เปโตรจึงออกไปยังอุโมงค์กับสาวกคนนั้น เขาวิ่งไปทั้งสองคน แต่สาวกคนนั้นวิ่งเร็วกว่าเปโตรจึงมาถึงอุโมงค์ก่อน เขาก้มลงมองดูเห็นผ้าป่านวางอยู่ แต่เขาไม่ได้เข้าไปข้างใน ซีโมนเปโตรตามมาถึงภายหลังแล้ว เข้าไปในอุโมงค์เห็นผ้าป่านวางอยู่และผ้าพันพระเศียรของพระองค์ไม่ได้วางอยู่กับผ้าอื่น แต่พับไว้ต่างหาก แล้วสาวกคนนั้นที่มาถึงก่อนก็ตามเข้าไปด้วย เขาได้เห็นและได้เชื่อ (ยอห์น 20 : 1-8)

ฝ่ายมารีย์ยังยืนร้องไห้อยู่นอกอุโมงค์ ขณะที่เธอร้องไห้อยู่เธอก้มลงมองดูที่อุโมงค์ และได้เห็นฑูตสวรรค์สององค์สวมเสื้อขาวนั่งอยู่ ณ ที่ซึ่งเขาวางพระศพพระเยซูองค์หนึ่งอยู่เบื้องพระเศียร องค์หนึ่งอยู่เบื้องพระบาท  (ยอห์น 20 : 11-12) เมื่อมารีย์พูดอย่างนั้นแล้ว ก็เห็นองค์พระเยซู…พระเยซูตรัสถามว่า หญิงเอ๋ย ร้องไห้ทำไม เจ้าตามหาผู้ใด มารีย์สำคัญว่าพระองค์เป็นคนทำสวน……… (ยอห์น 20 : 14-15)   มารีย์ มักดาลาจึงไปบอกพวกสาวกว่า ข้าพเจ้าได้เห็นองค์พระผู้เป็นเจ้าแล้ว…”  (ยอห์น 20 : 18)    

ข้อสังเกต เหตุการณ์ฟื้นคืนชีพของพระเยซูคริสต์ตามที่พระคริสตธรรมคัมภีร์ทั้ง 4 ฉบับบันทึกไว้นั้น เมื่อผู้อ่านได้เปรียบเทียบเรื่องราวที่เกิดขึ้นระหว่าง 4 ฉบับ ผู้อ่านก็จะพบกับความแตกต่างและความขัดแย้งระหว่างกันได้โดยไม่ยาก ซึ่งพอจะกล่าวได้ดังนี้

1. มัทธิวบันทึกว่า “เวลาใกล้รุ่งเช้า” มาระโก บันทึกว่า “เวลารุ่งเช้า…พอดวงอาทิตย์ขึ้น”  ลูกา บันทึกว่า “แต่เช้ามืด” ยอห์นบันทึกว่า “เวลาเช้ามืด” มัทธิว ลูกา และยอห์น บันทึกเวลาใกล้เคียงกัน แต่มาระโกผู้เดียวที่บันทึกว่าดวงอาทิตย์ขึ้นแล้ว

2. มัทธิวบันทึกว่า มารีย์ชาวมักดาลากับมารีย์อีกคนหนึ่งนั้นมาดูอุโมงค์ มาระโกบันทึกว่า มารีย์ชาวมักดาลา มารีย์มารดาของยากอบและนางสะโลเม  ส่วนลูกาบันทึกว่า มารีย์ชาวมักดาลา โยอันนา มารีย์มารดาของยากอบและผู้หญิงอื่นๆ ที่อยู่กับเขา ในขณะที่ยอห์นบันทึกว่า มารีย์ชาวมักดาลามาที่อุโมงค์เพียงคนเดียว

3. มัทธิวบันทึกว่าเกิดแผ่นดินไหวใหญ่มาก มีฑูตสวรรค์ลงมากกลิ้งก้อนหินออกจากปากอุโมงค์และนั่งอยู่บนก้อนหินนั้น ยามที่เฝ้าอยู่ตกใจกลัว แล้วฑูตสวรรค์ก็กล่าวกับหญิง 2 คนนั้น มาระโกบันทึกว่า เมื่อ 3 คนมาถึงก็พบว่าหินได้ถูกกลิ้งออกจากปากอุโมงค์แล้ว เมื่อเข้าไปในอุโมงค์ก็พบชายหนุ่มนุ่งห่มผ้าสีขาวนั่งอยู่ ลูกาบันทึกว่า เมื่อเหล่าผู้หญิงมาถึงก็พบว่าหินกลิ้งออกจากปากอุโมงค์แล้ว เข้าไปในอุโมงค์ก็ไม่พบศพของพระเยซู ขณะที่กำลังคิดฉงนอยู่นั้นก็มีชายสองคนปรากฏยืนอยู่ใกล้พวกนาง ส่วนยอห์นบันทึกว่า มารีย์มักดาลาเห็นหินเปิดออกจากอุโมงค์แล้ว จึงวิ่งไปบอกซีโมนเปโตรกับสาวกอีกคนหนึ่ง

เห็นได้ว่า มาระโก ลูกา และยอห์นไม่ได้บันทึกเรื่องแผ่นดินไหวใหญ่ มีแต่มัทธิวผู้เดียวที่บันทึก ฑูตสวรรค์มีคนเดียว ในขณะที่บางฉบับบันทึกว่ามี 2 คน ฑูตสวรรค์นั่งอยู่บนก้อนหินก็มีบันทึก ฑูตสวรรค์อยู่ในอุโมงค์นั่งอยู่ทางขวา และบางฉบับก็ว่าฑูตสวรรค์ 2 องค์ในรูปชายปรากฏตัวยืนอยู่ใกล้ๆ ส่วนยอห์นบันทึกว่า ฑูตสวรรค์มาปรากฏกาย 2 องค์ในตอนหลังขณะที่มารีย์ มักดาลายืนร้องไห้อยู่ปากอุโมงค์ และพระเยซูก็เสด็จมาปรากฏด้วย

ในขณะที่ 3 ฉบับมิได้บันทึกว่าพระเยซูมาปรากฏกายในเวลานั้นเลย ทั้งหมดที่กล่าวมาบ่งชี้ชัดเจนถึงความสับสน ขัดแย้ง และแตกต่างในรายละเอียดของเหตุการณ์ ซึ่งยากในการที่จะลำดับเรื่องทั้ง 4 ฉบับให้เข้ากัน และดูเหมือนว่าเหตุการณ์ในตอนฟื้นคืนชีพของพระเยซูคริสต์ตามที่พระคัมภีร์ ทั้ง 4 ฉบับบันทึกเอาไว้มีรายละเอียดที่ขัดแย้งกันมากที่สุดก็ว่าได้ ทั้งๆ ที่เหตุการณ์นี้มีความสำคัญกับชาวคริสต์เป็นอย่างมากเพราะเป็นหลักมูลฐานใน เรื่องความเชื่อและการศรัทธาต่อพระเยซูคริสต์

และการสิ้น พระชนม์ของพระเยซูคริสต์บนไม้กางเขนนี้เองเป็นสิ่งที่ตอกย้ำถึงการไม่ยอมรับ ของชาวยิวที่มีต่อพระองค์ เพราะชาวยิวถือว่าผู้ที่ถูกตรึงกางเขนนั้นเป็นผู้ที่พระผู้เป็นเจ้าทรงสาป แช่ง ดังปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์เดิมว่า “ถ้าคนใดได้กระทำความผิดอันมีโทษถึงตาย และเขาถูกประหารชีวิต และแขวนเขาไว้ที่ต้นไม้ อย่าให้ศพค้างอยู่ที่ต้นไม้ข้ามคืน ท่านจงฝังเขาเสียในวันเดียวกันนั้น ด้วยว่าผู้ที่ต้องถูกแขวนไว้บนต้นไม้ก็ต้องถูกสาปแช่งโดยพระเจ้า” (เฉลยธรรมบัญญัติ 21 : 22)

ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้เปาโลกล่าวว่า : “พระคริสต์ทรงไถ่เราให้พ้นความสาปแช่งแห่งธรรมบัญญัติโดยการที่พระองค์ทรง ยอมถูกสาปแช่งเพื่อเรา เพราะพระคัมภีร์เขียนไว้ว่า ทุกคนที่ต้องถูกแขวนไว้บนต้นไม้ต้องถูกสาปแช่ง” (กาลาเทีย 3: 13) (Christ redeemed us from the curse of the law by becoming a curse for us ,for it is written : “Cursed is everyone who is hung on a tree”)  กลายเป็นว่าพระเยซูคริสต์ยอมถูกพระบิดาสาปแช่งเพื่อมนุษย์ให้พ้นความสาปแช่งแห่งธรรมบัญญัติไปเสียอีก

การสิ้นพระชนม์และถูกตรึงบนไม้กางเขนของพระเยซูคือความปรารถนาของพวกโหราจารย์ พวกมหาปุโรหิตและธรรมาจารย์เพื่อทำให้พระเยซูคริสต์กลับกลายเป็นคนบาปที่ถูก สาปแช่งตลอดกาล คิดดูเอาเถิด ถ้าผู้ที่ตรึงกางเขนมิใช่พระเยซูคริสต์แต่เป็นคนอื่น และพระเยซูคริสต์ก็ทรงรอดพ้นจากการปองร้ายของพวกยิวไปก่อนหน้าการอายัดจับ กุมแล้ว นั่นก็คือความล้มเหลวของพวกยิวโดยสิ้นเชิง และย่อมเป็นคำอธิบายที่สมเหตุสมผลในการที่พระเยซูเป็นเจ้าทรงทำลายแผนการของ พวกยิวด้วยฤทธานุภาพของพระองค์ซึ่งช่วยให้พระเยซูคริสต์รอดพ้นจากน้ำมือของ พวกอธรรม

แต่ถ้าเป็นไปตามความเชื่อของพวกยิวและชาวคริสต์ ที่ว่า พระเยซูถูกตรึงกางเขนและถูกแขวนอยู่บนนั้น ชาวยิวย่อมสมปรารถนาเพราะพวกเขาสามารถยัดเยียดการสาปแช่งจากพระเจ้าให้แก่ พระเยซูคริสต์ได้สำเร็จตามพระธรรมบัญญัติ ในขณะที่ชาวคริสต์ก็ต้องถลำลึกลงไปอีกในการอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยการ เชื่อว่า พระเยซูคริสต์ยอมรับคำสาปแช่งจากพระบิดาเพื่อไถ่ความผิดของมนุษย์ ทั้งๆ ที่ไม่จำเป็นต้องอธิบายเช่นนั้นเลย หากพวกเขาเชื่ออย่างที่มุสลิมเชื่อตามคัมภีร์อัล-กุรอานที่ระบุว่า

وَمَا قَتَلُوهُ وَمَا صَلَبُوهُ وَلَـٰكِن شُبِّهَ لَهُمْ

ความว่า : “และพวกเขา (ชาวยิว) มิได้สังหารเขา (อีซา) และมิได้ตรึงกางเขนเขา ทว่าได้ถูกทำให้คล้ายคลึงแก่พวกเขาต่างหาก” (อัน-นิสาอฺ 157)

การปรากฏพระองค์ของพระเยซูคริสต์ภายหลังการฟื้นชีพ

หลังเหตุการณ์การฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูจากอุโมงค์ฝังพระศพซึ่งพระคริสตธรรม คัมภีร์บันทึกรายละเอียดเอาไว้จนดูสับสน ผู้บันทึกพระคัมภีร์ก็ระบุถึงการปรากฏของพระองค์แก่บุคคลต่างๆ ดังนี้

*มัทธิว
มัทธิวบันทึกว่า “หญิงเหล่านั้นก็ไปจากอุโมงค์โดยเร็ว ทั้งกลัวทั้งยินดีเป็นอันมาก วิ่งไปบอกพวกสาวกของพระองค์ ดูเถิด พระเยซูได้เสด็จพบเขาและตรัสว่า “จงจำเริญเถิด” หญิงเหล่านั้นก็มากอดพระบาทนมัสการพระองค์ พระเยซูจึงตรัสกับเขาว่า “อย่ากลัวเลย จงไปบอกพวกพี่น้องของเราให้ไปยังกาลิลีจะได้พบเราที่นั่น” (มัทธิว 28 : 8-10)

“แต่สาวกสิบเอ็ดคนนั้น ก็ได้ไปยังกาลิลีถึงภูเขาที่พระเยซูได้ทรงกำหนดไว้ และเมื่อเห็นพระองค์จึงกราบลงนมัสการ แต่บางคนยังสงสัยอยู่ พระเยซูจึงเสด็จเข้ามาใกล้แล้วตรัสกับเขาว่า “ฤทธานุภาพทั้งสิ้นในสวรรค์ก็ดี ในแผ่นดินโลกก็ดีทรงมอบไว้แก่เราแล้ว เหตุฉะนั้น เจ้าทั้งหลายจงออกไปสั่งสอนชนทุกชาติให้เป็นสาวกของเรา ให้รับบัพติศมาในพระนามแห่งพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ สอนให้เขาถือรักษาสิ่งสารพัดซึ่งเราได้สั่งพวกเจ้าไว้ นี่แหล่ะเราจะอยู่กับเจ้าทั้งหลายเสมอไป จนกว่าจะสิ้นยุค” (มัทธิว 28 : 16-20)

