การตามกิตาลุลลอฮฺและสุนนะฮฺกับการทำตามโต๊ะครูหรือผู้นำในชุมชน  (อ่าน 6540 ครั้ง)

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
salam
ผมมีปัญหาข้องใจอยู่หลายข้อ ดังนี้ (หากซ้ำขอมาอัฟด้วยครับ)

1. ผมได้ฟังรายการจากโทรทัศน์ช่องดาวเทียม ว่า การปฏิบัติศาสนกิจต่างๆ ต้องเอาแบบอย่างจากกีตาลุลเลาะห์แลแะซูนนะนาบี ไม่ใช้ตามโต๊ะครู หรือคนเฒ่าคนแก่ บรรพบุรุษ แล้วคนธรรมดาสามัญชนอย่างผมต้องทำยังไงดีครับ เพราะไม่มีความรู้ ตีความหมายของอัลกุรอานที่เค้าแปลมาแล้วยังไม่ได้เลยครับ

2. ทางทีวีช่องนั้นได้บอกว่า ถ้าเราปฏิบัติศาสนกิจโดยตามกีตาบุลเลาะและซุนนะห์ของท่านนบี ก็จะพบว่า จะมีสิ่งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง แต่ถ่าเราตามหนังสือ ยกข้อความในหนังสือเล่มนั้นเล่มนี้มาอ้าง ยกทัศนะของคนนั้นคนนี้ ก็จะไม่มีใครผิดใครถูก แล้วเราจะทำยังไงดีครับ

3. ในการละหมาดญามาอะห์แบบอีหม่ามอ่านฟาตีอะห์เสียงดังในสองรอกะอะห์แรก เช่น ละหมาดมัฆริบ เราไม่ต้องอ่านฟาตีฮะห์แล้ว เพราะอีหม่ามจะเป็นผู้รับผิดชอบแล้ว เค้าก็ยกหลักฐานมาจากอัลกุรอานว่า เมื่อมีการอ่านอัลกุรอาน เจ้าก็จงฟังและนิ่งเสีย อาจารย์มีความคิดเ้ห็นยังไงบ้างครับ

ถามโดย  halim
« เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2010, 10:36:27 AM »

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
وعليكم السلام ورحمة الله و بركاته
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد...؛


ข้อ 1. คำพูดที่ว่า  “การปฏิบัติศาสนกิจต่าง ๆ ต้องเอาแบบอย่างมาจากกิตาบุลลอฮฺและสุนนะฮฺ”  เป็นคำพูดที่ถูกต้องและเป็นสิ่งจำเป็นที่มุสลิมต้องยึดมั่นในกิตาบุลลอฮฺและสุนนะฮฺ  การปฏิบัติตามโต๊ะครู  (ผู้รู้ทางศาสนา)  หรือคนเฒ่าคนแก่  หรือบรรพบุรุษที่มีความรู้ทางศาสนาอย่างถูกต้องเป็นสิ่งที่สามารถปฏิบัติตามได้ในกรณีที่สิ่งนั้นมิได้ขัดกับกิตาบุลลอฮฺและสุนนะฮฺ  


หากการกระทำของโต๊ะครูหรือคนเฒ่าคนแก่หรือบรรพบุรุษขัดแย้งกับกิตาบุลลอฮฺและสุนนะฮฺก็มิอาจถือตามได้  ประเด็นอยู่ตรงที่ว่า  แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าการกระทำนั้นถูกต้องหรือค้านกับกิตาบุลลอฮฺและสุนนะฮฺ  


ในเมื่อเราเป็นคนเอาวามฺที่ไม่รู้หลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์ตัวบททางศาสนา  ก็ย่อมไม่พ้นจาก  2  กรณี  คือ  1.  เราต้องใช้กำลังสติปัญญาวิเคราะห์  (อิจญติฮาดฺ)  ตามหลักเกณฑ์ในวิชาการที่เป็นศาสตร์ประกอบ  เรียกว่า  ต้องมีคุณสมบัติของการเป็นมุจญ์ตะฮิด   2.  ถามผู้รู้ซึ่งก็คือโต๊ะครูนั่นเอง  


ฉะนั้นหากจะว่าไปแล้ว  การตามกิตาบุลลอฮฺและสุนนะฮฺก็ไม่วายต้องอาศัยผู้รู้ในการวิเคราะห์ตัวบทและอรรถาธิบายข้อชี้ขาดอยู่ดี  คนที่บอกกับชาวบ้านว่าอย่าตามโต๊ะครูหรือคนเฒ่าคนแก่แต่ให้ตามกิตาบุลลอฮฺและสุนนะฮฺ  พอเอาเข้าจริงก็ว่าตามโต๊ะครูหรือผู้รู้ที่ตนยอมรับและเชื่อถือนั่นเอง  เรื่องมันจึงวนอยู่ในอ่างเช่นนี้แหล่ะ  


เอาเป็นว่าตั้งใจศึกษาเรื่องราวทางศาสนาให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น  สอบถามผู้รู้และขอหลักฐานสนับสนุนในคำตอบก็น่าจะเพียงพอแล้ว  และหลักฐานที่สนับสนุนนี้มิได้หมายความว่าต้องเป็นอัล-กุรอานหรืออัล-หะดีษเสมอไป  คำวินิจฉัยของผู้รู้ที่มีอยู่ในตำราอ้างอิงที่เป็นมาตรฐานโดยมากถูกสังเคราะห์และย่อยเนื้อหามาจากตัวบทของศาสนาแล้ว  มิใช่เขียนเอาแบบเดาสุ่มแต่อย่างใด


ข้อ 2. ที่ว่านั้นก็ถูกอยู่ แต่ไม่ทั้งหมดเพราะคนที่นำเอาหลักฐานจากกิตาบุลลอฮฺและสุนนะฮฺมาบอกก็ต้องดูหนังสือมาก่อนแล้วว่าในแต่ละเรื่องแต่ละประเด็นมีรายละเอียดอย่างไร  โดยเฉพาะประเด็นข้อปลีกย่อยที่มีการวิเคราะห์ตัวบทต่างกันของบรรดานักวิชาการ  


ลองสังเกตและตั้งใจฟังคำตอบของผู้รู้ประเภทนี้ในทีวีช่องนั้นคุณจะพบว่า  ใช่ว่าทุกคำตอบที่อาจารย์นั้นตอบจะมีหลักฐานจากอัล-กุรอานและอัล-หะดีษเสมอไป  บางคำตอบก็ไม่พ้นต้องอ้างคำตอบของนักวิชาการที่มีอยู่ในตำราและบางคำตอบก็ตอบตามความเข้าใจของตัวเองด้วยซ้ำไป  


เรียกว่าตั้งมาตรฐานเอาไว้เสียสวยหรูพอเอาเข้าจริงก็ดำน้ำและว่าเองเออเองไปเสียโน่น  มีอาจารย์บางท่านตอบคำถามได้ดีมีหลักวิชา เช่น อ.ซิดดิก  มุฮำมัดสะอิ๊ด  เป็นต้น  ก็เลือกฟังหน่อยแล้วกันครับจะได้ไม่สับสน


ข้อ 3. ที่เขาว่ามาก็เป็นการวิเคราะห์ของนักวิชาการอีกนั่นแหล่ะ แต่ละฝ่ายก็มีหลักฐานมาสนับสนุนทัศนะของตน  ที่อาจารย์ในทีวีเขาตอบอย่างนั้นก็อาศัยการวิเคราะห์ของนักวิชาการนั่นแหล่ะ  เป็นเรื่องที่เขาพูดกันมานมนานแล้ว  ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไร?


والله أعلم بالصواب