อาจารย์ช่วยตอบด่วน ทำอย่างไร ยกฮาดัษและตะยำมุมเมื่่อมีแผล  (อ่าน 12913 ครั้ง)

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
salam
อาจารย์ครับพอดีอาเจอบทความหนึ่ง มีความว่า เมืออาบน้ำละหมาด
ถ้า เรามีแผลสดบริเวณข้อศอก ให้ใช้พลาสเตอร์แปะแผลนั้น พอล้างมือ, ท่อนแขนจนมาถึงข้อศอกบริเวณที่แปะพลาสเตอร์เอาไว้ก็ให้ลูบไปบนพลาสเตอร์นั้น และให้ทำตะยำมุมทดแทนในส่วนของบาดแผลที่ข้อศอกนั้น
      สงสัยแสดงว่าหากเรามีแผล หากเราจะละหมาดเราต้องทั้งอาบน้ำละหมาดและทำตะยำมุมพร้อมกันหรือครับ ทำตะยำมุมเพียงอย่างเดียวได้หรือเปล่า เพราะไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรอาบน้ำละหมาดส่วนที่ไม่มีแผล และทำตะยำมุมส่วนทีมีแผลพร้อมกัน เราต้องเหนียตสองครั้งหรือครับครั้งแรกเมื่อน้ำละหมาดว่าอาบนำละหมาดแล้ว ครั้งที่สองตอนที่จะลูบบริเวณที่มีแผลเราต้องเหนียตตะยำมุมหรือครับ งั้งก็แสดงว่าในกรณีนี้เราต้องใช้น้ำในการอาบน้ำละหมาด และใช้ฝุ่นดินในการทำตะยำมุมพร้อมกันหรือ
        คนที่มีฮาดัษใหญ่แต่ไมีมีน้ำใชัวิธีตะยำมุมได้หรือเปล่าแล้วมีวิธีการอย่าง ไรการยกฮาดัษใหญ่ แล้วคนที่หัวแตกอาบน้ำยกฮาดัษไม่ได้เพราะจะเป็นอันตรายต่อชีวิต จะใช้การตะยำมุมแทนการอาบน้ำได้ไหม และหากว่าได้เมื่อแผลที่หัวแตกหายแล้วจำเป็นสำหรับเขาไหมต้องอาบน้ำยกฮาดัษ อีก

ฮานีฟ  
« เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2010, 03:11:54 PM »

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
الحمدلله والصلاة والسلام على رسول الله وبعد...؛


ในกรณีที่มีบาดแผลและปิดพลาสเตอร์ก็ให้พิจารณาว่า บาดแผลนั้นอยู่ในส่วนของอวัยวะที่จำต้องล้างหรือเช็ดในขณะอาบน้ำละหมาดหรือไม่ ถ้าบาดแผลอยู่ที่หน้าแข้งหรือหัวเข่า หรือท่อนแขนบริเวณหัวไหล่ อย่างนี้ก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด กล่าวคือ ให้อาบน้ำละหมาดตามปกติโดยไม่มีการทำตะยำมุมเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ถ้าบาดแผลอยู่ในอวัยวะของการอาบน้ำละหมาด เช่น ส้นเท้า หลังเท้า เป็นต้น ก็ให้ล้างในส่วนของอวัยวะที่ไม่มีบาดแผล เช่น เท้า นิ้วเท้า ฝ่าเท้า เป็นต้น


ส่วนบริเวณที่มีบาดแผลและปิดพลาสเตอร์เอาไว้ (คือ ส้นเท้ากับหลังเท้า) ก็ให้เอาน้ำลูบผ่านไป แล้วทำตะยำมุมต่อจากนั้นเลย โดยเจตนา (เหนียต) ตะยำมุมทดแทนการล้างบริเวณบาดแผล และเมื่อละหมาดแล้วก็ไม่จำเป็นต้องกอฎอชดใช้อีก ส่วนในกรณีบาดแผลมีพลาสเตอร์ปิดอยู่บริเวณอวัยวะสองส่วนคือ ใบหน้า มือจนถึงข้อศอก (ซึ่งเป็นอวัยวะที่ต้องลูบฝุ่นขณะทำตะยำมุมด้วย) ก็ให้ล้างส่วนของใบหน้าหรือมือในบริเวณที่ไม่ได้ปิดพลาสเตอร์ พอล้างในบริเวณปกติเสร็จก็ลูบไปบนพลาสเตอร์ที่ปิดแผลไว้แล้วทำตะยำมุมต่อจากนั้นเลย


