อ.อาลี เสือสมิง : ถามตอบปัญหา

สารบัญปัญหาคาใจ => หมวด : หนังสือ ภาษา ประวัติศาสตร์ และความรู้ทั่วไป => ข้อความที่เริ่มโดย: อบูมุอาซ ที่ ตุลาคม 18, 2014, 09:16:25 pm

หัวข้อ: ใครคือ นาศีรุดดีน อัลอันบานี
เริ่มหัวข้อโดย: อบูมุอาซ ที่ ตุลาคม 18, 2014, 09:16:25 pm
 salam
ขอถามอาจารย์หน่อยครับว่า นาศีรุดดีน อัลอันบานี เขาคือใคร? เคยมีพี่น้องบอกว่าเขาเป็นนักวิชาการหะดีษ เกี่ยวกับการขัดกรองหะดีษ เช่นว่าหะดีษไหนศอเฮียะหรือดออีฟ แต่เขาเรียนรู้ด้วยตัวเองโดยไม่มีผู้สอนและไม่มีสายรายของตนเอง หากเป็นเช่นนี้จะเป็นนักวิชาการหะดีษได้ไมครับ
ญาซากั้ลลอฮ์ครับ
หัวข้อ: Re: ใครคือ นาศีรุดดีน อัลอันบานี
เริ่มหัวข้อโดย: อาลี เสือสมิง ที่ กรกฎาคม 01, 2015, 11:43:04 pm
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته

ชัยค์ มุฮัมมัด นาศิรุดดีน อิบนุ อัล-ฮาจญ์ นัวะฮ์ อัล-อัลบานีย์ ถือกำเนิดในปี ฮ.ศ. 1333 / ค.ศ. 1914 ในเมืองอัช-กูดะเราะฮ์ (ชะกูดัรฺ – สกูตารีย์) ประเทศแอลบาเนีย ต่อมาบิดาของท่านได้พาครอบครัวอพยพสู่นครดามัสกัส ประเทศซีเรียและตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นั่น


การศึกษา
ชัยค์ อัล-อัลบานีย์ (ร.ฮ.) จบการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนอัล-อิสอาฟ อัล-คอยรีย์ในนครดามัสกัส เรียนอัล-กุรอาน ตัจญ์วีด ไวยกรณ์และท่องจำอัล-กุรอานตามริวายะฮ์หัฟศ์จากอาศิมกับบิดาของท่าน ศึกษาฟิกฮ์ในมัซฮับอัล-หะนะฟีย์ตลอดจนตำราทางภาษาและวาทศิลป์กับชัยค์ สะอีด อัล-บุรฮานีย์ รวมถึงฟังการเรียนการสอนของอัล-ลามะฮ์ บะฮ์ญัต อัล-บัยฏอรฺ


ท่านประกอบอาชีพอย่างบิดาในการซ่อมนาฬิกาและอาศัยช่วงเวลาว่างในการอ่านตำรา และค้นคว้าโดยเฉพาะการค้นคว้าตำรับตำราในภาควิชาอัล-หะดีษโดยอาศัยห้องสมุดอัซ-ซอฮิรียะฮ์ในนครดามัสกัส ผลงานในด้านหะดีษแรกสุดของท่านคือ คัดลอกตำรา “อัล-มุฆนีย์ อันหัมลิล อัสฟาร ฟี ตัครีจญ์ มาฟิล อิห์ยาอ์ มินัล อัคบาร์” ของอัล-หาฟิซ อัล-อิรอกีย์ (ร.ฮ.) พร้อมกับทำเชิงอรรถ



การสอน
ชัยค์ อัล-อัลบานีย์ (ร.ฮ.) จะตั้งวงในการสอนตำรา 2 ครั้งในแต่ละสัปดาห์ ตำราที่ท่านใช้สอนได้แก่

1) ”ฟัตหุลมะญีด” ของอับดุรเราะห์มาน อิบนุ หะสัน อิบนิ มุฮัมมัด อิบนิ อับดิลวะฮ์ฮาบ

2) ”อัร-เราว์เฎาะฮ์ อัน-นะดียะฮ์ ชัรหุ อัด-ดุรอรฺ อัล-บะฮิยะฮ์ ของอิมาม อัช-เชากานีย์ อธิบายโดย ศิดดีก หะสัน ข่าน

3) ”อุศูลุลฟิกฮ์” ของ อับดุลวะฮฺฮาบ คอลล๊าฟ

4) ”อัล-บาอิษ อัล-หะษีษ ชัรหุ อิคติศอรฺ อุลูมิลหะดีษ” ของอิบนุกะษีร อธิบายโดย อะห์มัด ชากิรฺ