*มาระโก
พระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับมาระโกมิได้บันทึกว่าพระเยซูทรงปรากฏแก่บรรดาหญิงเหล่านั้น แต่บันทึกว่า “หญิงเหล่านั้นก็ออกจากอุโมงค์รีบหนีไป เพราะพิศวงตกใจจนตัวสั่น และมิได้พูดกับผู้ใดเพราะเขากลัว” (มาระโก 16 : 8) แล้วมาระโกก็บันทึกต่อมาว่า พระเยซูทรงปรากฏแก่มารีย์ชาวมักดาลา “ครั้นรุ่งเช้าต้นสัปดาห์ เมื่อพระองค์ทรงเป็นขึ้นมาแล้ว พระองค์ทรงสำแดงพระองค์ให้ปรากฏแก่มารีย์ชาวมักดาลาก่อน คือมารีย์คนที่พระองค์ได้ขับผีออกเจ็ดผี มารีย์จึงไปบอกพวกคนที่เคยอยู่กับพระองค์แต่ก่อนเขากำลังร้องไห้เป็นทุกข์ อยู่ เมื่อเขาได้ยินว่าพระองค์ทรงพระชนม์มีอยู่ และมารีย์ได้เห็นพระองค์แล้วเขาก็ไม่เชื่อ” (มาระโก  16 :  9-11)


“ภายหลังพระองค์ทรงปรากฏพระกายอีกรูปหนึ่งแก่ศิษย์สองคนเมื่อเขากำลังเดินทางออก ไปบ้านนอก ศิษย์สองคนนั้นจึงไปบอกศิษย์อื่นๆ แต่เขามิได้เชื่อ” (มาระโก 16 :  12-13)


“ภายหลังพระองค์ทรงปรากฏแก่สาวกสิบเอ็ดคนนั้นเอง เมื่อเขานั่งรับประทานอยู่ พระองค์ทรงติเตียนเขาเพราะเขาสงสัยและใจดื้อดึง….” (มาระโก  16 :  14)

*ลูกา
ลู กาก็เช่นกัน เขามิได้บันทึกว่าพระเยซูปรากฏพระองค์แด่เหล่าหญิงนั้นที่อุโมงค์ และมิได้ปรากฏแก่มารีย์ชาวมักดาลาเป็นกรณีเฉพาะอีกด้วย สิ่งที่ลูกาบันทึกคือ

“เขา จึงรำลึกถึงพระดำรัสของพระองค์ได้ และกลับไปจากอุโมงค์ แล้วบอกเหตุการณ์ทั้งปวงนั้นแก่สาวกสิบเอ็ดคนและคนอื่นๆ ทั้งหลายด้วย” (ลูกา 24 : 8-9)

ต่อมาลูกาได้บันทึกการปรากฏ พระองค์ของพระเยซูแก่ศิษย์สองคนซึ่งออกไปยังหมู่บ้านที่ชื่อเอมมาอุส (Emmaus) พระเยซูทรงร่วมดำเนินไปกับศิษย์สองคนนั้น แต่ตาเขาฟางไปและจำพระองค์ไม่ได้ มีการพูดคุยสนทนาไปตลอดทางเมื่อถึงหมู่บ้านเขาจึงชวนพระองค์ให้พำนักอยู่กับ เขา พระเยซูก็รับคำเชิญ ต่อมาเมื่อพระองค์เสวยพระกระยาหารกับเขา พระองค์ทรงหยิบขนมปังโมทนาพระคุณแล้วหักส่งให้เขา ตาของเขาก็หายฟางและเขาก็จำพระองค์ได้ แล้วพระองค์ก็อันตรธานไปจากเขา

ศิษย์ทั้งสองจึงกลับกรุงเยรูซาเล็ม นำเรื่องที่พบไปบอกเล่าให้พวกสาวกทั้งสิบเอ็ดคนได้รับรู้ ขณะที่กำลังเล่าเหตุการณ์อยู่นั้น พระองค์ทรงยืนอยู่ท่ามกลางพวกเขา พวกเขาตกใจกลัวนึกว่าเห็นผี พระองค์จึงตรัสกับพวกเขาและให้ดูพระวรกายของพระองค์ กระนั้นพวกเขาสาวกก็ยังไม่เชื่อ พระองค์จึงตรัสถามถึงอาหาร พวกเขาจึงเอาปลาย่างชิ้นหนึ่งมาถวาย ในระหว่างนั้นพระองค์ตรัสกับเขา (ลูกา  24 : 13-49)

*ยอห์น
ยอห์นบันทึกว่า ขณะที่มารีย์ชาวมักดาลายังยืนร้องไห้ที่ปากอุโมงค์นั้น พระเยซูทรงปรากฏพระองค์หลังจากที่นางพบกับฑูตสวรรค์สององค์ พระเยซูตรัสกับมารีย์ ซึ่งในตอนแรกนางสำคัญว่าพระองค์เป็นคนทำสวน ต่อมาก็รู้ว่าเป็นพระองค์ นางจึงไปบอกพวกสาวกหลังจากนั้น (ยอห์น 20 : 11-18) แล้วยอห์นก็บันทึกว่า “ค่ำวันนั้นซึ่งเป็นวันอาทิตย์ เมื่อสาวกปิดประตูห้องที่พวกเขาอยู่แล้วเพราะกลัวพวกยิว พระเยซูได้เสด็จมาประทับยืนอยู่ท่ามกลางพวกเขาตรัสว่า “สันติสุขจงดำรงอยู่กับท่านทั้งหลายเถิด” (ยอห์น 20 : 19) แล้วพระองค์ก็ตรัสกับพวกเขา

ยอห์นบันทึกว่าโธมัสซึ่งเป็นสาวกคนหนึ่งไม่เชื่อเพราะเขาไม่ได้อยู่ด้วยขณะที่ พระเยซูมาปรากฏพระองค์ ครั้นล่วงแปดวันแล้ว พระเยซูก็มาประทับยืนอยู่ท่ามกลางเขา โธมัสอยู่ด้วยในวันนั้นพระองค์จึงตรัสให้โธมัสพิสูจน์พระวรกายของพระองค์ โธมัสจึงเชื่อ (ยอห์น 20:  24-29) ต่อมาพระเยซูทรงสำแดงพระองค์แก่เหล่าสาวกอีกครั้งหนึ่งที่ทะเลทิเบเรียส และยอห์นก็บันทึกว่า “นี่เป็นครั้งที่สามที่พระเยซูทรงสำแดงพระองค์แก่พวกสาวก หลังจากที่ทรงให้พระองค์คืนพระชนม์แล้ว” (ยอห์น 21 : 1-14)

ข้อสังเกต

เมื่อเราได้อ่านพระคริสตธรรมคัมภีร์ทั้ง 4 ฉบับ เปรียบเทียบกันแล้ว เราจะพบความแตกต่างของเหตุการณ์การปรากฏพระองค์ของพระเยซูคริสต์อยู่หลาย ประเด็นดังนี้

1. มัทธิวบันทึกว่าพระเยซูคริสต์ปรากฏพระองค์แก่เหล่าหญิงที่มายังอุโมงค์ฝัง พระศพ ส่วนยอห์นบันทึกว่าพระเยซูเสด็จมาปรากฏพระองค์แก่มารีย์ชาวมักดาลาขณะที่นาง ยังยืนร้องไห้ที่ปากอุโมงค์เพียงผู้เดียว ส่วนมาระโกกับลูกาไม่ได้บันทึกเช่นกัน ไม่ว่าการปรากฏพระองค์แก่หญิงเหล่านั้นหรือแก่มารีย์ชาวมักดาลา ขณะพวกนางอยู่ที่อุโมงค์ฝังพระศพ มาระโกบันทึกว่าพระเยซูทรงปรากฏแก่มารีย์ชาวมักดาลาโดยไม่ได้บอกว่านางอยู่ ที่อุโมงค์หรือไม่

2. มัทธิวบันทึกว่าพวกผู้หญิงเหล่านั้นไปจากอุโมงค์โดยเร็วทั้งกลัวทั้งยินดี เป็นอันมากวิ่งไปบอกพวกสาวกของพระองค์ มาระโกบันทึกว่าพวกผู้หญิงออกจากอุโมงค์รีบหนีไปเพราะพิศวงตกใจจนตัวสั่น และไม่ได้พูดกับผู้ใดเพราะเขากลัว คนที่ไปบอกพวกคนที่เคยอยู่กับพระองค์แต่ก่อนซึ่งกำลังร้องไห้เป็นทุกข์อยู่ (ซึ่งไม่ชัดเจนว่าเป็นอัครฑูตสิบเอ็ดคนนั้นหรือไม่) คือ มารีย์ชาวมักดาลาเพียงผู้เดียว ส่วนลูกาบอกว่าหญิงเหล่านั้น (ออกชื่อไว้เสร็จ) ไปบอกเหตุการณ์ทั้งปวงนั้นแก่สาวกสิบเอ็ดคนและคนอื่นๆ ด้วย

ส่วนยอห์นบันทึกว่า หลังจากมารีย์ชาวมักดาลาพบพระเยซูมาปรากฏพระองค์และตรัสกับนางแล้ว มารีย์ก็ไปบอกพวกสาวก ตกลงว่าผู้ไปบอกสาวกของพระเยซูถึงเรื่องที่พระองค์ทรงปรากฏกายนั้นคือ ผู้หญิงเหล่านั้นหรือว่ามารีย์ชาวมักดาลาเพียงผู้เดียวกันแน่

3. มัทธิวไม่ได้บันทึกว่าพระเยซูไปปรากฏพระองค์กับสาวกสองคน ยอห์นก็ไม่ได้บันทึกเช่นกัน ส่วนมาระโกบันทึกถึงการปรากฏของพระเยซูแก่สาวกสองคนโดยกล่าวไว้เพียงสั้นๆ ไม่มีการบันทึกรายละเอียดการพูดคุยสนทนาระหว่างทางของสาวก 2 คน ซึ่งตาฟางจำพระองค์ไม่ได้กับพระเยซูคริสต์ มีเพียงลูกาเท่านั้นที่บันทึกเหตุการณ์นี้ และส่วนหนึ่งจากคำสนทนาของผู้เป็นศิษย์พระเยซูที่สนทนากับพระองค์ในระหว่าง ทางคือ

“ยังมีผู้หญิงบางคนในพวกเรา ที่ได้ทำให้เราประหลาดใจ นางได้ไปที่อุโมงค์เมื่อเวลาเช้ามืด แต่ไม่พบพระศพของพระองค์ จึงมาเล่าว่านางได้เห็นนิมิตเป็นฑูตสวรรค์และฑูตนั้นบอกว่าพระองค์ทรงพระ ชนม์อยู่ บางคนที่อยู่กับเราก็ไปจนถึงอุโมงค์และได้พบเหมือนพวกผู้หญิงเหล่านั้นได้บ อก แต่เขาหาได้เห็นพระองค์ไม่” (ลูกา 24 : 22-24)

ข้อความนี้ยืนยันชัดเจนว่าพระเยซูไม่ได้ปรากฏพระองค์แก่หญิงที่มาบอกสาวกของ พระองค์ ส่วนบางคนที่ไปยังอุโมงค์นั้นก็คือ ซีโมนเปโตรซึ่งลูกาบันทึกว่าเขาลุกขึ้นไปวิ่งที่อุโมงค์เพียงคนเดียว (ลูกา 24 12) ซึ่งต่างจากสิ่งที่ยอห์นบันทึกไว้ ซีโมนเปโตรกับสาวกอีกคนหนึ่งวิ่งไปยังอุโมงค์หลังจากที่มารีย์ชาวมักดาลา วิ่งไปบอกสาวกทั้งสอง (ยอห์น 20 1-10) ยอห์นบันทึกรายละเอียดด้วยว่าสองคนนี้ใครวิ่งเร็วกว่าใครไปถึงอุโมงค์ก่อน

4. มัทธิวไม่ได้บันทึกเหตุการณ์ปรากฏของพระเยซูแก่สาวกสิบเอ็ดคนที่บ้าน แต่บอกว่าพวกเขาไปยังกาลิลีถึงภูเขาที่พระองค์ได้ทรงกำหนดไว้ แล้วเห็นพระองค์ที่นั่น (มัทธิว 28  16-17) มาระโกบันทึกว่าพระองค์ทรงปรากฏแก่สาวกสิบเอ็ดคนขณะที่พวกเขานั่งรับประทาน อาหารอยู่ และพระองค์ก็ทรงติเตียนว่ากล่าวพวกเขาที่ไม่เชื่อ (มาระโก 16 14)  ลูกาบันทึกว่าเมื่อสาวก 2 คนที่พบพระเยซูระหว่างทางไปหมู่บ้านเอมมาอูส ไกลจากกรุงเยรูซาเล็มประมาณ 11 ก.ม. (ลูกา 24  13) พบพระองค์แล้วก็รีบกลับไปยังกรุงเยรูซาเล็มซึ่งสาวกสิบเอ็ดคนชุมนุมกันอยู่ ขณะกำลังเล่าเหตุการณ์ให้สาวกสิบเอ็ดคนฟัง พระเยซูก็ปรากฏพระองค์ยืนอยู่ท่ามกลางพวกเขา (ลูกา 24  36-37)

