คติชาติพันธุ์นิยม

        คำว่า “คตินิยม” เป็นคำนามหมายถึง แบบอย่างความคิดเห็น ความเชื่อ หรือวิธีการคิดรวมกันที่เป็นลักษณะของกลุ่มชน เช่น กลุ่มวิชาชีพนิกายศาสนา พรรคการเมือง เป็นต้น ส่วน คำว่า “ชาติพันธุ์” เป็นคำนาม หมายถึง กลุ่มที่มีพันธะเกี่ยวข้องกัน และที่แสดงเอกลักษณ์ออกมา โดยการผูกพันลักษณาการของเชื้อชาติและสัญชาติเข้าด้วยกัน (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 พิมพ์ครั้งที่ 6 พ.ศ.2539, บริษัทอักษรเจริญทัศน์ อจท.จำกัด;กรุงเทพฯ หน้า 165, 266)

 

        ในภาษาอาหรับเรียกว่า อัลอุนซุรียะฮฺ (العنصرية) หมายถึง ลัทธิของกลุ่มที่นิยมคลั่งไคล้ต่อชาติกำเนิดของพวกตน (อัลมุนญิด ฟิลลุเฆาะฮฺ วัลอะอฺลาม, พิมพ์ครั้งที่ 39 (2002) ; ดารุ้ล มัชริก เลบานอน หน้า 533)  ในภาษาอังกฤษเรียกว่า racialism หรือ racism มีความหมายว่า คตินิยมเชื้อชาติ (Aksorn’s THAI LEARNER’S DICTIONARY ; บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท.จำกัด (กรุงเทพฯ) ; 2004 p.413)

 

        นอกจากนี้ยังมีคำว่า “ชาตินิยม” ซึ่งหมายถึง ลัทธิที่ถือชาติเป็นใหญ่ หรือความรักชาติ (พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน อ้างแล้ว หน้า 266) ดังนั้นคำว่า “คติชาติพันธุ์นิยม” จึงมีความหมายว่า “ความ ชื่นชมยินดีอันเป็นที่ยอมรับนับถือต่อแบบอย่างความคิดเห็น ความเชื่อ หรือวิธีการคิดรวมกันที่เป็นลักษณะของกลุ่มชนซึ่งมีพันธะเกี่ยวข้องกัน และที่แสดงเอกลักษณ์ออกมา โดยการผูกพันลักษณาการของเชื้อชาติและสัญชาติเข้าด้วยกัน และโดยมากผู้ที่ถือในคติชาติพันธุ์นิยมนี้ มักจะมีความนิยมคลั่งไคล้ต่อชาติกำเนิดของตนหรือถือชาติกำเนิดของตน เป็นใหญ่อีกด้วย”

 

        ในหลักคำสอนของศาสนาอิสลามนั้นมีหลักฐานบ่งชี้อย่างชัดเจนว่า อิสลามให้การยอมรับต่อชาติพันธุ์ของมนุษย์ว่าเป็นการสร้างสรรค์ของพระผู้ เป็นเจ้าซึ่งมีความหลากหลาย (تنوع) และความแตกต่างกัน (اختلاف) แต่ความหลากหลายและความแตกต่างในชาติพันธุ์ของมนุษย์ก็มีที่มาจาก “ต้นกำเนิด” เดียวกัน กล่าวคือมาจากอาดัมและฮาวาอฺ ซึ่งเป็นมนุษย์คู่แรกของโลก ดังปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอ่าน บท อัลฮุญุรอต อายะฮฺที่ 13 ว่า

ياأيهاالناس إناخلقناكم من ذ كروأنثى و جعلناكم شعوباوقباﺋﻞ لتعارفو ….. الآية
الحجرات ١٣
“โอ้ มวลมนุษยชาติ แน่แท้เราได้บังเกิดสูเจ้าทั้งหลายจากเพศชายและเพศหญิง และเราได้บันดาลให้สูเจ้าทั้งหลายเป็นชาติพันธุ์ต่าง ๆ และเป็นก๊กเป็นเหล่า ทั้งนี้เพื่อที่สูเจ้าทั้งหลาย จักได้ทำความรู้จักซึ่งกันและกัน”
(อัลฮุญุรอต : 13)

        อายะฮฺข้างต้นได้ระบุประเด็นสำคัญเอาไว้ 3 ประเด็น กล่าวคือ
        1. ความเสมอภาค
        2. การเรียนรู้กันของสังคมมนุษย์
        3. การจำกัดความประเสริฐด้วยความยำเกรงต่อพระผู้เป็นเจ้าและการประกอบคุณงามความดี

        ในส่วนของความเสมอภาคนั้น มนุษย์มีความเท่าเทียมกัน ประหนึ่งดังซี่ฟันของหวี ในด้านรากเหง้าและที่มาของมนุษย์ คือ มาจากบิดาและมารดาคนเดียวกัน และในด้านสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติ สิ่งนี้ถือเป็นหลักมูลฐานของประชาธิปไตยที่แท้จริง พระองค์อัลลอฮฺได้ทรงแจ้งให้ทราบว่าพระองค์ทรงสร้างมนุษย์มาจากเพศชายและเพศ หญิง หากพระองค์ทรงมีพระประสงค์เป็นอื่น พระองค์ย่อมสร้างมนุษย์มาจากสิ่งอื่นที่มิใช่เพศทั้งสองนั้น อาทิเช่นการสร้างอาดัม หรือสร้างโดยไม่มีเพศชายดังเช่นการสร้างอีซา (อ.ล.) หรือโดยไม่มีเพศหญิง ดังเช่นการสร้างฮะวาอฺ เป็นต้น

