อาจารย์ครับอยากทราบว่าการกินบุญบ้านคนตายเป็นบิดอะป่าวตอบให้ชัดหน่อยน่ะครับ  (อ่าน 7492 ครั้ง)

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
อาจารย์ครับอยากทราบว่าการกินบุญบ้านคนตายเป็นบิดอะป่าวตอบให้ชัดหน่อยน่ะครับ  อยากรู้จริงว่าเราไปร่วมได้รึป่าว

ชัดเจนหน่อยน่ะครับแล้วพิธีกรรมอย่างนี้ด้วยล่ะ  ขึ้นเปลเด็กการขึ้นเปลคือ เอาเด็กมาอุ้มแล้วกล่าวซอลาวาตนบีมีการอ่านบัรซัลญีด้วย
มีความผิดรึป่าวหากมีคนเชิญเข้าร่วมได้ป่าว  กินบุญบ้านคนตาย  และการจัดงานเมาลิดเป็นสิ่งที่ถูกต้องรึป่าวครับ



ถามโดย - ฮัซซาน  « เมื่อ: ตุลาคม 19, 2008, 07:08:04 am »

อาลี เสือสมิง

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2179
الحمد لله رب العالمين والصلاة والسلام على رسول الله وعلى آله وصحبه أجمعين  وبعد...؛


เอาเรื่องขึ้นเปลของเด็กก่อนแล้วกัน เรื่องนี้เป็นประเพณี มิใช่พิธีกรรมทางศาสนา เมื่อเป็นประเพณีก็จัดอยู่ในหมวดมุอามะล๊าตฺ ก็ให้ดูว่ามีข้อห้ามในเรื่องนี้หรือไม่?  เท่าที่ดูก็ไม่พบว่ามีข้อห้ามในเรื่องเอาเด็กขึ้นเปลและกล่อมด้วยการซอละหวา ตหรือจะเป็นบทกวีจากบัรซันญีย์

เข้าใจว่าประเพณีนี้มีกุศโลบายแฝง อยู่ คือ การกล่อมเด็กแรกเกิดด้วยถ้อยคำที่เกี่ยวข้องกับศาสนา เช่น ซอละหวาตหรือบทกวีสรรเสริญนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) และให้เด็กโตได้มาร่วมในบรรยากาศนั้น หลังจากนั้นก็แย่งขนมที่ผูกเอาไว้ที่เปลเป็นเรื่องสนุกมากกว่า เมื่อเป็นประเพณีก็ดูว่ามีสิ่งที่ขัดต่อหลักการของศาสนาหรือไม่ ถ้าไม่มีก็ถือว่าทำได้แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องไม่มีอิ อฺติกอดว่า นี่เป็นอิบาดะฮฺหรือมีซุนนะฮฺให้กระทำ ถ้ามีอิอฺติกอดอย่างที่ว่ามาก็จะเข้าข่ายเป็นบิดอะฮฺได้เหมือนกัน



การจัดงานเมาลิดเป็นสิ่งที่นักวิชาการมีมุมมองต่างกัน ฝ่ายหนึ่งถือว่าเป็นอุตริกรรม (บิดอะฮฺ) ส่วนหนึ่งจากนักวิชาการฝ่ายนี้ คือ ท่านตาญุดดีน อุมัร อิบนุ อะลี อัลลัคมี่ย์ อัลอิสกันดะรี่ย์ รู้จักกันในนาม อัลฟากิฮานีย์ เสียชีวิตในปี ฮ.ศ.731 ท่านเขียนเรื่องนี้เอาไว้ในหนังสือของท่านที่ชื่อ \"อัลเมาริด ฟิลฺ กะลาม อะลัล เมาลิด\" ซึ่งอิหม่ามอัซซะยูฏีย์ถ่ายทอดและวิพากษ์เอาไว้ในตำรา \"ฮุสนุ้ลมักซ๊อด\" ของท่าน


ฝ่ายที่อนุญาตและถือว่า เป็นเรื่องดีในการจัดงานเมาลิด ได้แก่ ท่านอัซซะยูฏีย์ , ท่านอิบนุ ฮะญัร อัลอัสกอลานีย์ และท่านอิบนุ ฮะญัร อัลฮัยตะมีย์ โดยอาศัยนัยจากอายะฮฺที่ว่า (وَذَكِّرْهُمْ بِأَيَّامِ الله)  ซูเราะฮฺอิบรอฮีม อายะฮฺที่ 5 (และจงเตือนให้พวกเขารำลึกถึงบรรดาวันของพระผู้เป็นเจ้า) ดู อะฮฺซะนุ้ล กะลาม ฟิลฟะตาวา วั้ลอะฮฺกาม ; ชัยค์ อะฏียะฮฺซ็อกร์ 14/489,490) ส่วนท่านชัยค์ อะฏียะฮฺ ซอกร์ ระบุว่า ในทัศนะของท่านถือว่าไม่เป็นอะไร (لاَبَأْسَ بِه) ในการจัดงานเมาลิดโดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่เยาวชนคนหนุ่มสาวแทบจะลืมเรื่อง ราวของศาสนา (อ้างแล้ว หน้า 491)