ทั้งนี้ไม่มีการระบุถึงการไปยังกาลิลีของพวกสาวกสิบเอ็ดคนแต่อย่างใด เพราะถ้อยความระบุว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ กรุงเยรูซาเล็มไม่ใช่ที่กาลิลีอย่างที่มัทธิวบันทึก และพวกเขาก็ไม่ได้นั่งรับประทานกันอยู่ในขณะนั้นอย่างที่มาระโกบันทึก ส่วนยอห์นบันทึกว่า ค่ำของวันอาทิตย์พวกสาวกปิดประตูห้องที่พวกเขาอยู่เพราะกลัวยิว พระเยซูก็เสด็จมาประทับยืนท่ามกลางพวกเขา พระองค์ทักทายและไม่ได้กล่าวตำหนิสาวกของพระองค์อย่างที่มาระโกบันทึก และพวกเขาก็ไม่ได้รับประทานอาหารอย่างที่มาระโกกล่าวไว้ และไม่มีการระบุว่ามีการเดินทางของสาวกไปยังกาลิลีแต่อย่างใด

ยอห์นคือผู้บันทึกเพียงคนเดียวที่พูดถึงโธมัส และพูดอีกด้วยว่าหลังจากนั้น 8 วันพระองค์ก็เสด็จมาปรากฏอีกครั้งทำให้โธมัสเชื่อ ยอห์นคือผู้เดียวที่บันทึกว่าพระเยซูทรงปรากฏแก่สาวกเจ็ดคนที่ทะเลทิเบเรียส ซึ่งเขากล่าวไว้อย่างยืดยาวเลยทีเดียว (21: 1-25) ทั้งหมดที่กล่าวมาทุกประเด็นย่อมชี้ให้เห็นถึงความขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิงของ เรื่องราวที่ปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์ทั้ง 4 ฉบับ หากเรื่องราวที่บันทึกไว้เป็นจริงก็น่าฉงนว่าทำไมจึงแตกต่างและขัดแย้งกัน ถึงเพียงนี้ โปรดอย่าลืมว่าชาวคริสต์เชื่อว่าผู้บันทึกพระคริสตธรรมคัมภีร์ได้รับวิวรณ์ จากพระผู้เป็นเจ้าหรือการชี้นำจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ให้พวกเขาได้บันทึก เรื่องราวของพระเยซูคริสต์ (ดู วิวรณ์ 1 : 10-11)

หากเป็นจริงตามคำกล่าวอ้างที่กลายเป็นความเชื่อแล้ว ทำไมพระวิญญาณบริสุทธิ์จึงดลใจให้ผู้บันทึกพระคริสตธรรมคัมภีร์ได้บันทึก เรื่องราวของพระเยซูคริสต์ไปคนละทางสองทาง และขัดแย้งกันเองจนชวนให้มึนงงในการที่จะสืบสวนข้อเท็จจริงว่าข้อความใดเป็น จริงเล่า 

อัล-กุรอานได้เปิดเผยเรื่องเหล่านี้ว่าเป็นการบันทึกด้วยมือของพวกเขาเองแล้วแอบอ้างว่ามาจากพระผู้เป็นเจ้า ดังปรากฏว่า

أَفَلَا يَتَدَبَّرُونَ الْقُرْآنَ ۚ وَلَوْ كَانَ مِنْ عِندِ غَيْرِ اللَّـهِ لَوَجَدُوا فِيهِ اخْتِلَافًا كَثِيرًا

ความ ว่า “และมาตรแม้นปรากฏว่ามาจากอื่นนอกจากพระผู้เป็นเจ้าแล้วไซร้ พวกเขาย่อมพบว่าในมันนั้นมีการขัดแย้งกันอย่างมากมาย” (อัน-นิสาอฺ 82)

فَوَيْلٌ لِّلَّذِينَ يَكْتُبُونَ الْكِتَابَ بِأَيْدِيهِمْ ثُمَّ يَقُولُونَ هَـٰذَا مِنْ عِندِ اللَّـهِ لِيَشْتَرُوا بِهِ ثَمَنًا قَلِيلًا ۖ فَوَيْلٌ لَّهُم مِّمَّا كَتَبَتْ أَيْدِيهِمْ وَوَيْلٌ لَّهُم مِّمَّا يَكْسِبُونَ

ความว่า : “ดังนั้น ความวิบัติจงมีแด่บรรดาผู้ที่เขียนคัมภีร์ด้วยมือของพวกเขาเอง แล้วพวกเขาก็กล่าวว่านี่มาจากพระผู้เป็นเจ้า ทั้งนี้เพื่อพวกเขาจะได้แลกมันกับราคาที่เล็กน้อย ดังนั้น ความวิบัติจงมีแด่พวกเขา เนื่องจากสิ่งที่มือของพวกเขาได้เขียน และความวิบัติย่อมบังเกิดแก่พวกเขาเนื่องจากสิ่งที่พวกเขาได้ขวนขวาย” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ  79)

พระคริสตธรรมคัมภีร์ทั้ง 4 ฉบับ คือบันทึกเรื่องราวของบุคคลหลักของการเดินเรื่องตั้งแต่เริ่มจนจบเพียงผู้ เดียว คือพระเยซูคริสต์ บุคคลอื่นๆ เป็นเพียงตัวประกอบเท่านั้น ซึ่งการเขียนเรื่องราวของคนๆ เดียวไม่น่าจะมีความขัดแย้งและแตกต่างกันจนเกินเหตุถึงเพียงนี้ หากท่านผู้อ่านโดยเฉพาะคริสตชนได้ติดตามบทความทั้งหมดมาเป็นลำดับก็จะพบความ แตกต่างของถ้อยความ เรื่องราวและเหตุการณ์ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ทั้ง  4 ฉบับ มาโดยตลอด บางช่วงก็แตกต่างเพียงเล็กน้อย ในขณะที่บางช่วงมีบันทึกในบางฉบับ และไม่ปรากฏในบางฉบับทั้งๆ ที่อาจจะเป็นสาระสำคัญที่มิควรละเลยด้วยซ้ำไป

แต่ผู้อ่านจะสังเกตได้ว่า ความแตกต่างและขัดแย้งระหว่างพระคริสตธรรมคัมภีร์ทั้ง 4 ฉบับ เริ่มหนาแน่นและมีมากขึ้นอย่างเข้มข้นนับแต่เหตุการณ์การอายัดจับกุมพระเยซู คริสต์เป็นต้นไป จนกระทั่งถึงการฟื้นคืนพระชนม์หลังการสิ้นพระชนม์ซึ่งถือเป็นช่องว่าง ระหว่างความเชื่อของคริสตชนกับชาวมุสลิมที่ห่างกันมากที่สุดจนกลายเป็นเส้น ขนานที่ไม่มีวันบรรจบกันอีกต่อไป ทั้งๆ ที่หลักคำสอนของพระเยซูครสิต์ที่ปรากฏในเหตุการณ์ก่อนการอายัดจับกุมนั้น หลายเรื่องสอดคล้องกันระหว่างคริสตชนกับมุสลิม

ในส่วนของความต่างนั้นก็พอที่จะรอมชอมกันได้ ไม่ได้มีช่องว่างห่างกันมากนัก แต่เมื่อนำเอาสารัตถะของพระคริสตธรรมคัมภีร์ในช่วงปลายนับแต่การอายัดจับกุม พระเยซูคริสต์มาผนวกรวมกับกิจการของอัครฑูตและบรรดาจดหมายทั้งหลายที่มีถึง คริสตจักรต่างๆ จนจบเล่ม เส้นแบ่งระหว่างมุสลิมกับคริสตชนก็ห่างกันราวก้นเหวกับฟ้าเบื้องบน พระเยซูคริสต์สำหรับชาวคริสต์กลายเป็นคนละคนกับอัล-มะสีหฺ อีซา ที่ปรากฏในอัล-กุรอานและความเชื่อของชาวมุสลิมโดยสิ้นเชิง!

