เกริ่นนำ

* ระหว่าง 35,000 ปี ถึง 15,000 ปีก่อนคริศตกาลการอพยพหลายระลอกได้เริ่มขึ้นจากแหล่งเดิมของเอเซีย ข้ามช่องแคบแบริ่งก์โดยเริ่มมีการตั้งชุมชนของพลเมืองรุ่นแรกที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งในดินแดนนับจากอลาสก้าในแถบเขตพื้นทวีปที่อบอุ่น
* 500 ปีก่อนคริศตกาล ชนเผ่าอินเดียนมายาได้มุ่งหน้ามาจากเม็กซิโกสู่มิสสิสซิปปี้
* 900 ปีหลังคริศตกาล อารยธรรมของพวกมายาได้ก่อร่างสร้างตัวขึ้นนับจากคริสตศตวรรษที่ 1000 ถึง 1002 โดยเข้ารุกรานและค้นพบดินแดนชายขอบของโลกใหม่ และราว 1000 ปีให้หลังนับแต่การเคลื่อนย้ายของชนเผ่าต่างๆ สู่พื้นที่ราบอันกว้างใหญ่
* ราวคริสตศตวรรษที่ 1200 จักรวรรดิ์อินคาอันรุ่งเรืองด้วยอารยธรรมได้เริ่มต้นขึ้น ซึ่งต่อมากลายเป็นโบลิเวีย ต่อมาในปีค.ศ. 1471 อารยธรรมของพวกอินคาได้แผ่เข้าสู่แถบตอนใต้ของเปรู ในภายหลังพวกอินคาได้รุกรานชิลีในปีค.ศ. 1484
* ในขณะที่มีการค้นพบโลกใหม่อย่างเป็นทางการ มีชนเผ่าอินเดียนแดงจำนวน 10 ล้านคน พูดภาษาต่างๆ ถึง 200 ภาษา ที่อาศัยอยู่ในคาบสมุทรแม็กซิโก และชนเผ่าอินเดียนอีกราว 6 ล้านคนในบราซิล
* การทำลายล้างชนเผ่าอินเดียนแดงได้เริ่มต้นขึ้นภายหลังการค้นพบโลกใหม่อย่างเป็นทางการด้วยน้ำมือของชาวยุโรป ซึ่งมีสโลแกนหรือคำขวัญว่า “ข้ามาพร้อมกับอุทกภัยอันเชี่ยวกราก” โดยพวกเขา (ชาวยุโรป) ในยุคปัจจุบันต่างก็กล่าวขานคำขวัญที่เกี่ยวกับมนุษยธรรมและสิทธิมนุษยชนโดยหลงลืมสิ่งที่พวกเขาได้เคยกระทำกับชนเผ่าอินเดียนแดงในอดีต
500 ปีให้หลังนับจากการค้นพบโลกใหม่อย่างเป็นทางการ ชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิมคงเหลือพียง 200,000 คนในบราซิล และ 140,000 ในเขตคุ้มครองของอัลทูนา, ชาวอินเดียนแดงจำนวน 150,000 ในสหรัฐอเมริกา, 800,000 คนอยู่ในเขตกักกันของอเมริกา และอีก 70% ในแคนาดาจากเดิม 500,000 คนที่อาศัยอยู่อย่างคับแค้น, 150,000 คนในโคลัมเบีย, 250,000 ในเอคัวดอ, 600,000 ในกัวเตมาลา, 800,000 คนในแม็กซิโก และอีกหลายสิบล้านคนในเปรู
ลูกหลานอินเดียนแดงยังคงกล่าวขานโวหารอันเลื่องลือว่า “อินเดียนที่ดี คืออินเดียนที่ตายไปแล้ว” นั่นคือภาพลักษณ์ที่สะท้อนถึงโลกใหม่ทั้งก่อนและหลังการค้นพบอย่างเป็นทางการซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของโศกนาฏกรรมเลือดที่โลกไม่เคยพานพบมาก่อน สิ่งที่เด่นชัดที่สุดในโศกนาฏกรรมเหล่านั้นคือการบิดพลิ้วสัญญาและการหักหลังต่อชนเผ่าพื้นเมือง
ความพยายามของผู้คนในยุคโบราณ
การถกเถียงอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับความพยายามของผู้คนในยุคโบราณในการค้นหาโลกที่ไม่เป็นที่รู้จักสำหรับพวกเขาได้ส่งผลให้บรรดานักวิชาการได้ตั้งสมมุติฐานหลากหลาย โดยนักวิชาการแต่ละฝ่ายต่างก็พยายามนำเสนอหลักฐานสนับสนุนสมมุติฐานของพวกตน และส่วนหนึ่งจากสมมุติฐานเหล่านี้คือการที่ชาวไอยคุปต์โบราณได้เคยไปถึงทวีปอเมริกาทั้ง 2 มาแล้วเมื่อครั้งโบราณ

