บทกวีสอนใจ – ๑

ถ อ ด ค ว า ม บ ท ก วี อ า ห รั บ ร้ อ ย ก ร อ ง เ ป็ น ส ำ น ว น ร้ อ ย แ ก้ ว

مَوَاعِظُ الوَعِظِ لَنْ تُقْبَلاَ
حَتّٰٰىيَعِيَهَاقَلْبُه أَوَّلاَ
يَاقَوْمِ مِنْ أَظْلَمُ مِنْ وَاعِظِ
خَالَفَ مَاقَدْقَالَه فِىالْمَلاَ ؟
اَظْهَرَبَيْنَ الْخَلْقِ إِحْسَانَه
وخالَفَ الرَّحْمٰنَ لَمَّاخَلاَ !

วจีสอนสั่งของผู้พร่ำเตือนประดามี
ไร้ศักดิ์ศรีมิถูกรับเพียงเถ้าธุลีนั้น
ตราบจนดวงจิตมั่นครุ่นคิดพินิจมัน
ตรึกตรองพลันก่อนเอื้อนเอ่ยปฐมกาล
โอ้นรชาติ  คนใดเล่าทุศีลทรชนยิ่งกว่า
ผู้พร่ำบ่นสอนคนจนเจนจัดเป็นประจักษ์
ค้านขัดคำตนเอ่ยเอื้อนต่อหน้าธารกำนัล
เสกสรรปั้นแต่งเสแสร้งกลางผองชน
ความดีของตนเลิศล้ำประเสริฐนักไร้เทียมทาน
แต่มิเจียมขัดฝืนพระบัญชาองค์เอกเราะห์มาน
ยามวิกาลปลีกตนเข้าวิเวกห่างหายผู้คน

ค ว า ม พึ ง พ อ ใ จ ต่ อ ลิ ขิ ต ข อ ง พ ร ะ เ จ้ า

دَعِ الأَيَّامَ تَفْعَلُ مَاتَشَاءُ     وَطِبْ نَفْسًاإِذَاحَكَمَ القَضَاءُ
وَلاَتَجْزَعْ لِحَادِثَةِ اللَّيٰالِيْ       فَمَالِحَوَادِثِ الدُّنْيٰابَقَاءُ

จงปล่อยวางวันเวลา   ให้มันทำตามปรารถนา
จงให้ดวงจิตในอุราสถิตมั่น   คราใดที่ลิขิตกำหนดมา
อย่าโอดครวญชวนตัดพ้อ     ต่อเหตุการณ์ยามรัตติกาล
อันเหตุทั้งปวงการของดุนยาสถาน    หาได้คงอยู่  ยั่งยืน

وَكُنْ رَجُلاًعَلَىالأَهْوَالِ جَلْدًا     وَشِيْمَتُكَ السَّمَاحَةُ وَالوَفَاءُ
وَإِنْ كَثُرَتْ عُيُوْبُكَ فِىْالبَرٰايٰا       وَسَرَّكَ أَنْ يَكُوْنَ لَهَاغِطَاءُ

จงเป็นชายชาติอาชา  ผู้ทแก้วกล้าต่อผองภัย
ให้จริตเจ้าคือความการุณและสัตย์ซื่อเป็นนิสัย
มาตรว่าตำหนิเจ้า   จะมากล้นสักเพียงใดในผองชน
และเจ้าก็พึงใจที่ตำหนินั้น   ปรากฏสิ่งปกปิดมัน

تَسَتَّرْبِالسَّخَاءِ فَكُلُّ عَيْبٍ     يُغَطِّيْهِ  ،  كَمَاقِيْلَ  ،  السَّخَاءُ

จงปกปิดด้วยความใจบุญสุนทาน    ดังกล่าวขานว่าตำหนิทั้งปวงนั้น    ความการุณนั้นไซร้จักคลุมมัน