อัล-กุรอานกับคริสตชน 7
การสอบสวนพระเยซูคริสต์และการพิพากษาพระองค์
พระคริสตธรรมคัมภีร์ได้ระบุเรื่องราวภายหลังการจับกุมตัวพระเยซูคริสต์ (ซึ่งอัล-กุรอานได้หักล้างความเชื่อนี้ว่าไม่เป็นความจริง) ว่าผู้ที่จับกุมพระองค์ไปถึงบ้านคายาฟาส    มหาปุโรหิตประจำการที่พวกธรรมาจารย์และพวกผู้ใหญ่ได้ประชุมกันอยู่ที่นั่น (มัทธิว 26 : 57 , มาระโก 14 : 53 , ลูกา 22 : 54) แต่ยอห์นระบุว่าพวกนั้นพาพระองค์ไปหาอันนาสก่อนเพราะอันนาสเป็นพ่อตาของคายาฟาสผู้ซึ่งเป็นมหาปุโรหิตประจำการในปีนั้น (ยอห์น 18 : 13) พวกมหาปุโรหิตได้สอบสวนเอาผิดกับพระองค์โดยใช้พยานเท็จ มีการถ่มน้ำลายรดพระพักต์และตีพระองค์ บางคนเอามือตบพระองค์แล้วว่า “เจ้าพระคริสต์” จงเผยให้เรารู้ว่าใครตบเจ้า (มัทธิว 26 : 67-38) แต่มาระโกบันทึกว่า บางคนก็ถ่มน้ำลายรดพระองค์ ปิดพระพักต์พระองค์ ตีพระองค์แล้วว่าพระองค์ว่า “ทำนายซี” และพวกคนใช้ก็เอามือตบพระองค์ (มาระโก 14 : 65)   ลูกาบันทึกว่า : ฝ่ายคนที่คุมพระเยซูก็เยาะเย้ยโบยตีพระองค์ และเมื่อเขาเอาผ้าผูกปิดพระเนตรของพระองค์แล้ว เขาจึงถามว่า จงเผยให้เรารู้ว่า ใครตบเจ้า เขาพูดคำหยาบช้าแก่พระองค์อีกหลายประการ (ลูกา 22 : 63-65) ฝ่ายยอห์นบันทึกว่า : เจ้าหน้าที่คนหนึ่งซึ่งยืนอยู่ที่นั่นได้ตบพระพักต์พระเยซูแล้วพูดว่า “เจ้าตอบมหาปุโรหิตอย่างนั้นหรือ” พระเยซูตรัสตอบว่า “ถ้าเราพูดผิดจงเป็นพยานในสิ่งที่ผิดนั้น แต่ถ้าเราพูดถูกท่านตบเราทำไม” (ยอห์น 18 :22-24)
พระเยซูคริสต์ ผู้ซึ่งชาวคริสต์เชื่อว่าพระองค์เป็นพระบุตรของพระเจ้าหรือเป็นองค์พระเป็นเจ้าต้องถูกหมิ่นเกียรติถูกเหยียดหยามด้วยการถ่มน้ำลาย เฆี่ยนตี ตบและถูกพันธนาการจากพวกอธรรมซึ่งเป็นมนุษย์ธรรมดา ด้วยเหตุไฉนพระผู้เป็นเจ้าจึงมิส่งฑูตสวรรค์มาช่วยพระองค์ให้พ้นจากลบลู่หยามเกียรติและการอายัดจับกุม หรือด้วยเหตุใดพระองค์จึงไม่ทรงสำแดงฤทธานุภาพในเวลานั้นให้เป็นที่ประจักษ์แก่พวกอธรรมนั้น ในเมื่อพระองค์ทรงห้ามพายุได้ ทำให้คนตายฟื้นคืนชีพได้ และอีกสารพัด ดูเอาเถิดแม้เปโตรศิษย์คนสำคัญของพระองค์ซึ่งจะกล่าวปฏิเสธพระองค์ถึง 3 ครั้ง (มัทธิว 26 : 34 , มาระโก 14 : 30 , ลูกา 22 : 34 ยอห์น 13 : 38) พระเจ้าทรงส่งฑูตสวรรค์มาปรากฏแก่เปโตรและปลุกเขาพร้อมกับโซ่พันธนาการมือของเขาก็หลุดออก หลังจากนั้นก็สามารถออกมาจากที่คุมขังโดยที่ทหารยามไม่รู้ตัว ประตูเหล็กที่จะเข้าไปในเมืองก็เปิดออกเอง แล้วเปโตรก็พ้นจากการถูกคุมขัง และกล่าวว่า : เดี๋ยวนี้ข้าพเจ้ารู้แน่ว่า องค์พระเป็นเจ้าได้ทรงใช้ฑูตสวรรค์ของพระอง์มาช่วยข้าพเจ้าให้พ้นจากอำนาจของเฮโรด และพ้นจากการมุ่งร้ายของพวกยิว (กิจการของอัครฑูต 12 : 6-11) เปโตรเป็นเพียงศิษย์ซึ่งไม่ใหญ่กว่าอาจารย์ เป็นเพียงบ่าวซึ่งไม่ใหญ่กว่านาย เป็นเพียงมนุษย์ที่ไม่ใหญ่กว่าพระบุตรหรือพระเจ้า ฑูตสวรรค์ยังมาช่วยให้เขารอดพ้นจากพวกยิว แต่ไฉนพระเยซูคริสต์ผู้เป็นพระบุตรของพระเจ้าหรือเป็นพระเจ้าจึงไม่สามารถรอดพ้นจากพวกอธรรมเหล่านั้นได้ คริสตชนอาจจะอ้างว่าที่เป็นเช่นนั้นก็เพื่อให้ถ้อยคำในพระคัมภีร์สำเร็จตามนั้น ซึ่งผู้บันทึกพระคริสตธรรมคัมภีร์เขียนเอาไว้ ฝ่ายเรา (มุสลิม) บอกว่าพระคัมภีร์เขียนเอาไว้เหมือนกันมิใช่หรือว่า “อย่าทดลององค์พระเป็นเจ้าของท่าน” ฝ่ายท่านมิได้อ่านคัมภีร์ดอกหรือ โมเสสสรรเสริญพระเจ้าว่า “ข้าแต่พระองค์ พระหัตถ์ขวาของพระองค์ทรงอานุภาพยิ่ง ข้าแต่พระเจ้า พระหัตถ์ขวาของพระองค์ทรงทำลายศัตรูให้พินาศไป ด้วยเดชานุภาพอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ พระองค์ทรงคว่ำปฏิปักษ์ของพระองค์เสีย (อพยพ 15-6-7)” ผู้ทรงช่วยข้าพระองค์ให้พ้นจากศัตรู พระเจ้าข้า พระองค์ทรงยกข้าพระองค์ขึ้นเหนือปฏิปักษ์ของข้าพระองค์ พระองค์ทรงช่วยกู้ข้าพระองค์จากคนทารุณโหดร้าย ข้าแต่พระเจ้า เพราะเหตุนี้ข้าพระองค์จึงขอเทิดทูนพระองค์ไว้ท่ามกลางประชาชาติทั้งหลาย และร้องเพลงสรรเสริญพระนามของพระองค์ พระองค์ประทานชัยชนะอันยิ่งใหญ่แก่กษัตริย์ของพระองค์ และทรงสำแดงความรักมั่นคงแก่ผู้ที่พระองค์ทรงเจิมไว้นั้น คือดาวิดและพงศ์พันธุ์ของท่านเป็นนิตย์ (สดุดี 18 : 48-50) ก็ในเมื่อชาวคริสต์เชื่อว่าพระเยซูคริสต์คือราชโอรสแห่งกษัตริย์ดาวิด (มัทธิว 21 : 9) แล้วด้วยเหตุไฉนพระเป็นเจ้าจึงมิทรงยกพระเยซูคริสต์เหนือปฏิปักษ์ของพระองค์ ไม่ช่วยให้พระองค์รอดพ้นจากศัตรูและกู้พระองค์ให้พ้นจากคนทารุณโหดร้ายเหล่านั้นเล่า!
ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ได้บันทึกท่าทีของพระเยซูคริสต์ขณะถูกสอบสวนต่อหน้าพวกมหาปุโรหิตตลอดจนการไต่ถามของปีลาตเอาไว้ว่า :
“มหาปุโรหิตประจำการจึงลุกขึ้นถามพระองค์ว่า “ท่านจะไม่แก้ตัวในข้อหาที่พยานเขาตั้งมานี้หรือ” แต่พระเยซูทรงนิ่งอยู่” (มัทธิว 26 : 62-63)
“ปิลาตจึงกล่าวแก่พระองค์ว่า “ซึ่งเขาได้กล่าวคำปรักปรำท่านเป็นหลายประการนี้ท่านไม่ได้ยินหรือ” แต่พระองค์มิได้ตรัสตอบสักคำเดียว เจ้าเมืองจึงอัศจรรย์ใจนัก”  (มัทธิว 27 : 13-14)
“มหาปุโรหิตประจำการจึงลุกขึ้นยืนท่ามกลางที่ชุมนุมถามพระเยซูว่า”ท่านไม่แก้ตัวในข้อหาที่พยานเขาตั้งมานี้หรือ” แต่พระองค์ทรงนิ่งอยู่มิได้ตอบประการใด…” (มาระโก 14 : 60-61)
“ปีลาตจึงถามพระองค์อีกว่า “ท่านไม่ตอบอะไรหรือ ดูแนะ เขากล่าวคำปรักปรำท่านหลายประการที่เดียว” แต่พระเยซูมิได้ตรัสตอบประการใดอีก ปีลาตจึงอัศจรรย์ใจ” (มาระโก 15 : 4-5)
“ถ้าท่านเป็นพระคริสต์จงบอกเราเถิด” แต่พระองค์ทรงตอบเขาว่า “ถึงเราจะบอกท่าน ท่านก็จะไม่เชื่อ และถึงเราถามท่าน ท่านก็จะไม่ตอบเรา” (ลูกา 22 : 67-68)
“เมื่อเฮโรดได้เห็นพระเยซูก็มีความยินดีมาก ท่านจึงซักถามพระองค์เป็นหลายข้อ แต่พระองค์หาทรงตอบประการใดไม่ (ลูกา 23 : 8-9) ข้อความในพระคริสตธรรมคัมภีร์ทั้ง 3 ฉบับนี้บันทึกว่าพระเยซูคริสต์ทรงนิ่งและไม่ตอบคำถามเสียส่วนมาก จะมีตอบอยู่บ้างก็น้อยครั้ง แต่ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับของยอห์นนั้น พระเยซูคริสต์ทรงตอบเสียส่วนมากและดูเหมือนจะตรัสสู้อยู่โดยตลอด ไม่ว่าจะต่อหน้าพวกมหาปุโรหิตหรือต่อหน้าปีลาตเจ้าเมือง
    เป็นเรื่องน่าคิดว่า ด้วยเพราะเหตุอันใด พระเยซูคริสต์จึงนิ่งเงียบเสียมากและไม่ค่อยตอบคำถามของคนเหล่านั้นในเมื่อพระองค์ได้ตรัสถึงหมายสำคัญ และการข่มเหงโดยตรัสกับสาวกของพระองค์ว่า
“เหตุฉะนั้นท่านทั้งหลายต้องปลงใจไว้ว่า จะไม่คิดนึกก่อนว่าจะแก้ตัวอย่างไร ด้วยว่าเราจะให้ปากและปัญญาแก่ท่าน ซึ่งศัตรูทั้งหลายของท่านจะต่อต้านและคัดค้านไม่ได้” (ลูกา 21 : 14-15)
“แต่เมื่อเขาอายัดท่านไว้นั้น อย่าเป็นกังวลว่าจะพูดอย่างไร เพราะเมื่อถึงเวลาคำที่ท่านจะพูดนั้นพระเจ้าจะทรงประทานแก่ท่านในเวลานั้น เพราะว่าผู้ที่พูดมิใช่ตัวท่านเอง แต่เป็นพระวิญญาณแห่งพระบิดาของท่าน ผู้ตรัสทางท่าน” (มัทธิว 10 : 19-20)
ปากและปัญญาที่พระเยซูจะทรงประทานให้แก่สาวกของพระองค์ซึ่งศัตรูทั้งหลายของพวกเขาจะต่อต้านและคัดค้านไม่ได้ แต่เหตุไฉนพระเยซูผู้ทรงประทานปากและปัญญานั้นจึงนิ่งเงียบ และเมื่อพระองค์เอ่ยปากตอบพวกนั้น ทำไมพวกนั้นจึงต่อต้านและคัดค้านพระองค์ได้ มิหนำซ้ำ พวกนั้นบางคนตบปากของพระองค์เสียอีก และด้วยเหตุใดในเวลาคับขันเช่นนั้นพระวิญญาณแห่งพระบิดาของพระองค์จึงไม่ตรัสทางพระองค์เล่า การนิ่งเงียบและไม่ตอบคำถามให้พวกนั้นจนมุมและหมดหนทางทำไมจึงเกิดขึ้นกับพระองค์ หรือว่านั่นไม่ใช่พระเยซูคริสต์จริงๆ แต่เป็นผู้อื่นที่ถูกจับกุมและอายัดแทนพระองค์ อาจมีคำถามว่า ที่พระองค์ทรงตอบคำถามนั้นก็มีโดยเฉพาะพระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับยอห์นก็บันทึกเอาไว้ว่าพระองค์มิได้ทรงนิ่งเงียบแต่ตอบคำถามแก่พวกอธรรมนั้น ข้อนี้ก็อธิบายได้เช่นกันว่า ผู้ที่ถูกอายัดจับกุมมิใช่องค์พระเยซู แต่เป็นคนหนึ่งจากสาวกของพระองค์ซึ่งอาจจะเป็นยูดาส อิสคาริโอทที่บารนาบัสบันทึกว่าใบหน้าของเขาและสุ่มเสียงคำพูดคำจาของเขาถูกทำให้คล้ายกับพระเยซู สิ่งที่ยูดาส ตอบก็เป็นสิ่งที่ยูดาสเคยได้ยินและรับฟังจากคำสอนของพระเยซูเพราะเขาเป็นหนึ่งในสาวกสิบสองคนของพระองค์นั่นเอง จึงมิใช่เรื่องแปลกที่ยูดาสจะนำเอาถ้อยคำที่ตนได้จดจำจากคำสอนของพระเยซูมาตอบกับคนพวกนั้น ซึ่งบางคำตอบก็ไม่บ่งชัดว่ามีการยอมรับว่าผู้ที่กำลังตอบหรือพูดนั้นคือ พระเยซูคริสต์ ดังเช่นคำตอบที่มีแก่ปีลาตซึ่งถามพระองค์ว่า “ท่านเป็นกษัตริย์ของพวกยิวหรือ?” พระเยซูตอบว่า “ท่านถามอย่างนั้นตามความเข้าใจของท่านเองหรือ หรือว่าคนอื่นบอกท่านถึงเรื่องของเรา” (ยอห์น 18 : 33-34) “ท่านพูดว่าเราเป็นกษัตริย์” (ยอห์น 18 : 37) “ก็ท่านว่าแล้วนี่” (ลูกา 23 : 3) “ก็ท่านว่าแล้วว่าเราเป็น” (ลูกา 22 : 70) “เราเป็นและท่านทั้งหลายจะได้เห็นบุตรมนุษย์นั่งข้างขวาของผู้ทรงฤทธานุภาพ และเสด็จมาในเมฆแห่งฟ้าสวรรค์” (มาระโก 14 : 62) เป็นต้น สังเกตได้ว่าพระองค์ไม่ตอบคำถามตรงๆ เกี่ยวกับสถานภาพของพระองค์ แต่จะกล่าวตอบแบบทวนคำถามบ้าง ตอบไม่ชัดเจนและเบี่ยงเบนบ้าง เพราะคำว่า “เราเป็น” โดไม่ยบ่งชัดว่าเป็นใคร? นั้นสามารถตีความได้ แล้วก็ตอบเรื่องอื่นคือเรื่องบุตรมนุษย์จะนั่งข้างขวาพระผู้เป็นเจ้า!
การสอบสวนพิพากษาพระเยซูคริสต์ในสภา
ปีลาต ผู้เป็นเจ้าเมืองได้สอบถามพระเยซูคริสต์เมื่อพวกมหาปุโรหิตและพวกธรรมาจารย์พาพระองค์ไปพบปีลาตแล้วพวกเขาก็ฟ้องร้องพระองค์ว่ายุยงชาวยิวมิให้ส่งส่วยแก่ซีซาร์และอ้างว่าตัวเองเป็นพระคริสต์กษัตริย์องค์หนึ่ง (ลูกา 23 : 1-2) ปีลาตจึงถามว่า “ท่านเป็นกษัตริย์ของพวกยิวหรือ? พระองค์ตรัสตอบว่า “ก็ท่านว่าแล้วนี่” เพียงเท่านี้ ปีลาตก็กล่าวแก่มหาปุโรหิตและประชาชนว่า “เราไม่เห็นว่าคนนี้มีความผิด” แต่พวกนั้นยังคงกล่าวหาและเอ่ยว่าพระองค์ยุยงผู้คนทั่วตลอดยูเดียตั้งแต่กาลิลีจนถึงเยรูซาเล็ม (ลูกา  23 : 3-5) ปีลาตจึงสอบถามว่า พระองค์เป็นชาวกาลิลีหรือ เมื่อทราบแล้วจึงส่งพระองค์ไปหาเฮโรด เพราะพระเยซูเป็นคนในท้องที่ของเฮโรด และขณะนั้นเฮโรดกำลังพักอยู่ในกรุงเยรูซาเล็ม เมื่อเฮโรดได้เห็นพระเยซูก็มีความยินดีมาก ด้วยนานมาแล้วท่านอยากจะพบพระองค์ เพราะได้ยินถึงพระองค์และหวังว่าคงจะได้เห็นพระองค์ทำหมายสำคัญบ้าง (ลูกา23 : 8) เรื่องราวตรงช่วงนี้มีลูกาเท่านั้นที่บันทึกไว้เกี่ยวกับการพบเฮโรดของพระเยซู สิ่งที่น่าแปลกใจก็คือ เฮโรดไม่เคยพบพระเยซูมาก่อนหน้านี้ ทั้งๆที่เฮโรดปกครองเขตแคว้นกาลิลีที่พระเยซูเที่ยวสั่งสอนผู้คนที่นั่นตลอดจนกระทำหมายสำคัญมากมาย ลูกาบันทึกว่าเฮโรดได้ยินกิตติศัพท์ของพระเยซูจึงมีความยินดีและอยากจะพบพระองค์มานานแล้ว ดูเหมือนว่าเฮโรดคงหลงลืมหรือไม่ก็นึกไม่ถึงว่าพระเยซูก็คือพระกุมารที่พวกโหราจารย์ทำนายว่าพระองค์จะเป็นกษัตริย์ของชาวยิว (มัทธิว 2 : 2-3) แล้วเฮโรดก็ใช้ให้คนไปฆ่าเด็กผู้ชายทั้งหลายตั้งแต่อายุ 2 ขวบลงมาที่เมืองเบธเลเฮม (มัทธิว 2 : 16-18) ความยินดีของเฮโรดในขณะนั้นกับการกระทำที่เกิดขึ้น ณ เบธเลเฮมจึงดูขัดกัน และสิ่งที่ขัดกันยิ่งไปกว่านั้นก็คือ เฮโรดยังมีชีวิตอยู่ในเวลานั้นได้อย่างไร ทั้งๆที่เฮโรดสิ้นพระชนม์ไปก่อนหน้านั้นแล้วตามที่มัทธิวบันทึกเอาไว้ว่า : ครั้นเฮโรดสิ้นพระชนม์แล้ว ฑูตองค์หนึ่งของพระเป็นเจ้ามาปรากฏในความฝันแก่โยเซฟที่ประเทศอียิปต์สั่งว่า “จงลุกขึ้นพากุมารกับมารดามายังแผ่นดินอิสราเอล เพราะผู้ที่เป็นภัยต่อชีวิตของพระกุมารนั้นตายแล้ว” (มัทธิว 2 : 20) บันทึกของมัทธิวระบุชัดว่าเฮโรดสิ้นพระชนม์ไปนั้บตั้งแต่พระเยซูยังทรงพระเยาว์อยู่ แล้วเฮโรดจะมาปรากฏตัวอยู่ที่เยรูซาเล็มในช่วงการพิพากษาพระเยซูคริสต์ได้อย่างไร? ความจริงแล้ว กษัตริย์ของชาวยิวที่มีพระนามว่า เฮโรดนั้นมีถึง 4 พระองค์ คือ เฮโรดที่ 1 มหาราช (72-4 ก่อนคริสตกาล) เฮโรดพระองค์นี้แหละที่มีบัญชาให้สังหารทารกในเมืองเบธเลเฮม เฮโรดที่ 2 นี้มี  พระนามว่า อันตีปาส (20 ก่อนคริสตกาล – 39) เป็นผู้สั่งตัดศีรษะของยอห์นผู้ให้รับบัพติศมาและเป็นผู้ที่ปกครองพื้นที่เขตกาลิลี ดังนั้นการที่พระคริสตธรรมคัมภีร์ระบุเพียงคำว่า กษัตริย์  เฮโรดจึงทำให้เข้าใจว่าเป็นคนๆ เดียวกันแต่ความจริงเป็นคนละคน ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่ว่า  เฮโรดอันตีปาสไม่เคยพบพระเยซูมาก่อน ได้แต่ยินกิตติศัพท์ของพระองค์เท่านั้น ทั้งๆ ที่ตนเป็นผู้ปกครองแคว้นกาลิลีซึ่งพระเยซูคริสต์เที่ยวสั่งสอนและแสดงหมายสำคัญอยู่ที่นั่นมากที่สุด และความยินดีของเฮโรดที่อยากจะพบพระเยซูนั้นก็ดูเหมือนว่า เฮโรดอันตีปาสไม่ได้รับรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยพระราชบิดาของพระองค์คือ เฮโรดที่ 1 ซึ่งหวั่นเกรงคำทำนายถึงเรื่องพระกุมารผู้ที่จะเป็นกษัตริย์แห่งอิสราเอลจึงนำไปสู่การสังหารทารกที่เบธเลเฮม อย่างไรก็ตามเฮโรดอันตีปาสได้ซักถามพระเยซูหลายข้อ แต่พระเยซูหาทรงตอบประการใดไม่ (ลูกา 23 : 9) เป็นเรื่องน่าคิดว่าเพราะเหตุใดพระเยซูไม่ตอบในเมื่อพระองค์มีพระวิญญาณบริสุทธิ์สถิตย์อยู่กับพระองค์ หรือว่าผู้นั้นมิใช่พระเยซูกันแน่! ต่อมาพระเยซูถูกส่งตัวไปหาปีลาต ซึ่งเรียกประชุมใหญ่ ปีลาตยืนยันว่าพระเยซูไม่มีความผิดและประสงค์จะปล่อยพระองค์แต่ผู้คนยืนยันให้ปล่อยบารับบัสที่เป็นนักโทษคดีหนัก ปีลาสยืนยันถึง 3 ครั้งแต่ไร้ผล เพราะประชาชนต้องการให้จับพระเยซูตรึงกางเขน บารับบัสถูกปล่อย ส่วนพระเยซูนั้นปีลาตมอบให้ตามใจของประชาชนในการสำเร็จโทษพระองค์ (ลูกา 23 : 13-25) มัทธิวบันทึกว่า เมื่อปีลาตเห็นว่าไม่ได้การมีแต่จะเกิดวุ่นวายหนักขึ้น จึงเอาน้ำล้างมือต่อหน้าหมู่ชน และประกาศว่าตนไม่มีส่วนร่วมในเรื่องนี้ (มัทธิว 27 : 24) ดูเอาเถิด! ปีลาตผู้มีอำนาจทำได้เพียงแค่เอาน้ำล้างมือของตนและประกาศว่าตนไม่มีส่วนรับผิดชอบ!
การสิ้นพระชนม์ของพระเยซูคริสต์บนไม้กางเขน
เราขอตัดเหตุการณืต่อจากการพิพากษาพระเยซูมาสู่เหตุการณ์ขณะจะสิ้นพระชนม์ตามที่พระคริสตธรรมคัมภีร์บันทึกเอาไว้
*มัทธิว
“แล้วก็บังเกิดมืดมัวทั่วแผ่นดิน ตั้งแต่เวลาเที่ยงวันจนถึงบ่ายสามโมง ครั้นประมาณบ่ายสามโมง พระเยซูทรงร้องเสียงดังว่า “เอลี เอลี ลามา สะบักธานี” แปลว่า “พระเจ้าของข้าพระองค์ พระเจ้าของข้าพระองค์ ไฉนทรงทอดทิ้งข้าพระองค์เสีย” (มัทธิว 27 : 45-46) ฝ่ายพระเยซูร้องเสียงดังอีกครั้งหนึ่งแล้วสิ้นพระชนม์ (มัทธิว 27 : 50)
“และดูเถิด ม่านในพระวิหารก็ขาดออกเป็นสองท่อน ตั้งแต่บนตลอดล่าง แผ่นดินก็ไหว ศิลาก็แตกออกจากัน”
“อุโมงค์ฝังศพก็เปิดออก ศพของธรรมิกชนหลายคนที่ล่วงลับไปแล้วได้เป็นขึ้นมา” (มัทธิว : 51-52)

