อ.อาลี เสือสมิง : ถามตอบปัญหา

สารบัญปัญหาคาใจ => หมวด : เฏาะฮาเราะฮฺ => ข้อความที่เริ่มโดย: ตับหมู ที่ กุมภาพันธ์ 16, 2013, 05:25:10 pm

หัวข้อ: ตับหมูมีหลักฐานห้ามไม่ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ตับหมู ที่ กุมภาพันธ์ 16, 2013, 05:25:10 pm
ผมเคยฟังช่ิองจานดำพูดว่าตับหมูกินได้
เพราะไม่ีหลักฐานห้ามครับ
ในอัลกรุอ่าน ห้านเฉพาะเนื้อเท่านั้น
  ช่วยชี้แจงให้ผมฟังหน่อยครับพร้อมบอกหลักฐานที่มาที่ไปด้วยครับ
หัวข้อ: ตับหมูมีหลักฐาน ห้ามไหม
เริ่มหัวข้อโดย: ตับหมู ที่ กุมภาพันธ์ 20, 2013, 09:55:56 am
ผม อยาก ทราบว่า ตับหมูมีหลักฐาน ห้าม ไหม ครับ
ถ้ามี พร้อมบอกที่มาไป ด้วยครับ
ยาซากัลลอฮฮูคัยรอน
หัวข้อ: ตอบ : ตับหมูมีหลักฐานห้ามไม่ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: อาลี เสือสมิง ที่ เมษายน 05, 2013, 08:30:57 pm
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد

ทุกส่วนของสุกรไม่ว่าจะเป็นเนื้อ หนัง อวัยวะทั้งภายในและภายนอกของสุกรถือเป็นสิ่งต้องห้ามในการบริโภคโดยเด็ดขาดในภาวะปกติ เนื่องจากมีหลักฐานจากคัมภีร์อัล-กุรอานระบุห้ามบริโภคสุกรเอาไว้หลายอายะฮฺด้วยกัน เช่นอายะฮฺที่ว่า

إِنَّمَا حَرَّمَ عَلَيْكُمُ الْمَيْتَةَ وَالدَّمَ وَلَحْمَ الْخِنزِيرِ الآية

ความว่า “อันที่จริงพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงบัญญัติห้าม (การบริโภค) สัตว์ที่ตายเอง เลือด และเนื้อสุกร...” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ 173) สำนวนของอายะฮฺมีการทิ้งคำนามที่ถูกอ้าง (มุฏ็อฟฺ) ในทางภาษา คือคำว่า การบริโภค (أكْلَ) สำนวนเต็มคือ

إنَّمَاحَرَّمَ عَلَيْكُمْ أَكْلَ الْمَيْتَةِ وَأَكْلَ الدَّمِ وأكْلَ لَحْمِ الخِنْزِيْرِ


เหมือนกับสำนวนในอายะฮฺที่ว่า

(وَاسْأَلِ الْقَرْيَةَ)
“และจงถามหมู่บ้านนั้น” สำนวนเต็มคือ “และจงถามชาวหมู่บ้านนั้น”


(وَاسْأَلْ أَهْلَ الْقَرْيَةِ)

(เราะวาอิอุลบะยาน ฟี ตัฟสีร อายาตฺ อัล-กุรอาน ; มุฮัมมัด อะลี อัศ-ศอบูนียฺ เล่มที่ 1 หน้า 160) และกรณีที่อัล-กุรอานใช้สำนวนว่า “เนื้อของสุกร” (لَحْمَ الْخِنْزِيْرِ) แทนที่จะใช้สำนวนว่า “สุกร”


อิมามอบู อัส-สะอูด (ร.ฮ.) อธิบายว่า : อันที่จริงอัล-กุรอานกล่าวเจาะจงเนื้อของสุกร (لحمُ الخِنْزِيِرِ) ทั้งๆ ที่ส่วนอื่นๆ จากเนื้อของสุกรก็มีข้อชี้ขาด (ในการห้ามบริโภค) เช่นกัน นั่นเป็นเพราะว่าเนื้อเป็นสิ่งส่วนใหญ่ที่จะถูกบริโภคจากสัตว์ และส่วนอื่นที่เหลือของสัตว์นั้นอยู่ในตำแหน่ง


ของสิ่งที่เป็นไปตามข้อชี้ขาดของเนื้อนั้น (ตัฟสีร อบี อัส-สุอู๊ด 1/147) กล่าวคือ เมื่อเนื้อของสัตว์นั้นเป็นที่ต้องห้าม (หะรอม) ในการบริโภค อวัยวะส่วนอื่นนอกจากเนื้อของสัตว์นั้น เช่น กระดูก หนัง กระเพาะ ไส้ ตับ ม้าม และหัวใจเป็นต้น ก็เป็นสิ่งที่ต้องห้าม (หะรอม) ในการบริโภคตามเนื้อของมันไปด้วย


การกล่าวว่า ตับของสุกรบริโภคได้โดยอ้างว่า สิ่งที่อัลลอฮฺ (ซ.บ.) บัญญัติห้ามคือเนื้อของสุกรเท่านั้นเป็นคำกล่าวที่เหมือนกับนักวิชาการอัซ-ซอฮิรียะฮฺบางส่วนที่กล่าวว่า สิ่งที่ถูกห้ามคือเนื้อของสุกรมิใช่ไขมันของสุกร เพราะอัลลอฮฺ (ซ.บ.) กล่าวว่า (ولَحْمَ الْخِنْزِيْرِ) “และเนื้อของสุกร” ซึ่งเป็นคำกล่าวที่ไม่ถูกต้องและค้านกับทัศนะของบรรดาปวงปราชญ์ (เราะวาอิอุลบะยาน ; อ้างแล้ว 1/164)

والله اعلم بالصواب