กฎข้อที่ ๘ ว่าด้วยบรรดาประเภทต่างๆของคำว่า مك

1714

قاعدة يڠ كدلافن

” فد مپتاكن سگل جنس باگى ” مك

1. مك اسْتِئْنَافِيَّةُ   หมายถึง مك   ที่แสดงถึงการเริ่มต้นประโยคใหม่ ( جملة استئنافية ) โดยคำที่ตกอยู่หลัง مك   ประเภทนี้จะทำหน้าที่เช่นเดียวกันกับ مك استئنافية    และ برمول   ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

ตัวอย่าง

مك سبب واجب مندى ليم فركارا

สาเหตุที่จำเป็นต้องอาบน้ำนั้นมีห้าประการ

คำอธิบาย คำว่า مك   ในประโยคตัวอย่าง ทำหน้าที่เป็น مك استئنافية   คือคำที่บ่งบอกถึงการเริ่มต้นประโยคใหม่ และคำว่า سبب   ซึ่งตกอยู่หลัง مك   ถูกพิจารณาเป็นคำขึ้นต้นประโยค ( مبتدأ ) และคำว่า ليم فركارا  ทำหน้าที่เป็นคำขยาย (خبر) ให้แก่คำว่า  سبب   ซึ่งประโยคลักษณะนี้จะได้ใจความที่สมบูรณ์ที่คำขยายนั่นเอง ดังที่มีข้อความระบุว่า    وَالْخَبَرُ الْجُزْءُ الْمُتِمُّ الْفَائِدَةَ    (และคำขยายนั่นคือส่วนที่เติมเต็มการสื่อความหมายให้สมบูรณ์)

 

ตัวอย่าง

مك اورڠيڠ تياد سمبهيڠ ايت دسقسا كندى

อันบุคคลที่ไม่ละหมาดนั้นย่อมถูกลงทัณฑ์

อธิบาย คำว่า  مك   ในประโยคตัวอย่าง ทำหน้าที่เป็น مك استئنافية   คือคำที่บ่งถึงการเริ่มต้นประโยคใหม่ และคำว่า اورڠيڠ    ซึ่งตกอยู่หลัง مك   ถือเป็นคำขึ้นต้นประโยค  (مبتدأ  ) และคำว่า دسقسا     ถือเป็นคำขยาย (خبر  ) ให้แก่คำว่า اورڠيڠ

ตัวอย่าง

مك مهاتيڠگى دان مها سوچى الله درفد بارڠيڠ سكتو مريكئيت دڠنڽ

พระองค์อัลลอฮฺทรงสูงส่งและทรงมหาบริสุทธิ์ จากสิ่งที่พวกเขาได้ตั้งภาคีต่อพระองค์

คำอธิบาย ประโยค مها تيڠگى دان مها سوچى الله   เป็นประโยคที่เริ่มต้นขึ้นใหม่ และมีตำแหน่งอยู่หลัง مك استئنافية   และไม่มีตำแหน่งในการ اعراب   สำหรับประโยคนี้แต่อย่างใด (لاَ مَحَلَّ لَهَا مِنَ الإِعْرَابِ)

2.  مك جَوَابٌ  หมายถึง مك  ที่ทำหน้าที่เป็นคำตอบหรือผลของสำนวนที่เป็นเงื่อนไข ( الشَّرْطُ ) เรียกชื่อเต็มว่า مَكَ الرَّابِطَةُ لِجَوَابِ الشَّرْطِ

ตัวอย่าง

مك بارغسياف برتاڽ اى” كران اف ممفر بوات اى ؟

مك سوڠگهڽ تله منولق اى اكن حكم قرأن

ดังนั้นผู้ใดก็ตามที่เขาถามว่า : เพราะอะไร ? พระองค์อัลลอฮฺจึงทำ (อย่างนั้นอย่างนี้) แท้จริงผู้นั้นได้ค้าน (ปฏิเสธ) ข้อชี้ขาดของอัลกุรอ่านแล้ว

คำอธิบาย คำว่า  بارڠسياف   ในประโยคตัวอย่างทำหน้าที่เป็น شَرْطِيَّةٌ   (สำนวนเงื่อนไข) จึงต้องมีคำตอบ ( جواب  ) ตามมา ในประโยคดังกล่าว คำว่า مك   จึงทำหน้าที่เป็น جواب   ให้แก่คำว่า بارڠسياف

อนึ่ง สำนวนในประโยคตัวอย่างคัดมาจากสำนวนภาษาอาหรับว่า  فمن سأل لِمَ  فعَل ؟ فَقَدْ رَدَّ حُكْم َالْكِتَابِ

( จากหนังสือ فرسى   หน้าที่ ๗๔)