*มาระโก
“ครั้นเวลาเที่ยงก็บังเกิดมืดมัวทั่วแผ่นดินจนถึงบ่ายสามโมง พอบ่ายสามโมงแล้ว พระเยซูทรงร้องเสียงดังว่า “เอโลอี เอโลอี สะบักธานี” แปลว่า “พระเจ้าของข้าพระองค์ พระเจ้าของข้าพระองค์ไฉนทรงทอดทิ้งข้าพระองค์เสีย”
“ฝ่ายพระเยซูทรงร้องเสียงดัง แล้วก็สิ้นพระชนม์” ขณะนั้นม่านในพระวิหารก็ขาดออกเป็นสองท่อนตั้งแต่บนตลอลล่าง” (มาระโก 15 : 33-34 , 37-38)
ข้อสังเกต มาระโกมิได้บันทึกสิ่งอัศจรรย์ที่เกิดขึ้น ซึ่งมัทธิวบันทึกไว้ เช่น แผ่นดินไหว ศิลาแตกออก อุโมงค์ฝังศพเปิดออก และศพคนที่ตายไปแล้วฟื้นขึ้น!
*ลูกา
“เวลานั้นประมาณเวลาเที่ยง ก็บังเกิดมืดมัวทั่วแผ่นดิน จนถึงบ่ายสามโมง ดวงอาทิตย์ก็มืดไป ม่านในพระวิหารก็ขาดตรงกลาง พระเยซูทรงร้องเสียงดังตรัสว่า “พระบิดาเจ้าข้า ข้าพระองค์ฝากวิญญาณจิตของข้าพระองค์ไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์” ตรัสอย่างนั้นแล้วก็สิ้นพระชนม์   (ลูกา 23 : 44-46)
ข้อสังเกต ลูกาไม่ได้บันทึกถึงเรื่องราวอัศจรรย์อยางที่มัทธิวบันทึก และประโยคสุดท้ายที่พระเยซูตรัสก่อนสิ้นพระชนม์ก็แตกต่างจากบันทึกของมัทธิวกับมาระโก!
*ยอห์น
“หลังจากนั้นพระเยซูทรงทราบว่าทุกสิ่งสำเร็จแล้วเพื่อให้เป็นจริงตามพระธรรม พระองค์จึงตรัสว่า “เรากระหายน้ำ” (ยอห์น 19 : 28) เมื่อพระเยซูทรงรับน้ำส้มองุ่นแล้วพระองค์ทรงตรัสว่า “สำเร็จแล้ว” และทรงก้มพระเศียรลงสิ้นพระชนม์” (ยอห์น 19 : 30)
ข้อสังเกต ยอห์นไม่ได้บันทึกสิ่งอัศจรรย์ใดๆ เลย แม้แต่น้อย แตกต่างจากผู้บันทึกทั้ง 3 ท่าน และประโยคสุดท้ายของพระเยซูคริสต์ที่ทรงตรัสก็คือ “สำเร็จแล้ว” จึงเห็นได้ว่า เหตุการณ์ตรึงกางเขนพระเยซูซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดสำหรับหลักความเชื่อของคริสตชน พระคริสตธรรมคัมภีร์กลับบันทึกขัดแย้งกันเอง หากเราอ่านเฉพาะฉบับของยอห์นเพียงฉบับเดียว เราจะไม่ทราบรายละเอียดใดๆ เลย แต่เมื่ออ่านฉบับของมัทธิวซึ่งให้รายละเอียดมากที่สุดเพราะบันทึกสิ่งอัศจรรย์ที่เกิดขึ้นในเวลานั้นมากกว่าผู้บันทึกฉบับอื่นๆ ก็ทำให้เกิดความน่ากังขาอีกว่า สิ่งที่มัทธิวบันทึกนั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่? ถ้าจริงผู้บันทึกฉบับอื่นๆ ก็ไม่น่าจะพลาดในการบันทึกสิ่งเหล่านั้น ถ้าไม่จริง ก็แสดงว่าข้อความในช่วงนี้มัทธิวเพิ่มเติมเอาเอง! ประเด็นอัศจรรย์ที่ มัทธิว มาระโก และลูกา บันทึกไว้ตรงกันคือ
เวลาเที่ยงถึงบ่ายสามโมงเกิดมืดมัวทั่วแผ่นดิน
ม่านในพระวิหารขาดลง
ประโยคสุดท้ายที่พระเยซูตรัสก่อนสิ้นพระชนม์นั้น มัทธิวกับมาระโกบันทึกตรงกัน ในขณะที่ลูกาบันทึกข้อความที่มิใช่คำฮิบรูและมีถ้อยคำมากกว่า
พระเยซูทรงร้องเสียงดังด้วยการตรัสประโยคสุดท้ายก่อนสิ้นพระชนม์
ในส่วนของพระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับยอห์นนั้นไม่มีการบันทึกในเรื่องที่กล่าวมาเลย และประโยคสุดท้ายที่ตรัสก่อนสิ้นพระชนม์คือ “สำเร็จแล้ว” โดยไม่ได้ส่งเสียงดังแต่ประการใด! ทำไมเหตุการณ์ที่สำคัญเช่นนี้ซึ่งเป็นเหตุการณ์เดียวกันจึงมีความแตกต่างกัน สิ่งที่อธิบายได้อย่างหนึ่งก็คือ ผู้บันทึกคัมภีร์ทั้ง 4 ท่านไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์นี้ แต่รับฟังมาจากคำบอกเล่าของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ซึ่งอาจจะเห็นไม่เหมือนกัน และพระคริสตธรรมก็บันทึกอีกด้วยว่า “ที่นั่นมีหญิงหลายคนที่ได้ติดตามพระองค์จากกาลิลี เพื่อจะปรนนิบัติพระองค์มองดูอยู่แต่ไกล” (มัทธิว 27 : 55)
“คนทั้งปวงที่รู้จักพระองค์ แล้วพวกผู้หญิงซึ่งได้ตามพระองค์มาจากกาลิลีก็ยืนอยู่แต่ไกลมองเห็นเหตุการณ์เหล่านั้น (ลูกา 23 : 49)
“มีพวกผู้หญิงมองดูอยู่แต่ไกล….” (มาระโก 15 :40)
ในกรณีของคำอธิบายที่ว่า ผู้บันทึกพระคริสตธรรมคัมภีร์ไม่ได้อยู่ร่วมในเหตุการณ์ เราจะได้กล่าวถึงต่อไป อินชาอัลลอฮฺ แต่ในกรณีของผู้ร่วมเหตุการณ์นั้น พระคัมภีร์ระบุเองว่าพวกเขาไม่ได้อยู่ใกล้กับที่ตรึงกางเขนของพระเยซูจนกระทั่งสามารถที่จะได้ยินทุกถ้อยคำของพระองค์ แต่พวกเขามองดูอยู่แต่ไกล การอยู่ร่วมเหตุการณ์ในสภาพที่ยืนอยู่ไกลนั้นทำให้ความน่าเชื่อถือของการบอกเล่าเหตุการณ์ที่เป็นไปอย่างละเอียดกลายเป็นสิ่งที่น่ากังขายิ่งนัก!
การคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์
เราขอก้าวผ่านช่วงการฝังศพมาถึงเหตุการณ์สำคัญที่สุดอีกเหตุการณ์หนึ่งนั่นคือ การฟื้นคืนชีพของพระเยซู ซึ่งพระคริสตธรรมคัมภีร์ ระบุเอาไว้ดังนี้
*มัทธิว
“ภายหลังวันสะบาโต เวลาใกล้รุ่งเช้าวันต้นสัปดาห์ มารีย์ชาวมักดาลากับมารีย์อีกคนหนึ่งนั้นมาดูอุโมงค์
ในทันใดนั้นได้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ยิ่งนัก มีฑูตของพระเจ้าองค์หนึ่งได้ลงมาจากสวรรค์กลิ้งก้อนหินนั้นออกจากปากอุโมงค์แล้วก็นั่งอยู่บนหินนั้น
สัณฐานของฑูตนั้นเหมือนแสงฟ้าแลบ เสื้อก็ขาวเหมือนหิมะ ยามที่เฝ้าอยู่นั้นกลัวฑูตองค์นั้นจนตัวสั่นและเป็นเหมือนคนตาย ฑูตสวรรค์จึงกล่าวแก่หญิงนั้นว่า “อย่ากลัวเลย เรารู้แล้วว่าพวกเจ้าทั้งหลายมาหาพระเยซู ซึ่งถูกตรึงไว้ที่กางเขน” พระองค์หาได้ประทับอยู่ที่นี่ไม่ ทรงเป็นขึ้นมาแล้วตามซึ่งพระองค์ได้ตรัสไว้นั้น….” (มัทธิว 28 : 1-6)
*มาระโก
    “ครั้นวันสะบาโตล่วงไปแล้ว มารีย์ชาวมักดาลา มารีย์มารดาของยากอบ และนางสะโลเม ซึ้อเครื่องหอมมาเพื่อจะไปชโลมพระศพของพระองค์ เวลารุ่งเช้า วันต้นสัปดาห์ พอดวงอาทิตย์ขึ้น เขาก็มาถึงอุโมงค์ และเขาพูดกันอยู่ว่า ใครจะช่วยกลิ้งก้อนหินออกจากปากอุโมงค์” เมื่อเขามองดูก็เห็นก้อนหินนั้นกลิ้งออกแล้ว เพราะเป็นก้อนหินโตมาก ครั้นเขาเข้าไปในอุโมงค์แล้ว ได้เห็นหนุ่มคนหนึ่งนุ่งห่มผ้ายาวสีขาวนั่งอยู่ข้างขวา ผู้หญิงนั้นก็ตกตะลึง ฝ่ายคนหนุ่มนั้นบอกเขาว่า “อย่าตกตะลึงเลย พวกเจ้าทั้งหลายมาหาพระเยซูชาวนาซาเร็ธซึ่งต้องตรึงไว้ที่กางเขน พระองค์ทรงเป็นขึ้นมาแล้ว หาได้ประทับที่นี่ไม่…” (มาระโก 16 : 1-6)
*ลูกา
    “แต่เช้ามืด ในวันต้นสัปดาห์ ผู้หญิงเหล่านั้นจึงนำเครื่องหอมที่เขาได้จัดเตรียมไว้มาถึงอุโมงค์ เขาหล่านั้นเห็นก้อนหินกลิ้งออกพ้นปากอุโมงค์แล้ว และเมื่อเข้าไปมิได้เห็นพระศพของพระเยซูเจ้า เมื่อเขากำลังคิดฉงนด้วยเหตุการณ์นั้น ดูเถิดมีชายสองคนยืนอยู่ใกล้เขา เครื่องนุ่งห่มแพรวพราวจนพร่าตา ชายสองคนจึงพูดกับเขาว่า “พวกท่านแสวงหาคนเป็นในพวกคนตายทำไมเล่า” ….” (ลูกา 24 : 1—5)
    ผู้ที่ได้บอกเหตุการณ์นั้นแก่อัครฑูตคือ มารีย์ ชาวมักดาลา โยอันนา มารีย์มารดาของยากอบ และหญิงอื่นๆ ที่อยู่กับเขา (ลูกา 24 : 10)
*ยอห์น
    “วันอาทิตย์เวลาเช้ามืด มารีย์ชาวมักดาลามาถึงอุโมงค์ฝังศพ นางเห็นหินออกจากปากอุโมงค์อยู่แล้ว
    นางจึงวิ่งไปหาซีโมนเปโตรและสาวกอีกคนหนึ่งที่พระเยซูทรงรักนั้น และพูดกับเขาว่า “เขาเอาองค์พระผู้เป็นเจ้าออกไปจากอุโมงค์แล้ว และพวกเราไม่รู้ว่าเขาเอาพระองค์ไปไว้ที่ไหน” เปโตรจึงออกไปยังอุโมงค์กับสาวกคนนั้น เขาวิ่งไปทั้งสองคน แต่สาวกคนนั้นวิ่งเร็วกว่าเปโตรจึงมาถึงอุโมงค์ก่อน เขาก้มลงมองดูเห็นผ้าป่านวางอยู่ แต่เขาไม่ได้เข้าไปข้างใน ซีโมนเปโตรตามมาถึงภายหลังแล้ว เข้าไปในอุโมงค์เห็นผ้าป่านวางอยู่และผ้าพันพระเศียรของพระองค์ไม่ได้วางอยู่กับผ้าอื่น แต่พับไว้ต่างหาก แล้วสาวกคนนั้นที่มาถึงก่อนก็ตามเข้าไปด้วย เขาได้เห็นและได้เชื่อ (ยอห์น 20 : 1-8)
    ฝ่ายมารีย์ยังยืนร้องไห้อยู่นอกอุโมงค์ ขณะที่เธอร้องไห้อยู่เธอก้มลงมองดูที่อุโมงค์ และได้เห็นฑูตสวรรค์สององค์สวมเสื้อขาวนั่งอยู่ ณ ที่ซึ่งเขาวางพระศพพระเยซูองค์หนึ่งอยู่เบื้องพระเศียร องค์หนึ่งอยู่เบื้องพระบาท  (ยอห์น 20 : 11-12) เมื่อมารีย์พูดอย่างนั้นแล้ว ก็เห็นองค์พระเยซู…พระเยซูตรัสถามว่า หญิงเอ๋ย ร้องไห้ทำไม เจ้าตามหาผู้ใด มารีย์สำคัญว่าพระองค์เป็นคนทำสวน……… (ยอห์น 20 : 14-15) มารีย์ มักดาลาจึงไปบอกพวกสาวกว่า ข้าพเจ้าได้เห็นองค์พระผู้เป็นเจ้าแล้ว…”  (ยอห์น 20 : 18)    
ข้อสังเกต เหตุการณ์ฟื้นคืนชีพของพระเยซูคริสต์ตามที่พระคริสตธรรมคัมภีร์ทั้ง 4 ฉบับบันทึกไว้นั้น เมื่อผู้อ่านได้เปรียบเทียบเรื่องราวที่เกิดขึ้นระหว่าง 4 ฉบับ ผู้อ่านก็จะพบกับความแตกต่างและความขัดแย้งระหว่างกันได้โดยไม่ยาก ซึ่งพอจะกล่าวได้ดังนี้
มัทธิวบันทึกว่า “เวลาใกล้รุ่งเช้า” มาระโก บันทึกว่า “เวลารุ่งเช้า…พอดวงอาทิตย์ขึ้น”          ลูกา บันทึกว่า “แต่เช้ามืด” ยอห์นบันทึกว่า “เวลาเช้ามืด” มัทธิว ลูกา และยอห์น บันทึกเวลาใกล้เคียงกัน แต่มาระโกผู้เดียวที่บันทึกว่าดวงอาทิตย์ขึ้นแล้ว
มัทธิวบันทึกว่า มารีย์ชาวมักดาลากับมารีย์อีกคนหนึ่งนั้นมาดูอุโมงค์ มาระโกบันทึกว่า มารีย์ชาวมักดาลา มารีย์มารดาของยากอบและนางสะโลเม ส่วนลูกาบันทึกว่า มารีย์ชาวมักดาลา โยอันนา มารีย์มารดาของยากอบและผู้หญิงอื่นๆ ที่อยู่กับเขา ในขณะที่ยอห์นบันทึกว่า มารีย์ชาวมักดาลามาที่อุโมงค์เพียงคนเดียว
มัทธิวบันทึกว่าเกิดแผ่นดินไหวใหญ่มาก มีฑูตสวรรค์ลงมากกลิ้งก้อนหินออกจากปากอุโมงค์และนั่งอยู่บนก้อนหินนั้น ยามที่เฝ้าอยู่ตกใจกลัว แล้วฑูตสวรรค์ก็กล่าวกับหญิง 2 คนนั้น มาระโกบันทึกว่า เมื่อ 3 คนมาถึงก็พบว่าหินได้ถูกกลิ้งออกจากปากอุโมงค์แล้ว เมื่อเข้าไปในอุโมงค์ก็พบชายหนุ่มนุ่งห่มผ้าสีขาวนั่งอยู่ ลูกาบันทึกว่า เมื่อเหล่าผู้หญิงมาถึงก็พบว่าหินกลิ้งออกจากปากอุโมงค์แล้ว เข้าไปในอุโมงค์ก็ไม่พบศพของพระเยซู ขณะที่กำลังคิดฉงนอยู่นั้นก็มีชายสองคนปรากฏยืนอยู่ใกล้พวกนาง ส่วนยอห์นบันทึกว่า มารีย์มักดาลาเห็นหินเปิดออกจากอุโมงค์แล้ว จึงวิ่งไปบอกซีโมนเปโตรกับสาวกอีกคนหนึ่ง เห็นได้ว่า มาระโก ลูกา และยอห์นไม่ได้บันทึกเรื่องแผ่นดินไหวใหญ่ มีแต่มัทธิวผู้เดียวที่บันทึก ฑูตสวรรค์มีคนเดียว ในขณะที่บางฉบับบันทึกว่ามี 2 คน ฑูตสวรรค์นั่งอยู่บนก้อนหินก็มีบันทึก ฑูตสวรรค์อยู่ในอุโมงค์นั่งอยู่ทางขวา และบางฉบับก็ว่าฑูตสวรรค์ 2 องค์ในรูปชายปรากฏตัวยืนอยู่ใกล้ๆ ส่วนยอห์นบันทึกว่า ฑูตสวรรค์มาปรากฏกาย 2 องค์ในตอนหลังขณะที่มารีย์ มักดาลายืนร้องไห้อยู่ปากอุโมงค์ และพระเยซูก็เสด็จมาปรากฏด้วย ในขณะที่ 3 ฉบับมิได้บันทึกว่าพระเยซูมาปรากฏกายในเวลานั้นเลย ทั้งหมดที่กล่าวมาบ่งชี้ชัดเจนถึงความสับสน ขัดแย้ง และแตกต่างในรายละเอียดของเหตุการณ์ ซึ่งยากในการที่จะลำดับเรื่องทั้ง 4 ฉบับให้เข้ากัน และดูเหมือนว่าเหตุการณ์ในตอนฟื้นคืนชีพของพระเยซูคริสต์ตามที่พระคัมภีร์ทั้ง 4 ฉบับบันทึกเอาไว้มีรายละเอียดที่ขัดแย้งกันมากที่สุดก็ว่าได้ ทั้งๆ ที่เหตุการณ์นี้มีความสำคัญกับชาวคริสต์เป็นอย่างมากเพราะเป็นหลักมูลฐานในเรื่องความเชื่อและการศรัทธาต่อพระเยซูคริสต์ และการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูคริสต์บนไม้กางเขนนี้เองเป็นสิ่งที่          ตอกย้ำถึงการไม่ยอมรับของชาวยิวที่มีต่อพระองค์ เพราะชาวยิวถือว่าผู้ที่ถูกตรึงกางเขนนั้นเป็นผู้ที่พระผู้เป็นเจ้าทรงสาปแช่ง ดังปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์เดิมว่า “ถ้าคนใดได้กระทำความผิดอันมีโทษถึงตาย และเขาถูกประหารชีวิต และแขวนเขาไว้ที่ต้นไม้ อย่าให้ศพค้างอยู่ที่ต้นไม้ข้ามคืน ท่านจงฝังเขาเสียในวันเดียวกันนั้น ด้วยว่าผู้ที่ต้องถูกแขวนไว้บนต้นไม้ก็ต้องถูกสาปแช่งโดยพระเจ้า” (เฉลยธรรมบัญญัติ 21 : 22)
                ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้เปาโลกล่าวว่า : “พระคริสต์ทรงไถ่เราให้พ้นความสาปแช่งแห่งธรรมบัญญัติโดยการที่พระองค์ทรงยอมถูกสาปแช่งเพื่อเรา เพราะพระคัมภีร์เขียนไว้ว่า ทุกคนที่ต้องถูกแขวนไว้บนต้นไม้ต้องถูกสาปแช่ง” (กาลาเทีย 3: 13) (Christ redeemed us from the curse of the law by becoming a curse for us ,for it is written : “Cursed is everyone who is hung on a tree”)    กลายเป็นว่าพระเยซูคริสต์ยอมถูกพระบิดาสาปแช่งเพื่อมนุษย์ให้พ้นความสาปแช่งแห่งธรรมบัญญัติไปเสียอีก การสิ้นพระชนม์และถูกตรึงบนไม้กางเขนของพระเยซูคือความปรารถนาของพวกโหราจารย์ พวกมหาปุโรหิตและธรรมาจารย์เพื่อทำให้พระเยซูคริสต์กลับกลายเป็นคนบาปที่ถูกสาปแช่งตลอดกาล คิดดูเอาเถิด ถ้าผู้ที่ตรึงกางเขนมิใช่พระเยซูคริสต์แต่เป็นคนอื่น และพระเยซูคริสต์ก็ทรงรอดพ้นจากการปองร้ายของพวกยิวไปก่อนหน้าการอายัดจับกุมแล้ว นั่นก็คือความล้มเหลวของพวกยิวโดยสิ้นเชิง และย่อมเป็นคำอธิบายที่สมเหตุสมผลในการที่พระเยซูเป็นเจ้าทรงทำลายแผนการของพวกยิวด้วยฤทธานุภาพของพระองค์ซึ่งช่วยให้พระเยซูคริสต์รอดพ้นจากน้ำมือของพวกอธรรม แต่ถ้าเป็นไปตามความเชื่อของพวกยิวและชาวคริสต์ที่ว่า พระเยซูถูกตรึงกางเขนและถูกแขวนอยู่บนนั้น ชาวยิวย่อมสมปรารถนาเพราะพวกเขาสามารถยัดเยียดการสาปแช่งจากพระเจ้าให้แก่พระเยซูคริสต์ได้สำเร็จตามพระธรรมบัญญัติ ในขณะที่ชาวคริสต์ก็ต้องถลำลึกลงไปอีกในการอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยการเชื่อว่า พระเยซูคริสต์ยอมรับคำสาปแช่งจากพระบิดาเพื่อไถ่ความผิดของมนุษย์ ทั้งๆ ที่ไม่จำเป็นต้องอธิบายเช่นนั้นเลย หากพวกเขาเชื่ออย่างที่มุสลิมเชื่อตามคัมภีร์อัล-กุรอานที่ระบุว่า

