แผนการทางการเมืองการปกครอง

        กลุ่มประเทศยุโรปได้ดำเนินตามแผนการทางการเมืองเพื่อยึดครองจักรวรรดิอุษมานียะห์ โดย จากจักรวรรดิอุษมานียะห์ซึ่งผลประโยชน์ที่ชาวยุโรปได้รับนั้นมีอย่างเอกอุ กล่าวได้ว่าสนธิสัญญาและอภิสิทธิเหล่านี้คือ ประตู ที่กลุ่มประเทศเจ้าอาณานิคมได้อาศัยผ่านเข้าออกเพื่อให้เป้าหมายของตนเนื้อความในสนธิสัญญา และพระราชกฤษฎีการับรองสิทธิคุ้มครองนอกอาณาเขตที่อุษมานียะห์ได้กระทำกับพวกฝรั่งนั้นฟุ่มเฟือยจนดูไร้แก่นสารและจุกจิกอย่างจงใจ

 

        ดังนั้นแทนที่สนธิสัญญาจะถือว่า สิทธิพิเศษดังกล่าวคือ สิ่งที่ซุลตอนผู้ทรงอำนาจและมีเอกราชโดยสมบูรณ์เป็นผู้ประทานให้กับชนต่างชาติที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในราชอาณาจักรของพระองค์กลับกลายเป็นว่าได้สาธยายและอธิบายความมาตราเกี่ยวกับสิทธิต่างๆ ที่ถูกลิดรอนไปจากซุลตอนผู้อ่อนแอ ทั้งๆ ที่ซุลตอนสุลัยมาน ข่าน อัลกอนูนีย์ ผู้ทรงประทานอภิสิทธิเหล่านั้นทรงอยู่ในรัชสมัยที่เจริญรุ่งเรืองขีดสุดสำหรับประวัติศาสตร์แห่งอุษมานียะห์ และพระองค์ก็มิได้ทรงถือว่าข้อตกลงในสนธิสัญญาและอภิสิทธิเหล่านั้นมีค่าอันใด ตราบใดที่จักรวรรดิยังคงเข้มแข็งและทรงอำนาจ โดยพระองค์จะทรงยกเลิกเมื่อใดก็ได้เมื่อมีพระประสงค์

 

        อภิสิทธิเช่นนี้ เป็นเสมือนพลังที่ส่งเสริมให้ชาวยุโรปได้เสวยสุขและกอบโกยผลประโยชน์แก่ตนโดยมีป้อมปราการคุ้มกันภัย ทั้งนี้พวกเขาได้รับการยกเว้นมิต้องปฏิบัติตามหรือขึ้นกับอำนาจการปกครองของอุ นอกจากนี้ ข้ออภิสิทธิต่างๆ ที่ชาวยุโรปได้รับยังเป็นเสมือนอุปสรรคตัวยงเบื้องหน้าอุษมานียะห์ โดยเป็นข้อขวางกั้นมิให้สามารถดำเนินนโยบายปรับปรุงการบริหารประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งยังมีส่วนทำให้จักรวรรดิต้องแสวงหาแหล่งเงินทุนใหม่ๆ เพื่อรับมือกับค่าใช้จ่ายในการบริหารและการปกครอง

 

        เรื่องมิได้จำกัดอยู่เพียงแค่นี้ หากแต่บรรดาสนธิสัญญาและอภิสิทธิของชนต่างชาติได้กลับกลายเป็น(อัดเดาะห์ อัลอุษมานียะห์ อัลมุฟตะรอ อะลัยฮา หน้า 750-751 เล่มที่สอง อัลอาลัม อัลอิสลามีย์ ว่า มุฮาวะละห์ อัซซัยฏ่อเราะห์ อะลัยฮิ หน้า 118)

 

