ดินแดนที่มีชื่อเรียกขาน
– “ธิเบต” ถูกเรียกขานว่า “หลังคาโลก”
– “สยาม” หรือประเทศไทยในอดีต ถูกเรียกขานว่า “เมืองยิ้ม”
– “อัล-ญะซาอิรฺ” (แอลจีเรีย) ถูกเรียกขานว่า “ดินแดนแห่งชะฮีด (ผู้พลีชีพ) ล้านคน”
– “ดินแดนแห่งแม่น้ำ 5 พันสาย” คือ ประเทศจีน
– “นครแห่งเนินเขาทั้งเจ็ด” คือ กรุงโรม (โรมา – อิตาลี)
– “ดินแดนแห่งหุบเขาทั้ง 7” คือ อาร์เมเนีย
– “โลกใหม่” คือ ทวีปอเมริกา
– มหาสมุทรแอตแลนติก ถูกเรียกขานว่า “ทะเลแห่งความมืดมน”
– “นครแห่งลำคลองและสะพาน 400 แห่ง” คือ นครเวนิส ประเทศอิตาลี
– เมืองในอัฟกานิสถานซึ่งศาสนาอิสลามเข้าไปถึงในศตวรรษแรกแห่งฮิจเราะฮฺศักราช และชาวอาหรับเรียกขานว่า “มารดาแห่งเมืองทั้งหลาย” คือ เมืองบัลค์(บักเตรีย)
– “อัล-บะหฺรอยน์” (ประเทศบาหฺเรน) ถูกเรียกขานว่า “ดินแดนแห่งอินทผลัมล้านต้น”
– “อัล-กอฮิเราะฮฺ” (กรุงไคโร – อียิปต์) ถูกเรียกขานว่า “นครแห่งหออะซาน (มินาเรต) พันแห่ง”
– อังกฤษในสมัยเป็นเจ้าอาณานิคมถูกเรียกขานว่า “ดินแดนที่ดวงอาทิตย์ไม่เคยตก”
– “นครมักกะฮฺ” ถูกเรียกขานว่า “มารดาแห่งชุมชนทั้งหลาย” (อุมมุลกุรอ)
– “อีรัก” ถูกเรียกขานว่า “ดินแดนที่อยู่ระหว่าง 2 แม่น้ำ” คือ แม่น้ำไทกริส (ดิจญ์ละฮฺ) และยูเฟรติส (ฟุร็อต)
– “ดินแดนแห่งชนเผ่าเอสกิโม” คือ อลาสก้า (Alaska)
– เมืองพุกาม ประเทศพม่า (เมียนมาร์) ถูกเรียกขานว่า “ดินแดนแห่งทะเลเจดีย์”
– “อินโดนีเซีย” ถูกเรียกขานว่า “ดินแดนแห่ง 3,000 เกาะ”
– “ผืนป่าอเมซอน” ในอเมริกาใต้ ถูกขนานนามว่า “ปอดของโลก”
– “ทะเลดำ” เคยถูกเรียกขานว่า “สระน้ำหลังพระราชวังของสลุต่านแห่งออตโตมาน ตุรกี”
– “ชายฝั่งแห่งทองคำ” (Gold Coast) คือ ประเทศกาน่า ในทวีปแอฟริกาตะวันตก
– “ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน” ถูกเรียกขานว่า “ทะเลแห่งรูม” (โรมัน)
– เขตพื้นที่ทางตอนใต้ของเทือกเขาคอเคซัส (กูก็อส) อันได้แก่ จอร์เจีย , อาร์เมเนีย และอาเซอร์ไบญาน ถูกเรียกขานว่า “ดินแดนเบื้องหลังคอเคซัส”
– ชาวอาหรับในสมัยโบราณเรียกขานดินแดนที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของแม่น้ำญัยหูน หรืออมูดเรีย (ตุรกีสถานของรัสเซีย) ว่า “ดินแดนเบื้องหลังแม่น้ำ” ในดินแดนนี้มีเมืองสำคัญตั้งอยู่ ได้แก่ เมืองบุคอรอ , สะมัรฺกอนดฺ คอยวะฮฺ และทัชเคนทฺ (ฏอชกอนด์)
