การตามละหมาด  (อ่าน 3320 ครั้ง)

halim

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 38
การตามละหมาด
« เมื่อ: พฤศจิกายน 26, 2010, 10:52:38 am »
salam  อ.อาลี ผมมีเรื่องอยากจะถามหน่อยครับว่า หากเรายึดถือว่า ฮาดิษฎออีฟ ไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานในการปฏิบัติศาสนกิจได้ แล้วเราสามารถที่จะตามละหมาดกับอีหม่ามที่ยึดฮาดิษฎออีฟ มาปฏิบัติได้หรือไม่
ขอบคุณมากครับ

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
ตอบ : การตามละหมาดผู้ที่ปฏิบัติตามหะดีษเฎาะอีฟ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 04, 2011, 10:51:44 pm »
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته
الحمد لله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد


ได้ครับ ! เพราะไม่มีหลักฐานใดๆ บ่งชี้ว่าผู้ที่ยึดถือหะดีษเศาะฮีหฺ หรือหะสันเพียงอย่างเดียว และไม่ยอมรับหะดีษเฎาะอีฟมาปฏิบัติไม่เศาะหฺในการตามละหมาดของผู้ที่ยึดหะดีษเฎาะอีฟมาปฏิบัติ ทั้งนี้เพราะการยึดหะดีษเฎาะอีฟมาปฏิบัตินั้นเป็นสิ่งที่นักวิชาการมีความเห็นต่างกันฝ่ายหนึ่งไม่รับหะดีษเฎาะอีฟเลยเพราะเคร่งครัดในมาตรฐานของการับอัล-หะดีษมาเป็นหลักฐาน เช่น อิหม่าม อัล-บุคอรียฺ เป็นต้น


อีกฝ่ายหนึ่งถือว่าถ้าอัล-หะดีษนั้นเฎาะอีฟ เนื่องจากขาดเงื่อนไขในเรื่องการจดจำความแม่นยำ มิใช่เพราะสถานภาพของผู้รายงานถูกกล่าวหาว่าโกหกหรือเป็นผู้ประพฤติผิด และไม่มีหะดีษที่มีมาตรฐานสูงไปกว่านั้น ก็รับมาปฏิบัติได้ และถือว่าดีกว่าทัศนะความเห็นของบุคคล  นักวิชาการฝ่ายนี้ก็เช่นอิหม่าม อะหฺหมัด เป็นต้น หรืออิบนุ หะญัร (ร.ฮ.) เป็นต้น


ซึ่งแน่นอนคงไม่มีผู้ใดกล้าระบุว่า อิหม่าม อัล-บุคอรียฺและมุสลิม  ไม่ละหมาดตามหลังอิหม่าม อะหฺหมัด อิบนุ ฮัมบัลฺ  ซึ่งอัล-บุคอรียฺ และมุสลิม เป็นลูกศิษย์ที่รับฟังและถ่ายทอดอัล-หะดีษจากอิหม่ามอะหฺหมัด (ร.ฮ.) อีกทั้งการยึดหะดีษเฎาะอีฟในการปฏิบัติในเรื่องที่เกี่ยวกับฟะฎออิลุลอะอฺม้าล ก็มิใช่เหตุที่จะนำมาตัดสินว่าผู้นั้นเป็นพวกอุตริกรรม (อะหฺลุลบิดอะฮฺ) ถึงจะกล่าวว่าละหมาดตามหลังผู้นั้นไม่ได้


ซึ่งถ้าหากกล่าวว่า การยึดหะดีษเฎาะอีฟมาปฏิบัติเป็นการกระทำอุตริกรรม (สมมติว่าถ้าเป็นเช่นนั้นซึ่งไม่ใช่แน่นอน) การกระทำอุตริกรรมนี้ย่อมไม่นำพาไปสู่การปฏิเสธกุฟร์ อย่างแน่นอน ซึ่งนักวิชาการถือว่าการละหมาดตามหลังผู้กระทำบิดอะฮฺที่ไม่นำไปสู่การกุฟร์นั้นใช้ได้ และไม่ใช่สิ่งต้องห้ามถึงแม้จะเป็นสิ่งที่มีมักรูฮฺก็ตาม ! สรุปก็คือ “ได้”ครับ !


 والله اعلم بالصواب