กฎข้อที่ ๗ ว่าด้วยบรรดาประเภทของ دان

1676

قاعدة يڠ كتوجه

“فد مپتاكن سگل جنس باگى “دان

دان   ในสำนวนภาษามลายูนั้นมีอยู่หลายประเภท ดังนี้

1.  دان عَطْفٌ  หมายถึง دان   ที่เป็นคำเชื่อมในการสันธาน ซึ่งได้กล่าวมาแล้ว دان ประเภทนี้เพิ่มเติม

 

ตัวอย่าง

مك باسوه اوله كامو اكن موكا كامو دان تاڠن كامو سرت سگل سيكو

ดังนั้นพวกท่านจงล้างใบหน้าของพวกท่านและมือของพวกท่านพร้อมด้วยข้อศอก

คำอธิบาย  موكا كامو  ถูกกล่าวก่อน  دان เป็น  معطوف عليه

دان   คำเชื่อมในการสันธาน  حرف عطف

تاڠن كامو ถูกกล่าวอยู่หลัง دان   เป็น معطوف

เมื่อนำเอาคำว่า تاڠن كامو   ซึ่งเป็น معطوف   เข้าไปแทนที่คำว่า موكا كامو ซึ่งเป็น معطوف عليه   ก็จะได้ประโยคใหม่ว่า

دان باسوه اوله كامو اكن تاڠن كامو ……..

และพวกท่านจงล้างมือของพวกท่าน

 

2. دان اسْتِئْنَافِيَةُ   หมายถึง دان   ที่แสดงถึงคำขึ้นต้นประโยคใหม่ และคำที่ตกอยู่หลัง دان   ถือเป็น مبتدأ   (คำขึ้นต้นประโยค)

ตัวอย่าง

دان بر جماعة دمسجد لبيه افضل باگى لاكى ٢

การละหมาดร่วมกัน(ญะมาอะฮฺ)ที่มัสญิดนั้นมีความประเสริฐเป็นที่สุดสำหรับผู้ชาย

คำอธิบาย دان  ในประโยคตัวอย่างเรียกว่า دان استئنافية

برجماعة     ทำหน้าที่เป็นคำขึ้นต้นประโยค (مبتدأ)

لبيه أفضل   ทำหน้าที่เป็นคำขยาย (خبر) ให้แก่คำว่า برجماعة

 

ตัวอย่าง

دان اورڠيڠ سمبهيڠ برجماعة دبرى فهلا اكندى دوا فوله توجه

บุคคลที่ละหมาดร่วมกัน(جماعة )นั้น ย่อมได้อานิสงค์ 27 เท่า

คำอธิบาย دان   ในประโยคตัวอย่างเรียกว่า دان استئنافية

اورڠيڠ   ทำหน้าที่เป็นคำขึ้นต้นประโยค ( مبتدأ )

دبرى     ทำหน้าที่เป็นคำขยาย (خبر ) ให้แก่คำว่า أورڠيڠ

 

 

3. دان الْحَالُ   หมายถึง دان   ที่เป็นคำแสดงถึงสภาพของประธาน ( فاعل ) หรือกรรม( مفعول به ) ในการกระทำกริยาต่างๆ เป็นการบ่งบอกว่าเกิดขึ้นในสภาพใด ในภาษามลายูเรียกว่า حال كأدأن   ส่วนในภาษาอาหรับเรียกว่า رَابِطَةُ الْحَالِ   (คำเชื่อมบ่งถึงสภาพ) และโดยมากคำที่ตกอยู่หลัง دان   จะเป็นคำขึ้นต้นประโยค (مبتدأ ) และเรียกประโยคนั้นว่า جُمْلَةٌ حَالِيَّةٌ   (ประโยคบ่งสภาพ)

ตัวอย่าง

دان ماسوق اولهكامو ڤينتو كمفوڠ بيت المقدس حال كادأن كامو  سجود

และพวกเจ้าจงเข้าสู่ประตูของบัยตุลมักดิสในสภาพที่พวกเจ้าก้มสุญูด (คือก้มศรีษะอย่างนอบน้อม)

