การดูวัน, ฤกษ์ยาม  (อ่าน 11753 ครั้ง)

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
การดูวัน, ฤกษ์ยาม
« เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2010, 06:39:33 am »
salam ครับอาจารย์
         ผมอยากรู้ว่า การที่เราดูวัน หรือเลือกวันเอาว่าวันนี้ดี วันนั้นดีเหมาะสำหรับเริ่มทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด อย่างเช่น ปลูกบ้าน เปิดร้าน หรือจัดงานแต่งฯ สามารถทำได้ไหมครับ? แล้วอิสลามมีความเชื่ออย่างนั้นได้ไหม? ขอหลักฐานด้วยครับ ขอบคุณครับ

ถามโดย - Muhammat
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 23, 2010, 01:28:49 PM »

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
Re:การดูวัน, ฤกษ์ยาม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2010, 06:39:55 am »
وعليكم السلام ورحمة الله و بركاته

เนื่องจากศาสนาอิสลามปฏิเสธโหราศาสตร์ การถือฤกษ์ยาม และการถือโชคลางเพราะเป็นสิ่งที่จะนำไปสู่ชิรกฺ (การตั้งภาคี) ได้ ดังนั้นการกำหนดฤกษ์ยามหรือกำหนดวันในเรื่องที่สำคัญบนพื้นฐานของสิ่งดังกล่าวจึงเป็นสิ่งต้องห้าม ท่านนบี (صلى الله عليه وسلم) ได้กล่าวว่า : ฉันหวั่นเกรง 3 ประการต่อประชาชาติของฉัน คือ การอธรรมของบรรดาผู้นำ , การเชื่อเรื่องดวงดาว (โหราศาสตร์) และการปฏิเสธลิขิตของอัลลอฮฺ” (ศ่อฮีอฺ อัล-ญามิอฺ อัศ-ศอฆีร ; 213)


และการเชื่อถือโชคลาง (อัต-ตะชาอุม) อันเป็นลางร้ายต่างๆ หรือการเชื่อว่าวันนั้นวันนี้ เวลานั้นเวลานี้ (ฤกษ์ยาม) ดีหรือไม่ดี เป็นมงคลหรืออัปมงคล ก็เข้าข่ายอยู่ในเรื่อง (อัฏฏิยะเราะฮฺ) ซึ่งมีหลักฐานระบุห้ามเอาไว้ในหะดิษของท่านอะนัส (ร.ฎ.) ซึ่งรายงานโดยบุคอรีและมุสลิม (لاعدْوىولاطيرة) ดังนั้นมุสลิมจะต้องหลีกห่างจากการกำหนดวันเวลาบนพื้นฐานของความเชื่อดังกล่าว และปล่อยให้การกำหนดวันหรือเวลาเป็นเรื่องของความเหมาะสม ความพร้อม และเหตุผลทางสติปัญญาที่ศาสนารองรับ


กล่าวคือ การทำกิจกรรมหรือเรื่องราวใดๆ ที่มีความสำคัญต้องพิจารณาความเหมาะสมและความพร้อม เช่น จะปลูกบ้านวันไหน? ก็ให้พิจารณาว่าพร้อมหรือไม่ในส่วนของใบอนุญาต , ช่างที่จะลงมือสร้างบ้าน วัสดุอุปกรณ์พร้อมหรือไม่? จะกำหนดวันแต่งงานก็ให้ดูว่าทั้งสองฝ่ายพร้อมหรือไม่ มีคนช่วยงานหรือไม่ ช่างแกงพร้อมหรือเปล่า? เป็นต้น


ดังนั้นการดูวันหรือเลือกเอาวันสำหรับการทำกิจกรรมบนพื้นฐานของความเหมาะสมและความพร้อมจึงถือเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ จะไม่ดูวันเวลาที่เหมาะสมเลยคงไม่ใช่ และวันที่ดีเวลาที่ดีก็คือวันและเวลาที่เราพร้อมนั่นแหละ เมื่อกำหนดวันเวลาสำหรับงานนั้นๆ แล้วก็ให้มอบหมาย (ตะวักกุล) ต่อพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) และลงมือดำเนินการให้ดีที่สุด

والله أعلم بالصواب