ปรากฏการณ์ฟ้าผ่าจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งและรุนแรงเมื่อใกล้จะถึงวันสิ้นโลก และปรากฏการณ์ฟ้าผ่าไม่จำเป็นว่าจะต้องเกิดขึ้นเวลามีฝนตกเท่านั้น ฟ้าผ่ากลางวันแสกๆ ก็เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง ทราบหรือไม่ว่า กระแสไฟฟ้าแรงสูงที่อยู่ในการเกิดฟ้าผ่ามีมากถึง 10,000 – 30,000 แอมแปร์ และมีความร้อนสูงประมาณ 30,000 องศาเซลเซียส

  

ปรากฏการณ์ฟ้าผ่าเกิดขึ้นเนื่องจากอิเล็กตรอนจำนวนมากเคลื่อนที่ระหว่างเมฆกับพื้นโลก การเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าเป็นไปอย่างรวดเร็วมาก จนเกิดพลังงานสูงมากและสามารถทำลายสิ่งที่กีดขวาง อำนาจการทำลายล้างจะส่งผลให้ทุกสิ่งที่ถูกฟ้าผ่ามอดไหม้ในพริบตา อย่างที่เรียกกันว่า “ดำเป็นตอตะโก” นั่นแหล่ะ

 

ฟ้าผ่าจะเกิดขึ้นภายในเสี้ยววินาที และติดตามด้วยเสียงสะเทือนเลือนลั่นคล้ายกับเสียงระเบิด ดังนั้น เมื่ออาศัยกฏฟิสิกส์ที่ว่า “แสงเร็วกว่าเสียง” เวลาเกิดฟ้าผ่าเป็นแสงสว่างเจิดจ้าลงมา ก็แสดงว่าฟ้าผ่าตรงบริเวณจุดนั้นแล้ว ก่อนที่จะมีเสียงดังสนั่นตามมา แต่คนเรากลัวเสียงดังสนั่นมากกวาซึ่งเกิดขึ้นช้ากว่าพลังงานแสงของฟ้าผ่า ถ้าหากคนๆ นั้นจะถูกฟ้าผ่า ก็ย่อมหมายความว่า คนๆ นั้นถูกฟ้าผ่าไปตั้งแต่ตอนที่มีพลังงานแสงนั้นเกิดขึ้นแล้ว

 

สิ่งที่น่ากลัวคือ แสงในตอนแรกมิใช่เสียงในตอนหลัง คนที่ตกใจจนมีอาการช๊อคหมดสติ และหัวใจหยุดเต้นนั้น บางทีไม่ได้ถูกฟ้าผ่าแต่เป็นผลมาจากเสียงฟ้าผ่าที่ดังสนั่นเหมือนเสียงระเบิด

 

โปรดจำเอาไว้ว่า วัตถุที่มีความสูงมากๆ เช่น ต้นไม้ เสาไฟฟ้า เสาส่งสัญญาณ ตึกระฟ้า และยอดเขา เป็นต้น อาจเป็นเป้าหรือสื่อล่อสายฟ้าได้ง่าย เวลามีฝนตกจึงไม่ควรหลบอยู่ในบริเวณดังกล่าว แต่ควรหลบอยู่ในอาคารบ้านเรือน เพราะอาคารเป็นเสมือนเกราะป้องกันฟ้าผ่าได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอาคารที่มีการติดตั้งสายล่อฟ้าซึ่งช่วยให้กระแสไฟฟ้าจากก้อนเมฆวิ่งลงสู่พื้นดินได้โดยตรง

 

คนที่ทำงานกลางแจ้ง เช่น เกษตรกรและกรรมกรมีโอกาสถูกฟ้าผ่าได้มากกว่าคนที่อยู่ภายใต้หลังคาของอาคารบ้านเรือน เหตุนี้สถิติของผู้ชายจะเสียชีวิตมากกว่าผู้หญิง เพราะผู้ชายทำงานกลางแจ้งและไม่กลัว ไม่หลบฝนเวลาเกิดฝนตกฟ้าคะนอง

 

ในประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตเนื่องจากฟ้าผ่าโดยเฉลี่ยห้าคนต่อปี และจะมีสถิติเพิ่มมากขึ้นในช่วงหลังๆ มานี้ ดังนั้น เมื่อมีเสียงฟ้าร้องนับแต่แรกก็สมควรทำการซิกรุลลอฮฺและกล่าวดุอาอฺป้องกันเสียแต่เนิ่นๆ เช่นสำนวนการซิกรุลลอฮฺที่ว่า 
(سُبْحَانَ الَّذِىْ يُسَبِّحُ الرَّعْدُ بِحَمْدِهِ وَالْمَلَا ئِكَةُ مِنْ خِيْفَتِه)