คำอธิบาย دان   คำเชื่อมในการสันธาน( حرف عطف )

ماسوق اولهكامو   กริยาคำสั่ง ( فِعْلُ الأَمْرِ ) คำว่า كامو  เป็นประธานของ กริยา

حال كادأن    เป็นสำนวนบ่งสภาพ ( حال )  ในกรณีที่เป็น  حَالٌ مُفْرَدَةٌ   คือคำบ่งสภาพที่ไม่ใช่ประโยค  جُمْلَةٌ حَالِيَّةٌ   แต่เป็นคำสามานยนาม  ( نَكِرَةٌ )    ที่ตกในตำแหน่งของการอ่าน مَنْصُوْبٌ   ให้แก่   صَاحِبُ الْحَالِ   คือ كامو

كامو سجود  ในประโยคทำหน้าที่ตกเป็น حال   ให้กับ كامو

สังเกตได้ว่า ในประโยคตัวอย่างไม่ปรากฏ دان الحال    ทั้งนี้เพราะคำที่บ่งสภาพ (الحال ) ในประโยคเป็นประเภทคำเดี่ยว ( مُفْرَدَةٌ ) ไม่ใช่ประโยค

 

ตัวอย่าง

كمدين تريما كامو اكن يڠدمكين ايت (جنجى)

دان كامو ايت نأيك سقسى كامو اتس ديرى كامو

ต่อมาพวกเจ้าก็ยอมรับสิ่งดังกล่าว(พันธสัญญา)

(ในสภาพที่)พวกเจ้านั้นได้ให้การยืนยันแก่ตัวพวกเจ้าเอง

คำอธิบาย دان เรียกว่า  دان الحال   หรือ رابطة الحال

كامو ايت   ทำหน้าที่เป็นคำขึ้นต้นประโยค ( مبتدأ )

نأيك سقسى كامو اتس ..   ทำหน้าที่เป็นคำขยาย ( خبر ) ให้แก่ مبتدأ

ในกรณีที่ ประโยคที่ตกหลัง دان    ซึ่งประกอบไปด้วย مبتدأ   และ خبر  ทำหน้าที่บ่งสภาพ เราเรียกประโยคนี้ว่า جملة حالية  (ประโยคบ่งสภาพ)

ตัวอย่าง

دان تياد مپست مريكئيت ملينكن ديرى مريكئيت

دان تياد سدر مريكئيت يڠد مكين ايت

และพวกเขาไม่ได้ทำให้หลงผิดนอกจากตัวของพวกเขาเอง

โดยที่พวกเขาหาได้รู้สึกรับรู้ถึงสิ่งดังกล่าวไม่

คำอธิบาย دان    ในประโยคตัวอย่าง ( دان  ตัวที่สอง) เรียกว่า دان الحال   และประโยคที่ตกอยู่หลัง دان   เป็นประโยคที่บ่งถึงสภาพ  ( جملة حالية )

ในบางกรณี เราอาจพบว่า สำนวนที่บ่งถึงสภาพในภาษามลายูสามารถใช้คำว่า فد كتيكا  فد كتيك

ตัวอย่าง

دان تله كامى داتڠ اكن يحيى ايت حكوم جادى نبى فد كتيك كچيل عمور

และเราได้นำมายังยะหฺยาซึ่งหุก่มการเป็นนะบีในขณะที่มีอายุน้อย

คำอธิบาย กล่าวคือท่านนบียะหฺยา(อ.ล.) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนะบีขณะมีอายุน้อย (ยังเป็นเด็ก) ในสำนวนอัล-กุรอ่านใช้คำว่า وَآتَيْناَهُ الحكْمَ صَبِيًّا     ซึ่งสามารถ  تَقْدِيْرٌ  สำนวนว่า حَالَ كَوْنِه صبيًّا   (ในสภาพที่เขายังเป็นเด็ก)

