กฎข้อที่ ๕ เรื่องคำกริยาและบุพบทที่เชื่อมกับคำกริยา

قاعدة يڠ كليم

فد مپتاكن فعل دان متعلقڽ درفد حروف

ในภาษามลายูมีคำกริยาอยู่หลายตัวที่เชื่อมกับคำบุพบท  (حروف)  เหมือนกับคำกริยาประเภทเดียวกันในภาษาอาหรับ ดังนั้นเมื่อท่องจำหรือแปลคำกริยานั้น หรือแต่งสำนวนที่ใช้กริยานั้นๆ ในประโยคจะต้องมีคำบุพบทถูกกล่าวมาด้วย จะติดต่อกันหรืออยู่ห่างกันก็ตาม

 

ตัวอย่าง

๑. مڠكالى اي أتس ايت كرجا   “เขายืนกรานต่อเรื่องนั้น

คำอธิบาย   คำว่า اتس  เป็นคำบุพบทที่เชื่อม ( متعلق ) กับคำกริยา مڠكالى   เทียบสำนวนอาหรับว่า  أَصَرَّ عَلَى الأَمْرِ

๒.  ملاون اى باگيڽ   “เขาค้านหรือเผชิญกับมัน

คำอธิบาย  คำว่า باگى   เป็นคำบุพบทที่เชื่อม ( متعلق ) กับคำกริยา ملاون เทียบสำนวนอาหรับว่า تصدَّى له

๓.  برفاليڠ اى درفداڽ   “เขาผินออกจากมัน

คำอธิบาย  คำว่า درفد   เป็นคำบุพบทที่เชื่อม ( متعلق ) กับคำกริยา  برفاليڠ       เทียบสำนวนภาษาอาหรับว่า صَدَف عنه

๔.  مڠاكواى دڠن يڠ سبنر   “เขายอมรับความจริง

คำอธิบาย  คำว่า  دڠن  เป็นคำบุพบทที่เชื่อม ( متعلق ) กับคำกริยาمڠاكو         เทียบสำนวนภาษาอาหรับว่า أذْعَنَ بِالْحَقِّ

๕.  برجالن اى كفداڽ   “เขาไปยังมัน

คำอธิบาย   คำว่า كفد  เป็นคำบุพบทที่เชื่อม ( متعلق ) กับคำกริยา  برجالن   เทียบสำนวนอาหรับว่า ذهَب إليه

–  อนึ่ง  ในสำนวนภาษามลายู บางทีก็ใช้ اكن  แทนคำบุพบท  ( حروف) ก็มีอาทิเช่น   فرچاى اى اكندى   เทียบสำนวนอาหรับว่าآمن به         และ مليهت اي اكندى   เทียบสำนวนภาษาอาหรับว่า نظر إليه   เป็นต้น

–  อนึ่ง การใช้คำบุพบท ( حروف) ที่แตกต่างกันเชื่อมกับคำกริยา (فعل)ตัวเดียวกัน จะมีความหมายหรือนัยยะที่แตกต่างกัน จำต้องพึงระวังให้ดี เพราะอาจจะสื่อผิดวัตถุประสงค์ได้ อาทิเช่น  ملعنة كأتسڽ   /   مندعاكن باگيڽ   สองประโยคนี้มีความหมายต่างกัน กล่าวคือ ملعنة كأتسڽ หมายถึง  “สาปแช่งเขา” เทียบสำนวนภาษาอาหรับว่า ( دعا عليه )  และ مندعاكن باگيڽ หมายถึง  “ขอพรให้แก่เขา” เทียบสำนวนภาษาอาหรับว่า (دعا له )  สังเกตได้ว่า ทั้งสองประโยคใช้กริยาตัวเดียวกันในสำนวนอาหรับคือกริยาدعا   ( مپرو ) แต่ใช้คำบุพบทต่างกัน คือ كأتس   กับ باگى   ความหมายจึงต่างกันในเชิง مضرة  (ให้ร้ายคือสาปแช่ง) และ منفعة   ( ให้คุณคือขอพรให้)

