กฎข้อที่ ๔ ว่าด้วยคำกริยาและประธานของกริยา

قاعدة يڠ كأمفة

فد مپتاكن فعل دان فاعلڽ

– โดยปกติ  คำกริยา (فعل  ) จะถูกกล่าวมาก่อนหน้าประธาน (فاعل)ของคำกริยานั้น  โดยจะมีคำว่า  اوله   ถูกกล่าวก่อนหน้าประธานหรือไม่ก็ตาม

– คำที่ตกเป็นประธานให้แก่คำกริยานั้นมีทั้งคำนามที่ปรากฏชัด (اسم ظاهر)  และคำสรรพนาม  (ضمير) ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

– ในสำนวนมลายู  บางทีก็กล่าวคำที่เป็นประธาน (فاعل) มาก่อนหน้าคำกริยา (فعل) ก็มี


ตัวอย่าง

1.    دان كتيك كامى امبيل اكن فرجنجين كامو

และ (จงรำลึก) ขณะที่เราได้เอาพันธสัญญาของพวกเจ้า

(จาก تفسيرنورالإحسان อรรถาธิบายอายะฮฺที่ว่า (وَإِذْ اََخَذْنَامِيْثَاقَكُمْ)  เล่มที่ 1 หน้าที่ 30)

คำอธิบาย คำว่า كامى ซึ่งเป็นคำสรรพนามหมายถึงเรา (نا) ตกเป็นประธาน (فاعل) ให้แก่คำกริยาที่ถูกกล่าวหลังจากมันคือ امبيل ในประโยคตัฟซีรนี้ ซึ่งถอดความหมายของคำในภาษาอาหรับว่า أخذنا ออกเป็นภาษามลายูว่า كامى امييل  แปลว่า “เราได้เอา” ตรงตัว ทั้งนี้ถ้าหากเรียบเรียงตามกฎที่กล่าวมาก็จะได้รูปประโยคว่า

دان كتيك امبيل ( مڠمبيل ) اوله كامى اكن فرجنجين كامو

ซึ่งแปลได้ใจความเหมือนกัน

2. كات مريكئيت (حوارى) كامى كهندقكى بهوا كامى ماكن درفداڽ 

พวกเขา (ฮะวารียูน) กล่าวว่า พวกเราประสงค์ที่จะทาน (อาหาร)จากมัน (คือสำรับอาหารจากฟากฟ้า)

(จาก تفسيرنورالإحسان อรรถาธิบายอายะฮฺที่ว่า  ْ قالوا نريدُ أنْ نأكل منها  )

คำอธิบาย คำว่า مريكئيت เป็นคำสรรพนามหมายถึง “พวกเขา”ตกเป็นประธานให้แก่คำกริยา كات โดยไม่มีคำว่า اوله กล่าวมาก่อนคำประธานส่วนคำ كامى ซึ่งเป็นคำสรรพนามหมายถึง “ พวกเรา ” (ตรงกับอักษรนูนในกริยา نريد)  ตกเป็นประธานให้กับคำกริยาว่า كهندقكى  ซึ่งถูกกล่าวมาทีหลังและคำว่า  كامىตัวที่สองในประโยคก็ตกเป็นประธานของคำกริยาว่า ماكن ซึ่งถูกกล่าวมาทีหลังเช่นกัน

ตัวอย่าง

อนึ่งในสำนวนภาษาอาหรับนั้น ถ้าหากกล่าวคำประธานก่อนคำกริยา โดยเฉพาะคำประธานที่มาในรูปสรรพนามที่แยกออกมา (ضَمِيْرٌ فَاصِلٌ)  เช่น نحن  โดยปกติจะถูก اِعْرَابٌ  ให้เป็นคำขึ้นต้นประโยค (مبتدأ)  ส่วนคำกริยาที่ถูกกล่าวตามหลังมาจะถูก اعراب ในตำแหน่งคำขยาย (خبر)