 

        ส่วนการเรียนรู้และการทำความรู้จักซึ่งกันและกันนั้น พระองค์อัลลอฮฺได้ทรงสร้างมนุษย์ให้มีเชื้อสายและการเกี่ยวดองกันทางเครือ ญาติ ให้เป็นเผ่าพันธุ์และชาติพันธุ์ต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อทำการรู้จักซึ่งกันและกัน, มีปฏิสัมพันธ์และให้การช่วยเหลือระหว่างกัน หาใช่เพื่อการปฏิเสธเยื่อใยและการตัดรอนความสัมพันธ์, การเป็นศัตรูมุ่งร้าย, การเหน็บแนมประชดประชัน, การดูถูก ดูแคลน และการนินทาลับหลังอันจักนำไปสู่การพิพาทและการเป็นศัตรูไม่ และหาใช่เพื่อการ โอ้อวดในเชื้อสายโลหิตและชาติตระกูลตลอดจนเผ่าพันธุ์ไม่ ทั้งนี้เพราะสิ่งดังกล่าวถือเป็นการให้ความสำคัญต่อสิ่งที่จอมปลอมและถูก สมมติขึ้นเองซึ่งค้านกับอุดมคติที่ว่าด้วยความเป็นหนึ่งเดียวของที่มา แห่งมนุษยชาติ (ดร.วะฮฺบะฮฺ อัซซุฮัยลีย์ ; อัตตัฟซีร อัลมุ่นีร ดารุ้ลฟิกริ, ดามัสกัส ซีเรีย เล่มที่ 26 หน้า 265-266)

 

        การมีชาติพันธุ์ที่หลากหลายของมนุษย์จึงถือเป็นเจตจำนงของพระผู้เป็นเจ้าที่มี เป้าหมายให้มนุษย์ทำความรู้จักและเรียนรู้ซึ่งกันและกันบนพื้นฐานของการยอม รับถึงความเป็นพี่น้อง ร่วมเผ่าพันธุ์มนุษย์ซึ่งล้วนแล้วแต่สืบกลับไปถึงมนุษย์คู่แรกของโลก คือ อาดัมกับฮาวาอฺ ความมีชาติพันธุ์และเชื้อชาติที่ต่างกันจึงมิอาจถูกนำมาใช้เป็นบรรทัดฐานใน การกำหนดสถานภาพความสูงส่งหรือความต่ำต้อยของมนุษย์ได้ หากแต่อิสลามได้กำหนดสภาวะทางศีลธรรมเป็นบรรทัดฐานในการกำหนดสถานภาพดัง กล่าว ดังปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอ่าน บท อัลฮุญุรอต อายะที่ 13 ว่า

(إن أكرمكم عندالله أتقاكم ٬ إن الله عليم خبير)
“แท้ จริงผู้ที่มีเกียรติสูงส่งในหมู่สูเจ้า ณ พระองค์อัลลอฮฺ นั้นคือ ผู้ที่มีความยำเกรง มากที่สุดในหมู่สูเจ้า แท้จริงพระองค์อัลลอฮฺทรงปรีชาญาณ และทรงรอบรู้ยิ่ง”
(อัลฮุญุรอต อายะฮฺที่ 13)

       
และปรากฏในอัลหะดีษว่า :

لافضل لعربى على أ عجمى ٬ ولا لأعجمى على عر بى ٬ ولالأبيض على أسود  ولالأ سود على أبيض إلابالتقوى ٬ الناس من آ دم وآ دم من تراب 
رواه أحمد

“ไม่ มีความประเสริฐสำหรับชาวอาหรับเหนือชนอื่นที่มิใช่ชาวอาหรับและไม่มีความ ประเสริฐสำหรับชนอื่นที่มิใช่ชาวอาหรับเหนือชาวอาหรับ , และย่อมไม่มีความประเสริฐสำหรับชนผิวขาวเหนือชนสีผิว, และย่อมไม่มีความประเสริฐสำหรับชนสีผิวเหนือชนผิวขาว นอกจากด้วยความยำเกรง (อัตตักวา) มนุษย์มาจากอาดัม และอาดัมมาจากดิน”
(รายงานโดยอะฮฺหมัด)

        อิสลามยังถือว่าความหลากหลายของภาษาและสีผิวของมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งจากบรรดา หลักฐานที่บ่งชี้ถึงมหิทธานุภาพ (อัลกุดเราะฮฺ) ของพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) อีกด้วย ดังปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอ่าน ว่า