มาถึงเรื่องกินบุญบ้านคน ตาย (بواة ماكن كماتين)  มีคำฟัตวาของบรรดามุฟตีย์ในนครมักกะฮฺตอบเอาไว้ เช่น ชัยค์อะฮฺหมัด อิบนุ ซีนีย์ ดะฮฺลาน มุฟตีย์มัซฮับอัชชาฟิอีย์ในนครมักกะฮฺ และชัยค์ อับดุรเราะฮฺมาน อิบนุ อับดิลลาฮฺ ซิรอจญ์ อัลฮะนะฟีย์ มุฟตีย์นครมักกะฮฺ (ดู อิอานะตุตตอลิบีน เล่มที่ 2 หน้า 165,166)

ซึ่งทั้งสองท่านระบุว่าเป็นบิดอะฮฺ ในบางกรณีเป็นมักรูฮฺ และบางกรณีเป็นบิดอะฮฺ มักรูฮะฮฺ และบางกรณีก็เป็นสิ่งต้องห้าม (หะรอม) กล่าวคือต้องแยกเป็นกรณี ๆ ไป ซึ่งการแยกเป็นกรณี ๆ  นี้มีคำฟัตวาของ  ลัจญนะฮฺ อุละมาอฺปัตตานี (21 มกราคม 2516) ดังนี้ :-

1. ครอบครัวของผู้ตายทำอาหารเนื่องจากการตายเพื่อซอดะเกาะฮฺผลบุญไปยังผู้ตาย โดยพวกเขาไม่มีการเชิญ ฮุก่มคือ เป็นซุนนะฮฺโดยมติของสภานักวิชาการปัตตานี

2. ครอบครัวของผู้ตายทำอาหารและพวกเขานั้นเรียกผู้คนไปกินอาหารเนื่องจากมี เจตนาซอดะเกาะฮฺผลบุญ และอุทิศผลบุญในการรวมตัวนั้นยังผู้ตาย ฮุ่ก่มคือ ทำได้ เพราะเข้าข่ายในตัวบท \"การเลี้ยงอาหาร\" (إطعام) ซึ่งถูกใช้ในหะดีษของตอวู๊ซ ทั้งนี้เพราะการเลี้ยงอาหารนั้นครอบคลุมถึงการรวมตัวที่บ้านของผู้ตายหรือ ที่อื่น ๆ

3. ครอบครัวของผู้ตายทำอาหารที่บ้านของเขาหรือที่บ้านของผู้ตายในวันที่ตายหรือ ในวันอื่น ๆ เนื่องจากถือตามประเพณี มิได้เป็นไปเนื่องจากเจตนาอิบาดะฮฺและเจตนา (อุทิศ) ผลบุญไปยังผู้ตาย ฮุก่มคือ มักรูฮฺ โดยมติของสภานักวิชาการปัตตานี

4. ครอบครัวผู้ตายทำอาหารจากทรัพย์มรดกซึ่งยืนยันแน่นอนด้วยสิทธิ เช่น ลูกกำพร้าหรือเนื่องด้วยครอบครัวผู้ตายถูกบังคับให้ทำโดยไม่เต็มใจและไม่บริ สุทธิใจ ฮุก่มคือ ต้องห้าม (ฮะรอม) โดยมติของสภานักวิชาการปัตตานี (อ้างจาก علماءبسردرى فطانى  โดย أحمدفتحى الفطانى หน้า 238)

ซึ่งการออกฟัตวานี้เป็นผลมาจากข้อเขียนของ ชัยค์ อับดุลลอฮฺ บันดัง กะบง ในหนังสือของท่านที่ชื่อ الكواكب النيرات فى رداهل البدع والعادات ซึ่งท่านมีฟัตวาว่า การทำบุญบ้านคนตาย เป็นบิดอะฮฺมักรูฮะฮฺ ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าเจาะจงกระทำก็ถือเป็นบิดอะฮฺ มุฮัรร่อมะฮฺ (อ้างแล้ว หน้า 230)


والله أعلم