نَحْنُ نُرِيْدُأَنْ نَأكُلَ مِنْهَا

ซึ่งขณะแปลนั้นได้ใจความเหมือนกัน  ในกรณีนี้สำนวนมลายูกล่าวคำประธานมาก่อนคำกริยานั้นคงอาศัยกฎเกณฑ์ที่ว่า  (إِذَا صَحَّ  الْمَعْنٰى صَحَّ الإِعرَابُ ) “เมื่อความหมายนั้นถูกต้อง การอิอฺรอบก็ย่อมถูกต้องไปด้วย”กระมัง

กริยาจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท เมื่อพิจารณาความต้องการในการมีกรรม (مَفْعُوْلٌ بِه) ให้แก่คำกริยานั้น ๆ กล่าวคือ

1. กิริยาที่ไม่ต้องการกรรม (فِعلٌ لاَزِمٌ) กริยาประเภทนี้จะมีประธาน ( فاعل )  เพียงอย่างเดียว

ตัวอย่าง

تيدوراى    :    نام      แปลว่า “เขานอนแล้ว”

دودق اى   :    قعد    แปลว่า “เขานั่งแล้ว”

برديرى اى :    قام     แปลว่า “เขายืนแล้ว”

ماتى اى   :    مات    แปลว่า “เขาตายแล้ว”   เป็นต้น

คำว่า  اى   ซึ่งเป็นคำสรรพนามในตัวอย่างตกเป็นประธาน (فاعل)  ให้แก่คำกริยาที่อยู่หน้ามันคือ   تيدور, دودق  ,  برديرى และ ماتى ตามลำดับ

สังเกตได้ว่ากริยาประเภทที่หนึ่งเป็น  فعل لازم))  ไม่ต้องการกรรม   (مَفْعُوْلٌ بِه)

ประโยคตัวอย่าง

ก. افبيل دودق سئورڠ كامو ددالم سمبهيڠ مك ……….

เมื่อคนหนึ่งของพวกท่านนั่งในการละหมาด

อธิบาย คำว่า  دودق เป็นกริยาประเภทไม่ต้องการกรรม (مفعول به) และคำว่า سئورڠ كامو   ตกเป็นประธาน ( فاعل )  ให้กับคำกริยา دودق ในประโยคนี้ไม่มีกรรมปรากฏเพราะกริยา دودق ไม่ต้องการกรรมนั่นเอง

ข. مك تورن اىدرفدمنبر

ต่อมาเขาก็ลงจากมิมบัร

อธิบาย คำว่า  تورن  เป็นกริยาประเภทไม่ต้องการกรรม (مفعول به)  และคำว่า   اى  ซึ่งเป็นคำสรรพนามตกเป็นประธาน  ( فاعل )    ให้กับคำกริยา  تورن ในประโยคนี้ไม่มีกรรม (مفعول به) ปรากฏเพราะกริยา تورن ไม่ต้องการกรรมนั่นเอง

2. กริยาที่ต้องการกรรม (مفعول به) หมายถึงกริยาที่มีประธาน (فاعل ) และกรรม (مفعول به) เรียกกริยาประเภทนี้ว่า ( فِعْلٌ مُتَعَدٍّ ) ในสำนวนมลายูกรรมของกริยาประเภทนี้จะตกอยู่หลัง كن , اكن

ตัวอย่าง

دان تياد مڠتهوى كيت اكن بيلڠ ٢ ڠن نبى دان رسول

และพวกเราไม่รู้ถึงจำนวนของบรรดานบีและรอซู้ล

คำอธิบาย คำว่าمڠتهوى  เป็นคำกริยาประเภทต้องการกรรมและกรรมของกริยานั้นตกอยู่หลัง   اكن   ซึ่งในประโยคคือคำว่าبيلڠ ٢ ڠن

ตัวอย่างเพิ่มเติม

ก.  ” كرت  اى اكن كوكو “

เขาตัดเล็บ

คำอธิบาย คำว่า كرت  เป็นคำกริยาประเภทต้องการกรรมและกรรมของกริยานั้นตกอยู่หลัง اكن ซึ่งในประโยคคือคำว่า  كوكو