และอาทิเช่น تأسوكاكندى   หรือ تياد سوكا درفداڽ   หมายถึงไม่ใส่ใจ ไม่ให้ความสนใจ ไม่อินังขังขอบ เทียบได้กับสำนวนอาหรับว่า رَغِبَ عَنْهُ และประโยค سوك دان گمراى فداڽ  หมายถึง พึงใจ ปรารถนา มีความยินดีในสิ่งนั้น เทียบกับสำนวนอาหรับว่า رَغِبَ فِيْه สังเกตได้ว่า เมื่อใช้คำบุพบทเชื่อม ( متعلق ) กับคำกริยาسوك   ( رغب ) แตกต่างกันความหมายก็ต่างกัน จึงต้องพึงระวังให้ดี

ตัวอย่างคำบุพบท  (حروفในภาษามลายู

1. اداكه  และ تيدقكه   เทียบได้กับ همزة استفهام    ( أ ) และ هل  มีความหมายว่า หรือ, หรือไม่

 ตัวอย่าง

دان  تيد قكه   ليهت اوله سگل اورڠ كافر   “บรรดาผู้ปฏิเสธมิได้เห็นดอกหรือว่า …………

 

دان تياد اكو كتهوى اداكه همفيراتوجاوه بارڠ يغد جنجى اكن كامو   “และฉันก็มิรู้ว่าสิ่งที่พวกท่านถูกสัญญาเอาไว้นั้นใกล้หรือไกล

 

اداكه اڠكو فرتكوت اكن مريكئيت أتو تياد   “ไม่ว่าท่านนั้นเตือนพวกเขาให้เกรงกลัวหรือไม่ก็ตาม

 

–  อนึ่ง เรียก اداكه   ในประโยคตัวอย่างที่ 3 นี้ว่า اداكه تَسْوِيَّة

2.  دڠن     ( ด้วย, ต่อ, โดย, กับ) คำว่า دڠن   เป็นบุพบทที่ใช้กันมาก มีความหมายหลายอย่าง

ตัวอย่าง

رسومفه اى دڠن نام الله   “เขาสาบานด้วยพระนามของพระองค์อัลลอฮฺ

คำอธิบาย  คำว่า  دڠن     ในประโยคตัวอย่างเรียกว่า   دڠن لْلِقَسَمِ     กล่าวคือ ใช้ในการสาบาน  (قَسَمٌ)

منوليس اى دڠن قلم   “เขาเขียน(บันทึก) ด้วยปากกา”

คำอธิบาย  คำว่าدڠن    ในประโยคตัวอย่างเรียกว่า دڠن لْلإِسْتِعَانَةِ   หมายถึงการอาศัยหรือใช้สิ่งนั้น  (ที่ถูกกล่าวหลัง دڠن ) ในการกระทำ ดังเช่นในประโยคตัวอย่าง เขาเขียนหรือบันทึกโดยใช้ปากกานั่นเอง

حرام دڠن سبب حدث بسرايت سگل يڠ حرام دڠن سبب حدث كچيل…..   “ห้ามด้วยสาเหตุมีหะดัษใหญ่ นั่นคือบรรดาสิ่งต้องห้ามด้วยสาเหตุมีหะดัษเล็ก

คำอธิบาย  คำว่า  دڠن   ในประโยคตัวอย่างนั้นสังเกตได้ว่าจะมีคำว่า سبب   ถูกกล่าวตามหลัง เรียก دڠن   ในประโยคเช่นนี้ว่า دڠن سَبَبِيَّة   เพราะการมีหะดัษเป็นสาเหตุในการต้องห้ามนั่นเอง

3.  باگى   หมายถึง เพื่อ, แก่,  เพราะ, สำหรับ   แล้วแต่สำนวน

ตัวอย่าง

شرگ ايت باگى اورڠ ٢ يڠ طاعة   “สวรรค์นั้นสำหรับบรรดาผู้ภักดี

คำอธิบาย  คำว่า  باگى   ในประโยคตัวอย่างเรียกว่า  باگى للاِخْتِصَاصِ   กล่าวคือ สวรรค์นั้นเป็นรางวัลเฉพาะสำหรับบรรดาผู้ภักดีเท่านั้น  และคำว่า باگى   นั้น เทียบได้กับบุพบท لِ   ในภาษาอาหรับ

4. مك  หมายถึง ก็,แล้วก็,จากนั้น,บางทีก็ใช้เป็นคำเชื่อมคำตอบ  (رَبْطُ الْجَوَابِ)  ของประโยคเงื่อนไข  ( شَرْطِيَّةٌ )