ومن آ ياته خلق السموات والأرض واختلاف ألسنتكم والوانكم إن فى ذلك لآيات للعالمين
الروم : ٢٢
“และส่วนหนึ่งจากบรรดาสัญญาณ (ที่บ่งชี้ถึงมหิทธานุภาพ) ของพระองค์คือการ สร้างชั้นฟ้าและผืนแผ่นดิน ตลอดจนความแตกต่างทางภาษาและสีผิวของหมู่สูเจ้า แท้จริงใน สิ่งดังกล่าวย่อมมีบรรดาสัญญาณสำหรับผู้มีปัญญา”
(อัรรูม : 22)

        อัลกุรฏุบีย์ กล่าวว่า : ลิ้นซึ่งอยู่ในปากนั้น มีความแตกต่างของภาษา ทั้งภาษาอาหรับ, อะญัม (เปอร์เซีย), ตุรกี และรูมีย์ และความแตกต่างของสีผิวในรูปลักษณ์ภายนอกทั้งผิวขาว ผิวดำ และผิวแดงนั้น ท่านเกือบจะไม่พบมนุษย์คนใดนอกจากว่าท่านนั้นสามารถแยกแยะระหว่างเขาผู้นั้น กับคนอื่นได้ และสิ่งต่างๆ เหล่านี้มิได้เกิดจากการกระทำของอสุจิหรือบิดามารดาแต่อย่างใด ฉะนั้นจำต้องมีผู้กระทำให้เป็นอย่างนั้นซึ่งก็คือพระองค์อัลลอฮฺนั่นเอง และนี่ถือเป็นหลักฐานที่ดีที่สุดซึ่งบ่งชี้ถึงพระองค์” (อัยซะรุตฺตะฟาซีรฺฯ ; อบูบักร ญาบิร อัลญะซาอิรีย์ เล่มที่ 4 หน้า 170)

 

        ชาติพันธุ์ ภาษา และสีผิว  จึงไม่ใช่สิ่งที่มนุษย์จะนำมาอ้างเพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่ตนในการเบียด เบียนหรือข่มเหงรังแกกลุ่มชนอื่นที่มีชาติพันธุ์ ภาษาและสีผิวต่างจากตน ตลอดจนการดูถูกเหยียดหยามในระหว่างมนุษยชาติด้วยกันเอง การเหยียดสีผิว การลิดรอนสิทธิ การอยุติธรรม และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ อันมีสาเหตุมาจากความคลั่งไคล้ในชาติพันธุ์ ภาษา และสีผิวล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ศาสนาอิสลามปฏิเสธและประณามอย่างรุนแรง

        ศาสนาอิสลามได้อุบัติขึ้นในขณะที่โลกตกอยู่ในสภาพของความแตกแยก และผู้คนในยุคก่อนอิสลามต่างก็ยึดมั่นอย่างสุดกู่ต่อคติชาติพันธุ์นิยมอัน มืดบอด ชาวอาหรับยึดมั่นคลั่งไคล้ต่อเผ่าพันธุ์ของตนมีการแบ่งพรรคแบ่งพวก แบ่งก๊กแบ่งเหล่า อาทิเช่น เผ่าเอาวซฺและอัลคอซฺรอจญ์ในนครยัซริบ (มะดีนะฮฺ) ตระกูลอัดนานและตระกูลกอฮฺฏอนในคาบสมุทรอาหรับ พวกอัชชูเรียนในอิรัก พวกฟินิเชียนในซีเรียและเลบานอน พวกฟิรอูนียะฮฺในอียิปต์ และพวกเบอร์เบอร์ในดินแดนซีกตะวันตกของโลกอาหรับ เป็นต้น

        เมื่ออิสลามได้ปรากฏ อิสลามก็ได้เรียกร้องผู้คนให้ละทิ้งสายสัมพันธ์อันมืดบอดนี้ และให้รวมเป็นหนึ่งเดียวภายใต้ถ้อยคำ (لاإله الاالله محمدرسول الله) คำสอนของอิสลามได้หลอมรวมกลุ่มชาติพันธุ์ ภาษา และสีผิวต่าง ๆ เข้าเป็นประชาชาติเดียวกันและเรียกขานว่า (الأمة الاسلامية) “ประชาชาติอิสลาม” ดังปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอ่านว่า

إن هذه أمتكم أمة واحدة وأناربكم فاعبدون
الأنبياء ٩٢
“แท้ จริงนี่คือประชาชาติของสูเจ้าทั้งหลายอันเป็นประชาชาติหนึ่งเดียว และข้าคือพระ ผู้ทรงอภิบาลของสูเจ้าทั้งหลาย ดังนั้นสูเจ้าทั้งหลายจงเคารพสักการะข้า (แต่เพียงผู้เดียว) เถิด …”
(อัลอัมบิยาอฺ : 92)


        ด้วยคำประกาศเช่นนี้ อิสลามจึงอยู่เหนือความเป็นชาติพันธุ์และสีผิวทั้งหลาย และโต้ตอบกับมนุษย์ทุกชาติพันธุ์โดยมุ่งหวังสร้างเอกภาพและหลอมรวมพวกเขาให้ เข้าอยู่ในความเป็นประชาชาติแห่งความเป็นพี่น้องกัน โดยจะไม่ยอมรับความประเสริฐและความสูงส่งของ ผู้ใดนอกจากด้วยระดับของความเคร่งครัดที่มีต่อสายเชือกแห่งศรัทธาอันเหนียว แน่นเท่านั้น (ดร.อะฮฺหมัด เอาดะฮฺ ; อัลอิสลาม ฟี มุฟตะรอก อัฏฏุรุก หน้า 100 แปลโดย อุสมาน อะมีน)