ข. ” ممراڠى اى اكن ستروڽ “

เขาสู้รบกับศัตรูของเขา

คำอธิบาย คำว่า  ممراڠى  เป็นคำกริยาประเภทต้องการกรรมและกรรมของกริยานั้นตกอยู่หลัง اكن ซึ่งในประโยคคือคำว่า  ฃستروڽ

ค.  مڠاجر اي اكن يڠبلاجر اكن علمو ٢

เขาสอนสรรพวิชาให้แก่ผู้เรียน

คำอธิบาย คำว่า مڠاجر เป็นคำกริยาประเภทต้องการกรรม 2 ตัว สังเกตได้ว่าในประโยคมีคำว่า  اكن  ถูกกล่าวไว้ 2 ครั้ง ดังนั้นคำว่าيڠبلاجر   ตกอยู่หลัง  اكن  ตัวที่หนึ่งจึงถือเป็นกรรมตัวที่ 1 และคำว่า علمو   ตกอยู่หลัง  اكن ตัวที่สองจึงถือเป็นกรรมตัวที่ 2 ให้แก่กริยา مڠاجر  ทั้งคู่  ขณะทำการแปลความหมายให้แปลกรรมตัวที่สองก่อนจึงจะได้ใจความ

ง. ممينتأ اوله كامى اكن الله تعالىاكن نعمة

พวกเราวอนขอเนียะอฺมะฮฺกับพระองค์อัลลอฮฺ

คำอธิบาย คำว่า  ممينتأ เป็นคำกริยาประเภทต้องการกรรม 2 ตัวสังเกตได้ว่าในประโยคมีคำว่า اكن ถูกกล่าวไว้ 2 ครั้ง ดังนั้นคำว่า الله ตกอยู่หลัง اكن ตัวที่หนึ่งจึงถือเป็นกรรมตัวที่ 1 และคำว่า نعمة ตกอยู่หลัง اكن ตัวที่สองจึงถือเป็นกรรมตัวที่ 2 ให้แก่กริยา ممينتأ ทั้งคู่และคำว่า كامى ตกอยู่หลังคำว่า اوله จึงถือเป็นประธาน ขณะทำการแปลความหมายให้แปลกรรมตัวที่สองก่อนจึงจะได้ใจความ

  • สรุปได้ว่า  คำใดตกอยู่หลัง  اكن  ให้ถือเป็นกรรมของกริยาในประเภทที่ต้องการกรรม (مَفْعُوْلٌ به) ส่วนคำๆนั้นจะตกเป็นกรรมตัวที่ 1 หรือตัวที่ 2 ก็ให้พิจารณาถึงประเภทของคำกริยาและพิจารณาว่าในประโยคมีคำว่า اكن ถูกกล่าวกี่ครั้ง
  • ในภาษามลายูมีการแปลงคำกริยาประเภทไม่ต้องการกรรม  فِعْلٌ لازم  ให้เป็นคำกริยาประเภทต้องการกรรม ( فِعْلٌ مُتَعَدٍّ ) ได้หลายวิธี   อาทิเช่น

1. เติม  مم (มัม) เข้าไปข้างหน้ากริยาที่ไม่ต้องการกรรม  (فعل لازم)

ตัวอย่างที่ 1

بطل اى  (มันเป็นโมฆะ – ใช้ไม่ได้)

แปลงเป็น    ممبطل اى اكن سواتو ( เขาทำให้สิ่งหนึ่งเป็นโมฆะ ) สังเกตได้ว่าเมื่อเติม  مم เข้าไปข้างหน้าคำกริยา بطل เป็น ممبطل กริยาตัวนี้ก็จะต้องมีกรรมตามมาคือคำว่า سواتو  ที่ตกอยู่หลัง اكن

ตัวอย่างที่ 2

بناس اى  (มันพินาศ, มันเสียหาย)