ตัวอย่าง

سمبهيڠ اكوسرت نبى صلى الله عليه وسلم مك اداله نبى ممبرى سلام

فد فيهق كاننڽ : السلام عليكم ورحمة الله

ฉันได้ละหมาดพร้อมกับท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)แล้วก็ปรากฏว่า

ท่านนบีได้ให้สลามทางขวาของท่านว่า อัสสะลามุอะลัยกุมฯ

คำอธิบาย สังเกตได้ว่า مك   ใช้สำหรับการบ่งชี้ถึงการเรียบเรียงพร้อมกับการล่าช้าตามมาไม่มากนัก กล่าวคือ การละหมาดของท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม)  นั้น เป็นไปตามลำดับขั้นตอนของระเบียบวิธีการซึ่งจบลงด้วยการให้สลาม ( อนึ่งการใช้ مك   เป็นคำเชื่อมคำตอบของประโยค เงื่อนไขนั้นจะกล่าวถึงต่อไปโดยละเอียด)

5.   فَدَ    หมายถึง ใน,  ข้างใน,  เป็นต้น  บุพบทตัวนี้ใช้กันมากและมีความหมายอื่นๆ อีก

ตัวอย่าง

فد سكوله سگل يغ بلاجر   “ในโรงเรียนนั้นมีบรรดานักเรียน

คำอธิบาย คำว่า   فَدَ      ในประโยคตัวอย่างเรียกว่า   فد للظَّرْفِيَّة  คือคำบุพบทที่บ่งถึงสภาพอันเกี่ยวเนื่องกับกาลเทศะ คือ เวลาและสถานที่

ما سوق اولهكامو هى سگل كافر فد دالم جماعة كافر٢

يڠ تله لالو درفد دهلو كامو …………

โอ้บรรดาผู้ปฏิเสธเอ๋ย พวกเจ้าจงเข้าร่วมกับบรรดากลุ่มชนผู้ปฏิเสธซึ่งผ่านพ้นมาก่อนหน้าพวกเจ้าเถิด

คำอธิบาย คำว่า فَدَ   ในประโยคตัวอย่างเรียกว่า فد لِلْمُصَاحَبَةِ   ซึ่งมีความหมายว่า ร่วมด้วย,  เข้าเป็นพวก

ماسوق فرمفوان كدالم نراك فد كوچيڠ يڠ منگه اى اكندى

สตรีผู้หนึ่งเข้าสู่นรกภูมิ (เนื่องใน) แมวตัวหนึ่ง ที่นางกักมันไว้

คำอธิบาย คำว่า  فَدَ   ในประโยคนี้เรียกว่า   فد سَبَبِيَّة   หมายถึงเป็นเหตุที่ทำให้นางเข้านรกภูมิ

6. درفد   บุพบทคำนี้มีความหมายหลายอย่าง อาทิเช่น

درفد    ที่มีความหมายว่า เริ่มจาก,  จาก  เรียกว่า درفد لِلإِبْتَدِاءِ

ตัวอย่าง

درفد مسجد مكة سمڤى كفد مسجد بيت المقدس

จากมัสญิดแห่งนครมักกะฮฺจวบจนถึงมัสญิดแห่งนครบัยตุลมักดิส

 

ตัวอย่าง

درفد    ที่มีความหมายว่า  ส่วนหนึ่ง, บางส่วน เรียกว่า درفد للتَّبْعِيْضِ

ستڠة درفد يڠ واجب كيت بنركن كولم

“ส่วนหนึ่งจากสิ่งที่เราจำเป็นต้องเชื่อก็คือสระน้ำ”

ตัวอย่าง

درفد      ที่มีความหมายว่า เพราะ, ด้วยเหตุที่ว่า

 ตัวอย่าง

درفد بارڠ يڠ كسلاهن مريكئيت دستا نبى نوح دان تياد برايمان

دڠن ايت دكَرَمْ مريكئيت دڠن اير طوفان

เนื่องจากสิ่งที่พวกเขากระทำผิด กล่าวหาว่านบีนูหฺมุสา และไม่ศรัทธาต่อนบีนูหฺ จึงเป็นเหตุให้พวกเขาจมน้ำตายด้วยมหาอุทกภัย