ความว่า : “และพวกเขา (ชาวยิว) มิได้สังหารเขา (อีซา) และมิได้ตรึงกางเขนเขา ทว่าได้ถูกทำให้คล้ายคลึงแก่พวกเขาต่างหาก” (อัน-นิสาอฺ 157)
การปรากฏพระองค์ของพระเยซูคริสต์ภายหลังการฟื้นชีพ
หลังเหตุการณ์การฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูจากอุโมงค์ฝังพระศพซึ่งพระคริสตธรรมคัมภีร์บันทึกรายละเอียดเอาไว้จนดูสับสน ผู้บันทึกพระคัมภีร์ก็ระบุถึงการปรากฏของพระองค์แก่บุคคลต่างๆ ดังนี้
*มัทธิว
มัทธิวบันทึกว่า “หญิงเหล่านั้นก็ไปจากอุโมงค์โดยเร็ว ทั้งกลัวทั้งยินดีเป็นอันมาก วิ่งไปบอกพวกสาวกของพระองค์ ดูเถิด พระเยซูได้เสด็จพบเขาและตรัสว่า “จงจำเริญเถิด” หญิงเหล่านั้นก็มากอดพระบาทนมัสการพระองค์ พระเยซูจึงตรัสกับเขาว่า “อย่ากลัวเลย จงไปบอกพวกพี่น้องของเราให้ไปยังกาลิลีจะได้พบเราที่นั่น” (มัทธิว 28 : 8-10)
“แต่สาวกสิบเอ็ดคนนั้น ก็ได้ไปยังกาลิลีถึงภูเขาที่พระเยซูได้ทรงกำหนดไว้ และเมื่อเห็นพระองค์จึงกราบลงนมัสการ แต่บางคนยังสงสัยอยู่ พระเยซูจึงเสด็จเข้ามาใกล้แล้วตรัสกับเขาว่า “ฤทธานุภาพทั้งสิ้นในสวรรค์ก็ดี ในแผ่นดินโลกก็ดีทรงมอบไว้แก่เราแล้ว เหตุฉะนั้น เจ้าทั้งหลายจงออกไปสั่งสอนชนทุกชาติให้เป็นสาวกของเรา ให้รับบัพติศมาในพระนามแห่งพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ สอนให้เขาถือรักษาสิ่งสารพัดซึ่งเราได้สั่งพวกเจ้าไว้ นี่แหล่ะเราจะอยู่กับเจ้าทั้งหลายเสมอไป จนกว่าจะสิ้นยุค” (มัทธิว 28 : 16-20)
*มาระโก
พระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับมาระโกมิได้บันทึกว่าพระเยซูทรงปรากฏแก่บรรดาหญิงเหล่านั้น แต่บันทึกว่า “หญิงเหล่านั้นก็ออกจากอุโมงค์รีบหนีไป เพราะพิศวงตกใจจนตัวสั่น และมิได้พูดกับผู้ใดเพราะเขากลัว” (มาระโก 16 : 8) แล้วมาระโกก็บันทึกต่อมาว่า พระเยซูทรงปรากฏแก่มารีย์ชาวมักดาลา “ครั้นรุ่งเช้าต้นสัปดาห์ เมื่อพระองค์ทรงเป็นขึ้นมาแล้ว พระองค์ทรงสำแดงพระองค์ให้ปรากฏแก่มารีย์ชาวมักดาลาก่อน คือมารีย์คนที่พระองค์ได้ขับผีออกเจ็ดผี มารีย์จึงไปบอกพวกคนที่เคยอยู่กับพระองค์แต่ก่อนเขากำลังร้องไห้เป็นทุกข์อยู่ เมื่อเขาได้ยินว่าพระองค์ทรงพระชนม์มีอยู่ และมารีย์ได้เห็นพระองค์แล้วเขาก็ไม่เชื่อ” (มาระโก  16 :  9-11)
“ภายหลังพระองค์ทรงปรากฏพระกายอีกรูปหนึ่งแก่ศิษย์สองคนเมื่อเขากำลังเดินทางออกไปบ้านนอก ศิษย์สองคนนั้นจึงไปบอกศิษย์อื่นๆ แต่เขามิได้เชื่อ” (มาระโก 16 :  12-13)
“ภายหลังพระองค์ทรงปรากฏแก่สาวกสิบเอ็ดคนนั้นเอง เมื่อเขานั่งรับประทานอยู่ พระองค์ทรงติเตียนเขาเพราะเขาสงสัยและใจดื้อดึง….” (มาระโก  16 :  14)