وَلاَتُرِلِلأَعَادِىْقَطُّ ذُلاًّ     فَإِنَّ شَمَاتَةََ الأَعْدَابَلاَءُ
وَلاَتَرْجُ السَّمَاحَةَ مِنْ بَخِيْلٍ     فَمَافِىالنَّارِلِلظَّمْآنِ مَاءُ

อย่าให้เป็นประจักษ์แก่ศัตรู   แม้ความอดสูอันน้อยนิด
เพราะความชื่นจิตของเหล่าปัจจามิตรคือวิบัติภัย
อย่ามุ่งมาดปรารถนา   ความกรุณาจากคนตระหนี่
หามีวารีไม่    สำหรับผู้กระหายในกองอัคคี

وَرِزْقُكَ لَيْسَ يُنْقِصُهُ التَّأَنِّىْ   وَلَيْسَ بَزِيْدُ فِى الرِّزْقِ العَنَاءُ
وَلاَحُزْنٌ يَدُوْمُ وَلاَسُرُوْرٌ    وَلاَ بُؤْسٌ عَلَيْكَ وَلاَرَخَاءُ
إِذَامَاكُنْتَ ذَاقَلْبٍ قَنُوْعٍ   فَأَنْتَ وَمَالِكُ الدُّنْيَاسَوَاءُ


โภคปัจจัยของเจ้านั้น  ความชักช้าหาใช่  ทำให้มันพร่อง
ความจดจ้องตรากตรำอันเหนื่อยล้า  จักเพิ่มพูนโภคทรัพย์ก็หาไม่
การร่ำไห้โศกเศร้าย่อมมิยั่งยืน  แลความปราโมทย์ก็คือกัน
ความทุกข์ยากอันขัดสน  แลความสุขสมก็หาใช่  นิจนิรันดร์
ตราบเมื่อเจ้านั้นมีหัวใจอันพอเพียง  ไม่มักมากมูมมามตามกระสัน
ตราบนั้นไซร้  ตัวเจ้ากับราชันย์แห่งโลกา  ย่อมเทียมกัน

وَمَنْ نَزَلَتْ بِسَاحَتِهِ المَنَايَا   فَلاَ أَرْضٌ تَقِيْهِ وَلاَسَمَاءُ
وَأَرْضُ الله وَاسِعَةٌ وَلكِنْ    إِذَانَزَلَ الْقَضَاءُضَاقَ الْفَضَاءُ

มันผู้ใดใครก็ตาม  ลงมาแล้วที่เขาซึ่งอาสัญ
ย่อมผกผันไร้ปฐพี  แผ่นฟ้า  ปกป้องคุ้มกัน
พสุธาของเอกองค์  แผ่ไพศาลสุดกว้างไกล
แต่ไฉน  ถึงคราลิขิตลง  ที่เวิ้งว้างพลันคับแคบในบัดดล

دَعِ الأَيَّامَ تَغْدِ رُكُلَّ حِيْنٍ     فَمَايُغْنِىعَنِ المَوْتِ الدَّوَاءُ
จงปล่อยวางวันเวลาให้มันทุรยศอยู่ร่ำไป    ก็ใช่ว่าโอสถอันวิเศษจะทัดทานมรณะก็หาไม่

อ ย่ า ดู แ ค ล น ก า ร วิ ง ว อ น

أَتَهْزَأُبِالدُّعَاءِ وَتَزْدَرِيْهِ       وَمَاتَدْرِيْ بِمَاصَنَعَ الدُّعَاءُ
سِهَامُ اللَّيْلِ لاَتُخْطِىْ وَلكِنْ      لَهَاأَمَدٌ وَلِلأَمَدِ انْقِضَاءُ
فَيُمْسِكُهَاإِذَامَاشَاءَرَبِِّيْ      وَيُرْسِلُهَاإِذَانَفَذَالْقَضَاءُ


