อ.อาลี เสือสมิง : ถามตอบปัญหา

สารบัญปัญหาคาใจ => หมวด : เรื่องอื่นๆ => ข้อความที่เริ่มโดย: อาลี เสือสมิง ที่ พฤศจิกายน 15, 2010, 10:30:39 am

หัวข้อ: การเขียนเทียบอาหรับ โดยใช้ภาษาไทย ระหว่าง \"ฮ์\" กับ \"ฮฺ\"
เริ่มหัวข้อโดย: อาลี เสือสมิง ที่ พฤศจิกายน 15, 2010, 10:30:39 am
salam
ผม อยากทราบว่า การเขียนเทียบอาหรับ โดยใช้ภาษาไทย คือ ผมมีข้อสงสัยอยู่นิดนึง ในคำ ๆ หนึงมีพยัญชนะที่ลงท้ายด้วย \"ــــة\" (ตาอ์มัรบูเฏาะฮ์ หรือ ตาอ์ปิด) เช่น \"السنة\" กับ \"ـــه\" (ฮาอ์) เช่น \"الله\"

ดังนั้น จึงอยากทราบว่า ตามหลักการเทียบภาษาไทย หรือตามหลักราชบัณฑิตยสถานที่ถูกต้องแล้ว ควรเลือกใช้พยัญชนะใดเทียบตามตัวอาหรับ จากประเด็นดังกล่าวนี้ ซึ่งจากหลายครั้งหลายที่ ที่ผมได้อ่านจากหนังสือต่าง ๆ และจากเว็บต่าง ๆ ก็มีการเขียนเทียบแตกต่างกัน บ้างก็แยกระหว่าง \"ฮ์\" กับ \"ฮฺ\" หรือไม่ก็ปะปนกัน หรือไม่ก็ใช้รวมกัน จากคำตัวอย่างที่ยกมา

เพราะ ฉะนั้น อยากให้อาจารย์ช่วยชี้แนะจากประเด็นดังกล่าวด้วยครับ ว่าควรเลือกใช้เทียบอย่างไร หรือว่าใช้คำไหนก็ได้ หรือว่าอย่างไรกันแน่ครับ?...วัสสลามุอะลัยกุม

ปล. อาจารย์อยากจะเสริมเพิ่มเติมอะไรก็ได้นะครับ

ถามโดย อัสสะตูลีย์
« เมื่อ: มีนาคม 05, 2010, 07:36:21 PM »
หัวข้อ: Re: การเขียนเทียบอาหรับ โดยใช้ภาษาไทย ระหว่าง \"ฮ์\" กับ \"ฮฺ\"
เริ่มหัวข้อโดย: อาลี เสือสมิง ที่ พฤศจิกายน 15, 2010, 10:30:59 am
وعليكم السلام ورحمة الله و بركاته

เนื่องจากภาษาอาหรับเป็นภาษาอื่น เมื่อเขียนเป็นคำไทยก็จะไม่ตรงกับภาษาเดิมทีเดียว ที่ทำได้ก็คือการเทียบเสียงซึ่งอาจจะมีความต่างกันในอักขระวิธีสำหรับผู้เทียบ เช่น บางคนอาจจะเขียนคำว่า (اَلسُّنَّةُ) ว่า อัซซุนนะห์ , อัสสุนนะฮฺ หรือ อัส-สุนนะห์ หรือ อัซ-ซุนนะห์ อย่างหลังนี้มีเครื่องหมายยัติภังค์ (-) เข้ามาด้วย อย่างคำ (القرآن) บางทีก็เขียนว่า “อัลกุรอาน” ซึ่งตรงกับพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน แต่บางทีก็เขียนว่า อัล-กุรอาน คือมีเครื่องหมายยัติภังค์ปรากฏอยู่


ส่วนการใช้ “ฮ์” กับ “ฮฺ” ในคำว่า ซุนนะฮ์ และ สุนนะฮฺ นั้นก็น่าจะใช้ได้ทั้งสองอย่าง อย่างแรก (ฮ์) ใช้เครื่องหมายทัณฑฆาตเป็นเครื่องหมายสำหรับฆ่าอักษรที่ไม่ต้องการออกเสียง ส่วนอย่างที่สอง (ฮฺ) ใช้จุด (พินทุ) เป็นเครื่องหมายที่ใส่ไว้ข้างใต้ตัวอักษรเพื่อบ่งว่าตัวอักษรนำและไม่อ่านออกเสียง อย่างไรก็ตาม หากดูอักขระวิธีและเขียนคำตามราชบัณฑิตยสถานก็น่าจะเป็น (ฮ์) เช่น คำว่า “โมมูหฺ” เป็นต้น เอาเป็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เปิดกว้างและถือเอาความสะดวกเป็นเกณฑ์ สำหรับผู้ที่รู้รากศัพท์ในภาษาอาหรับก็คงไม่มีปัญหาแต่อย่างใดเพราะจะเขียน “ฮ์” หรือ “ฮฺ” ถ้าอ่านหยุด (วักฟ์) ก็ต้องเปลี่ยนตามัรบูเฏาะฮฺเป็น “ฮาอฺ” อยู่แล้ว

والله أعلم بالصواب