อ.อาลี เสือสมิง : ถามตอบปัญหา

สารบัญปัญหาคาใจ => หมวด : อะกีดะฮฺ และกลุ่มต่างๆ => ข้อความที่เริ่มโดย: อาลี เสือสมิง ที่ กันยายน 25, 2010, 01:14:54 pm

หัวข้อ: งูขึ้นบ้านกับการทำบุญ
เริ่มหัวข้อโดย: อาลี เสือสมิง ที่ กันยายน 25, 2010, 01:14:54 pm
อัสลามมูอาลัยกุมอาจารย์อาลีที่เคารพ กระผมใคร่ขอรบกวนอาจารย์ซักเล็กน้อย
คือว่ามีอยู่วันหนึ่งได้มีงูตัวหนึ่งได้ขึ้นมาบนบ้านของผม ซึ่งก็ทำให้เกิดความไม่สบายใจ
ดังนั้น ที่บ้านก็จึงจัดงานบุญขึ้นมาเนื่องจากเหตุดังกล่าว ดังนั้นจึงใคร่ขอถามอาจารย์ดังนี้
1.งานบุญเนื่องจากเหตุดังกล่าวสามารถทำได้ไหม ? อย่างไร ?
2.มันจะส่งผลกระทบกับหลักอากิดะก์หรือไม่ ? อย่างไร ?

วัสลาม

ถามโดย - อิบนุ ตอเฮร  « เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2009, 06:38:45 am »
หัวข้อ: งูขึ้นบ้านกับการทำบุญ
เริ่มหัวข้อโดย: อาลี เสือสมิง ที่ กันยายน 25, 2010, 01:15:28 pm
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد...؛
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته...؛


การที่งูหรือสัตว์เลื้อยคลานขึ้นมาบนบ้านนั้นเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้เสมอ  ยิ่งถ้าลักษณะบ้านเป็นบ้านชั้นเดียว  ไม่ยกพื้นสูง  สัตว์เหล่านี้ที่ไม่ถูกรับเชิญก็อาจจะเข้ามาในบ้านที่ว่านั้นได้  มิใช่เรื่องแปลกหรือเป็นเหตุที่จะต้องทำบุญเป็นกรณีพิเศษแต่อย่างใด  การทำบุญสามารถกระทำได้เสมอ  เมื่อมีความพร้อมหรือมีความประสงค์จะทำบุญ  ส่วนกรณีที่ว่าเมื่อมีงูขึ้นบ้านแล้วจะต้องทำบุญ  กรณีเช่นนี้ไม่มีในหลักคำสอนของศาสนา  


ส่วนเมื่อเราเอาเหตุที่งูขึ้นบ้านมาเป็นเหตุผลในการทำบุญก็ต้องพิจารณาว่าเรามีเอียะอฺติกอด  (ความเชื่อ)  อย่างไร?  ถ้าเราทำบุญเพื่อแสดงความขอบคุณต่ออัลลอฮฺ!  (ซ.บ.)  ที่พระองค์ให้คนในบ้านรอดพ้นจากอันตรายของงูนั้น  อย่างนี้ก็ไม่มีปัญหาและสามารถกระทำได้  แต่ถ้าเราเชื่อว่า  การที่งูขึ้นบ้านของเราจะเป็นเรื่องของโชคลางที่เป็นอัปมงคล  ให้คุณให้โทษได้  จึงต้องทำบุญเพื่อไล่สิ่งอัปมงคลนั้น  หรือไม่ทำบุญจะเกิดสิ่งนั้นสิ่งนี้  ถ้ามีความเชื่อเช่นนี้ถือเป็นเรื่องที่หมิ่นเหม่ต่อหลักอะกีดะฮฺก็จำเป็นต้องเตาบะฮฺตัวและทบทวนคำปฏิญานทั้ง  2  ใหม่เพราะการเชื่อในทำนองดังกล่าวจะเป็นการทำลายหลักเตาฮีดและทำให้ตกศาสนา  (มุรตัด)  ได้!  


ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่อยู่ในหัวใจของคุณ  คุณรู้ดีว่าคุณมีความเชื่อเช่นใด?  ก็ให้พิจารณาดูที่มาที่ไปว่าเราเชื่ออย่างไร?  จึงต้องทำเช่นนั้น!  ส่วนที่ผมให้รายละเอียดไปนั้นเป็นการตั้งสมมติฐานเท่านั้น  ว่าถ้าเป็นอย่างนี้ก็ได้  ถ้าอย่างนั้นไม่ได้  ส่วนเรื่องจริงในใจคุณเป็นอย่างไร?  ข้อนี้คุณรู้ดีก็ให้ตรึกตรองดูนะครับ!

والله ولي التو فيق والهداية