5) มินฮาญุลอิสลาม ฟิลหุกม์ ของมุฮัมมัด อะสัด

และ 6) ฟิกฮุสุนนะฮฺ ของ สัยยิด สาบิก


ถูกทางการจับกุม : ต้นปี ค.ศ. 1960 ชัยค์ อัล-อัลบานีย์ (ร.ฮ.) ถูกรัฐบาลซีเรียจับตามอง และต่อมาถูกทางการจับกุม 2 ครั้ง ครั้งแรกก่อนปี ค.ศ. 1976 ถูกจับกุมคุมขังเป็นเวลา 1 เดือน ในป้อมปราการนครดามัสกัส ซึ่งเป็นสถานที่แห่งเดียวกันที่ชัยค์ อิบนุ ตัยมียะฮ์ (ร.ฮ.) เคยถูกคุมขัง ต่อมาถูกปล่อยตัว และถูกจับกุมอีกครั้ง โดยถูกคุมขังที่คุกอัล-หัสกะฮ์ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงดามัสกัส เป็นเวลา 8 เดือน


การทำงานและผลงาน
1) คณะนิติศาสตร์อิสลาม มหาวิทยาลัยดามัสกัส เลือกท่านให้ทำการตัครีจญ์บรรดาหะดีษว่าด้วยการค้าขายและการทำธุรกรรม เพื่อจัดทำสารานุกรมฟิกฮ์อิสลามที่ทางมหาวิทยาลัยจะพิมพ์เผยแพร่ในปี ค.ศ. 1955


2) ได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิกในคณะกรรมการอัล-หะดีษในสมัยที่อียิปต์กับซีเรียรวมประเทศเพื่อตรวจสอบตำราอัล-หะดีษ


3) มหาวิทยาลัยอัส-สะละฟียะฮ์ เมืองบะนาริส อินเดียเสนอให้ท่านดำรงตำแหน่ง ชัยคุ้ลฮะดีษของมหาวิทยาลัย แต่ท่านขัดข้องเพราะเกิดสงครามอินเดีย-ปากีสถาน


4) รัฐมนตรีศึกษาของซาอุดี้ ชัยค์ หะสัน อิบนุ อับดิลลาฮ์ อาล อัช-ชัยค์ เสนอให้ท่านมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาคอิสลามศึกษาชั้นสูง (ป.โท) มหาวิทยาลัยมักกะฮ์ แต่ท่านก็ไม่ได้ไปตามข้อเสนอ


5) ได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิกสภาสูงสุดมหาวิทยาลัยอัล-อิสลามียะฮ์ นครมะดีนะฮ์ นับจากปี ฮ.ศ. 1395 – 1398


6) เดินทางไปยังประเทศต่างๆ เพื่อเป็นองค์บรรยาย เช่น สเปน , กาตาร์ , มอรอคโค , อังกฤษ , คูเวต , เอมิเรต , และอีกหลายประเทศในยุโรป ตลอดจนได้รับรางวัลกษัตริย์ไฟซอล ในปี ค.ศ. 1999


7) ตำราทางวิชาการที่ท่านได้แต่งและเรียบเรียงมีมากกว่า 100 เล่ม และถูกแปลเป็นภาษาต่างๆ ตลอดจนถูกพิมพ์ซ้ำเป็นจำนวนมาก


เสียชีวิต
ชัยค์ มุฮัมมัด นาศิรุดดีน อัล-อัลบานีย์ (ร.ฮ.) เสียชีวิตก่อนหน้าวันเสาร์เล็กน้อย ตรงกับวันที่ 22 ญุมาดา อัล-อาคิเราะฮ์ ฮ.ศ. 1420 (ค.ศ. 1999) ถูกฝังหลังละหมาดอิชาอ์ (สรุปความจาก เมาว์สูอะฮ์ อัล-อะห์กาม วัล-ฟะตะวา อัช-ชัรอิยะฮ์ ; ดารุลฆอด อัล-ญะดีด หน้า 21-26)


ชัยค์ อับดุลอะซีซ อิบนุ บาซ (ร.ฮ.) กล่าวว่า “ฉันไม่เคยเห็นภายใต้แผ่นฟ้าว่ามีผู้รู้หะดีษในปัจจุบันที่เหมือนกับอัล-ลามะฮ์ มุฮัมมัด นาศิรุดดีน อัล-อัลบานีย์” และกล่าวว่า “มุญัดดิดในยุคนี้คือ ชัยค์ มุฮัมมัด นาศิรุดดีน อัล-อัลบานีย์ ในความนึกคิดของฉัน” (อ้างแล้ว หน้า 25)

ชัยค์ อัล-อุษัยมีน กล่าวว่า “เขาเป็นผู้มีความรู้มากในอัล-หะดีษ ทั้งริวายะฮ์และดิรอยะฮ์” (อ้างแล้ว)


ดังนั้น นักวิชาการที่ยอมรับและชื่นชมชัยค์ อัล-อัลบานีย์ (ร.ฮ.) ก็มีมาก และนักวิชาการที่โจมตีท่านก็มีมากเช่นกัน และส่วนหนึ่งจากคำโจมตีก็คือสิ่งที่ผู้ถามกล่าวมา

والله أعلم بالصواب