ไอยคุปต์โบราณ
ไม่มีข้อสงสัยใดๆ ในกรณีที่ว่ากองเรือรบแรกในประวัติศาสตร์ได้ปรากฏขึ้นในลุ่มแม่น้ำไนล์ หลักฐานบ่งชี้ถึงสิ่งดังกล่าวคือรูปภาพของเรือที่ถูกประดับประดาด้วยเครื่องดินเผาที่ถูกทำขึ้นในยุคหินใหม่ นอกจากนี้ยังมีหลักฐานอีกมากมายที่บ่งถึงอุตสาหกรรมต่อเรือและใช้เรือเหล่านั้นในเขตลุ่มแม่น้ำไนล์ในระหว่างช่วงยุคแรกๆ ของประวัติศาสตร์
ส่วนหนึ่งคือโครงเรือซึ่งถูกค้นพบในบริเวณใกล้กับมหาปิระมิดใหญ่แห่งเมืองญีซะฮฺ ซึ่งถือกันว่าเป็นต้นแบบของเรือโบราณที่เก่าแก่ที่สุดที่เหลือรอดมาถึงปัจจุบันที่ยังมีสภาพดีอยู่ มีหลักฐานทางวัตถุหลายอย่างบ่งชี้ว่าพลเมืองในแถบลุ่มแม่น้ำไนล์และแอฟริกาเหนือเคยข้ามไปถึงมหาสมุทรแอตแลนติก และพวกเขาเป็นคนกลุ่มแรกที่เคยค้นพบทวีปอเมริกาทั้งสอง (ดร.เบรี่ ฟิลล์ : ตำนานการค้นพบอเมริกา แปลโดย ฟุอ๊าด อัลกะอฺบาซี่ย์, เฟาซี่ย์ ญาดัลลอฮฺ ตรวจทาน ; ศูนย์การศึกษาการต่อสู้ของชาวลิเบียต่อการรุกรานของอิตาลี ; ลิเบีย (ค.ศ.1988)
พวกชนชาติฟินิเชี่ยน
การศึกษาเกี่ยวกับโลกใหม่ได้ก่อให้เกิดการถกถียงในวงกว้าง คูเซ่ บิซ่า ยัรลา มารีนา นักวิชาการชาวแม็กซิกัน ซึ่งทำงานอยู่ในพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมได้เปิดเผยถึงความสำเร็จของเขาแก่หนังสือพิมพ์ เอกซ์ลาซิโยร ซึ่งออกในนครแม็กซิโกซิตี้ ในการยืนยันว่าพวกชนชาติฟินิเชี่ยนคือพวกแรกที่ค้นพบทวีปอเมริกาทั้งสองและการค้นพบโลกใหม่ของพวกเขาเป็นไปโดยบังเอิญเมื่อก่อน 26 ศตวรรษมาแล้ว การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ถูกเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์ฉบับข้างต้น ฉบับวันที่ 13/12/ ค.ศ.1991
โดยชี้แจงว่า พวกชนชาติฟินิเชี่ยนได้เคยตั้งหลักแหล่งอยู่ช่วงเวลาหนึ่งในดินแดนของทวีปอเมริกา และก่อนที่จะมีการตระเตรียมเพื่อเดินทางหวนกลับมาอีกครั้ง กัปตันเรือของพวกฟินิเชี่ยนได้ใช้ให้เสมียนเลือกก้อนหินมาก้อนหนึ่งเพื่อบันทึกข้อความลงบนแผ่นหินนั้นถึงสิ่งที่อาจจะถือได้ว่าเป็นสิ่งบ่งชี้ว่าพวกเขาเคยปรากฏตัวอยู่ในผืนแผ่นดินของทวีปใหม่นี้ และเช่นเดียวกันในระหว่างที่เรือของพวกเขากำลังเตรียมถอนสมอ เสมียนก็เริ่มบันทึกในสาส์นของตนว่า
“พวกเราคือลูกหลานของอันการ มาจากเมืองซอยดา นครแห่งกษัตริย์ การค้าขายได้นำพาพวกเรามาถึงชายฝั่งนี้ซึ่งห่างไกลจากดินแดนแห่งขุนเขา แม่ทัพของพวกเราได้เคยท่องท้องทะเลแดง และออกเดินทะเลในกองเรือจำนวน 10 ลำ พวกเราคงอยู่ในท้องทะเลเป็นเวลา 2 ปี โดยพวกเราได้ล่องเรือวนเวียนรอบๆ ดินแดนรายล้อมแอฟริกา แต่แล้วพวกเราก็ต้องพลัดพรากจากขบวนเรือด้วยน้ำมือของเทพเจ้าบะอัลซึ่งใช้ลมพายุเป็นสื่อ พวกเราจึงพลัดพรากแยกจากเพื่อนๆ ของเรา เช่นนี้แหละพวกเราได้มาถึงที่นี่ มีชายจำนวน 12 คนและหญิง 3 คน”