4.  دان الْمَعِيَّةُ  หมายถึง دان ที่มีความหมายว่า “พร้อมกับ” (سرت ) และคำที่ตกอยู่หลัง دان المعية    นั้น ทำหน้าที่เป็น مفعول معه   (กรรมที่บ่งถึงการเกิดขึ้นพร้อมกัน)

ตัวอย่าง

بڠكيت اى درفد تيدور دان نايك متهارى

เขาตื่นนอนพร้อมกับ(พอดีกับ)ดวงอาทิตย์ขึ้น

คำอธิบาย بڠكيت          ทำหน้าที่เป็นคำกริยา (فعل )

اى              คำสรรพนามทำหน้าที่เป็นประธาน (فاعل )

درفد            คำบุพบท  (حرف جر  ) และเชื่อม  مُتَعَلِّقٌ))  กลับไปยังคำกริยา بڠكيت

تيدور            ตกอยู่หลัง درفد     เป็น  مجرور

دان     دان المعية   แปลว่า  พร้อมกับ, พอดีกับ

نايك متهارى   ตกอยู่หลัง دان المعية   เป็น مفعول معه

 

อนึ่ง สังเกตได้ว่า دان المعية      ไม่เหมาะในการเป็นคำเชื่อมในการสันธาน( عطف )  ในกรณีที่ประโยคที่อยู่ก่อนหน้า دان    ( คือการตื่นนอน)  และประโยคที่อยู่หลัง دان   ( คือการขึ้นของดวงอาทิตย์) ไม่มีส่วนร่วมกับประธาน اى   (เขา) ในประโยคแรกแต่อย่างใด

 

ตัวอย่าง

برجالن اى دان سوڠى

“เขาเดินไปพร้อมกับแม่น้ำ”

คำอธิบาย برجالن       ทำหน้าที่เป็นกริยา ( فعل )

اى              คำสรรพนามทำหน้าที่เป็นประธาน ( فاعل )

دان المعية    แปลว่า  พร้อมกับ

سوڠى        ตำแหน่งอยู่หลัง دان المعية  ทำหน้าที่เป็น مَفْعُوْلٌ مَعَه

 

สังเกตได้ว่า  เขาผู้ชาย ( اى ) เป็นผู้เดิน ส่วนแม่น้ำ سوڠى   นั้นไม่ได้เดิน دان   ในประโยคจึงใช้ไม้ได้ในการทำหน้าที่เป็นคำเชื่อมสันธาน ( عطف ) เพราะแม่น้ำกับประธานไม่ได้ร่วมกันกระทำกริยาเดิน  برجالن

 

ตัวอย่าง

برگراق تنترا دان فڠليما

กองทัพเคลื่อนพร้อมกับแม่ทัพ

คำอธิบาย  برگراق  ทำหน้าที่เป็นคำกริยา( فعل )

تنترا           ทำหน้าที่เป็นประธาน ( فاعل ) ให้แก่ برگراق

دان    دان المعية   มีความหมายว่า พร้อมกับ ( سرت )

فڠليما           ตำแหน่งตกอยู่หลัง دان المعية   ทำหน้าที่เป็น مفعول معه

 

อนึ่ง  دان   ในประโยคตัวอย่างนี้ทำหน้าที่เป็น دان عطف   ก็ได้  โดยคำว่า تنترا   ตกเป็น معطوف عليه   และคำว่า فڠليما     ทำหน้าที่เป็น معطوف      เหตุผลที่อนุญาตให้ دان   ในประโยคนี้ เป็น دان عطف   ได้ก็เพราะสามารถใช้คำกริยา برگراق  ร่วมกันได้ ในความหมายว่าทั้งแม่ทัพและกองทัพต่างก็เคลื่อนทัพด้วยกันนั่นเอง โดยสามารถเรียบเรียงประโยคใหม่ได้ว่า دان برگراق فڠليما