        สิทธิพิเศษนอกอาณาเขตเหล่านี้ยังได้ให้อำนาจแก่พลเมืองต่างชาติที่เป็นชาวคริสต์เตียน ซึ่งถือเป็นพลเมืองของจักรวรรดิเช่นกัน และกลับกลายเป็นภัยต่อจักรวรรดิในภายหลัง สิทธิพิเศษที่เป็นข้อตกลงง่ายๆ และไม่ซับซ้อนในเบื้องแรกแต่ได้ก่อให้เกิดความสลับซับซ้อนอย่างมากจนแปรเปลี่ยนสู่ข้อตกลงทวิภาคีในที่สุด กองเรือฝรั่งเศสสามารถเดินเรือเข้าสู่เมืองท่าของอุษมานียะห์และผ่านไปมาอย่างไม่ยุ่งยากภายใต้การชักธงของฝรั่งเศส บรรดานักแสวงบุญได้รับเสรีภาพในการเยือนสถานที่ศักดิ์สิทธิต่างๆ ศักดิ์สิทธิเหล่านั้น

 

        เมื่อกาลเวลาผ่านไปนานเข้าก็กลายเป็นสิทธิที่พึงมีพึงได้ และแผ่ขยายวงกว้างจนครอบคลุมถึงพลเมืองท้องถิ่นบางกลุ่มบางพวกได้รับการยกเว้นภาษีและไม่ต้องขึ้นศาลชะรีอะห์ของอุษมานียะห์ แต่ให้ใช้กระบวนการพิจารณาคดีความต่อหน้าศาลพิเศษที่เรียกกันว่าศาลตุลาการผสม ซึ่งมีบทบาทอย่างใหญ่หลวงในเวลาต่อมา

 

        ตามข้อผูกพันของสนธิสัญญากิมารญีย์ รัสเซียย่อมมีสิทธิในการสร้างโบสถ์ทางคริสตศาสนาในออร์ธอดอกซ์ซึ่งเป็นพลเมืองของจักรวรรดิอุษมานียะห์ สิทธิพิเศษเช่นนี้ได้ก้าวล่วงถึงขั้นเข้าแทรกแซง ได้มีพระราชกฤษฎีกามอบสิทธิปกครองตนเองภายใต้อาณัติของอุษมานียะห์แก่พลเมืองเลบานอนโดยให้นาย เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยตามเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างนครดามัสกัสกับนครเบรุตเท่านั้น การดังกล่าวจึงเป็นเหมือนกับการยุยงให้ชนกลุ่มน้อยอื่นๆ เอาเยี่ยงอย่าง ชาวคริสเตียนในบอสเนียจึงได้ก่อการลุกฮือเพื่อเรียกร้องสิทธิพิเศษเช่นนี้บ้างด้วยการปลุกปั่นของต่างชาติ ดังนั้นจักรวรรดิจึงได้ต่อต้านแต่กระนั้นก็หาได้ทำให้เหตุการณ์สงบลงไม่ ชนกลุ่มน้อยเริ่มก่อการกบฏ แข็งขืนมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยการสนับสนุนของยุโรป

 

        สิทธิพิเศษนอกอาณาเขตได้มีส่วนอย่างยิ่งต่อการลุกโหมของไฟจลาจล และทำให้จักรวรรดิตกอยู่ในสถานการณ์ลำบากตลอดช่วงเวลาอันยาวนาน ซ้ำร้ายสิทธิพิเศษดังกล่าวยังได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการแทรกแซงของกลุ่มประเทศตะวันตกโดยอ้างสิทธิในการพิทักษ์คุ้มครองคนในอาณาเขตของตนและตามมาด้วยการยึดครองและรุกราน (ตารีค อัดเดาละห์ อัล-อุษมานียะห์ หน้า 84 ดร.อะลี ฮัซซูน)

 

        ดังนั้น สิทธิพิเศษตลอดจนสนธิสัญญาเหล่านี้จึงเป็นเหมือนประตูที่เหล่าประเทศตะวันตกได้ก้าวล่วงผ่านสู่เป้าหมายของตน นั่นคือการทำลายระบอบการปกครองแบบค่อลีฟะห์นั่นเอง (ตารีค อัดเดาละห์ อัลอะลียะห์ อัลอุษมานียะห์ หน้า 732  ดร.มุฮำหมัด ฟารีดเบก)