แปลงเป็น  ممبناس اى اكندى   (เขาทำให้มันพินาศ) สังเกตได้ว่าเมื่อเติม  مم  เข้าไปข้างหน้าคำกริยา  بناس  เป็น ممبناس  กริยาตัวนี้ก็จะต้องมีกรรมตามมา คือ คำว่า دى  ที่ตกอยู่หลัง اكن

2.  เติม  مڠ (มะเฆาะ) เข้าข้างหน้าคำกริยาที่ไม่ต้องการกรรม (فعل لازم) ให้เป็นคำกริยาประเภทที่ต้องการกรรม (  فعل متعد) อาทิเช่น

ตัวอย่างที่ 1

برگرق اي  (มันกระดิก, เคลื่อนไหว)

แปลงเป็น  مڠگرق اى اكندى  (เขาทำให้มันกระดิก ,เคลื่อนไหว)สังเกตได้ว่าเมื่อเติม مڠ  เข้าไปข้างหน้าคำกริยา برگرق เป็น  مڠگرق   กริยาตัวนี้ก็จะต้องมีกรรมตามมาคือคำว่า دى  ที่ตกอยู่หลัง اكن

ตัวอย่างที่ 2

كلواراى  (เขาออกไปแล้ว)

แปลงเป็น    مڠلوار اى اكندى   (เขาทำให้มันออกข้างนอก)  สังเกตได้ว่าเมื่อเติม مڠ เข้าไปข้างหน้าคำกริยา كلوار ซึ่งเป็นคำกริยาที่ไม่ต้องการกรรม และกลายเป็น مڠلوار กริยาตัวนี้จะเป็นคำกริยาที่ต้องการกรรม (فعل متعد)

3.  เติม مپ  (มะญะ)  เข้าไปข้างหน้าคำกริยาที่ไม่ต้องการกรรม ( فعل لازم )ให้เป็นคำกริยาประเภทที่ต้องการกรรม ( فعل متعد )

ตัวอย่างที่ 1

سمفرن اى  (มันสมบูรณ์ – ครบถ้วน)

แปลงเป็น مپمفرن اى اكن سواتو (เขาทำให้สิ่งนั้นสมบูรณ์)  สังเกตได้ว่าเมื่อเติม  مپ เข้าไปข้างหน้าคำกริยา   ﺴﻤﭭرن  ซึ่งเป็นคำกริยาที่ไม่ต้องการกรรม และกลายเป็น مپمفرن  กริยาตัวนี้ก็จะเป็นคำกริยาที่ต้องการกรรมซึ่งคือคำว่า  سواتو ที่ตกอยู่หลังคำว่าاكن
ตัวอย่างที่ 2

سمڨى اى (เขามาถึงแล้ว)

แปลงเป็น  مپمڨى اى اكندى      (เขาทำให้มันถึง)  เป็นต้น

4. เติม ﻤ (ม่า , มะ) เข้าไปข้างหน้าคำกริยาที่ไม่ต้องการกรรม (فعل لازم ) ให้เป็นคำกริยาที่ต้องการกรรม ( فعل متعد ) อาทิเช่น


ตัวอย่างที่ 1

هيدوف اى  (มันมีชีวิต)
แปลงเป็น     مهيدوف اى اكندى    (เขาทำให้มันมีชีวิต)

คำอธิบาย

مهيدوف    :    กริยาต้องการกรรม สังเกตที่ م ถูกเติมเข้าไปข้างหน้ามัน

اى           :    ประธาน ( فاعل) ให้แก่กริยา  مهيدوف

اكن          :    คำที่บ่งชี้ถึงกรรม (مفعول به)

دى          :    กรรม (مفعول به) ตกอยู่หลัง اكن

ตัวอย่างที่ 2

ماسوقكن اى (เขาเข้าไป)

แปลงเป็น   مماسوقكن اى اكندى  (เขาเอามันเข้าไป)