ตัวอย่าง

جك دليهة اكن بولن فد مالم يڠ كتيگ فولهڽ

مك تياد اى هارى شك بهكن اداله فد رمضان

دان جك تياد چواچا مك تياد اى هارى شك بهكن اداله اى درفد شعبان

ถ้าหากว่าเดือน(จันทร์เสี้ยว)ถูกเห็นในคืนที่ ๓๐ (ชะอฺบาน)

วันที่ ๓๐ นั้นก็มิใช่วันสงสัย หากแต่เป็นวันในเราะมะฎอน

และถ้าหากว่า(ฟ้า)ไม่กระจ่าง นั่นก็มิใช่วันสงสัย หากแต่เป็นวันของชะอฺบาน

คำอธิบาย คำว่า جك   ในประโยคตัวอย่างเป็น شرطية    (สำนวนเงื่อนไข) จึงต้องมีคำตอบ ( جواب  ) ตามมา ซึ่งในประโยคคือคำว่า مك   นั่นเอง

3.  مك تَفْرِيْعٌ  หมายถึง مك   ที่แยกแยะรายละเอียดข้อปลีกย่อย  ให้แก่ใจความรวมๆ จากประโยคที่ถูกกล่าวมาก่อนหน้ามัน

ตัวอย่าง

برمول سمبهيڠ ليم وقت ايت واجب اتس تيف ٢ مكلف

مك تياد واجب اتس كانق ٢ دان اوريڠيڠ گيلا

การละหมาด เวลานั้น เป็นสิ่งจำเป็นเหนือผู้เข้าเกณฑ์บังคับทุกคน ดังนั้น (การละหมาด) จึงไม่มีความจำเป็นเหนือบรรดาเด็กๆและคนบ้า

คำอธิบาย คำว่า مك   ในประโยคตัวอย่าง เป็น مك تفريع    ที่แยกแยะรายละเอียดข้อปลีกย่อยให้แก่ใจความรวมๆของประโยคที่ถูกกล่าวมาก่อนมัน ในความเป็นจริงแล้ว مك    ตัวนี้  ( مك تفريع  ) ทำหน้าที่ เป็น جواب  ให้แก่สำนวนเงื่อนไขที่ถูกสมมติขึ้นว่า      دان جك اڠكو كهندق بهوا اڠكو كتهوى مك تياد ……..

และท่านหากประสงค์ที่จะทราบแล้วไซร้ ก็ไม่………………

และประโยคนี้จะเป็นประโยคที่ถูกสมมติขึ้นทุกๆที่ ซึ่งปรากฏٌ مك فَصِيْحَة  ถูกกล่าวไว้ โดยไม่มีสำนวนเงื่อนไข ( شرطية )  ถูกกล่าวมาก่อน

ตัวอย่าง

مك سمبهيڠ ايت دوا شرط ، فرتماڽ وضوء كدواڽ سوچى

درفد حدث گچپل دان بسر مك ادافون فرضو وضوء ايت …….

การละหมาดนั้นมี 2 เงื่อนไข (หนึ่ง) การอาบน้ำละหมาด (สอง) สะอาดจากหะดัษเล็กและหะดัษใหญ่ อนึ่ง ฟัรฎูของการอาบน้ำละหมาดนั้นคือ …….”

คำอธิบาย คำว่า مك   ที่ถูกกล่าวอยู่ก่อนหน้าคำว่า ادافون   นั้นเป็น مك فصيحة  ตกเป็น جواب   ให้แก่สำนวน شرطية     ที่ถูกสมมติขึ้นก่อนหน้ามัน  ดังนี้

دان جك اڠكو بر كهندق بهوا اڠكو كتهوى اكندى

مك ادافون فرضو وضوء ايت انم فركارا

และถ้าหากท่านประสงค์ที่จะทราบถึงมันแล้วไซร้ อนึ่งส่วนฟัรฎูของการอาบน้ำละหมาดนั้น คือ ประการ

4.  مك عَطْفٌ    คือ مك   ที่ใช้เป็นคำเชื่อมในการสันธาน ( عطف  ) เหมือนกับ دان   แต่คำที่ถูกเชื่อม ( عطف  ) ด้วยกับ مك   นั้นแสดงถึงการเรียบเรียงที่เกิดขึ้นล่าช้าแต่ไม่มากนัก ภายหลังการเกิดขึ้นของคำที่ถูกเชื่อม ( معطوف عليه   )

ตัวอย่าง

دان مڠمبيل وضوء اوله زيد مك سمبهيڠ اى

และนายซัยดฺได้อาบน้ำละหมาด แล้วเขาก็ละหมาด

คำอธิบาย مك ทำหน้าที่เป็นคำเชื่อม ( حرف عطف  )