– “นครแบกแดด” (บัฆดาด) ถูกเรียกขานโดยเคาะลีฟะฮฺอบู ญะอฺฟัรฺ อัล-มันศูรฺ แห่งราชวงศ์อัล-อับบาสียะฮฺ ว่า “นครแห่งสันติภาพ” (มะดีนะฮฺ อัสสลาม)
– เรียกแหลมปลายสุดของแอฟริกาใต้ว่า “แหลมกูดโฮป” เพราะเต็มไปด้วยหินโสโครกและเรือที่ผ่านแหลมนี้มักจะอัปปาง วาสโก ดิ กามา เป็นผู้ค้นพบแหลมนี้ในปี ค.ศ. 1497
– ชาวกรีกโบราณ เรียกขาน กรุงอัมมาน นครหลวงของจอร์แดนว่า “นครฟิลลาเดลเฟีย” (Philadelphia)
– เรียกเกาะญี่ปุ่นว่า “ดินแดนอาทิตย์อุทัย” หมายถึง ดินแดนแห่งดวงอาทิตย์ขึ้น
– “กรุงคอนสแตนติโนเปิ้ล” แห่งจักรวรรดิ์ไบเซนไทน์ ถูกเรียกขานตามพระนามจักพรรดิ์คอนสแตนติน มหาราช ที่ทรงสร้างนครแห่งนี้ขึ้นในปี ค.ศ. 324 และถูกเรียกขานในภายหลังว่า “อิสตันบูล” เมื่อกองทัพเติร์กแห่งออตโตมานภายใต้การนำทัพของสุลต่าน มุฮัมมัดที่ 2 อัล-ฟาติห์ พิชิตนครแห่งนี้ได้ในปี ค.ศ. 1453
– ชาวอาหรับในสมัยโบราณ เรียกทะเลแดงว่า “ทะเลอัลกุลซุม”
– เรียกอ่าวทางตอนใต้ของทะเลบอสฟอรัสในตุรกีซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงคอนสแตนติโนเปิดหรืออิสตันบูลว่า “เขาทองคำ” (โกลเดน ฮอล์- อัลกอรฺนุซซะฮะบียฺ)
– เรียกเส้นทางกองคาราวานสินค้าจากประเทศจีนนับจากนครฉางอาน (ซีอาน) ผ่านเอเชียกลางสู่หัวเมืองทางการค้าในดินแดนตะวันตกของทวีปเอเชียว่า “เส้นทางสายไหม” และเรียกเส้นทางการเดินเรือในมหาสมุทรอินเดียสู่หมู่เกาะโมลุกกะของอินโดนีเซียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่า “เส้นทางสายเครื่องเทศ”
– “ประเทศไต้หวัน” มีชื่อเรียกขานในอดีตว่า “ฟอร์โมซ่า (Formose)”
– หมู่เกาะมัลดีฟ (Maldives) มีพื้นที่เพียง 298 ตารางกิโลเมตร ชาวอาหรับเรียกขานหมู่เกาะนี้ว่า “ซีบะฮฺ อัล-มะฮัล” (ذِيْبَةُ الْمَهَل)
– “ศรีลังกา” ถูกเรียกขานในอดีตว่า “ซีลอน” และชาวอาหรับโบราณเรียกศรีลังกาว่า “สะรอนดีบ”
– ชาวอาหรับเรียกประเทศเอธิโอเปียว่า อัล-หะบะชะฮฺ หมายถึง “ดินแดนแห่งชนชาติอะหฺบาชฺ”
– ในอดีตประเทศอินโดนีเซียถูกเรียกขานว่า “หมู่เกาะอินเดีย” หรือ “หมู่เกาะมหาราชา” และเรียกกรุงจาร์กาตาในสมัยตกเป็นอาณานิคมของฮอลแลนด์ว่า “ปัตตาเวีย”
– หมู่เกาะปะการังในมหาสมุทรอินเดียใกล้กับชายฝั่งประเทศแทนซาเนีย คือเมืองแซนซิบารฺ ชาวอาหรับเรียกขานดินแดนนี้ว่า ซันญิบารฺ หมายถึง “ชายฝั่งคนผิวดำ”