*ลูกา
ลูกาก็เช่นกัน เขามิได้บันทึกว่าพระเยซูปรากฏพระองค์แด่เหล่าหญิงนั้นที่อุโมงค์ และมิได้ปรากฏแก่มารีย์ชาวมักดาลาเป็นกรณีเฉพาะอีกด้วย สิ่งที่ลูกาบันทึกคือ “เขาจึงรำลึกถึงพระดำรัสของพระองค์ได้ และกลับไปจากอุโมงค์ แล้วบอกเหตุการณ์ทั้งปวงนั้นแก่สาวกสิบเอ็ดคนและคนอื่นๆ ทั้งหลายด้วย” (ลูกา 24 : 8-9) ต่อมาลูกาได้บันทึกการปรากฏพระองค์ของพระเยซูแก่ศิษย์สองคนซึ่งออกไปยังหมู่บ้านที่ชื่อเอมมาอุส (Emmaus)       พระเยซูทรงร่วมดำเนินไปกับศิษย์สองคนนั้น แต่ตาเขาฟางไปและจำพระองค์ไม่ได้ มีการพูดคุยสนทนาไปตลอดทางเมื่อถึงหมู่บ้านเขาจึงชวนพระองค์ให้พำนักอยู่กับเขา พระเยซูก็รับคำเชิญ ต่อมาเมื่อพระองค์เสวยพระกระยาหารกับเขา พระองค์ทรงหยิบขนมปังโมทนาพระคุณแล้วหักส่งให้เขา ตาของเขาก็หายฟางและเขาก็จำพระองค์ได้ แล้วพระองค์ก็อันตรธานไปจากเขา ศิษย์ทั้งสองจึงกลับกรุงเยรูซาเล็ม นำเรื่องที่พบไปบอกเล่าให้พวกสาวกทั้งสิบเอ็ดคนได้รับรู้ ขณะที่กำลังเล่าเหตุการณ์อยู่นั้น พระองค์ทรงยืนอยู่ท่ามกลางพวกเขา พวกเขาตกใจกลัวนึกว่าเห็นผี พระองค์จึงตรัสกับพวกเขาและให้ดูพระวรกายของพระองค์ กระนั้นพวกเขาสาวกก็ยังไม่เชื่อ พระองค์จึงตรัสถามถึงอาหาร พวกเขาจึงเอาปลาย่างชิ้นหนึ่งมาถวาย ในระหว่างนั้นพระองค์ตรัสกับเขา (ลูกา  24 : 13-49)
*ยอห์น
ยอห์นบันทึกว่า ขณะที่มารีย์ชาวมักดาลายังยืนร้องไห้ที่ปากอุโมงค์นั้น พระเยซูทรงปรากฏพระองค์หลังจากที่นางพบกับฑูตสวรรค์สององค์ พระเยซูตรัสกับมารีย์ ซึ่งในตอนแรกนางสำคัญว่าพระองค์เป็นคนทำสวน ต่อมาก็รู้ว่าเป็นพระองค์ นางจึงไปบอกพวกสาวกหลังจากนั้น (ยอห์น 20 : 11-18) แล้วยอห์นก็บันทึกว่า “ค่ำวันนั้นซึ่งเป็นวันอาทิตย์ เมื่อสาวกปิดประตูห้องที่พวกเขาอยู่แล้วเพราะกลัวพวกยิว พระเยซูได้เสด็จมาประทับยืนอยู่ท่ามกลางพวกเขาตรัสว่า “สันติสุขจงดำรงอยู่กับท่านทั้งหลายเถิด” (ยอห์น 20 : 19) แล้วพระองค์ก็ตรัสกับพวกเขา ยอห์นบันทึกว่าโธมัสซึ่งเป็นสาวกคนหนึ่งไม่เชื่อเพราะเขาไม่ได้อยู่ด้วยขณะที่พระเยซูมาปรากฏพระองค์ ครั้นล่วงแปดวันแล้ว พระเยซูก็มาประทับยืนอยู่ท่ามกลางเขา โธมัสอยู่ด้วยในวันนั้นพระองค์จึงตรัสให้โธมัสพิสูจน์พระวรกายของพระองค์ โธมัสจึงเชื่อ (ยอห์น 20:  24-29) ต่อมาพระเยซูทรงสำแดงพระองค์แก่เหล่าสาวกอีกครั้งหนึ่งที่ทะเลทิเบเรียส และยอห์นก็บันทึกว่า “นี่เป็นครั้งที่สามที่พระเยซูทรงสำแดงพระองค์แก่พวกสาวก หลังจากที่ทรงให้พระองค์คืนพระชนม์แล้ว” (ยอห์น 21 : 1-14)
ข้อสังเกต
เมื่อเราได้อ่านพระคริสตธรรมคัมภีร์ทั้ง 4 ฉบับ เปรียบเทียบกันแล้ว เราจะพบความแตกต่างของเหตุการณ์การปรากฏพระองค์ของพระเยซูคริสต์อยู่หลายประเด็นดังนี้
1.มัทธิวบันทึกว่าพระเยซูคริสต์ปรากฏพระองค์แก่เหล่าหญิงที่มายังอุโมงค์ฝังพระศพ ส่วนยอห์นบันทึกว่าพระเยซูเสด็จมาปรากฏพระองค์แก่มารีย์ชาวมักดาลาขณะที่นางยังยืนร้องไห้ที่ปากอุโมงค์เพียงผู้เดียว ส่วนมาระโกกับลูกาไม่ได้บันทึกเช่นกัน ไม่ว่าการปรากฏพระองค์แก่หญิงเหล่านั้นหรือแก่มารีย์ชาวมักดาลา ขณะพวกนางอยู่ที่อุโมงค์ฝังพระศพ มาระโกบันทึกว่าพระเยซูทรงปรากฏแก่มารีย์ชาวมักดาลาโดยไม่ได้บอกว่านางอยู่ที่อุโมงค์หรือไม่
2.มัทธิวบันทึกว่าพวกผู้หญิงเหล่านั้นไปจากอุโมงค์โดยเร็วทั้งกลัวทั้งยินดีเป็นอันมากวิ่งไปบอกพวกสาวกของพระองค์ มาระโกบันทึกว่าพวกผู้หญิงออกจากอุโมงค์รีบหนีไปเพราะพิศวงตกใจจนตัวสั่น และไม่ได้พูดกับผู้ใดเพราะเขากลัว คนที่ไปบอกพวกคนที่เคยอยู่กับพระองค์แต่ก่อนซึ่งกำลังร้องไห้เป็นทุกข์อยู่ (ซึ่งไม่ชัดเจนว่าเป็นอัครฑูตสิบเอ็ดคนนั้นหรือไม่) คือ มารีย์ชาวมักดาลาเพียงผู้เดียว ส่วนลูกาบอกว่าหญิงเหล่านั้น (ออกชื่อไว้เสร็จ) ไปบอกเหตุการณ์ทั้งปวงนั้นแก่สาวกสิบเอ็ดคนและคนอื่นๆ ด้วย ส่วนยอห์นบันทึกว่า หลังจากมารีย์ชาวมักดาลาพบพระเยซูมาปรากฏพระองค์และตรัสกับนางแล้ว มารีย์ก็ไปบอกพวกสาวก ตกลงว่าผู้ไปบอกสาวกของพระเยซูถึงเรื่องที่พระองค์ทรงปรากฏกายนั้นคือ ผู้หญิงเหล่านั้นหรือว่ามารีย์ชาวมักดาลาเพียงผู้เดียวกันแน่
3.มัทธิวไม่ได้บันทึกว่าพระเยซูไปปรากฏพระองค์กับสาวกสองคน ยอห์นก็ไม่ได้บันทึกเช่นกัน ส่วนมาระโกบันทึกถึงการปรากฏของพระเยซูแก่สาวกสองคนโดยกล่าวไว้เพียงสั้นๆ ไม่มีการบันทึกรายละเอียดการพูดคุยสนทนาระหว่างทางของสาวก 2 คน ซึ่งตาฟางจำพระองค์ไม่ได้กับพระเยซูคริสต์ มีเพียงลูกาเท่านั้นที่บันทึกเหตุการณ์นี้ และส่วนหนึ่งจากคำสนทนาของผู้เป็นศิษย์พระเยซูที่สนทนากับพระองค์ในระหว่างทางคือ “ยังมีผู้หญิงบางคนในพวกเรา ที่ได้ทำให้เราประหลาดใจ นางได้ไปที่อุโมงค์เมื่อเวลาเช้ามืด แต่ไม่พบพระศพของพระองค์ จึงมาเล่าว่านางได้เห็นนิมิตเป็นฑูตสวรรค์และฑูตนั้นบอกว่าพระองค์ทรงพระชนม์อยู่ บางคนที่อยู่กับเราก็ไปจนถึงอุโมงค์และได้พบเหมือนพวกผู้หญิงเหล่านั้นได้บอก แต่เขาหาได้เห็นพระองค์ไม่” (ลูกา 24 : 22-24) ข้อความนี้ยืนยันชัดเจนว่าพระเยซูไม่ได้ปรากฏพระองค์แก่หญิงที่มาบอกสาวกของพระองค์ ส่วนบางคนที่ไปยังอุโมงค์นั้นก็คือ ซีโมนเปโตรซึ่งลูกาบันทึกว่าเขาลุกขึ้นไปวิ่งที่อุโมงค์เพียงคนเดียว (ลูกา 24 12) ซึ่งต่างจากสิ่งที่ยอห์นบันทึกไว้ ซีโมนเปโตรกับสาวกอีกคนหนึ่งวิ่งไปยังอุโมงค์หลังจากที่มารีย์ชาวมักดาลาวิ่งไปบอกสาวกทั้งสอง (ยอห์น 20 1-10) ยอห์นบันทึกรายละเอียดด้วยว่าสองคนนี้ใครวิ่งเร็วกว่าใครไปถึงอุโมงค์ก่อน
4.มัทธิวไม่ได้บันทึกเหตุการณ์ปรากฏของพระเยซูแก่สาวกสิบเอ็ดคนที่บ้าน แต่บอกว่าพวกเขาไปยังกาลิลีถึงภูเขาที่พระองค์ได้ทรงกำหนดไว้ แล้วเห็นพระองค์ที่นั่น (มัทธิว 28  16-17) มาระโกบันทึกว่าพระองค์ทรงปรากฏแก่สาวกสิบเอ็ดคนขณะที่พวกเขานั่งรับประทานอาหารอยู่ และพระองค์ก็ทรงติเตียนว่ากล่าวพวกเขาที่ไม่เชื่อ (มาระโก 16 14)  ลูกาบันทึกว่าเมื่อสาวก 2 คนที่พบพระเยซูระหว่างทางไปหมู่บ้านเอมมาอูส ไกลจากกรุงเยรูซาเล็มประมาณ 11 ก.ม. (ลูกา 24  13) พบพระองค์แล้วก็รีบกลับไปยังกรุงเยรูซาเล็มซึ่งสาวกสิบเอ็ดคนชุมนุมกันอยู่ ขณะกำลังเล่าเหตุการณ์ให้สาวกสิบเอ็ดคนฟัง พระเยซูก็ปรากฏพระองค์ยืนอยู่ท่ามกลางพวกเขา (ลูกา 24  36-37) ทั้งนี้ไม่มีการระบุถึงการไปยังกาลิลีของพวกสาวกสิบเอ็ดคนแต่อย่างใด เพราะถ้อยความระบุว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ กรุงเยรูซาเล็มไม่ใช่ที่กาลิลีอย่างที่มัทธิวบันทึก และพวกเขาก็ไม่ได้นั่งรับประทานกันอยู่ในขณะนั้นอย่างที่มาระโกบันทึก ส่วนยอห์นบันทึกว่า ค่ำของวันอาทิตย์พวกสาวกปิดประตูห้องที่พวกเขาอยู่เพราะกลัวยิว พระเยซูก็เสด็จมาประทับยืนท่ามกลางพวกเขา พระองค์ทักทายและไม่ได้กล่าวตำหนิสาวกของพระองค์อย่างที่มาระโกบันทึก และพวกเขาก็ไม่ได้รับประทานอาหารอย่างที่มาระโกกล่าวไว้ และไม่มีการระบุว่ามีการเดินทางของสาวกไปยังกาลิลีแต่อย่างใด ยอห์นคือผู้บันทึกเพียงคนเดียวที่พูดถึงโธมัส และพูดอีกด้วยว่าหลังจากนั้น 8 วันพระองค์ก็เสด็จมาปรากฏอีกครั้งทำให้โธมัสเชื่อ ยอห์นคือผู้เดียวที่บันทึกว่าพระเยซูทรงปรากฏแก่สาวกเจ็ดคนที่ทะเลทิเบเรียส ซึ่งเขากล่าวไว้อย่างยืดยาวเลยทีเดียว (21: 1-25) ทั้งหมดที่กล่าวมาทุกประเด็นย่อมชี้ให้เห็นถึงความขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิงของเรื่องราวที่ปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์ทั้ง 4 ฉบับ หากเรื่องราวที่บันทึกไว้เป็นจริงก็น่าฉงนว่าทำไมจึงแตกต่างและขัดแย้งกันถึงเพียงนี้ โปรดอย่าลืมว่าชาวคริสต์เชื่อว่าผู้บันทึกพระคริสตธรรมคัมภีร์ได้รับวิวรณ์จากพระผู้เป็นเจ้าหรือการชี้นำจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ให้พวกเขาได้บันทึกเรื่องราวของพระเยซูคริสต์ (ดู วิวรณ์ 1 : 10-11) หากเป็นจริงตามคำกล่าวอ้างที่กลายเป็นความเชื่อแล้ว ทำไมพระวิญญาณบริสุทธิ์จึงดลใจให้ผู้บันทึกพระคริสตธรรมคัมภีร์ได้บันทึกเรื่องราวของพระเยซูคริสต์ไปคนละทางสองทาง และขัดแย้งกันเองจนชวนให้มึนงงในการที่จะสืบสวนข้อเท็จจริงว่าข้อความใดเป็นจริงเล่า  อัล-กุรอานได้เปิดเผยเรื่องเหล่านี้ว่าเป็นการบันทึกด้วยมือของพวกเขาเองแล้วแอบอ้างว่ามาจากพระผู้เป็นเจ้า ดังปรากฏว่า
أَفَلَا يَتَدَبَّرُونَ الْقُرْآنَ ۚ وَلَوْ كَانَ مِنْ عِندِ غَيْرِ اللَّـهِ لَوَجَدُوا فِيهِ اخْتِلَافًا كَثِيرًا
ความว่า “และมาตรแม้นปรากฏว่ามาจากอื่นนอกจากพระผู้เป็นเจ้าแล้วไซร้ พวกเขาย่อมพบว่าในมันนั้นมีการขัดแย้งกันอย่างมากมาย” (อัน-นิสาอฺ 82)