 

        ท่านศาสนทูต (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้ดำเนินตามอุดมคติในข้อนี้และ สถาปนา “ประชาชาติอิสลาม” ขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม บรรดาอัครสาวกของท่านมิได้มีเฉพาะชนชาติอาหรับเพียงเท่านั้น หากแต่ยังมีชนชาติอื่นอีกด้วย อาทิเช่น ท่านซัลมาน (ร.ฎ.) ซึ่งเป็น ชาวเปอร์เซีย, ท่านบิล๊าล (ร.ฎ.) ชาวฮับชีย์ (เอธิโอเปีย) และท่านฮุซัยบ์ เป็นชาวรูม เป็นต้น นอกจากนี้สิ่งแรก ๆ ที่ท่านศาสนทูต (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้กระทำเมื่อแรกอพยพ สู่นครมะดีนะฮฺก็คือ การสร้างความเป็นพี่น้อง (المؤاخاة) ระหว่างเหล่าชนผู้อพยพ (มุฮาญิรูน) และเหล่าผู้ให้การช่วยเหลือ (อัลอันศ๊อร) อีกด้วย (ฟิกฮุซซีเราะฮฺ ; ดร.มุฮำหมัด สะอีด ร่อมาฎอน อัลบูฏีย์ หน้า 155)

 

        ท่านศาสนทูต (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ยังได้แต่งตั้ง บาซาน อิบนุ ซาซานฺ และชะฮฺร์ อิบนุ บาซาน ซึ่งมีเชื้อสายสืบถึงบะฮฺรอม ญูรฺ กษัตริย์เปอร์เซียให้เป็นเจ้าเมืองยะมัน และนครซอนอาอฺ อีกเช่นกัน (อัลฮุกูมะฮฺ อัลอิสลามียะฮฺ, อบุลอะอฺลา อัลเมาดูดีย์ (กรุงไคโร) ; 1980, หน้า 226) และกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้ความเป็นประชาชาติอิสลามก็สามารถสร้างสรรค์อารยธรรมอิสลาม (الحضارة الإسلامية) อันยิ่งใหญ่ ซึ่งมิใช่อารยธรรมของชาวอาหรับ, ตุรกี, เปอร์เซีย เป็นการเฉพาะ แต่อย่างใด (อิฮฺซะรู อัลอะซาลีบ อัลฮะดีษะฮฺ ฟี มุวาญะฮะติลอิสลาม ; ดร.สะอฺดุดดีน อัซซัยยิด ซอลิฮฺ ; ดารุ้ลอัรกอม ซะกอซีก (1993) หน้า 132)

 

        และเฉกเช่นที่อิสลามได้ประกาศสงครามต่อความเชื่อที่มืดบอดและจมปลักอยู่ในอวิชา เนื่องจากความเชื่อและอวิชานั้นเป็นภัย ต่อสติปัญญาและหลักศีลธรรม อิสลามก็ได้ประกาศสงครามต่อประเพณีนิยมที่ถือตามกันอย่างโง่เขลาซึ่งตั้ง อยู่บนพื้นฐานของความนิยมคลั่งไคล้ (العصبية) การหยิ่งยโสโอหัง การโอ้อวด และการอ้างเกียรติของเผ่าพันธุ์อีกด้วย (อัลฮะลาล-อัลฮะรอม ; ดร.ยูซุฟ อัลกอรฎอวีย์ (กรุงไคโร) หน้า 237) ความนิยมคลั่งไคล้ ซึ่งหมายถึง การแสดงอาการผิดปกติอย่างอาการคนบ้า หรือโดยปริยายหมายถึง การหมกมุ่นในสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนเกินไป (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 หน้า 172) จึงเป็นสิ่งที่ไม่มีในหลักคำสอนของอิสลาม (لاعصبية فى الإسلام) และสิ่งแรกที่อิสลามได้กระทำในเรื่องดังกล่าวก็คือการฝังกลบความ คลั่งไคล้ในทุกรูปแบบ และบัญญัติห้ามมิให้ชาวมุสลิมหลงนิยมชมชอบต่อความรู้สึกเช่นนั้น หรือเรียกร้องเชิญชวนไปสู่มันและท่านศาสนทูต (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ยังได้ประกาศ ตัดความเกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีพฤติกรรมดังกล่าว โดยมีพระวจนะว่า :

ليس منا من دعا إلى عصبية ٬ وليس منا من قا تل على عصبية ٬ وليس منا من مات على عصبية
رواه ابوداود
“หา ใช่ส่วนหนึ่งจากเราไม่ บุคคลใดก็ตามที่เรียกร้องเชิญชวนสู่ความนิยมคลั่งไคล้, และหาใช่ส่วนหนึ่งจากเราไม่ บุคคลใดก็ตามที่สู้รบบนความนิยมคลั่งไคล้, และหาใช่ส่วนหนึ่งจากเราไม่ บุคคลใดก็ตามที่สิ้นชีวิตลงบนความนิยมคลั่งไคล้”
(รายงานโดยอบูดาวูด)


