เวลาที่มักรูฮฺจะละหมาด (มักรูฮฺตะหฺรีม, มักรูฮฺตันซีฮฺ)  (อ่าน 5135 ครั้ง)

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
ผมอยากทราบว่ามักรูฮฺตะฮฺรีมเเตกต่างกับมักรูฮฺตันซีฮฺอย่างไร    ขออาจารย์ช่วยตอบด้วยครับ

ถามโดย yusup
« เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2010, 08:51:38 PM »

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد...؛

สำหรับนักนิติศาสตร์สังกัดมัซฮับอัล-หะนะฟียฺ  แยกมักรูฮฺออกเป็น  2  ชนิด  คือ

1. มักรูฮฺตะหฺรีม  (اَلْمَكْرُوْهُ تَحْرِيْمًا)  หมายถึง  สิ่งที่ผู้วางบัญญัติ  (อัช-ชาริอฺ)  เรียกร้องให้ละทิ้งสิ่งนั้นโดยเป็นไปอย่างเด็ดขาดและบังคับด้วยหลักฐานเชิงซ็อนนฺ  (الدليل الظني)  เช่น  บรรดาหะดีษอา-ห๊าดฺ  เป็นต้น  เรื่องที่ถือเป็นมักรูฮฺ  ตะหฺรีม  เช่น  การซื้อขายตัดหน้า  การสู่ขอ  (หมั้น)  ซ้ำซ้อน  เป็นต้น

และ  “มักรูฮฺ  ตะหฺรีม”  แตกต่างจาก  “หะรอม”  ในกรณีที่ว่า  หะรอมนั้นคือสิ่งที่ผู้บัญญัติ  (อัช-ชาริอฺ)  เรียกร้องให้ละทิ้งสิ่งนั้นโดยเป็นไปอย่างเด็ดขาดและบังคับด้วยหลักฐานที่เด็ดขาดแน่นอน  (الدليل القطعي)  เช่น  อายะฮฺอัลกุรอาน  ,  หะดีษมุตะวาติร  หรือ  หะดีษมัชฮู๊ร  เป็นต้น  ผู้ที่ปฏิเสธสิ่งต้องห้าม  (หะรอม)  ถือว่าตกมุรตัด  (วัลอิยาซุบิลลาฮฺ)  

ส่วนมักรูฮฺ  ตะหฺรีมนั้นผู้ที่ปฏิเสธไม่ถือว่าตกมุรตัด  และมักรูฮฺตะหฺรีมนั้นใกล้เคียงกับหะรอมเป็นที่สุด  และผู้กระทำมักรูฮฺ-ตะหฺรีมสมควรถูกลงโทษ


2. มักรูฮฺตันซีฮฺ  (اَلْمَكْرُوْهُ تَنْزِيهًا)  หมายถึง  สิ่งที่ผู้วางบัญญัติ  (อัช-ชาริอฺ)  เรียกร้องให้ละทิ้งสิ่งนั้นโดยมิได้เป็นไปอย่างเด็ดขาดและบังคับ  เช่น  การกินเนื้อม้าเนื่องจากมีความจำเป็นในยามสงคราม  การอาบน้ำละหมาดจากน้ำที่แมวกินเหลือเอาไว้  ตลอดจนการละทิ้งบรรดาสุนัต-มะอักกะดะฮฺทั้งหลาย  เป็นต้น  

ข้อชี้ขาด  (หุกมฺ)  ของมักรูฮฺตันซีฮฺ  คือ  ผู้กระทำไม่จำเป็นต้องถูกลงโทษหรือตำหนิติเตียน แต่การกระทำนั้นเป็นสิ่งที่ค้านกับสิ่งที่ดีกว่า  (خلافالأولى)  (อุศูลุลฟิกฮฺ  อัล-อิสลามียฺ  ดร.วะฮฺบะฮฺ  อัซฺซุหัยลียฺ  เล่มที่  1  หน้า  86,  อัล-ฟิกฮุ้ล  อิสลามีย์  ว่า  อะดิลฺละตุฮู  เล่มที่  1  หน้า  53)


والله أعلم بالصواب