สิ่งใดคือเรื่องศาสนาสิ่งใดคือเรื่องมุอามะลาต  (อ่าน 10369 ครั้ง)

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
เราจะรู้และวิเคราะห์ ได้อย่างไรว่า สิ่งไหนเป็นเรื่องของศาสนาสิ่งไหนเป็นเรื่องทั่วไปที่ไม่เกี่ยวกับศาสนา(มุอามาลาต) ที่ผมถามผมเพราะผมเคยฟังบรรยายของอาจารย์ในหัวข้อเรื่อง \"บิดอะห์\" และจำได้ว่าอาจารย์บอกว่า ในเรื่องของศาสนาจะทำได้ก็ต่อเมื่อมีคำสั่งใช้มาเช่น การละหมาด,ถือศิลอด ส่วนเรื่องทั่วๆไปที่ไม่เกี่ยวกับศาสนาห้ามกระทำเมื่อมีคำห้ามมา เช่น การกิน,แต่งกาย เป็นต้น ผมคิดว่าถ้าจะทำในเรื่องของศาสนามันก็ดีนั้งนั้นอาจารย์ว่าไหมแต่ว่าที่ว่า ดีนั้น มันมีคำสั่งใช้มาหรือเปล่า และเวลาที่มีคนเขาเตือนหรือตำหนิมา(เรื่องศาสนา)คำที่พูดกันติดปากก็คือ \"แล้วมันไม่ดีตรงไหน\" แต่มักจะลืมคิดว่ามีคำสั่งใช้มาหรือเปล่า ก็เลยอยากทราบวิธีการวิเคราะห์ว่าสิ่งไหนศาสนาสิ่งไหนทั่วไป แล้วอยากทราบว่าที่เขาขัดแย้งกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง อ่านกุรอ่านที่กุโบร,กินบุญบ้านผู้ตาย,เมาลิดเป็นต้น อย่างเมาลิดอาจารย์บอกว่าเป็นเรื่องทั่วไป แต่กลับถูกมองว่าเป็นเรื่องบิดอะห์ที่ผิด แล้วเอามาตราฐานตรงไหนวัดว่าเป็นศาสนาหรือทั่วไป อาจารย์ช่วยอธิบายให้กระจ่างหน่อนะครับ

ขอบคุณครับ

ถามโดย - วัยอยากรู้
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2010, 07:35:03 AM »

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
Re:สิ่งใดคือเรื่องศาสนาสิ่งใดคือเรื่องมุอามะลาต
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2010, 06:32:17 am »
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد...؛

ถ้าเป็นเรื่องอิบาดาตฺก็ต้องมีตัวบทและหลักฐานมายืนยันรับรอง โดยมีข้อสังเกตกว้างๆ ว่า ถ้าเป็นศาสนกิจ (อิบาดาตฺ) จะเป็นสิ่งที่อัลลออฮฺและร่อซู้ลบัญญัติเอาไว้แต่ต้น แต่ถ้าเป็นเรื่องมุอามะลาตจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับวิถีชีวิตของมุนษย์ซึ่งมนุษย์เป็นผู้คิดขึ้น เช่น อาหาร ทั้งของคาวของหวานมนุษย์เป็นผู้คิดขึ้น อัลลอฮฺและร่อซู้ลไม่ได้กำหนดว่าให้มนุษย์ต้องรับประทานแกงส้มหรือผัดกระเพรา เป็นต้น


สังเกตง่ายๆ ว่าเราจะไม่พบเรื่องของแกงส้มและผัดกระเพราในตัวบทหลักฐานของศาสนา แต่ศาสนาได้วางกฎระเบียบในเรื่องหะล้าล หะรอม ในสิ่งดังกล่าว แกงส้มหรือผัดกระเพราจึงเป็นสิ่งที่หะล้าลในการรับประทานตราบใดที่ไม่มีข้อห้ามระบุว่า เช่น ถ้าเป็นแกงส้มใส่เนื้อหมูทอด หรือกระเพราะเนื้อหมูก็ทานไม่ได้เพราะมีคำสั่งห้ามในการรับประทานเนื้อหมูระบุมาเป็นต้น


อย่างเรื่องงานเมาลิดถ้าเราพิจารณาเนื้องานก็จะพบว่าไม่ต่างอะไรจากงานสุเหร่าหรืองานโรงเรียน เพียงแต่มีการอ่านประวัติท่านนบี มีการบรรยายศาสนธรรม ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการให้ความรู้ และรูปแบบที่ว่านี้ก็เป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้อย่างหลากหลาย เช่น ตอบปัญหาศาสนา มีการสัมมนาทางวิชาการ มีการอภิปราย หรือมีการจัดบอร์ดนิทรรศการ ซึ่งทั้งหมดเป็นสิ่งที่มนุษย์คิดขึ้นจึงน่าจะเป็นเรื่องที่เข้าข่าย มุอามะลาต อันเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ ตราบใดที่ไม่มีข้อห้ามระบุมา เช่น มีการกระทำ มะอฺศิยะฮฺ ในงาน มีการปะปนกันระหว่างชายหญิง ก็ย่อมมีข้อห้ามในสิ่งดังกล่าว


แต่ถ้าเรากล่าวว่า การจัดงานเมาลิดเป็นสิ่งที่ได้ผลบุญอย่างนั้นอย่างนี้ด้วยตัวของงานเมาลิดเอง ก็ต้องถามว่า มีตัวบทหลักฐานกำหนดสั่งใช้มาหรือไม่ว่าให้จัดงานเมาลิดในรูปแบบเฉพาะที่เป็นศาสนกิจ (อิบาดาตฺ) คือต้องเป็นพิธีกรรมอย่างนั้นอย่างนี้ ถ้าไม่มีก็ทำไม่ได้ตามกรณีนี้ เพราะเรากำลังเอางาน   เมาลิดมาจัดอยู่ในหมวดอิบาดาตฺ และตรงนี้แหละที่มีผู้กล่าวว่าเป็นบิดอะฮฺในทางศาสนา


แต่ถ้าเราไม่จัดงานเมาลิดเข้าไปอยู่ในหมวดอิบาดาตฺ แต่ถือว่าเป็นงานทั่วๆ ไปที่จัดกันในสังคมเหมือนงานมัสยิดและงานโรงเรียนก็ย่อมมิใช่บิดอะฮฺทางศาสนา เพราะอยู่ในหมวดมุอามะลาต เป็นงานการกุศลทั่วไปนั่นเอง ผลบุญที่ได้รับจากการจัดงานเมาลิดจึงมิได้อยู่ที่ตัวของงานเมาลิด แต่อยู่ตรงประเด็นของกิจกรรมที่จัดขึ้น เช่น มีการบริจาค มีการบรรยายศาสนธรรม มีการระลึกถึงอัตชีวิประวัติของท่านนบี  (صلى الله عليه وسلم) โดยการนำเสนอในเชิงวิชาการเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ ตรงนี้แหละที่ได้บุญ!


والله أعلم بالصواب