นักวิชาการสัญชาติแม็กซิกันผู้นี้ยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า : “ไม่มีผู้ใดล่วงรู้ว่าเมื่อพวกเขาประสบชะตากรรมเช่นนั้นพวกเขาได้กลับสู่ดินแดนดั้งเดิมของพวกเขาหรือไม่?” ทว่า เฮโรโดตัส นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกได้เคยจดบันทึกเรื่องราวการผจญภัยของชาวฟินิเชี่ยนกลุ่มดังกล่าวในประวัติศาสตร์ของตน โดยพวกเขาได้ผจญภัยบนเรือ 10 ลำภายใต้การนำของแม่ทัพเรือ โคโดโม ผู้สร้างนครเอเธนส์ และท่าเรือในหมู่เกาะไซปรัสและเกาะครีต
ลมพายุได้พัดกองเรือของพวกฟินิเชี่ยนในแถบชายฝั่งของแอฟริกาตรงกันข้ามกับบราซิล เรื่องราวที่เฮโรโดตัสได้เล่าเอาไว้ในประวัติศาสตร์ของเขาบ่งชี้ถึงวีรกรรมต่างๆ ตลอดจนการทุ่มเทที่แม่ทัพโคโดโมได้สร้างเอาไว้ในการเดินทางรอบโลกหลังจากที่ข้ามทะเลทั้งสอง (คือทะเลแดงและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน) และพวกลูกเรือได้ลงสำรวจชายฝั่งหลายแห่งด้วยกัน วีรกรรมเช่นนี้เป็นที่รู้จักกันดีสำหรับพวกฟินิเชี่ยนโดยเฉพาะในท้องทะเล
แผ่นหินที่พวกฟินิเชี่ยนเคยบันทึกเรื่องราวของพวกเขาเอาไว้ยังคงอยู่ที่ชายฝั่ง บารียา ในประเทศบราซิลตลอดระยะเวลา 25 ศตวรรษ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1872 ชาวเมืองในถิ่นดังกล่าวได้ค้นพบแผ่นหินนั้น ขณะที่พวกเขาได้นำก้อนหินประหลาดนี้ออกมาแล้วทำความสะอาด เจ้าของที่ดินที่ค้นพบก้อนหินนี้ก็ได้จัดส่งก้อนหินประหลาดนี้ไปยังสถาบันทางวิชาการใน ริโอ ดิ ญาเนโร
ซึ่งในตอนแรกบรรดานักวิชาการที่เป็นนักโบราณคดียังคงตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความถูกต้องของก้อนหินนี้ บรรดาอักขระที่ถูกบันทึกในแผ่นหินนั้นเป็นตัวอักขระฟินิเชี่ยน นอกจากว่านักโบราณคดีเหล่านั้นได้ตั้งข้อสงสัยว่าสำนวนที่ถูกบันทึกในแผ่นหินนั้นไม่ใช่ลักษณะเฉพาะของสำนวนแบบฟินิเชี่ยนในเวลานั้น การชี้ขาดของนักโบราณคดีชาวบราซิลยังคงเป็นความลับนับจากปี ค.ศ. 1872 จนถึงปี ค.ศ. 1899 ซึ่งมีการเผยแพร่ผลงานวิจัยของพวกเขาโดยสรุปว่า ก้อนหินดังกล่าวเป็นของปลอม
หลังจากนั้นอีกราว 1 ศตวรรษ ดร. ซิรูส กอร์ดอน จากมหาวิทยาลัยบรันดิสของอเมริกาได้ให้ความสนใจในการไขปริศนาของตัวบทที่ถูกจารึกในแผ่นหินนี้ซึ่งถูกค้นพบในบารียา ประเทศบราซิล และเป็นเรื่องที่น่าทึ่งเมื่อ นักวิจัยทางโบราณคดีผู้นี้ได้ประกาศว่าก้อนหินนี้เป็นของจริงและเป็นของแท้ ซึ่งเป็นผลมาจากการค้นพบข้อเขียนโบราณของฟินิเชี่ยนในถ้ำของทะเลแดง
