ความอายตามทัศนะของอิสลามควรมีการปฏิบัติอย่างไร ?  (อ่าน 5720 ครั้ง)

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
salam
ผมใคร่ขออยากถามกับอาจารย์ว่า
1. มนุษย์คนเราก็ต้องมีความอาย หรือความละอายกันทุกคนใช่ไหมครับ ?
2. และอยากทราบว่า ความอายตามหลักเกณฑ์และทัศนะของศาสนาอิสลามแล้วนั้น ควรต้องมีการปฏิบัติในความอายที่อนุญาตทำได้ ควรอยู่ในลักษณะอย่างไรบ้าง ?
3. และลักษณะอย่างไรบ้างต่อความอายที่ศาสนาห้ามปฏิบัติครับ ?
วัสสลามุอะลัยกุม

ถามโดย dragon
« เมื่อ: ตุลาคม 09, 2009, 09:20:09 AM »

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
Re:ความอายตามทัศนะของอิสลามควรมีการปฏิบัติอย่างไร ?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2010, 03:30:07 pm »
وعليكم السلام ورحمة الله و بركاته


1. โดยสามัญสำนึกแล้ว มนุษย์ย่อมมีความอายเป็นปกติ เพราะมนุษย์มีความแตกต่างจากเดรัจฉานแต่ความอายของมนุษย์แต่ละคนก็มีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับระดับความศรัทธาและการขัดเกลาจิตใจ อิสลามถือว่า ความละอายเป็นส่วนหนึ่งจากความศรัทธา นักวิชาการระบุว่า แก่นแท้ของความละอายคือการมีคุณธรรมและจริยธรรมที่ส่งผลให้มีการละทิ้งสิ่งที่น่ารังเกียจ (ความอุจาด) และเป็นสิ่งที่หักห้ามผู้มีความละอายจากการกระทำสิ่งที่บกพร่องในสิทธิของผู้อื่นที่เขามีสิทธิจะได้รับการปฏิบัติโดยดีตามสิทธิอันพึงมีพึงได้


2. การที่ความละอายเป็นส่วนหนึ่งจากความศรัทธานั่นเป็นเพราะว่า ทั้งความละอายและการศรัทธาเป็นสิ่งที่ชักจูงไปสู่ความดีและทำให้ผิน ออกจากความชั่วและหลีกหนีจากความชั่วนั้น ความศรัทธาจะปลุกเร้าให้ผู้ศรัทธาประกอบคุณงามความดีและละทิ้งสิ่งที่เป็นความชั่ว ส่วนความละอายจะหักห้ามผู้มีความละอายจากสร้างความบกพร่องในการแสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและการดูแคลนสิทธิของผู้อื่นที่พึงได้รับตลอดจนยังหักห้ามผู้มีความละอายจากกระทำสิ่งที่น่ารังเกียจหรือการพูดจาที่น่ารังเกียจ ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้เกิดการถูกตำหนิหรือถูกประนาม


แต่ความละอายของผู้ศรัทธาก็มิใช่สิ่งที่จะมาขัดขวางไม่ให้ผู้ศรัทธาพูดความจริง แสวงหาความรู้ ใช้ให้ประกอบคุณงามความดีและห้ามปรามจากการกระทำความชั่ว ท่านนบี (صلى الله عليه وسلم) เป็นผู้ที่มีความอายยิ่งกว่าสตรีที่หลบอยู่ในมุมของบ้านนางเสียอีก กระนั้นความอายของท่านและความรักของท่านที่มีต่ออุซามะฮฺ (ร.ฎ.) ก็มิได้ขัดขวางมิให้ท่านพูดตำหนิท่านอุซามะฮฺ (ร.ฎ.) ในเรื่องการขอลดหย่อนโทษแก่สตรีผู้สูงศักดิ์ที่กระทำผิด ความอายมิได้ห้ามท่านหญิงอุมมุสุลัยม์ อัล-อันศอรียะฮฺ จากการสอบถามท่านนบี (صلى الله عليه وسلم) ถึงสตรีที่นอนหลับแล้วฝันเปียกว่าต้องอาบน้ำยกหะดัษหรือไม่? และความอายมิได้ทำให้ท่านอุมัร (ร.ฎ.) ต้องยอมรับความผิดพลาดในกรณีที่สตรีผู้หนึ่งท้วงติงในเรื่องของมะหัร เป็นต้น ดังนั้นความละอายจึงเป็นสิ่งที่ถูกกำกับความเหมาะควรด้วยหลักคำสอนของศาสนาเป็นเกณฑ์


3. ความอายที่ศาสนาห้ามปฏิบัติก็คือ ความอายที่แสดงออกมาในสภาวะการณ์ที่ขัดกับหลักคำสอนศาสนา เช่น อายจากการประพฤติดีเพราะกลัวคำกระแหนะกระแหนของผู้คน อายจากการละทิ้งความชั่วเพราะเกรงใจมนุษย์หรือเพื่อเอาใจมนุษย์ด้วยกัน อายจากการพูดความจริง และอายจากการแสวงหาความรู้ที่เกิดประโยชน์ เป็นต้น ความอายในกรณีที่ว่ามาถือเป็นความอ่อนแอของจิตใต เป็นผลของศรัทธาที่อ่อนแอซึ่งโดยมากเป็นภาวะของความขี้ขลาดและไร้ความกล้าหาญนั่นเอง


والله أعلم بالصواب