مڠمبيل وضوء      ทำหน้าที่เป็น معطوف عليه   เพราะถูกกล่าวมาก่อน مك

سمبهيڠ اى       เป็น  معطوف   เพราะถูกกล่าวอยู่หลัง  مك

สังเกตได้ว่า  การอาบน้ำละหมาดของนายซัยดฺเกิดขึ้นล่าช้ากว่าการอาบน้ำละหมาดของเขา  เรียกว่า ( اَلتَّرتِيْبُ مَعَ التَّعْقِيْبِ  ) กล่าวคือ เป็นการเชื่อมที่เรียงลำดับโดยที่เวลาห่างกันไม่มาก

5.  مك السّبَبِيَّةُ     หมายถึง مك   ที่เป็นคำเชื่อมในการสันธาน( عطف ) แต่มีความหมายบ่งถึงการเป็นเหตุ (سبب) โดยคำที่ตกหลังจากمك  ตัวนี้จะเป็นผล (مُسَبَّبٌ ) ให้แก่เหตุที่ถูกกล่าวมาก่อน

ตัวอย่าง

دان برمول سگل اورڠ كافر ٢ ايت باگى

مريكئيت نراك جهنم بلاسنڽ تياد دحكم اتس مريكئيت

دڠن ماتى مك ماتى مريكئيت

บรรดาเหล่าผู้ปฏิเสธนั้น สำหรับพวกเขาคือนรกญะฮันนัม

เป็นการตอบแทน โดยไม่ถูกตัดสินแก่พวกเขาด้วยความตาย

อันจักเป็นเหตุให้พวกเขาตาย

คำอธิบาย คำว่า مك   ในประโยคตัวอย่างเรียกว่า  مك السببية   เพราะประโยคก่อนหน้า مك   มีสำนวนในเชิงปฏิเสธ ( اَلنَّفْيُ ) ซึ่งเป็นเหตุ ( سبب ) กล่าวคือ พระองค์อัลลอฮฺ(ซ.บ.)มิได้ทรงให้ชาวนรกตายตามคำตัดสินของพระองค์ เมื่อพวกเขาอยู่ในนรกญะฮันนัม ฉะนั้นคำตัดสินจึงเป็นเหตุ ส่วนความตายนั้นก็เป็นผล กล่าวด้วยสำนวนที่เข้าใจง่ายๆ ก็คือ “ก็อัลลอฮฺมิได้ทรงตัดสินให้พวกเขาตายเสียหน่อย พวกเขาถึงจะได้ตาย”

 

دان جاڠن همفير كدوا كامو اكن اين فهون كايو

گندوم دڠن ماكن درفد اڽ ، مك سبب جادى كدوا كامو

دڠن ماكن ايت درفد جملة سگل اورڠيڠ ظالم باگى ديريڽ

และเจ้าทั้งสองอย่าเข้าใกล้ต้นไม้ต้นนี้ (ข้าวสาลี) ด้วยการกินจากมัน นั่นจักเป็นเหตุให้เจ้าทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งจากบรรดาผู้อธรรมต่อตัวเอง(ด้วยการกินสิ่งนั้น)

คำอธิบาย คำว่า مك   ในประโยคเป็น مك سببية   เพราะประโยคก่อนหน้ามันเป็นประโยคที่มีสำนวนห้าม ( اَلنَّهْىُ )

 

مك اداكه باگى كامى ايت سئورڠ درفد اورڠيڠ ممبرى

شفاعة مك مشفاعة مريكئيت باگى كامى ملفس درفد عذاب اين

ฉะนั้น ไม่มีเลยหรือสำหรับพวกเรา บุคคลหนึ่งจากผู้ที่ให้ความอนุเคราะห์ พวกเขาจักได้ให้ความอนุเคราะห์ แก่พวกเราให้รอดพ้นจากการลงทัณฑ์นี้

คำอธิบาย คำว่า مك    ในประโยคเป็น  مك سببية   เพราะในประโยคก่อนหน้ามันมีสำนวนในเชิงคำถามاسْتِفْهَامٌ))

6.  مك التَّعْلِيْلِيَّةُ  หมายถึง  مك   ที่มีความหมายเหมือนกับคำว่า سفاى ، كران   (เพราะ,เนื่องจาก) กล่าวคือคำหรือประโยคที่ตกอยู่หลัง مك   ตัวนี้จะมีความหมายในเชิงเหตุผลว่า เพราะอะไรถึงต้องกระทำอย่างนั้น อย่างนี้ อันเป็นใจความของประโยคก่อนหน้า مك

ตัวอย่าง

منولڠ اولهمو اكن فقير مك بهوا اى سودارا لاكى ٢  باگى اڠكو فد كما نسيأن

“ท่านจงสงเคราะห์คนยากจน เพราะแท้จริงเขาคือพี่น้องของท่านในความเป็นมนุษย์”