สารบัญปัญหาคาใจ > หมวด : อัล-กุรอาน และ อัล-หะดีษ

หะดีษในระดับหะสันและระดับฎออีฟ สามารถนำมาเป็นหลักฐานและการปฏิบัติได้ไหม อย่างไร?

(1/1)

อาลี เสือสมิง:
salam
กระผมต้องการอยากทราบว่า  หะดีษในระดับหะสันและในระดับฎออีฟ สามารถนำมาเป็นหลักฐานและนำมาเป็นแบบในการปฏิบัติได้ไหม อย่างไร?
และ หากได้หรือไม่ได้จากระดับใดดังกล่าวนั้น  จะต้องมีหลักการหรือเงื่อนไขในการอนุญาตให้ปฏิบัติจากระดับใดดังกล่าวหรือ ไม่อย่างไร...ครับ

...ญะซากัลลอฮุค็อยร็อน...

วัลลอฮุ สุบหานัลลอฮุ ตะอาลา อะอฺลา วะอะอฺลัม  


ถามโดย - dragon « เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2009, 06:28:23 pm »

อาลี เสือสมิง:
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته


หะดีษหะซัน  (حديث حَسَنٌ)  มีอยู่  2  ประเภทคือ

1. หะดีษหะซันลิซาติฮี  (الحَسَنُ لذاته)  ซึ่งก็คือ  หะดีษซอฮีฮฺ  ลิ  ฆ็อยฺริฮี  (الصحيح لِغَيْرِه)  นั่นเอง

2. หะดีษหะซันลิฆอยฺริฮี  (الحَسَنُ لغيره) ซึ่งก็คือ  หะดีษที่อยู่ในระดับฎ่ออีฟ  (อ่อน)  เมื่อมีเส้นทางการรายงานที่หลากหลาย  และสาเหตุที่หะดีษอยู่ในระดับที่อ่อนมิได้  มีสาเหตุมาจากการเป็นคนฟาซิก  (فسق)  ของผู้รายงานหรือการโกหกของผู้รายงาน  หะดีษทั้งสองประเภทนี้มีข้อชี้ขาด  (حكم)  ว่าเป็นส่วนหนึ่งจากหะดีษที่ถูกยอมรับ  (مَقْبُوْل)  ใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงได้  (ดูตัยซีรฺ  มุสฎ่อละฮิล  ฮะดีษ,  ดร.มะฮฺหมูด  อัฏเฏาะฮฺฮานฺ  หน้า  51-52)



ส่วนหะดีษฎ่ออีฟ  (الضعيف)  นั้นหมายถึงหะดีษที่มิได้รวมเอาคุณสมบัติของฮะดีษหะซันเอาไว้  โดยขาดเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งของบรรดาเงื่อนไขของหะดีษหะซัน  หะดีษฎ่ออีฟจึงจัดอยู่ในหมวดของหะดีษที่ถูกปฏิเสธ  กล่าวคือ  ไม่ถูกยอมรับ  (المَرْدُودُ)  แบ่งเป็น  2  กรณี  คือ

กรณีที่ 1 ข้อชี้ขาดว่าด้วยการรายงานหะดีษฎ่ออีฟ  (حكم روَايتِه)  ในทัศนะของนักวิชาการสายหะดีษ  (أهلُ الحديث)  และนักวิชาการอื่น ๆ ระบุว่าเป็นที่อนุญาตในการรายงานบรรดาหะดีษที่ฎ่ออีฟได้  ตลอดจนไม่ต้องเคร่งครัดในการระบุสายรายงานและระบุเหตุแห่งความเป็นหะดีษฎ่อ อีฟนั้นได้  ซึ่งแตกต่างจากบรรดาหะดีษเก๊  (الموضوع)  ซึ่งไม่อนุญาตให้รายงานนอกจากจำต้องแจ้งถึงสถานภาพของมัน  โดยมีเงื่อนไขอยู่  2  ประการคือ

1.  จะต้องไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวที่ว่าด้วยหลักศรัทธา  (العَقَاﺋﺪ)  เช่น  คุณลักษณะของพระองค์อัลลอฮฺ  เป็นต้น

2.  ต้องไม่เป็นการรายงานในเรื่องอรรถาธิบายหลักบัญญัติทางศาสนาอันเกี่ยวเนื่อง กับเรื่องฮะล้าล-หะรอม  ซึ่งหมายความว่า  อนุญาตให้รายงานหะดีษฎ่ออีฟได้ในเรื่องเกี่ยวกับข้อตักเตือน,  การชักชวนให้ทำความดีและการห้ามปรามจากความชั่ว  (الترغيب والترهيب)  ตลอดจนเรื่องเล่าต่าง ๆ เป็นต้น  (อ้างแล้ว หน้า  65)


กรณีที่  2  คือข้อชี้ขาดว่าด้วยการนำเอาหะดีษฎ่ออีฟมาปฏิบัติ  (حكم العمل به)  กรณีนี้นักวิชาการมีความเห็นต่างกัน  ตามทัศนะปวงปราชญ์ถือว่า  ส่งเสริม  (มุสตะฮับ)  ให้นำหะดีษฎ่ออีฟมาปฏิบัติในเรื่องความประเสริฐหรือกุศลกิจต่าง ๆ (فَضَاﺋﻞ الأَعمَال)  แต่มีเงื่อนไขอยู่  3  ประการตามที่อิบนุ  ฮะญัร  (ร.ฮ.)  ได้ระบุเอาไว้  คือ

1. ความอ่อนของหะดีษนั้น ๆ ต้องไม่รุนแรง

2. หะดีษนั้นเข้าอยู่ภายใต้หลักมูลฐานที่มีการปฏิบัติกันอยู่แล้ว

3. ในขณะที่นำมาปฏิบัติ  จะต้องไม่ปักใจเชื่อ  (อิอฺติกอด)  ว่าหะดีษนั้นถูกต้องแข็งแรงและเป็นสิ่งที่แน่นอนเด็ดขาด  หากแต่เผื่อเอาไว้เท่านั้น
(อ้างแล้ว  65-66)


والله أعلم بالصواب

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

Go to full version