درفد   ที่มีความหมายว่า   เลย,  พ้น  เรียกว่า  درفد لِلْمُجَاوَزَةِ

 

ตัวอย่าง

كلواراى درفد كمفوڠ

เขาออกจากหมู่บ้าน

อนึ่ง คำว่า درفد  ในประโยคตัวอย่างหมายถึง พ้นจากหมู่บ้านและเทียบได้กับคำบุพบทในภาษาอาหรับว่า  عن

درفد  ที่มีความหมายว่า แทนกัน เรียกว่า درفد بَدَلِيَّة

 

ตัวอย่าง

دان تاكوت اولهكامو اكن هارى قيامة يڠ تياد بوله

منولڠ سئورڠ درفد سئورڠ اكن سوات

และพวกท่านจงเกรงกลัววันกิยามะฮฺซึ่งผู้หนึ่งไม่อาจช่วยเหลือสิ่งใดแก่อีกผู้หนึ่งได้เลย กล่าวคือ ออกตัวรับแทนกันไม่ได้

7.   أتو   มีความหมายว่า หรือ, และหรือ เทียบได้กับคำว่า أو   ในภาษาอาหรับ อนึ่งคำบุพบท أتو   มีหลายความหมายในสำนวนของประโยคที่แตกต่างกัน  อาทิเช่น

– أتو    ที่มีความหมายว่า หนึ่งในสองสิ่ง หรืออันหนึ่งอันใดจากสองสิ่ง

ตัวอย่าง

امبيل اولهمو اكن اين اتو ايت

ท่านจงเอาสิ่งนี้หรือสิ่งนั้น

–   أتو  ที่มีความหมายตรงกันข้าม ( مُقَابَلَةٌ )

ตัวอย่าง

بيلاڠن ايت اداكلا گانف أتو گسل

“จำนวนนั้นบางทีก็คู่หรือ(ไม่)ก็คี่”

–   أتو    ที่มีความหมายว่า بَلْ     ( بهكن)

ตัวอย่าง

دان كامى سوره اكندى كمدين درفد ايت جادى رسول

كفد سراتس ريب مأنسى أتو لبه ………………..

และเราได้บัญชาให้เขา(นบียูนุส) หรือส่งไปยังผู้คนหนึ่งแสนคนหรือมากกว่า หลังจากที่เขาได้เป็นศาสนทูต

 

8.  كفد     มีความหมายว่า ยัง,  ถึง, สิ้นสุด   เรียกว่า    كفد لِلاِنْتِهَاءِ

ตัวอย่าง

اتو كفد يڠ مهنداكى الله اكندى   “ หรือไปยัง(ที่)ซึ่งพระองค์อัลลอฮฺทรงมีพระประสงค์

9.  บรรดาคำที่ใช้ในการเรียกขาน  (النداء)  ได้แก่

وَاهَىْ ، أُو ، هُوْى ، هِىْ ، يا

10.  บรรดาคำที่ใช้ในการตั้งคำถาม ( اسْتِفَهَامٌ) ได้แก่

– افكه  ؟   ( อะไร? ) เทียบได้กับคำว่า  ماذا ، ما    ในภาษาอาหรับ

– سياف ٢  ، سيافكه     (ใคร? ) เทียบได้กับคำว่า   مَنْ

–  كارن افكه ٬ كناڤ      (เพราะอะไร , ทำไม)    เทียบได้กับคำว่า      لِمَ ، لماذا

–   اداكه تيدق ، اداكه تياد   ( ไม่….หรือ ?)  เทียบได้กับคำว่า  أَلَمْ ….

–  بايقله ، براف بايقكه ؟  ،  برافكه ؟   (เท่าไหร่ ?) เทียบได้กับคำว่า كَم

–  بيلاكه ؟   ( เมื่อใด ?)    เทียบได้กับคำว่า  متى

–  اداكه ؟   ( หรือ ? )      เทียบได้กับคำว่า  هل

–  دمان ؟   ( ที่ไหน ? )    เทียบได้กับคำว่า   اَيْنَ

–  كمان ؟   ( ยังที่ไหน ? ) เทียบได้กับคำว่า  إلى أين

–  درى مان ؟   (จากที่ไหน) เทียบได้กับคำว่า  من أين

–  بگيمانكه ٬ بتاڤ ؟( อย่างไร ?) เทียบได้กับคำว่า  كيف