        ฉะนั้น ย่อมไม่มีความพิเศษอันใดสำหรับสีผิวหนึ่งสีผิวใด และเผ่าพันธุ์ใดเป็นการเฉพาะจากมวลมนุษย์ และไม่มีความพิเศษสำหรับเขตแดนใดจากโลกนี้ และไม่อนุญาตให้มุสลิมคนใดนิยมคลั่งไคล้ต่อสีผิวหนึ่งเหนืออีกสีผิวหนึ่ง กลุ่มชนหนึ่งเหนือกว่าอีกกลุ่มชนหนึ่ง และเขต แคว้นหนึ่งเหนืออีกเขตแคว้นหนึ่ง อีกทั้งไม่เป็นที่อนุมัติแก่ผู้ที่ศรัทธาต่อพระองค์อัลลอฮฺและ วันสุดท้ายในการที่เขาจะให้ความช่วยเหลือกลุ่มชนของตนเพียงเพราะการเกี่ยว ดองกับพวกเขา ไม่ว่าพวกนั้นจะเป็นฝ่ายถูกหรือฝ่ายผิด ถูกอยุติธรรมหรือเป็นผู้อยุติธรรมก็ตามมีรายงานจากท่านวาซิละฮฺ อิบนุ อัลอัสเกาะอฺว่า ฉันได้กล่าวว่า : โอ้ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ ! อะไรคือ ความคลั่งไคล้ (อัลอะซอบียะฮฺ) ? ท่านศาสนทูตกล่าวว่า :

أن تعين قومك على الظلم
“คือการที่ท่านให้ความช่วยเหลือกลุ่มชนของท่านทำการละเมิด (หรืออยุติธรรม)”
(รายงานโดยอบูดาวูด)

        และพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ได้ทรงดำรัสว่า :

ياأيهاالذين آمنواكونواقوامين بالقسط شهداءلله ولوعلى أنفسكم أوالوالدين والأقربين
النساء : ١٣٥
“โอ้ บรรดาผู้มีศรัทธาทั้งหลาย พวกท่านจงเป็นผู้ดำรงด้วยความเที่ยงตรง (ในฐานะที่) พวกท่านเป็นสักขีพยานเพื่อพระองค์อัลลอฮฺ ถึงแม้ว่า (การเป็นสักขีพยานนั้นจะเป็นผลร้าย) ต่อตัวพวกท่านหรือบุพการีทั้งสองและบรรดาญาติสนิทก็ตาม”
(อันนิซาอฺ : 135)

        และพระดำรัสที่ว่า :

(ولايجرمنكم ﺸﻨﺌﺂن قوم على ألاتعدلوا) (الماﺌدة ٨)
“และอย่าให้ความชิงชังที่มีต่อกลุ่มชนหนึ่งนำพาให้พวกท่านไม่มีความยุติธรรม (ต่อพวกเขา)”
(อัลมาอิดะฮฺ : 8)

        และท่านศาสนทูต (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้มีวจนะว่า :

(أنصرأخاك ظالماأومظلوما)
“ท่าน จงช่วยเหลือพี่น้องของท่านไม่ว่าเขาจะเป็นผู้อธรรมหรือถูกอธรรมก็ตาม” เหล่าสาวกก็กล่าวว่า :โอ้ ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ… ผู้นี้นั้นเราจะช่วยเหลือเขาในกรณีที่เขาถูกอธรรม แล้วในกรณีที่เขาเป็นผู้อธรรมนั้นเราจะช่วยเขาอย่างไรเล่า? ท่านศาสนทูตกล่าวว่า : ท่านได้ขัดขวางเขาผู้นั้นจากการอยุติธรรม นั่นแหล่ะคือการช่วยเหลือเขา”
(รายงานโดยอัลบุคอรีย์)

        จากจุดนี้ เราจึงรับรู้ได้ว่า ทุก ๆ การเรียกร้องเชิญชวนระหว่างชาวมุสลิมด้วยกันสู่ความนิยมคลั่งไคล้ต่อภูมิภาค (เขตแดน) หรือสู่ความนิยมคลั่งไคล้ต่อชาติพันธุ์ นั่นคือการเรียกร้องเชิญชวนที่มืดบอด (دعوة جا هلية) ซึ่งศาสนาอิสลาม ศาสนทูต และคัมภีร์แห่งศาสนาอิสลามบริสุทธิ์และไม่เกี่ยวข้องด้วยแต่อย่างใด! (อัลฮะลาล อัลฮะรอม , ดร.ยูซุฟ อัลกอรฎอวีย์ ; หน้า 237-238)

