การคุมกำเนิด  (อ่าน 3044 ครั้ง)

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
การคุมกำเนิด
« เมื่อ: พฤศจิกายน 12, 2010, 08:15:11 pm »
salam
อ.ค่ะ การคุมกำเนิดสามารถทำได้หรือไม่ (ทั้งกรณีคุมถาวร และไม่ถาวรค่ะ)

jazakallahhukhoiron ค่ะ

ถามโดย najihah
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 10, 2010, 11:27:01 PM »

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
Re:การคุมกำเนิด
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 12, 2010, 08:15:41 pm »
وعليكم السلام ورحمة الله و بركاته

“คุมกำเนิด” เป็นคำกริยา หมายถึง ควบคุมการเกิด , ป้องกันการตั้งครรภ์ (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หน้า 190 กำเนิดก็คือ การเกิดและการคุมกำเนิดในภาษาอาหรับใช้สำนวนว่า ตะหฺดีดุนนัสลิ (تَحدِيْدُالُنَّسْلِ) การคุมกำเนิดมี 2 นัย คือ

1) นัยกว้าง หมายถึงการคุมกำเนิดที่เป็นนโยบายของรัฐโดยการออกกฏหมายที่บังคับให้พลเมืองของรัฐต้องมีบุตรในจำนวนที่แน่นอนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าสตรีนั้นจะมีบุตรเร็วหรือมีบุตรช้าหรือมีบุตรยาก ไม่พิจารณาถึงสุขภาพหรือความสามารถในการตั้งครรภ์ ตลอดจนฐานานุรูปของคู่สมรส การคุมกำเนิดเป็นตามนัยนี้ถือเป็นสิ่งที่ขัดต่อธรรมชาติของมนุษย์ที่พระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงกำหนดวางเอาไว้และขัดต่อหลักคำสอนของศาสนาที่มุ่งเน้นในการเพิ่มประชาชาติตามสภาวะปกติหรือในภาวะวิกฤติ


2) นัยแคบ หมายถึงการจัดระเบียบ (ตันซีม) หรือวางกรอบการมีบุตรของสตรีที่ตั้งครรภ์เร็วหรือสตรีที่มีโรคซึ่งสามารถถ่ายทอดสู่เด็กในครรภ์หรือเป็นกรณีเฉพาะรายบุคคลที่ไร้ความสามารถจากการเผชิญหน้าหรือแบกรับกับภาระอันมากมายโดยไม่มีหน่วยงานของรัฐหรือผู้มีอันจะกินเข้ามารับผิดชอบแบ่งเบาภาระดังกล่าว การจัดระเบียบเช่นว่านี้ – อันเป็นกรณีรายบุคคล- จึงเป็นเรื่องที่เข้าข่ายการเยียวยารักษาซึ่งจะเป็นการป้องกันผลร้ายที่เกิดขึ้นจริงและมีผลทำให้บุตรมีสุขภาพแข็งแรงและเป็นสิ่งที่หลักชะรีอะฮฺมิได้ห้ามเอาไว้ถึงแม้ว่าหลักชะรีอะฮฺไม่ได้เรียกร้องหรือส่งเสริมก็ตาม

และถือตามกฎนิติศาสตร์ที่ว่า (الضَّرَرُمَدْفُُوعٌ بِقَدْرِالإمْكَانِ) “อันตราย (หรือผลกระทบ) นั้นจะถูกจะปัดป้องตามขนาด (ปริมาณ) ที่เป็นไปได้” จากจุดนี้ นักวิชาการได้ยืนยันว่า อนุญาตให้ห้ามการตั้งครรภ์ชั่วคราวระหว่างคู่สามีภรรยาได้ หรือห้ามการตั้งครรภ์ตลอดไป (ถาวร) หากปรากฏว่าคู่สามีภรรยาทั้งสองหรือคนหนึ่งคนใดมีโรคร้ายที่จะถ่ายทอดสู่ลูกหลาน (อัล-ฟะตะวา ; อิหม่าม มะหฺมูด ซัลตู๊ต พิมพ์ครั้งที่ 18 (2001) หน้า 294-297 โดยสรุป)


จากคำฟัตวานี้สรุปได้ว่า การคุมกำเนิดชั่วคราวเพื่อให้ระยะเวลาการตั้งครรภ์ของสตรีมีระยะว่างเว้นเพื่อให้นมทารกหรือสตรีที่คลอดบุตรมีปัญหาสุขภาพเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ตามความสมเหตุสมผล ส่วนการคุมถาวร เช่น การทำหมันถาวร เป็นต้น หากไม่มีเหตุผลอันสมควรตามหลักการศาสนาและข้อเท็จก็ถือว่าเป็นสิ่งต้องห้าม แต่ถ้ามีเหตุผลอันสมควรโดยได้รับการยืนยันจากแพทย์ผู้ชำนาญการ อาทิเช่น หากมีการตั้งครรภ์อีกจะส่งผลต่อเด็กในครรภ์หรือต่อแม่ของเด็กอย่างแน่นอนกรณีเช่นนี้ก็เป็นสิ่งที่อนุญาตเพราะอยู่ในข่ายของการเยียวยารักษาทางการแพทย์นั่นเอง


والله أعلم بالصواب