คำอธิบาย

مماسوقكن  :    กริยาต้องการกรรม สังเกตที่ م ถูกเติมเข้าไปข้างหน้ามัน

اى            :    ประธาน ( فاعل ) ให้แก่กริยา  مماسوقكن

اكن           :    คำที่บ่งชี้ถึงกรรม (مفعول به)

دى            :    กรรม (مفعول به) ตกอยู่หลัง اكن

ตัวอย่างคำกริยาที่ต้องการกรรม (الْفِعلُ الْمُتَعَدِّيْ) ในสำนวนมลายู

    1. مپيمفول اى اكن تالى        (เขาผูกปมเชือก)
    2. مڠتهوى اىاكن ايت كرجا   (เขารู้ถึงเรื่อง – งานนั้น)
    3. ممباچ اى اكن كتاب          (เขาอ่านหนังสือ)
    4. مموتڠ اى اكن تالى           (เขาตัดเชือกขาด)
    5. منريمااىاكن ايت كرجا       (เขาพึงพอใจกับงานนั้น)
    6. منمفراى اكن موكاڽ          (เขาตบหน้าหล่อน)
    7. منجاتوه اى اكندى            (เขาทำมันหล่น – ตก)
    8. مڠكمدين اى اكندى          (เขาเอามันไว้หลังสุด)
    9. مڠهيلڠكن ا ى اكن فتنة     (เขาทำให้ความวุ่นวายหมดไป)
    10. مراساﺌﻰ اى اكندى          (เขาชิมรสของมัน)

      • ในตัวอย่างที่กล่าวมาจะสังเกตเห็นว่าในทุกประโยคจะมีคำว่า اكن กล่าวมาด้วยทุกตัวอย่าง โดยคำที่ตกอยู่หลัง اكن จะตกเป็นกรรม ( مفعول به )   ให้กับคำกริยาที่ต้องการกรรมเรียกว่า  ( الفعل المتعدى)
      • คำกริยาในภาษามลายูจะถูกทำสำนวน  (مَجْهُوْلٌ)  -สำนวนที่ไม่รู้ผู้กระทำ-  จากสำนวน  (ٌ مَعْلُوْم) –สำนวนที่เดิมด้วยการเติม دِ   ( ดิ ) เข้าไปข้างหน้าคำกริยาประเภท ( معلوم) และคำที่ตกอยู่หลัง اكن ให้ถือเป็น نَائِبُ الْفَاعِلِ (ตัวแทนประธาน) ซึ่งแต่เดิมคำที่ตกอยู่หลัง اكن นั้นจะเป็นกรรม( مفعول به )ให้แก่กริยา ( معلوم) เดิม ครั้นเมื่อแปลงสำนวนกริยา( معلوم) ให้เป็นสำนวน (مجهول) ด้วยการเติม دِ เข้าไปข้างหน้าคำกริยานั้น  คำที่ตกอยู่หลัง اكن ก็แปรสถานภาพจากกรรม  ( مفعول به )  มาเป็น  (نَائِبُ الْفَاعِلِ ) ดังที่กล่าวมา


      ตัวอย่างที่ 1

      دان سوڠگهڽ تله دجالنكن فد مالم اكن نبى صلى الله عليه وسلم دان دنايككن اكندى دڠن توبهڽ فد كتيك جاگ كفد لاغية

      และแท้จริงท่านนบี (ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)ได้ถูกพา (ตัว)เดินทางในยามค่ำคืน (อิสรออฺ) และถูกนำ (ตัว) ขึ้นฟากฟ้า(มิอฺรอจญ์)พร้อมด้วยร่างกายของท่านในขณะตื่น(ไม่ได้หลับแล้วฝันไป)