        ในยุคอดีต ชนชาติที่นิยมคลั่งไคล้ต่อชาติพันธุ์ของตนนั้นมีเป็นจำนวนมาก ส่วนหนึ่งคือพวกยะฮูดีย์ (ยิว) มีปรากฏในคัมภีร์ “ทัลมุด” ว่า “ชาวอิสราเอลมีความสำคัญ ณ พระผู้เป็นเจ้ายิ่งกว่าบรรดามะลาอิกะฮฺ ทั้งนี้เพราะชาวยิวคือส่วนหนึ่งของพระผู้เป็นเจ้า เมื่อมีคนต่างชาติ (อุมมีย์-โญยิม) ทำร้ายชาวอิสราเอล ก็เท่ากับเป็นการลบหลู่ดูหมิ่นเกียรติของพระผู้เป็นเจ้า และการแบ่งระหว่างขั้นของความเป็นมนุษย์กับสัตว์เดรัจฉาน ก็มีระดับเช่นเดียวกับการแบ่งระหว่างชาวยิวกับผู้ที่มิใช่ชาวยิว และประชาชาติที่ได้รับการเลือกสรรแล้วคือชาวยิวเท่านั้น ส่วนกลุ่มชนอื่นก็คือเดรัจฉาน” (อัลยะฮูดียะฮฺ ; ดร.อะห์หมัด ชะละบีย์ ; สำนักพิมพ์อันนะฮฺเฎาะฮฺ อัลมิซรียะฮฺ (กรุงไคโร) พิมพ์ครั้งที่ 8 (1996) หน้า 268)

        และปรากฏใน “พิธีสาร” (ข้อตกลงของนักปราชญ์ไซออนิสต์) ว่า : “แน่แท้เราได้เพาะพันธุ์แห่งความขัดแย้งระหว่างผู้คนเช่นที่เราได้เพาะ พันธุ์มันในระหว่างประชาชาติ และเราได้เผยแพร่ความนิยมคลั่งไคล้ทางศาสนาและชนเผ่าตลอดระยะเวลา 20 ศตวรรษ จึงมิอาจเป็นไปได้ที่ผู้คนและประชาชาติจะพบปะกันและรอมชอมกันได้อีก” (อ้างแล้ว หน้า 281) ชาวยิวกล่าวอ้างว่าพวกตนคือบุตรของพระผู้เป็นเจ้าและคนรักของพระองค์ ดังปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอ่านว่า

وقا لت اليهود والنصارى نحن أبناءالله وأحباءه
الماﺌﺩة : ١٨
“และพวกยิวและคริสเตียนได้กล่าวว่า พวกเราคือบุตรของพระองค์อัลลอฮฺและคนรักของพระองค์”
(อัลมาอิดะฮฺ : 18)

        ท่านอิบนุกะซีร (ร.ฮ.) ได้กล่าวว่า : หมายถึง พวกเรา (ชาวยิว-คริสเตียน) มีเชื้อสาย สืบถึงบรรดาศาสดาของพระองค์และบรรดาศาสดาเหล่านั้นคือบุตรหลานของพระองค์ พระองค์ทรงให้ความเอาใจใส่ต่อพวกเขาและพระองค์ก็ทรงรักพวกเรา” (ซ็อฟวะตุตฺตะฟาซีร ; มุฮำหมัดอาลี อัซซอบูนีย์, ดารุซซอบูนีย์ (กรุงไคโร) เล่มที่ 1/335 อ้างจากมุคตะซอรฺ อิบนิ กะซีร 1/499)

 

        สาเหตุสำคัญที่ทำให้ชาวยิวอาจหาญกล่าวอ้างว่าพวกตนเป็นกลุ่มชนพิเศษในฐานะบุตรและ คนรักของพระเจ้านั้นคือ ความนิยมคลั่งไคล้ต่อชาติพันธุ์ของตนนั่นเอง มิหนำซ้ำลัทธิชาตินิยมแบบสุดโต่ง (العصبية القومية) ก็มีรากเหง้าที่มาจากชาวยิวเช่นกัน กล่าวคือ ชาวยิวมีเป้าหมายในการทำลายระบอบทางสังคมของชาวคริสเตียนซึ่งเคยดำรงอยู่ใน ยุโรปเพื่อเผชิญหน้ากับมาตรการ “เก็ตโต” (นิคมชาวยิว) และกฎหมายต่าง ๆ ที่ออกโดย คริสตจักรคาทอลิกเพื่อโดดเดี่ยวและจำแนกชาวยิวออกจากกลุ่มชนอื่น ตลอดจนขัดขวางชาวยิว จากการเข้ายึดกุมศูนย์กลางอำนาจพื้นฐานของสังคมยุโรป จากจุดนี้ชาวยิวจึงสำแดงความคิดแบบชาตินิยมออกมาโดยพุ่งเป้ายังการเชิดชู ชาติและกลุ่มชน และนำเอาความคิดแบบชาตินิยมเข้ามาแทนที่สายสัมพันธ์พื้นฐานคือศาสนา ทั้งนี้เพื่ออำพรางและลบเลือนการจำแนกแยกแยะระหว่างชาวคริสเตียนกับชาวยิว ทำให้สายสัมพันธ์ของศาสนาคริสต์ในยุโรปเสื่อมลงและถูกครอบงำด้วยลัทธิชาติ นิยม” (มิน มุอัลละฟาต ฟี อัลมีซาน, อุสตาซฺ อันวัร อัลญุนดีย์ หน้า 49)

