อ.อาลี เสือสมิง : ถามตอบปัญหา

สารบัญปัญหาคาใจ => หมวด : การถือศีลอด และเดือนเราะมะฎอน => ข้อความที่เริ่มโดย: อาลี เสือสมิง ที่ มกราคม 22, 2011, 10:29:47 pm

หัวข้อ: ใครต้องจ่ายซากาตฟิตเราะฮ์
เริ่มหัวข้อโดย: อาลี เสือสมิง ที่ มกราคม 22, 2011, 10:29:47 pm
salam
อาจารย์ ครับในกรณีผู้ที่ต้องจ่ายซากาตฟิตเราะฮ์จำเป็นบนใครบ้างครับแล้วในกรณีของคน ที่เขาเสียชีวิตในวันที่9ของเดือนรอมาฎอน ทายาทจำเป็นต้องจ่ายซากาตแทนไหม แล้วในกรณีเด็กในท้องจำเป็นต้องจ่ายซากาตไหม  แล้วในกรณีเด็กที่เกิดตรงกับในช่วงที่มีการดูเดือนพอดีต้องจ่ายไหม แล้วเด็กที่เกิดก่อนละหมาด 1ชั่วโมงก่อนละหมาดอีดจำเป็นต้องจ่ายซากาตไหม
 salam

ถามโดย - ฮานีฟ « เมื่อ: สิงหาคม 26, 2010, 09:53:27 AM »
หัวข้อ: ตอบ:ใครต้องจ่ายซากาตฟิตเราะฮ์
เริ่มหัวข้อโดย: อาลี เสือสมิง ที่ มกราคม 22, 2011, 10:30:13 pm
وعليكم السلام ورحمة الله و بركاته
 الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد...؛

ซะกาต อัล-ฟิตเราะฮฺ จะจำเป็นด้วย 3 เงื่อนไขดังนี้
1) เป็นมุสลิม  
2) มีชีวิตอยู่หลังดวงตะวันลับขอบฟ้าของวันสุดท้ายจากรอมฎอน  
3) มีอาหารหลักหรือมีทรัพย์ที่พอซื้ออาหารสำหรับตัวเองและบุคคลที่จำเป็นต้องจ่ายค่าเลี้ยงดู (นะฟะเกาะฮฺ) ในวันอีดและค่ำคืนของวันอีด

ผู้ใดมีเงื่อนไขทั้ง 3 ข้อครบสมบูรณ์ก็วาญิบต้องจ่ายซะกาตอัล-ฟิฏร์ (อัล-ฟิกฮุลมันฮะญีย์ เล่มที่ 1  หน้า 228-229)


ดังนั้นผู้ที่เสียชีวิตในวันที่ 9 เราะมะฎอนก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายซะกาต อัลฟิฏร์แทนบุคคลผู้นั้น เนื่องจากขาดเงื่อนไขข้อที่ 2 และในกรณีของเด็กที่เกิดก่อนละหมาดอีด 1 ชม. ก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายซะกาต อัล-ฟิฏร์ ให้เด็กคนนั้นเนื่องจากเด็กเกิดในวันที่ 1  เชาว้าลซึ่งพ้นเราะมะฎอนไปแล้ว


ส่วนกรณีของเด็กที่เกิดในช่วงเวลาที่มีการดูเดือน (จันทร์เสี้ยว) ซึ่งเป็นเวลาหลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าของวันที่ 29 เราะมะฎอน ถ้าเห็นจันทร์เสี้ยวของวันที่ 1 เชาว้าลก็ไม่วาญิบต้องออกซะกาตอัล-ฟิฏร์ให้แก่เด็กผู้นั้น เพราะเด็กเกิดหลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้วของวันสุดท้ายจากเราะมะฎอน แต่ถ้าไม่เห็นจันทร์เสี้ยว และนับเราะมะฎอนครบ 30 วัน ก็วาญิบต้องออกซะกาตให้แก่เด็กผู้นั้น เนื่องจากเด็กเกิดในช่วงเวลาก่อนดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าในวันสุดท้ายของเราะมะฎอนคือวันที่ 30 และมีช่วงเวลาคาบเกี่ยวระหว่างเราะมะฎอนกับคืนวันอีด


กรณีของเด็กทารกที่อยู่ในครรภ์ของมารดานั้น ปวงปราชญ์ถือว่าไม่วาญิบต้องออกซะกาตอัล-ฟิฎร์ให้แก่ด็ก (ฟิกฮุซซะกาต; ยูซุฟ อัล-กอรฏอวียฺ เล่มที่ 2 หน้า 981)


อัช-เชากานียฺ ระบุว่า อิบนุอัล-มุนซิร ได้ถ่ายทอดการอิจญฺมาอฺว่าไม่วาญิบต้องออกซะกาตให้แก่เด็กที่อยู่ในท้อง แต่อิหม่ามอะฮฺหมัด (ร.ฮ.) ถือว่าส่งเสริม (มุสตะหับ) ที่จะออกซะกาตให้แก่เด็กทารกในครรภ์แต่ไม่วาญิบ (นัยลุ้ลเอาฎ้อร4/181) ส่วนอิบนุ หัซมิน ระบุว่า: เมื่อเด็กมีอายุในครรภ์ถึง 120 วันก่อนแสงอรุณจริงขึ้นในวันอีดอัล-ฟิฏร์ก็วาญิบต้องออกซะกาตอัล-ฟิฎร์ให้แก่เด็กคนนั้น (อัล-มะหัลลียฺ 6/136)


สรุปได้ว่าในกรณีของทารกในครรภ์นั้นไม่วาญิบต้องออกซะกาตอัล-ฟิฎร์ตามทัศนะปวงปราชญ์ซึ่งมีระบุว่าเป็นอิจญ์มาอฺ แต่ถ้าจะออกก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี

والله أعلم بالصواب