      คำอธิบาย
      ในประโยคตัวอย่างข้างต้นจะสังเกตเห็นคำกริยา 2 คำ ถูกเติม دِ เข้าไปข้างหน้าคำกริยาทั้งสอง คือ دجالنكن และ دنايككن  (ซึ่งคำกริยา معلوم เดิมคือ جالنكن اى (เขาเดินทาง)نايككن اى (เขาขึ้นข้างบน) แล้วถูกแปลงเป็นคำกริยาمجهول ด้วยการเติม دِ  เข้าไปข้างหน้า  ตามกฎไวยากรณ์เมื่อมีคำกริยา مجهول ถูกกล่าวจะต้องหาคำนามที่เป็น  نَائِبُ الْفَاعِلِ ให้แก่คำกริยา مجهول  นั้น ซึ่งในประโยคตัวอย่างก็คือคำว่า  اكن نبي  และ   اكندى

      ทั้งนี้เดิมทีคำที่ตกหลัง اكن จะถือเป็นกรรม (مفعول به) ให้แก่คำกริยา معلوم  แต่เมื่อแปลงกริยา معلوم ให้เป็นกริยา مجهول  ด้วยการเติม  دِ เข้าไปข้างหน้าคำที่ตกหลัง اكن ก็จะกลายสภาพจากกรรม  مفعول به  เป็น  نائب الفاعل (คำนามแทนประธาน)   ซึ่งในประโยคตัวอย่างก็คือคำว่า نبى และ دى  นั่นเอง  เหตุที่ใช้กริยา مجهول ในประโยคตัวอย่างก็เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า ประธาน (فاعل)  นั้นก็คือพระองค์อัลลอฮ (ซ.บ.)  นั่นเอง  เหมือนกับประโยคที่ว่า   ท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นร่อซู้ล  ก็เป็นที่ทราบกันดีว่าผู้แต่งตั้งนั้นคือพระองค์อัลลอฮ (ซ.บ.) นั่นเอง


      ตัวอย่างที่ 2

      دسوره اكند اكو دڠن ممراڠى مأنسى ……..

      ฉันถูกบัญชาใช้ให้สู้รบกับผู้คน….

      คำอธิบาย

      คำกริยา   دسوره(ถูกบัญชาใช้) เป็นคำกริยา مجهول  เพราะถูกเติม دِ  เข้าไปข้างหน้า ส่วนคำว่า داكو  ซึ่งเป็นคำสรรพนามบุรุษที่ ๑ (ضميرالمتكلم  )  เทียบได้กับคำว่า أنا หรือ تُ ในคำกริยาตกอยู่หลัง اكن  ถือเป็น نائب الفاعل ให้แก่คำกริยา  دسوره

      อนึ่งประโยคตัวอย่างเทียบได้กับสำนวนในภาษาอาหรับว่า

      ( أُمِرْتُ أَنْ أُقا تلَ الناس )

      (จากหนังสือ فرسى หน้า 5)

      • บางทีคำที่ตกเป็น نائب الفاعل ให้แก่คำกริยา(مجهول) โดยไม่มีคำ اكن ถูกกล่าวมาก่อนก็มีแต่คำที่ตกเป็น نائب الفاعلนั้นถูกกล่าวอยู่หลังคำว่า ايت  อย่างนี้ก็มี

      ตัวอย่าง

      دشرطكن فد صح سمبهيڠ ايت سمبيلن فركارا

      ถูกกำหนดเงื่อนไข 9 ประการ ในการที่ละหมาดจะใช้ได้

      คำอธิบาย

      คำกริยา  دشرطكن (ถูกกำหนดเงื่อนไข) เป็นคำกริยา مجهول เพราะถูกเติม دِ เข้าไปข้างหน้า   ส่วนคำว่า سمبيلن فركارا  นั้นตกอยู่หลังคำว่า  ايت   ถือเป็น نائب الفاعل  ให้แก่คำกริยา   دشرطكن

      อนึ่งประโยคตัวอย่างเทียบได้กับสำนวนในภาษาอาหรับว่า

      (يشترط في صحة الصلاة تسعة أشياء) (จากหนังสือ  أنق كو نجى شرگ หน้า 37 )

      ตัวอย่างเพิ่มเติม  ในเรื่องคำกริยา مَجْهُوْلٌ และ نَائِبُ الْفَاعِلِ

      ๑. تيف ٢ ماس يغد رزقى مريكئيت درفداڽ ……..

