คนที่พูดมาก ใช่ว่าจะรู้มาก

อิมาม อิบนุ เราะญับ อัล-หัมบะลียฺ (ร.ฮ.) กล่าวว่า : “แน่แท้ มีคนรุ่นหลังเป็นอันมากที่ถูกทดสอบ (ฟิตนะฮฺ) ด้วยสิ่งนี้ (หมายถึงการพูดมาก) แล้วพวกเขาก็เข้าใจไปว่า แท้จริงคนที่พูดมาก ถกเถียงมาก และอภิปรายมากในข้อปัญหาทางศาสนา เป็นคนที่รู้มากกว่าคนที่มิได้เป็นเช่นนั้น นี่เป็นความโง่เขลาล้วนๆ  

จงดูเอาเถิดว่า บรรดาอัครสาวกและปราชญ์ในรุ่นสาวก เช่น อบูบักรฺ , อุมัร , อุษมาน , อะลี , มุอ๊าซฺ , อิบนุ มัสอู๊ด และซัยดฺ อิบนุ ษาบิต (เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม) พวกเขาเป็นอย่างไร? คำพูดของพวกเขาน้อยกว่าคำพูดของอิบนุ อับบาส (ร.ฎ.) ทั้งๆ ที่พวกเขารู้มากกว่าอิบนุ อับบาส (ร.ฎ.) 

 

 ทำนองนั้นแหล่ะ คำพูดของชนรุ่นอัต-ตาบิอีนมีมากกว่าคำพูดของชนรุ่นเศาะหาบะฮฺ ทั้งๆ ที่เศาะหาบะฮฺรู้มากกว่าชนรุ่นอัต-ตาบิอีน

 ทำนองนั้นแหล่ะ ชนรุ่นตาบิอิตตาบิอีน คำพูดของพวกเขามีมากกว่าชนรุ่นอัต-ตาบิอีน ทั้งๆที่ชนรุ่นอัต-ตาบิอีนรู้มากว่าพวกเขา

 ความรู้จึงมิใช่การรายงาน (ริวายะฮฺ) มาก และมิใช่การพูดมาก หากแต่ความรู้คือรัศมีที่ถูกโยนเข้าสู่หัวใจโดยที่บ่าวจะเข้าใจและบรรลุความจริงด้วยความรู้นั้น แยกแยะระหว่างความจริงและระหว่างความเท็จด้วยความรู้นั้น ตลอดจนอธิบายถึงสิ่งนั้นด้วยสำนวนที่กระชับและบรรลุเป้าหมาย…”

(จาก “บะยาน ฟัฎลิ อิลมิสสะลัฟ อะลา อิลมิลเคาะลัฟ” ; อิบนุ เราะญับ อัล-หัมบะลียฺ หน้า 62)