ท่านดูแคลนเหยียดหยัน  คำวิงวอนกระนั้นหรือ?
ท่านมิรู้ดอกว่าคำวิงวอนนั้นไซร้ สิ่งใดที่มันทำ
อันเกาทัณฑ์แห่งค่ำคืนจักผิดพลาดนั้นไม่มี
กระนั้นมันก็มี  ห้วงเวลา  แลห้วงเวลานั้นมีสุดสิ้น
จะจับรั้งยั้งมันไว้ก็ย่อมได้  เมื่อองค์อภิบาลทรงประสงค์
จะทรงส่งเกาทัณฑ์นั้นให้ออกไปก็ย่อมได้  เมื่อลิขิตนั้นล่วงไป

ค ว า ม รั ก ใ น อิ ส ต รี คื อ ค ว า ม ล ำ เ ค็ ญ แ ห่ ง ทุ ก ข์ เ ข็ ญ

اَكْثَرَالنَّاسُ فِىالنِّسَاءِ وَقَالُوْا      إِنَّ حُبَّ النِّسَاءِ جَهْدُالْبَلاَءِ
لَيْسَ حُبُّ النِّسَاءِ جَهْدًاوَلْكِنْ      قُرْبُ مَنْ لاَتُحِبُّ جَهْدُالْبَلاَء

ผู้คนมักมักมากในอิสตรีและเอ่ยวจีว่า
ความรักในอิสตรีนั้นคือความลำเค็ญแห่งทุกข์เข็ญ
อันความรักในอิสตรีหาใช่ความลำเค็ญ  หากแต่ว่า
ความชิดใกล้คนที่ท่านไร้รักคือความลำเค็ญแห่งทุกข์เข็ญ

โ ช ค ว า ส น า

تَمُوْتُ الأُسْدُ فِىالْغَابَاتِ جُوْعًا       وَلَحْمُ الضَّأْنِ تَأْكُلُهُ الْكِلاَبُ
وَعَبْدٌ قَدْيَنَامُ عَلى حَرِيْرٍ       وَذُوْنَسَبٍ مَفَارِشُهُ التُّرَابُ

ฝูงราชสีห์ในผืนป่าจวนเจียนตายโดยอดอยาก    และเนื้อแกะอันโอชะฝูงสุนัขรุมกัดกินสวาปาม
และทาสผู้ต่ำศักดิ์  อาจหลับใหลบนผืนไหม    และผู้บุญหนักศักดิ์ใหญ่มีผ้าปูนอนเป็นธุลีดิน

จ ง ฝื น อ า ร ม ณ์ ต น

إٍذَاحَارَأَمْرُكَ فٍىمَعْنَيَيْنِ     وَلَمْ تَدْ رِحَيثُ الْخَطَاوَالصَّوَابُ
فَخَالِفْ هَوَاكَ فَإِنَّ الْهَوٰى    يَقُوْدُالنُّفُوْسَ إِلىمَايُعَابُ


เมื่อเรื่องราวของท่านสับสนในสองนัย    และตัวท่านมิรู้ได้ว่าผิดถูกคืออันใด
ก็จงฝืนอารมณ์ท่าน  เพราะอารมณ์นั้นไซร้    จักนำพาจิตใจสู่สิ่งที่ถูกตำหนิติเตียน

ค ว า ม วิ บั ติ อั น ใ ห ญ่ ห ล ว ง
   
فَسَادٌكَثِيْرٌعَالِمٌ مُتَهَتِّكٌ       وَأَكْبَرُمِنْهُ جَاهِلٌ مُتَنَسِّكٌ
هُمَافِتْنَةٌ فِىالْعَالَمِيْنَ عَظِيْمَةٌ        لِمَنْ بِهِمَافِىدِيْنِه يَتَمَسَّكُ      

ความวิบัติอันมากมาย  คือผู้รู้ที่ไร้ยางอายไร้ตระหนัก   ใหญ่หลวงกว่านั้นนัก  คือคนเขลาที่บำเพ็ญเพียร
ทั้งสองนั้นคือความวุ่นวายอันเหลือขนาดในโลกหล้า   สำหรับผู้ที่ถือมั่นในศาสนาตนตามคนทั้งสองนั้น