อ.อาลี เสือสมิง : ถามตอบปัญหา

สารบัญปัญหาคาใจ => หมวด : การถือศีลอด และเดือนเราะมะฎอน => ข้อความที่เริ่มโดย: ดาริส ที่ กรกฎาคม 19, 2013, 02:12:15 pm

หัวข้อ: คำกล่าวออกซะกาตฟิต
เริ่มหัวข้อโดย: ดาริส ที่ กรกฎาคม 19, 2013, 02:12:15 pm
  salam ครับ  มีข้อสงสัยเกี่ยวกับวิธีการออกซะกาตฟิต
    1. ต้องกล่าวอะไรบ้างขณะจ่ายซะกาต
    2. การเหนียตต้องแยก  คนนึ่งเหนียตครั้งนึ่งในกรณีออกให้หลายคนที่อยู่ในบ้าน
    3. สามารถเหนียตครั้งเดียว(ให้ตัวเอง,ลูก,ภรรยา )รวม3 กังตัง แล้วมอบให้คนรับซะกาต แบบนี้ได้ไม่ครับ
หัวข้อ: Re: คำกล่าวออกซะกาตฟิต
เริ่มหัวข้อโดย: อาลี เสือสมิง ที่ สิงหาคม 05, 2013, 11:17:38 pm
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد

ข้อ 1. ในขณะที่จ่ายซะกาตนั้นวาญิบ (จำเป็น) ที่ผู้จ่ายซะกาตต้องมีเจตนา (อัน-นียะฮฺ) เนื่องจากมีอัล-หะดีษระบุว่า “อันที่จริงการกิจทั้งหลายตามหลักการศาสนาจะใช้ได้และเป็นผลด้วยการมีเจตนา” และการจ่ายซะกาตเป็นอิบาดะฮฺล้วนๆ ซึ่งจะใช้ไม่ได้ด้วยการไม่มีการตั้งเจตนาเช่นเดียวกับการละหมาด


ซึ่งการเป็นวาญิบว่าต้องมีเจตนาขณะทำการจ่ายซะกาตนั้นเป็นมัซฮับอัช-ชาฟิอียฺ และอิมามาลิก , อบูหะนีฟะฮฺ , อัษเษรียฺ , อิมามอะหฺมัด , อบูเษาริน , ดาวูด และปวงปราชญ์กล่าวเอาไว้ (กิตาบอัล-มัจญ์มูอฺ ชัรหุลมุฮัซซับ เล่มที่ 6 หน้า157)


และนักวิชาการสังกัดมัซฮับอัช-ชาฟิอียฺกล่าวว่า “หากผู้จ่ายซะกาตมีเจตนาด้วยหัวใจของตนโดยไม่มีถ้อยคำของลิ้นในการเปล่งวาจาก็ถือว่าการจ่ายซะกาตของผู้นั้นใช้ได้แล้วโดยไม่มีข้อขัดแย้ง


แต่ถ้าหากผู้นั้นเปล่งวาจาด้วยลิ้นของตนแต่ไม่มีเจตนาด้วยหัวใจ กรณีนี้มี 2 แนวทางในมัซฮับ หนึ่งในสองแนวทางนั้นถือว่าใช้ไม่ได้เป็นประเด็นเดียว ซึ่งตามประเด็นนี้นักวิชาการสังกัดมัซฮับอัช-ชาฟิอียฺชาวอีรัก , อัส-สัรฺเคาะสียฺ และคนอื่นๆ จากชาวคุรอสานชี้ขาดเอาไว้ (อ้างแล้ว 6/158)


อย่างไรก็ตามหากผู้ที่จ่ายซะกาตมีเจตนาด้วยหัวใจและเปล่งวาจาด้วยก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี โดยกล่าวว่า “นี่คือฟัรฎูซะกาตฟิฎร์ของข้าพเจ้า” ก็เพียงพอแล้ว


ข้อ 2., 3. การตั้งเจตนา (อัน-นียะฮฺ) ที่เป็นสิ่งจำเป็น (วาญิบะฮฺ) ในการจ่ายซะกาตนั้น บางทีก็เป็นเจตนาการออกซะกาตให้แก่ตัวเองหรือแก่บุคคลที่ผู้จ่ายซะกาตจำเป็นต้องจ่ายซะกาตแก่ผู้นั้นจากทรัพย์สินของตน จึงเป็นสิ่งที่อนุญาตสำหรับผู้จ่ายซะกาตจะมีเจตนารวมว่าสิ่งที่ออกซะกาต (ข้าวสาร) ที่แยกเป็นถุงๆ นั้นเป็นซะกาตฟิฏร์ที่เป็นฟัรฎูเหนือตนในรวดเดียวก็ได้ หรือจะมีเจตนาแยกเป็นรายๆ ในขณะที่มีการตวงข้าวสารก็ได้ ทั้งนี้มีคำกล่าวของอิมามอัร-รอฟิอียฺ (ร.ฮ.) ที่ระบุไว้ว่า “ทุกๆ สิทธิหน้าที่ล้วนต้องการการตั้งเจตนา...” (อิมามะตุฏฏอลิบีน เล่มที่ 2/209) ซึ่งบ่งเป็นนัยว่าสิทธิของแต่ละคนนั้นในการออกซะกาตจำเป็นต้องมีเจตนาเป็นรายๆ ไป


ซึ่งหากตั้งเจตนาในขณะตวงข้าวสารที่จะออกเป็นซะกาตฟิฏร์เป็นรายๆ ไปก็ถือว่าดีที่สุด แต่ถ้าจะเหนียตรวมครั้งเดียวว่าทั้งหมดที่ตวงนั้น (ทั้ง 3 กันตัง) เป็นซะกาตฟัรฎูฟิฏร์ของตนก็ถือว่าเป็นที่ใช้ได้ เพราะทั้งหมดนั้น (ทั้ง 3 กันตัง) เป็นสิทธิหน้าที่ของผู้จ่ายซะกาตเพียงคนเดียวเช่นกัน

والله اعلم بالصواب