ชี้แจงคำว่า \"คิลาฟิยะฮ์\" ให้กระจ่างด้วยครับ ว่าคืออะไรกันแน่ ?  (อ่าน 4532 ครั้ง)

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
salam
          ผมใคร่ขอถาม(อีกแล้ว)ว่า คำว่า \"คิลาฟียะฮ์\" นั้น มันคืออะไรกันแน่ ?  และมีคิลาฟียะฮ์เฉพาะในหมู่ของบรรดาศ่อหาบะฮ์เท่านั้นหรือ หรือว่าในบรรดาอุลมาอ์ หรือว่าในบรรดาพวกเรายุคปัจจุบันเท่านั้น ? และทำไมต้องเกิดและมีคิลาฟียะฮ์ ? และมีวิธีการอย่างไรบ้างอย่าให้เกิดปัญหาที่มาจากคิลาฟียะฮ์ ? และสามารถทำให้คิลาฟียะฮ์นำพาสู่ความเป็นหนึ่งเดียว(แบบว่าไม่นำมาสู่ความ ขัดแย้งที่เกิดขึ้นกันในศาสนา)ได้หรือไม่ อย่างไร ? ดังนั้น จึงอยากให้อาจารย์ช่วยชี้แจงคำว่า \"คิลาฟิยะฮ์\" ให้กระจ่างต่อ(ส่วนหนึ่งของ)ประเด็นต่างๆที่ได้กล่าวมานั้น.....ญะซากัลลอฮุ ค็อยร็อย - วัสสลามุอะลัยกุม วะเราะห์มะตุลลอฮิ วะบะรอกาตุฮฺ

ถามโดย dragon
« เมื่อ: ตุลาคม 10, 2009, 08:46:47 PM »

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
وعليكم السلام ورحمة الله و بركاته
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد...؛


คำว่า คิลาฟิยะฮฺ (خِلاَفِيَّةٌ)  มีรากศัพท์มาจากคำว่าِخِلاَََفٌ (คิลาฟฺ) หมายถึงแตกต่าง , ไม่เหมือนกัน และคำว่า คิลาฟิยะฮฺ เป็นคำแสดงคุณลักษณะให้กับคำก่อนหน้าที่ถูกให้คุณลักษณะ   (مَنْعُوْتٌ - مَوْصُوْفٌ) เช่น الاُمورُالخلافية  المَسَائلُ الخِلافِيهَ เป็นต้น การมีความเห็นต่างกันหรือไม่เหมือนกันเกิดจากการวิเคราะห์และมุมมองในการทำความเข้าใจจากนัยหรือข้อบ่งชี้ของตัวบทที่ต่างกัน


โดยความเห็นต่างดังกล่าวจะอยู่ในประเด็นข้อปัญหาปลีกย่อย (อัลมะซาอิล-อัลฟุรูอียะฮฺ) ที่มิใช่ประเด็นข้อปัญหามูลฐาน (อัลมะซาอิล-อัลอุศูลียะฮฺ) ซึ่งเป็นประเด็นที่มีตัวบทกำหนดเอาไว้อย่างชัดเจนเด็ดขาด เช่นการละหมาด 5 เวลามีจำนวน 17 รอกอะฮฺถือเป็นประเด็นมูลฐานที่ไม่อนุญาตให้ใช้การวิเคราะห์และมีความเห็นต่างจากสิ่งที่มีตัวบทกำหนดเอาไว้โดยเด็ดขาด ส่วนการอ่านบิสมิลลาหฺค่อยหรือดังหรือไม่อ่านเลยถือเป็นประเด็นข้อปลีกย่อยที่อนุญาตให้ความเห็นต่างและใช้การวิเคราะห์นัยจากตัวบทได้เป็นต้น


ความเห็นต่างเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้เสมอโดยมีเหตุปัจจัยหลายประการ เช่น ระดับสติปัญญาและภูมิความรู้ของแต่ละบุคคลไม่เท่ากัน , ความเคร่งครัดของบุคคลมีความแตกต่างกัน , เงื่อนไขในการรับตัวบทมาเป็นหลักฐานมีความแตกต่างกัน , ลักษณะและนัยของสำนวนภาษาที่มีระบุในตัวบทมีความหลากหลาย , การรับรู้ถึงตัวบทกับการไม่รับรู้ถึงตัวบท เป็นต้น


และความเห็นต่างดังกล่าวเป็นธรรมชาติที่อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงกำหนดเอาไว้โดยพระองค์ทรงประทานปัญญาและเจตจำนงค์เสรีให้แก่มนุษย์แต่ละคน เมื่อมนุษย์มีระดับสติปัญญาไม่เท่ากัน มีเจตจำนงค์เสรีที่ต่างกัน จึงมีความเห็นที่ต่างกันเป็นปกติ ซึ่งความเห็นที่ต่างกันนี้มีในกลุ่มชนทุกยุคทุกสมัยนับแต่สมัยของท่านนบี (صلى الله عليه وسلم) จนถึงวันสิ้นโลก


การทำให้มนุษย์ทุกคนเห็นเหมือนกันทั้งหมดจึงเป็นสิ่งที่ขัดกับธรรมชาติที่อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงกำหนดวางเอาไว้ เพราะมนุษย์ย่อมมีความแตกต่างกันทั้งทางด้วยกายภาพ (สีผิว, รูปร่างหน้าตา , ชาติพันธุ์ , ภาษา) และจิตภาพ (คือปัญญาและการใช้กำลังสติปัญญาในการวิเคราะห์) ศาสนาได้กำหนดลู่ทางเอาไว้เป็นหลักยึดในการสร้างเอกภาพของกลุ่มชน คือมีความเป็นหนึ่งบนความแตกต่างหลายประการด้วยกัน เช่น ยอมรับถึงข้อเท็จจริงที่ว่าด้วยความแตกต่าง มีความอดทนอดกลั้นต่อการยอมรับข้อเท็จจริงนั้น ไม่โต้เถียงในเรื่องที่ไม่เกิดประโยชน์ ยึดหลักการของศาสนาเป็นสรณะ ไม่คลั่งไคล้นิยมจนเลยเถิด และเปิดใจรับฟังความเห็นของผู้อื่นเป็นต้น


والله أعلم بالصواب