فَوَيْلٌ لِّلَّذِينَ يَكْتُبُونَ الْكِتَابَ بِأَيْدِيهِمْ ثُمَّ يَقُولُونَ هَـٰذَا مِنْ عِندِ اللَّـهِ لِيَشْتَرُوا بِهِ ثَمَنًا قَلِيلًا ۖ فَوَيْلٌ لَّهُم مِّمَّا كَتَبَتْ أَيْدِيهِمْ وَوَيْلٌ لَّهُم مِّمَّا يَكْسِبُونَ
ความว่า : “ดังนั้น ความวิบัติจงมีแด่บรรดาผู้ที่เขียนคัมภีร์ด้วยมือของพวกเขาเอง แล้วพวกเขาก็กล่าวว่านี่มาจากพระผู้เป็นเจ้า ทั้งนี้เพื่อพวกเขาจะได้แลกมันกับราคาที่เล็กน้อย ดังนั้น ความวิบัติจงมีแด่พวกเขา เนื่องจากสิ่งที่มือของพวกเขาได้เขียน และความวิบัติย่อมบังเกิดแก่พวกเขาเนื่องจากสิ่งที่พวกเขาได้ขวนขวาย” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ  79)
พระคริสตธรรมคัมภีร์ทั้ง 4 ฉบับ คือบันทึกเรื่องราวของบุคคลหลักของการเดินเรื่องตั้งแต่เริ่มจนจบเพียงผู้เดียว คือพระเยซูคริสต์ บุคคลอื่นๆ เป็นเพียงตัวประกอบเท่านั้น ซึ่งการเขียนเรื่องราวของคนๆ เดียวไม่น่าจะมีความขัดแย้งและแตกต่างกันจนเกินเหตุถึงเพียงนี้ หากท่านผู้อ่านโดยเฉพาะคริสตชนได้ติดตามบทความทั้งหมดมาเป็นลำดับก็จะพบความแตกต่างของถ้อยความ เรื่องราวและเหตุการณ์ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ทั้ง  4 ฉบับ มาโดยตลอด บางช่วงก็แตกต่างเพียงเล็กน้อย ในขณะที่บางช่วงมีบันทึกในบางฉบับ และไม่ปรากฏในบางฉบับทั้งๆ ที่อาจจะเป็นสาระสำคัญที่มิควรละเลยด้วยซ้ำไป แต่ผู้อ่านจะสังเกตได้ว่า ความแตกต่างและขัดแย้งระหว่างพระคริสตธรรมคัมภีร์ทั้ง 4 ฉบับ เริ่มหนาแน่นและมีมากขึ้นอย่างเข้มข้นนับแต่เหตุการณ์การอายัดจับกุมพระเยซูคริสต์เป็นต้นไป จนกระทั่งถึงการฟื้นคืนพระชนม์หลังการสิ้นพระชนม์ซึ่งถือเป็นช่องว่างระหว่างความเชื่อของคริสตชนกับชาวมุสลิมที่ห่างกันมากที่สุดจนกลายเป็นเส้นขนานที่ไม่มีวันบรรจบกันอีกต่อไป ทั้งๆ ที่หลักคำสอนของพระเยซูครสิต์ที่ปรากฏในเหตุการณ์ก่อนการอายัดจับกุมนั้นหลายเรื่องสอดคล้องกันระหว่างคริสตชนกับมุสลิม ในส่วนของความต่างนั้นก็พอที่จะรอมชอมกันได้ ไม่ได้มีช่องว่างห่างกันมากนัก แต่เมื่อนำเอาสารัตถะของพระคริสตธรรมคัมภีร์ในช่วงปลายนับแต่การอายัดจับกุมพระเยซูคริสต์มาผนวกรวมกับกิจการของอัครฑูตและบรรดาจดหมายทั้งหลายที่มีถึงคริสตจักรต่างๆ จนจบเล่ม เส้นแบ่งระหว่างมุสลิมกับคริสตชนก็ห่างกันราวก้นเหวกับฟ้าเบื้องบน พระเยซูคริสต์สำหรับชาวคริสต์กลายเป็นคนละคนกับอัล-มะสีหฺ อีซา ที่ปรากฏในอัล-กุรอานและความเชื่อของชาวมุสลิมโดยสิ้นเชิง!