การบอกว่าคนๆหนึ่งเป็นคนอีหม่าน  (อ่าน 3357 ครั้ง)

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
การบอกว่าคนๆหนึ่งเป็นคนอีหม่าน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 12, 2010, 08:19:19 pm »
salam  อยากถามอาจารย์ว่าถ้าเราเห็นคนๆหนึ่งเป็นคนที่เคร่งครัดในอิบาดะมากๆ
แล้ว เราจะเรียกเขาว่าคนอีหม่านได้ไม่ จะเป็นการรู้ดีหรือไม่  หรือเป็นการชีริกหรือไม่ที่เราไปบอกว่าเขาเป็นคนอีหม่าน คือมีคนมาว่าผมว่าไปรู้ได้ไง  รู้ดีกว่าอัลลอฮ์  แล้วเราจะเรียกบุคคลดังกล่าวว่าอย่างไรและคำว่ามีอีหม่านนี้ความหมายคืออะไร

ถามโดย อยากรู้
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2010, 11:35:03 PM »

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
Re:การบอกว่าคนๆหนึ่งเป็นคนอีหม่าน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 12, 2010, 08:19:38 pm »
وعليكم السلام ورحمة الله و بركاته

ในตำรา อัล-อะกีดะฮฺ อัฏเฏาะฮาวียะฮฺ ระบุว่า :
ونسمي أهل قبلتنا مسلمين مؤمنين ، ما داموا بما جاء به النبي صلى الله عليه وسلم معترفين ، وله بكل ما قاله وأخبره مصدقين
และเรา (อะหฺลิสสุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ) จะเรียกขานชาวชุมทิศแห่งเราว่ามุสลิมีน มุอฺมินีน (มุสลิมผู้ศรัทธา) ตราบใดที่พวกเขายอมรับสิ่งที่ท่านนบี (صلى الله عليه وسلم) ได้นำสิ่งนั้นมา และเชื่อว่าท่านนบี (صلى الله عليه وسلم) นั้นสัจจริงด้วยทุกๆ สิ่งที่ท่านบอกกล่าวว่า \"อิหม่าม อัฏเฏาะฮาวีย์ (ร.ฮ.) บ่งชี้ด้วยคำพูดข้างต้นว่า อิสลามและอีหม่านคือสิ่งเดียวกัน (ปะริสัยฯ หน้า 94)

กล่าวคือ มุสลิมก็คือผู้มีอีหม่าน (ศรัทธา) และผู้มีศรัทธา (มุอฺมิน) ก็คือมุสลิมนั่นเอง คำว่าอีหม่านและอิสลามนั้น เมื่อแยกกันกล่าวก็จะมีนัยรวมถึงอีกอันหนึ่ง เช่นกล่าวว่า \"อีหม่าน\" ก็จะรวมถึง \"อิสลาม\" ด้วย และหากกล่าวว่า \"อิสลาม\" ก็จะรวมถึง \"อีหม่าน\" ด้วยแต่ถ้านำมากล่าวรวมกันทั้งสองคำก็จะมีความหมายหมายและนัยที่ต่างกัน เข้าทำนอง เวลาแยกก็จะรวม เวลารวมก็จะแยก ดังนั้นการเรียกขานบุคคลตามลักษณะภายนอก (ซอฮิรฺ) ว่าเป็นมุสลิมหรือมุอฺมินจึงเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้

หากถามว่า รู้ได้อย่างไร? ว่าบุคคลผู้นั้นเป็นมุอฺมิน (ผู้มีอีหม่าน) ก็ตอบว่า รู้ได้ตามลักษณะภายนอกที่ปรากฎ เช่น ละหมาดเคร่งครัด เป็นต้น ศาสนาใช้ให้เราตัดสินผู้คนตามสิ่งที่ปรากฎออกมา ส่วนที่อยู่ในใจนั้นเป็นกิจของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) และการเรียกขานบุคคลที่เคร่งครัดอิบาดะฮฺมากๆ ก็เป็นการเรียกขานตามลักษณะที่ปรากฎออกมานั่นเอง ว่าเป็นผู้มีอีหม่าน และมิใช่เป็นการชิริกแต่อย่างใด!

والله أعلم بالصواب