 

        ความจริงชาวยิวมิได้นิยมชมชอบต่อลัทธิชาตินิยมและไม่เคยมีความรักในประเทศชาติ ที่พวกตนอาศัยอยู่เลยแม้แต่น้อย พวกเขามีความจงรักภักดีต่อประชาคมของพวกตนเท่านั้น และประชาคมที่ว่านี้ก็คือประเทศและศาสนาของพวกเขา (อัลยะฮูดียะฮฺ ; ดร.อะห์หมัด ชะละบีย์ หน้า 50) ลัทธิชาตินิยมจึงเป็นเพียงเครื่องมือในการกลบเกลื่อนการแบ่งแยกชาติพันธุ์ใน ประเทศที่ชาวยิวเป็นพลเมืองอยู่ในประเทศนั้นและเป็นเส้นทางสู่การเข้ามามี ส่วนร่วมของ พวกตนในการแผ่อิทธิพลเข้าครอบงำศูนย์กลางของอำนาจในประเทศนั้น จากจุดนี้ เหล่าผู้ไม่หวังดี ต่ออิสลามจึงได้นำลัทธิชาตินิยมและคติชาติพันธุ์นิยมเข้ามายังโลกอิสลาม เพื่อสร้างความอ่อนแอให้กับเอกภาพของประชาคมมุสลิมและสร้างความแตกแยกใน ระหว่างชาวมุสลิมด้วยกันเอง มีการเรียกร้องให้ฟื้นฟูอารยธรรมโบราณในยุคญาฮิลียะฮฺ ซึ่งอิสลามได้ทำให้อารยธรรมเหล่านั้นล้มหายตายจากไปแล้วขึ้นมาอีกครั้งในกลุ่มประเทศมุสลิม อาทิเช่น อารยธรรมไอยคุปต์โบราณในอียิปต์ อารยธรรมของชนชาติฟีนีเชียนในเลบานอนและซีเรีย และพวกอัชชูเรียนในอิรัก ตลอดจนกลุ่มประเทศมุสลิมในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีก ด้วย (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน “อะกอบาต ฟี ฏ่อรีก อัลอิสลาม” ; ดร.อัลบะฮีย์, อบุลอะอฺลา อัลเมาดูดีย์ ; “บัยน่ายะดัย อัชชะบ๊าบ” หน้า 26 (1983) และ “ฟัลซะฟะฮฺ อัลอิซติชรอก ว่า อะซะรุ้ฮา ฟิลอะดับ” ; ดร.อะห์หมัด ซะมายิลูฟิตซ์ หน้า 122)

 

        อย่างไรก็ตาม การฟื้นฟูอารยธรรมโบราณในแต่ละดินแดนก็มิอาจสร้างความแตกแยกแก่ชาวมุสลิมได้ อย่างที่พวกเขาต้องการจึงมีการเรียกร้องสู่ลัทธิชาตินิยมอย่างเต็มรูปแบบ ดังเช่นการฟื้นฟูชาติพันธุ์ตูรอเนียนในตุรกี ชาติพันธุ์เปอร์เซียในอิหร่าน และชาติพันธุ์อาหรับในคาบสมุทรอาหรับ เป็นต้น พวกตะวันตกได้ปลุกกระแสชาตินิยมในหมู่ชาวอาหรับ ในขณะที่กระแสชาตินิยมก็ถูกโหมกระพือในตุรกีโดยมีพรรคเอกภาพและการวิวัฒน์ ของกลุ่มยังเติร์ก เป็นแกนนำ ผลที่ตามมาคือความปราชัยและการล่มสลายของระบอบคิลาฟะฮฺในจักรวรรดิอุษมานียะ ฮฺ (ออตโตมาน) เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง บุคคลเช่น มุสตอฟา เคมาล อะตาเติร์ก, ญะม๊าล อับดุนนาซิร และแม้กระทั่งซูการ์โนของอินโดนีเซีย ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่นิยมชมชอบ ต่อลัทธิชาตินิยมทั้งสิ้น

 

        การต่อสู้ของขบวนการกู้ชาติในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ว่าจะเป็นในอินโดนีเซีย มาเลเซีย อาเจะห์ และกลุ่มปลดแอกรัฐปัตตานี ต่างก็ใช้ลัทธิชาตินิยมเป็นแรงขับเคลื่อนของขบวนการ แม้ในภายหลังจะมีความคิดแบบนิยมอิสลามเข้ามาเกี่ยวข้องแต่สถานะของอิสลามก็ ยังเป็นเรื่องที่รองลงมาจากชาติพันธุ์ มิหนำซ้ำ อิสลามยังถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่กลุ่มขบวนการ ทั้ง ๆ ที่อิสลามเป็นเป้าหมายสูงสุด การแอบอ้างอิสลามเพื่อหวังผลความสำเร็จหรือแสวงหาแนวร่วมของขบวนการเหล่านี้ จึงถือเป็นการสบประมาทและบิดเบือนอิสลามโดยสิ้นเชิง (“อัลหัลลุ้ลอิสลามีย์ ฟะรีฎ่อตุน ว่า ฎ่อรูร่อตุน” ; ดร.ยูซุฟ อัลกอรฎอวีย์ (1974) หน้า 116)