      ทุกๆคราที่พวกเขา(ชาวสวรรค์) ถูกประทานริสกีจากมัน

      คำอธิบาย

      คำว่า درزقى  เป็นคำกริยา مجهول  และคำว่า   مريكئيت    เป็น نائب الفاعل   ให้แก่คำกริยา درزقى สังเกตได้ว่าในประโยคนี้ไม่มีคำว่า   اكن หรือ  ايت นำหน้าคำว่า مريكئيت  มาก่อนโดยถอดความหมายจากอายะฮฺที่ว่า  كلماَ رُزِقُوا منها  ซึ่งคำว่า رُزِقَ   เป็นกริยา مجهول   และ واو الجماعة   ซึ่งตรงกับคำว่า مريكئيت  ตกเป็น نائب الفاعل  (จาก تفسير نور الإحسان  เล่มที่ ๑/๑๑)

      ๒. دسدياكندى باگى سكلين أورڠ كافر

      มัน(นรกภูมิ) ได้ถูกตระเตรียมไว้สำหรับปวงผู้ปฏิเสธ

      คำอธิบาย

      คำว่า  دسديا   เป็นคำกริยา مجهول เพราะถูกเติม دِ   เข้าไปข้างหน้า และคำว่า دى  ตกเป็น  نائب الفاعل    เทียบได้กับสรรพนาม تْ ( تاءالتأنيڽ) ซึ่งกลับไปหาคำว่า نراك   ที่ถูกกล่าวมาก่อน สังเกตได้ว่า دي  ตกอยู่หลังคำว่า كن   ซึ่งกร่อนมาจากคำว่า اكن   นั่นเอง    อนึ่งประโยคนี้ถอดความหมายของอายะฮฺที่ว่า أُعِدَّتْ لِلْكَافِرِيْنَ  (จาก تفسير نور الإحسان   เล่ม ๑/๑๑)

      ๓.  دان تياد دتريما درفداڽ شفاعة

      และการอนุเคราะห์ย่อมไม่ถูกตอบรับจากชีวิตนั้น

      คำอธิบาย

      คำว่า دتريما   เป็นคำกริยา مجهول   เพราะถูกเติม دِ   เข้าไปข้างหน้ามัน และคำว่า شفاعة   ตกเป็น نائب الفاعل   ให้แก่คำกริยา  دتريما  สังเกตได้ว่าก่อนหน้าคำว่า شفاعة  ไม่มีคำว่า اكن   หรือ كن  หรือ   ايت  ถูกกล่าวมาก่อนหน้ามัน อนึ่งประโยคตัวอย่างนี้ ถอดความหมายมาจากอายะฮฺที่ว่า  وَلاَيُقْبَلُ مِنْهَا شَفَاعَة  (จาก تفسير نور الإحسان  เล่มที่ ๑/๑๗)

      ๔. دان هارى قيامة دِ كمباليكن مريكئيت كفد ساڠة ٢ عذاب

      และวันกิยามะฮฺนั้นพวกเขาจะถูกนำกลับสู่การลงทัณฑ์อันรุนแรงยิ่ง

      คำอธิบาย

      คำว่า دكمباليكن  เป็นคำกริยา مجهول  เพราะถูกเติม دِ  เข้าไปข้างหน้ามัน และคำว่า مريكئيت  ตกเป็น نائب الفاعل   ให้แก่คำกริยา دكمباليكن   ประโยคนี้ถอดความหมายจากอายะฮฺที่ว่า (ويوم القيامة يُرَدُّونَ إلى أَشَدِّ العذاب ) สังเกตได้ว่า คำกริยา دكمباليكن  ในภาษามลายูตรงกับคำว่า يُرَدُّ   และคำว่า مريكئيت  นั้นตรงกับสรรพนาม واو الجماعة  ( وْنَ –) ในภาษาอาหรับนั่นเอง  (จาก تفسير نور الإحسان เล่มที่ ๑/๒๗)