ในเอกสารข้อเขียนโบราณเหล่านี้มีการใช้สำนวนที่คล้ายคลึงกับอักขระที่ถูกบันทึกบนก้อนหินดังกล่าว และมีสำนวนวรรณกรรมที่คล้ายคลึงกันและสอดคล้องกับสำนวนของอักขระบนก้อนหินนั้น ดร.กอร์ดอน ได้นำเสนอหลักฐานโดยกล่าวว่า : สำนวนต่างๆ ที่ถูกบันทึกบนก้อนหินนั้นจริงๆ แล้วเป็นสำนวนเฉพาะซึ่งพวกฟินิเชี่ยนได้เคยใช้กันในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล
เกี่ยวกับข้อชี้ขาดของนักโบราณคดีชาวบราซิลที่สังกัดสถาบันวิชาการในริโอ ดิ ญาเนโร นั้น ดร.กอร์ดอนกล่าวว่า : ผลลัพธ์ที่ได้จากการตรวจสอบทางวิชาการที่รัดกุมนั้นเป็นเพราะว่าในปี ค.ศ. 1872 เอกสารและข้อเขียนของชาวฟินิเชี่ยนที่เป็นที่รู้กันยังมีไม่มาก และการใช้สำนวนของพวกเขาก็ยังเป็นปริศนาอยู่สำหรับนักโบราณคดีซึ่งออกข้อชี้ขาดมาเมื่อหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ทว่าได้มีเอกสารทางโบราณคดีอื่นๆ
ซึ่งมีการค้นพบครั้งใหม่ได้ปรากฏออกมาและสนับสนุนผลงานวิจัยของเขาอันเป็นสิ่งที่ทำให้แผ่นหินแห่งบารียากลายเป็นหลักฐานทางโบราณคดีที่ไร้ข้อกังขาใดๆ กล่าวคือ ถ้าหากแผ่นหินบารียา (สมมุติ) ว่าถูกทำเลียนแบบในปี ค.ศ.1972 สิ่งดังกล่าวก็เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลย เพราะสำนวนการเขียนอักขระแบบฟินิเชี่ยนนั้นยังคงเป็นปริศนาอยู่ในเวลานั้น และหลักฐานชิ้นนี้ซึ่งยืนยันถึงการปรากฏว่ามีชาวฟินิเชียนอยู่ในดินแดนเหล่านี้นับแต่ยุคโบราณจึงทำให้เรายอมรับโดยดุษฎีต่อเรื่องราวของบรรดานักเดินเรือทะเลผู้รักการผจญภัยเหล่านั้น
บรรดาหลักฐานยืนยันถึงการที่ชาวฟินิเชียนเคยไปถึงอเมริกา
นักค้นคว้าชาวเม็กซิกันได้ชี้ว่า หลังการค้นพบแผ่นหินแห่งบารียา ได้มีการค้นพบหลักฐานอื่นๆ อีกเมื่อไม่นานมานี้ โดยหลักฐานเหล่านั้นยืนยันถึงการมีอยู่จริงของชาวฟินิเชียนในบราซิลที่ปากแม่น้ำอเมซอน มีการค้นพบเครื่องปั้นดินเผารูปทรงต่างๆ ที่มีลวดลายแบบฟินิเชียน ซึ่งผู้มีความรู้ในด้านนี้สามารถดูและพิจารณาลวดลายดังกล่าวได้ในพิพิธภัณฑ์ “บูวิลดี เดอ เบลียม” ในบราซิล
ในทำนองเดียวกันยังมีการค้นพบวัตถุสัญลักษณ์อีกหลายชิ้นในเขตผืนป่าอันรกชัฏของ “มาธ็อค ญาร์โซ” ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่คล้ายคลึงอย่างมากกับวัตถุโบราณซึ่งถูกค้นพบในเมืองซอยดา สมมุติฐานหรือทฤษฎีใหม่ที่ระบุถึงการปรากฎของชาวฟินิเชียนอยู่ในอเมริกาก่อนหน้าคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสนี้ยังรวมถึงสมมุติฐานอื่นๆ ที่บ่งชี้ถึงการเดินทางหลายระลอกเพื่อข้ามทวีปของชนชาติไวกิ้ง ตลอดจนชาวญี่ปุ่นซึ่งกล่าวกันว่า พวกเขาไปถึงแม็กซิกันในปี 495 ก่อนคริสตกาล และเรื่องราว ไลฟ์ อิริกสัน ซึ่งกล่าวกันว่า เขาเคยเดินทางมาถึงโลกใหม่ในราวปี 1,000 ก่อนคริสตกาล