 

        คติชาติพันธุ์นิยมและความคลั่งไคล้ต่อมาตุภูมิเป็นสิ่งที่ปรากฏชัดในกลุ่มขบวน การ นิยมอิสลามต่าง ๆ แต่ละกลุ่มต่างก็มองเห็นว่าขบวนการของตนต้องปิดตัวเองและปลีกตัวออกจากกลุ่ม ประชาคมมุสลิมอื่น ๆ (“เอาละวียาตฺ อัลฮะรอกะฮฺ อัลอิสลามียะฮฺ ฟิลมัรฮะละฮฺ อัลกอดิมะฮฺ” ; ดร.ยูซุฟ อัลกอรฎอวีย์ (1990) หน้า 149) แนวความคิดเรื่องความเป็น เอกราชของบรรดาประชาชาติในอาณานิคมบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงหลัง สงครามโลกครั้งที่สองยังผลให้กระแสชาตินิยมแพร่กระจายสู่ชาวมุสลิมในภูมิภาค นี้อย่างกว้างขวางรวมถึงชาวมาเลย์มุสลิม ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยด้วยเช่นกัน (ปาตานี ประวัติศาสตร์และการเมืองในโลกมลายู โดยอารีฟีน บินจิ และคณะ ; มูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้ (2550) หน้า 440)

 

        และยังได้มีการนำประเด็นความขัดแย้งทางศาสนามาเป็นเครื่องมือหรือใช้แนวทางอิส ลามในการเคลื่อนไหวต่อสู้ รวมถึงการนำเอาหลักการอิสลามมาผสานเข้ากับแนวคิดแบบชาตินิยม เนื่องจากว่าทั้งแนวทางแห่งอิสลามและชาตินิยมมีความสอดคล้องต้องกันในภารกิจ เพื่อต่อต้านการยึดครองนั่นเอง (อ้างแล้ว หน้า 443) แต่ในทางข้อเท็จจริงความคิดแบบชาตินิยมกลับมีอิทธิพลครอบงำและหยั่งรากฝัง ลึกในจิตใจของชาวมลายูมุสลิมมากกว่าเพราะแทนที่จะใช้ความเป็นมุสลิมนำหน้า ความเป็นชาติพันธุ์ โดยเรียกว่า “มุสลิมมลายู” กลับกลายเป็นว่าความเป็นมลายูต้องมาก่อนความเป็นมุสลิม หรือไม่ก็หลอมรวมความเป็นมลายูเข้ากับความเป็นมุสลิมจนแยกกันไม่ออกตามความ คิด ความเชื่อและความเข้าใจของผู้คนซึ่งก่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนและเบี่ยงเบน จากข้อเท็จจริง ทั้งนี้เพราะความเป็นมุสลิมมิได้จำกัดอยู่กับชาติพันธุ์หนึ่งชาติพันธุ์โดย เฉพาะ

 

        มุสลิมอาจจะมีชาติพันธุ์อาหรับ, ตุรกี, เปอร์เซีย, อินเดีย, จีน, ฝรั่ง, เขมร, มลายู เป็นต้น ในขณะที่บุคคลซึ่งมีชาติพันธุ์ดังกล่าวอาจจะไม่ใช่มุสลิมเสมอไป อาจจะเป็นคริสเตียน ฮินดู พุทธ หรือไม่มีศาสนาเลยก็เป็นได้ ภาษาก็เช่นกัน ถึงแม้ว่าภาษาจะถือเป็นอัตลักษณ์หรือสิ่งบ่งชี้ถึงชาติพันธุ์ แต่ภาษาก็มิใช่บรรทัดฐานในการกำหนดความเป็นมุสลิมไปเสียทุกกรณี คนที่พูดภาษาอาหรับหรือมลายูได้อย่างคล่องแคล่วอาจจะมีชาติพันธุ์อาหรับหรือ มลายูหรือไม่มีชาติพันธุ์ทั้งสองนั้นก็เป็นได้ และอาจจะเป็นมุสลิมหรือมิใช่มุสลิมก็เป็นได้เช่นกัน ภาษาเป็นเพียงเครื่องมือในการสื่อสารและการทำความเข้าใจระหว่างมนุษย์ด้วย กัน การนำเอาภาษาหนึ่งภาษาใดมาเป็นตัวกำหนดความเป็นมุสลิมจึงเป็นสิ่งที่คลาด เคลื่อนและเบี่ยงเบนจากข้อเท็จจริงดังที่กล่าวมาข้างต้น อนึ่ง ชาติพันธุ์และภาษาอาจจะถูกนำมาใช้เป็นตัวกำหนดความเป็นมุสลิมได้ในกรณี ถือหลักส่วนใหญ่ (من با ب التغليب) อาทิเช่น ชาติพันธุ์อาหรับและมลายูในคาบสมุทรอาหรับและคาบสมุทรมลายู ส่วนใหญ่เป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม (มุสลิม) เป็นต้น กล่าวคือ เป็นตัวกำหนดโดยปริยายเท่านั้น