เช่น บาดแผลอยู่ที่หน้าบริเวณหัวคิ้วก็ให้ล้างส่วนอื่นของใบหน้าที่ล้างได้แล้วก็ลูบผ่านไปบนพลาสเตอร์ที่ปิดหัวคิ้วเอาไว้ และก็ตามด้วยการทำตะยำมุม พอเสร็จแล้วก็ล้างมือจนถึงข้อศอก หากมีบาดแผลที่อวัยวะส่วนนี้อีกก็ให้ล้างในบริเวณที่ล้างได้ แล้วก็ลูบไปบนพลาสเตอร์ที่ปิดแผลเอาไว้ เช่น แผลที่ข้อศอก ต่อจากนั้นก็ทำตะยำมุมอีกโดยตั้งเจตนาทดแทนอวัยวะในส่วนที่ไม่ถูกล้าง (คือบาดแผลที่ข้อศอก) แล้วก็อาบน้ำละหมาดต่อไปจนเสร็จ


จะสังเกตได้ว่าบาดแผลในกรณีนี้อยู่ในส่วนของอวัยวะที่จำต้องล้างด้วย คือ ใบหน้าบริเวณหัวคิ้ว และที่ข้อศอก ซึ่งอวัยวะทั้งสองก็อยู่ในส่วนที่ลูบฝุ่นตะยำมุมด้วย (คือ ใบหน้าและมือจนถึงข้อศอก) กรณีเช่นนี้น้ำก็ล้างไม่ทั่ว ฝุ่นก็ไม่โดนในบริเวณบาดแผลที่อยู่ที่ใบหน้าและข้อศอก ก็อนุโลมให้ไปละหมาดได้แต่ต้องกอฎอชดใช้ และสรุปได้ว่ากรณีทั้งหมดที่กล่าวมา มีการเหนียตสองครั้ง ครั้งแรกคือ ตอนเริ่มอาบน้ำละหมาด ครั้งที่สองคือเหนียตทำตะยำมุมทดแทนอวัยวะที่ไม่ถูกน้ำ (บาดแผล) และวิธีปฏิบัติดังกล่าวมีทั้งอาบน้ำละหมาดและการตำยำมุมไปในคราเดียวกัน อย่างที่เข้าใจคำถามนั่นแหละครับ


กรณีมีหะดัษใหญ่ และไม่มีน้ำก็อนุญาตให้ทำตะยำมุมทดแทนได้ โดยมีเงื่อนไขว่ารู้ถึงการเข้าเวลาละหมาดฟัรฎูแล้ว หาน้ำหลังจากเข้าเวลาละหมาด ฝุ่นดินที่ใช้ทำตะยำมุมต้องสะอาด ต้องขจัดนะญิสออกจากร่างกายเสียก่อน เมื่อครบเงื่อนไขข้างต้นแล้วโดยไม่พบน้ำหรือมีน้ำไว้เฉพาะดื่มก็อนุญาตให้ทำตะยำมุมทดแทนการอาบน้ำยกหะดัษใหญ่ เมื่อเข้าเวลาละหมาดฟัรฎูในเวลานั้นๆ แล้ว และ 1 การตะยำมุมใช้ได้สำหรับ 1 ฟัรฎูไม่ว่าละหมาดฟัรฎูนั้นจะเป็นการปฏิบัติในเวลาหรือชดใช้ (กอฎอ) ก็ตาม


ดังนั้นเมื่อพบน้ำหลังจากละหมาดเสร็จแล้วก็ถือว่าละหมาดใช้ได้ ไม่วาญิบต้องละหมาดใหม่ (อิอาดะฮฺ) หรือชดใช้ (กอฎอ) ส่วนกรณีมีน้ำที่ใช้สำหรับอาบน้ำยกหะดัษแต่ศีรษะแตกมีบาดแผลที่โดนน้ำไม่ได้ ก็จำเป็นต้องอาบน้ำในส่วนอวัยวะส่วนอื่นที่ถูกน้ำได้ เช่น ใบหน้า คอ เรื่อยไปจนถึงเท้า เฉพาะในบริเวณที่มีบาดแผลบนศีรษะให้เอาผ้าพันหรือปิดพลาสเตอร์ก็ใช้น้ำลูบผ่านไปบนผ้าหรือพลาสเตอร์นั้นแล้วก็ทำตะยำมุมทดแทนในส่วนที่ไม่ถูกน้ำ (คือบาดแผล) ก็ละหมาดได้แล้วโดยไม่ต้องชดใช้ละหมาดนั้นแต่อย่างใด


การกระทำดังกล่าวมาถือว่าเป็นการยกหะดัษใหญ่จึงไม่จำเป็นต้องอาบน้ำยกหะดัษใหญ่อีกเมื่อศีรษะหายเป็นปกติ ยกเว้นเมื่อมีหะดัษใหญ่ครั้งใหม่ ก็ต้องอาบน้ำยกหะดัษทั่วร่างกายเพราะแผลหายแล้วนั่นเอง


والله أعلم بالصواب